คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานปลอมแปลงเอกสารและยักยอกทรัพย์ โดยองค์กรมีทุนจากรัฐ
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนทั้งหมดหรือทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐแต่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ซึ่งเรียกโดยย่อว่า"ร.ส.พ." ก็จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 ซึ่งมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้กำหนดทุนของ ร.ส.พ. เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาทโดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาทและจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร" และทางราชการได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดเป็นของรัฐ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ็กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์จากผู้ที่มาเอ็กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับเงินไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ็กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเอกสารสิทธิ (ใบเสร็จ) และยักยอกทรัพย์โดยพนักงานของรัฐ ฎีกาชี้ว่าฟ้องสมบูรณ์และมีความผิดตามกฎหมาย
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนทั้งหมดหรือทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐ แต่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ซึ่งเรียกโดยย่อว่า "ร.ส.พ." ก็จัดขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 ซึ่งมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้กำหนดทุนของ ร.ส.พ.เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาทโดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาทและจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆ ตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร" และทางราชการได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดเป็นของรัฐ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ๊กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ๊กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์จากผู้ที่มาเอ๊กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ๊กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกเงินของหน่วยงาน การชำระคืนไม่ทำให้พ้นผิดทางอาญา
จำเลยเป็นพนักงานเสมียนการไฟฟ้าและได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการร้านค้าการไฟฟ้าของโจทก์ร่วม ได้ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไป การที่จำเลยนำเงินที่ยักยอกไปมาชำระให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้น เพียงแต่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางแพ่งเท่านั้น ไม่ทำให้พ้นความรับผิดทางอาญา โจทก์ร่วมย้งคงเป็นผู้เสียหายในความผิดทางอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานเบียดบังเงินและสนับสนุนการทุจริตเบิกจ่ายเงิน ร.ส.พ.
ร.ส.พ.สาขาจังหวัดขอนแก่นดำเนินงานอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของผู้จัดการ ร.ส.พ.สาขาจังหวัดอุดรธานี จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของ ร.ส.พ.ประจำอยู่ที่สาขาจังหวัดขอนแก่นจำเลยที่2 เป็นเจ้าของรถร่วมที่นำรถยนต์เข้าร่วมกิจการขนส่งสินค้ากับ ร.ส.พ. จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาเงินของ ร.ส.พ.สาขาขอนแก่น ได้เบียดบังเอาเงินของ ร.ส.พ.ซึ่งอยู่ในหน้าที่รักษาของจำเลยที่ 1 เอง ด้วยวิธีทำหลักฐานเท็จเบิกจ่ายเงินไป โดยให้จำเลยที่ 2 ทำหลักฐานเท็จยื่นต่อจำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินค่าขนส่งสินค้า อันเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานฯมาตรา 4 ส่วน จำเลยที่ 2 มีความผิดตามบทมาตราดังกล่าวประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานยังได้ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตในการขอเบิกจ่ายเงินประเภทที่จะต้องขอเบิกจ่ายต่อ ร.ส.พ.สาขาอุดรธานี ด้วยการทำหลักฐานเท็จเสนอขออนุมัติจ่าย จนผู้จัดการ ร.ส.พ.สาขาอุดรธานีหลงเชื่ออนุมัติให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 ที่สถานี ร.ส.พ.สาขาอุดรธานี การกระทำของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้เป็นความผิดตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดส่วนนี้ การกระทำผิดของจำเลยหาต้องด้วยมาตรา 8 ด้วยไม่ และเมื่อเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานยักยอกเงินและสนับสนุนการกระทำผิด กรณีเบิกจ่ายเงินเท็จจาก ร.ส.พ.
ร.ส.พ.สาขาจังหวัดขอนแก่นดำเนินงานอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของผู้จัดการ ร.ส.พ. สาขาจังหวัดอุดรธานี จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของ ร.ส.พ.ประจำอยู่ที่สาขาจังหวัดขอนแก่น จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถร่วมที่นำรถยนต์เข้าร่วมกิจการขนส่งสินค้ากับ ร.ส.พ. จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาเงินของ ร.ส.พ.สาขาขอนแก่น ได้เบียดบังเอาเงินของ ร.ส.พ.ซึ่งอยู่ในหน้าที่รักษาของจำเลยที่ 1 เอง ด้วยวิธีทำหลักฐานเท็จเบิกจ่ายเงินไป โดยให้จำเลยที่ 2 ทำหลักฐานเท็จยื่นต่อจำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินค่าขนส่งสินค้า อันเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานฯ มาตรา 4 ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดตามบทมาตราดังกล่าวประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานยังได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตในการขอเบิกจ่ายเงินประเภทที่จะต้องขอเบิกจ่ายต่อ ร.ส.พ.สาขาอุดรธานี ด้วยการทำหลักฐานเท็จเสนอขออนุมัติจ่าย จนผู้จัดการ ร.ส.พ.สาขาอุดรธานีหลงเชื่ออนุมัติให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 ที่สถานี ร.ส.พ.สาขาอุดรธานี การกระทำของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้เป็นความผิดตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดส่วนนี้ การกระทำผิดของจำเลยหาต้องด้วยมาตรา 8 ด้วยไม่ และเมื่อเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ การให้ผู้อื่นยืมก่อนถือเป็นเจตนาทุจริต การปรับบทลงโทษตาม ป.อาญา ม.147
จำเลยเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีหน้าที่รับเงินรายได้ต่างๆ ของการรถไฟฯ ได้รับเงินรายได้ไว้จำนวนหนึ่ง แล้วไม่นำส่งตามกำหนดเวลาที่มีระเบียบวางไว้โดยได้ให้ อ. ยืมเงินจำนวนนี้ไป ต่อมา อ. หนีไปจำเลยจึงรับใช้เงินดังกล่าวให้จนครบ ดังนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยนำเงินที่จำเลยมีหน้าที่รักษาไว้ไปให้ผู้อื่นยืมใช้ก่อนถือได้ว่าเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ของตนเองและผู้อื่นโดยมีเจตนาทุจริตตั้งแต่เวลาที่จำเลยให้ผู้อื่นยืมไป การใช้เงินคืนในภายหลังเพียงเป็นเหตุบรรเทาโทษเท่านั้นและเมื่อพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา จึงถือได้ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 จะปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานรัฐยักยอกเงินและการปลอมเอกสารสิทธิ: การปรับบทความผิดให้ถูกต้อง
จำเลยเป็นพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอันเป็นองค์การของรัฐ ใช้อำนาจในหน้าที่เบียดบังยักยอกเอาเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยรับไว้โดยทุจริต ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 เพียงมาตราเดียว ไม่ผิดตามมาตรา 8ด้วย เพราะเป็นการเบียดบังตัวทรัพย์ที่อยู่ในหน้าที่ไว้เป็นประโยชน์ มิใช่อาศัยหน้าที่หาประโยชน์อื่นนอกเหนือจากการเบียดบังเอาทรัพย์ และกรณีดังกล่าวไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 อีก
ใบเสร็จรับเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ถูกทำปลอมขึ้นเพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นใบเสร็จที่แท้จริง อันอาจนำไปเรียกเก็บเงินซ้ำอีกได้นั้น แม้จะมิได้มีการลงชื่อในช่องพนักงานเก็บเงินว่าได้รับเงินไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม ย่อมเป็นเอกสารสิทธิ แต่มิใช่เอกสารราชการ จำเลยผู้ทำปลอมขึ้นต้องมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดตามมาตรา 266 และกรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานเบียดบังทรัพย์กับความผิดสนับสนุน: การลงโทษฐานเดียวตาม พ.ร.บ.พนักงานในองค์การ
คำฟ้องในตอนแรกกล่าวว่า ส. ซึ่งเป็นพนักงานขับรถยนต์ขององค์การ ร.ส.พ. ร่วมกับจำเลยและพวกลักเอาผ้าปูพื้นเต็นท์สนามของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบขององค์การ ร.ส.พ. และบรรทุกมาในรถที่ ส. ขับ ในตอนต่อไปกล่าวว่า การกระทำของ ส.ดังกล่าวเป็นการเบียดบังทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครองขององค์การ ร.ส.พ.ในขณะที่ ส. มีหน้าที่จัดการและรักษาทรัพย์นี้ตามหน้าที่ไปเป็นประโยชน์ของตนและผู้อื่นโดยทุจริต จำเลยกับพวกเป็นผู้สนับสนุนการกระทำของ ส. เบียดบังเอาทรัพย์นั้นไป กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์บรรยายฟ้องประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502มาตรา 4 ซึ่งมีอัตราโทษหนักนั่นเอง และในกรณีเช่นนี้การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานสนับสนุนผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502เท่านั้น หาเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดความ 'พนักงาน' ใน พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ ทุนขององค์กรต้องมาจากรัฐเกินครึ่ง จึงจะถือเป็นพนักงานได้
การที่จะถือว่าจำเลยซึ่งเป็นพนักงานขององค์การค้าของคุรุสภาเป็น "พนักงาน" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 หรือไม่ จะต้องได้ความว่า ทุนทั้งหมดหรือทุนเกินร้อยละห้าสิบขององค์การค้าของคุรุสภาเป็นของรัฐ เมื่องานหรือทุนที่ดำเนินการองค์การค้าของคุรุสภาเป็นของคุรุสภาซึ่งเป็นนิติบุคคล มิใช่เป็นของรัฐ จำเลยจึงไม่เป็น "พนักงาน" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'พนักงาน' ตาม พ.ร.บ.ความผิดพนักงานฯ ต้องได้รับการบรรจุเป็นเงินเดือน ไม่ใช่แค่ค่าจ้างรายวัน
จำเลยเข้าทำงานในองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปในตำแหน่งเสมียนหน่วยการเงิน ได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน จำเลยจะทำงานอะไรแล้วแต่หัวหน้าหน่วยจะสั่งให้ทำในเรื่องเกี่ยวกับการเงิน เมื่อจำเลยปฏิบัติงานมาไม่ต่ำกว่า 3 เดือนหรือกว่านั้น ถ้าองค์การพิจารณาเห็นสมควร จึงจะรับบรรจุเป็นเงินเดือน ดังนี้ เมื่อจำเลยอยู่ในระหว่างทดลองให้ปฏิบัติงานชั่วคราวโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502
มาตรา 20 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปพ.ศ.2498. ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการของ อสร. ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้ และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง ทั้งต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการจัดการและดำเนินกิจการของ อสร. ซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้อำนวยการย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ดำเนินคดี มีอำนาจแจ้งความหรือร้องทุกข์ หรือสั่งให้บุคคลอื่นไปแจ้งความหรือร้องทุกข์แทน ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลย ที่เบียดบังยักยอกเอาเงินของอสร. ไปได้
of 4