คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน ไม่ใช่ 'พนักงาน' ตาม พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ จึงไม่อาจลงโทษได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตำแหน่งพนักงานสงเคราะห์ยางจังหวัดสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดตรัง ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ได้ยักยอกปุ๋ยของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ซึ่งอยู่ในอำนาจจัดการดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ไปเป็นประโยชน์ของจำเลย ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 มาตรา 4 แต่ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน" ไว้หมายถึง บุคคลต่าง ๆตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 จำเลยย่อมเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายจึงไม่เป็นพนักงานตามความหมายของพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 ลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงาน vs. พนักงาน: การพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐ การตีความคำว่า 'พนักงาน' ที่จำกัดเฉพาะผู้ไม่อยู่ในฐานะเจ้าพนักงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตามพ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางฯ จำเลยย่อมเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐฯ มาตรา 4 เพียงอย่างเดียวซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับหลังนี้ให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน" หมายถึงบุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย เมื่อจำเลยเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายจำเลยจึงไม่เป็นพนักงานตามความหมายของ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐฯ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามฟ้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของพนักงานรัฐวิสาหกิจฐานยักยอกเงิน ยอมรับสารภาพเป็นหลักฐานสำคัญ
จำเลยเป็นหัวหน้าแผนกการเงินของธนาคาร มีหน้าที่เก็บรักษาเงินเมื่อถูกตรวจสอบพบว่าเงินหายก็ยอมรับว่าเป็นผู้ยักยอกเงินที่เก็บรักษาไว้ไปในทันทีและโดยสมัครใจ ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะฟังได้แล้วว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการไขกุญแจตู้โทรศัพท์ต้องเป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนด การมอบหมายหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ถือเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย
การเคหะแห่งชาติมีคำสั่งกำหนดบุคคลผู้ไขกุญแจตู้โทรศัพท์สาธารณะที่ติดตั้งในบริเวณเคหะชุมชนต่าง ๆ โดยในคำสั่งนั้นระบุตำแหน่งของกรรมการไว้โดยเฉพาะ และมีหัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนเป็นประธานกรรมการ ในกรณีที่บุคคลบางตำแหน่งไม่มี คำสั่งดังกล่าวก็ได้กำหนดให้หัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนแต่ตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งอื่นเป็นกรรมการแทน แต่บุคคลนั้นต้องดำรงตำแหน่งเป็นพนักงานจัดการทรัพย์สินหรือพนักงานธุรการประจำสำนักงานเคหะชุมชนนั้น จำเลยดำรงตำแหน่งทางสายงานเป็นพนักงานบริการและดำรงตำแหน่งทางการบริหารเป็นหัวหน้างานสำนักงาน ดูแลเคหะชุมชน จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการไขกุญแจเก็บเงินจากตู้โทรศัพท์ได้ การที่หัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนได้มอบหมายให้จำเลยมีหน้าที่ไขตู้โทรศัพท์เก็บเงินส่งเจ้าหน้าที่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งตั้งกรรมการที่ชอบด้วยกฎหมาย และถือไม่ได้ว่าเป็นการมอบหมายในฐานะผู้บังคับบัญชา หากแต่เป็นเรื่องมอบหมายงานให้จำเลยปฏิบัติแทนหัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนในฐานะประธานกรรมการ เป็นการภายในเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะจัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ในฐานะเป็นพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ การที่จำเลยเบียดบังเงินที่เก็บได้จากตู้โทรศัพท์บางส่วน จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2512 มาตรา 4 คงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่เมื่อการเคหะแห่งชาติมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการไขกุญแจตู้โทรศัพท์ต้องเป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนด หากไม่มีคุณสมบัติ การมอบหมายหน้าที่ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การเคหะแห่งชาติมีคำสั่งกำหนดบุคคลผู้ไขกุญแจตู้โทรศัพท์สาธารณะที่ติดตั้งในบริเวณเคหะชุมชนต่าง ๆ โดยในคำสั่งนั้นระบุตำแหน่งของกรรมการไว้โดยเฉพาะ และมีหัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนเป็นประธานกรรมการ ในกรณีที่บุคคลบางตำแหน่งไม่มีคำสั่งดังกล่าวก็ได้กำหนดให้หัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนแต่งตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งอื่นเป็นกรรมการแทนแต่บุคคลนั้นต้องดำรงตำแหน่งเป็นพนักงานจัดการทรัพย์สินหรือพนักงานธุรการประจำสำนักงานเคหะชุมชนนั้น จำเลยดำรงตำแหน่งทางสายงานเป็นพนักงานบริการและดำรงตำแหน่งทางการบริหารเป็นหัวหน้าคนงานสำนักงานดูแลเคหะชุมชน จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการไขกุญแจเก็บเงินจากตู้โทรศัพท์ได้ การที่หัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนได้มอบหมายให้จำเลยมีหน้าที่ไขตู้โทรศัพท์เก็บเงินส่งเจ้าหน้าที่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งตั้งกรรมการที่ชอบด้วยกฎหมาย และถือไม่ได้ว่าเป็นการมอบหมายในฐานะผู้บังคับบัญชา หากแต่เป็นเรื่องมอบหมายงานให้จำเลยปฏิบัติแทนหัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนในฐานะประธานกรรมการเป็นการภายในเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะจัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ในฐานะเป็นพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ การที่จำเลยเบียดบังเงินที่เก็บได้จากตู้โทรศัพท์บางส่วนจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 คงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่เมื่อการเคหะแห่งชาติมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักยอกเงินของพนักงานรัฐ: การพิจารณาความผิดตามกฎหมายอาญาและกฎหมายพิเศษ
พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา เมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่จำหน่ายตั๋วเดินทางยักยอกเงินค่าตั๋วเดินทางที่จำเลยได้รับไว้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และโดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายไม่เป็น 'พนักงาน' ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 ด้วย
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานยักยอกเงิน: การพิจารณาความผิดตามกฎหมายอาญาและกฎหมายเฉพาะ
พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา เมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่จำหน่ายตั๋วเดินทางยักยอกเงินค่าตั๋วเดินทางที่จำเลยได้รับไว้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และโดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 มาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายไม่เป็น 'พนักงาน' ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา4 ด้วย
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานยักยอกเงินค่าธรรมเนียมไปรษณีย์ การกำหนดกระทงความผิดและบทลงโทษ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำแหน่งนายไปรษณีย์โทรเลขอำเภอฝางและเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้รับเอาเงินค่าธรรมเนียมฝากส่งจดหมายแต่ละวันเป็นเวลา 7 วัน รวม 7ครั้งไว้โดยมิได้ปิดตราไปรษณียากรที่ซองจดหมายหรือมิได้จ่ายตราไปรษณียากรให้ผู้ฝากปิดเองตามระเบียบ แล้วเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมและกักจดหมายดังกล่าวแต่ละวันไว้ เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยยักยอกเอาเงินดังกล่าวแต่ละครั้งแต่ละวันไปอันเป็นความผิดหลายกรรมรวม 7 กรรม เมื่อพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 มาตรา15 บัญญัติให้พนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น จึงถือได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 จะปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 หาได้ไม่ และเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา147 แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทด้วยมาตรา 157 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกจากบทบัญญัติใหม่ที่บัญญัติถึงการรวมโทษที่เป็นคุณแก่จำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือนรวม 173 กระทง เป็นโทษจำคุก 576 ปี8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 บทเดียว ส่วนกำหนดโทษคงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้ไขการรวมกระทงลงโทษโดยให้ลดโทษจำเลยลงเหลือเพียง 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกจากบทบัญญัติใหม่ที่บัญญัติถึงการรวมกระทงความผิดที่เป็นคุณแก่จำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502มาตรา 4 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา4 ซึ่งเป็นบทหนัก จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือนรวม 173 กระทง เป็นโทษจำคุก 576 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา4 บทเดียว ส่วนกำหนดโทษคงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังนี้เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้ไขการรวมกระทงลงโทษโดยให้ลดโทษจำเลยลงเหลือเพียง 50 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
of 4