พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำว่า 'พนักงาน' ใน พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบงานด้วยตนเอง
คำว่าพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ปฏิบัติงานโดยมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ด้วยตนเอง ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นคนงานทดลองปฏิบัติงานชั่วคราวในองค์การสวนสัตว์ยังไม่ได้รับการบรรจุและไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่องานอย่างใดโดยเฉพาะ แต่ทำงานอยู่ในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่อีกชั้นหนึ่ง ย่อมไม่เป็นพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อจำเลยยักยอกทรัพย์ขององค์การสวนสัตว์ไป ก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำว่า 'พนักงาน' ใน พ.ร.บ. ความผิดของพนักงานในหน่วยงานของรัฐ: ผู้ทดลองงานชั่วคราว
คำว่าพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ปฏิบัติงานโดยมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ด้วยตนเอง ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นคนงานทดลองปฏิบัติงานชั่วคราวในองค์การสวนสัตว์ยังไม่ได้รับการบรรจุ และไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่องานอย่างใดโดยเฉพาะ แต่ทำงานอยู่ในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่อีกชั้นหนึ่ง ย่อมไม่เป็นพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อจำเลยยักยอกทรัพย์ขององค์การสวนสัตว์ไป ก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกเงินขององค์การตลาดโดยเจ้าพนักงาน แม้เป็นเจ้าพนักงานชั้นผู้น้อย
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเรียกเก็บเงินค่าเช่าแผงลอยค่าโอนแผงลอย ค่าต่อสัญญาเช่าต่างๆ เป็นรายเดือนจากบุคคลหลายราย ในหลายท้องที่ และเรียกเก็บอยู่เป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี. ในระหว่างนั้นก็ได้ยักยอกเอาเงินที่เรียกเก็บมาได้นั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียในระหว่างวันเวลาสถานที่ดังกล่าวในฟ้อง. ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงลักษณะวิธีการพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลย.และกล่าวความเกี่ยวกับวันเวลาสถานที่ที่หาว่าจำเลยกระทำผิดพอสมควร ที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว. ไม่ใช่คำฟ้องเคลือบคลุม.
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการเงินขององค์การตลาดให้เป็นไปตามหน้าที่ของจำเลย. การที่จำเลยยักยอกเอาเงินขององค์การตลาดไป. จึงเป็นความผิดในฐานะเป็นเจ้าพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐกระทำการทุจริตต่อหน้าที่. เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502มาตรา 4.
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการเงินขององค์การตลาดให้เป็นไปตามหน้าที่ของจำเลย. การที่จำเลยยักยอกเอาเงินขององค์การตลาดไป. จึงเป็นความผิดในฐานะเป็นเจ้าพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐกระทำการทุจริตต่อหน้าที่. เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502มาตรา 4.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานยักยอกเงินขององค์การตลาด แม้เป็นเจ้าพนักงานชั้นผู้น้อยก็ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเรียกเก็บเงินค่าเช่าแผงลอยค่าโอนแผงลอย ค่าต่อสัญญาเช่าต่างๆ เป็นรายเดือนจากบุคคลหลายราย ในหลายท้องที่ และเรียกเก็บอยู่เป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี ในระหว่างนั้นก็ได้ยักยอกเอาเงินที่เรียกเก็บมาได้นั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียในระหว่างวันเวลาสถานที่ดังกล่าวในฟ้อง ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงลักษณะวิธีการพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยและกล่าวความเกี่ยวกับวันเวลาสถานที่ที่หาว่าจำเลยกระทำผิดพอสมควร ที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วไม่ใช่คำฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการเงินขององค์การตลาดให้เป็นไปตามหน้าที่ของจำเลยการที่จำเลยยักยอกเอาเงินขององค์การตลาดไปจึงเป็นความผิดในฐานะเป็นเจ้าพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐกระทำการทุจริตต่อหน้าที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502มาตรา 4
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการเงินขององค์การตลาดให้เป็นไปตามหน้าที่ของจำเลยการที่จำเลยยักยอกเอาเงินขององค์การตลาดไปจึงเป็นความผิดในฐานะเป็นเจ้าพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐกระทำการทุจริตต่อหน้าที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานยักยอกเงินขององค์การตลาด แม้เป็นเจ้าพนักงานชั้นผู้น้อยก็ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเรียกเก็บเงินค่าเช่าแผงลอย ค่าโอนแผงลอยค่าต่อสัญญาเช่าต่าง ๆ เป็นรายเดือนจากบุคคลหลายราย ในหลายท้องที่ และเรียกเก็บอยู่เป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี ในระหว่างนั้นก็ได้ยักยอกเอาเงินที่เรียกเก็บมาได้นั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียในระหว่างวันเวลา สถานที่ดังกล่าวในฟ้อง ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงลักษณะวิธีการพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลย และกล่าวความเกี่ยวกับวันเวลาสถานที่ที่หาว่าจำเลยกระทำผิดพอสมควร ที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่ใช่คำฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการเงินขององค์การตลาด ให้เป็นไปตามหน้าที่ของจำเลย การที่จำเลยยักยอกเอาเงินขององค์การตลาดไป จึงเป็นความผิดในฐานะเป็นเจ้าพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการเงินขององค์การตลาด ให้เป็นไปตามหน้าที่ของจำเลย การที่จำเลยยักยอกเอาเงินขององค์การตลาดไป จึงเป็นความผิดในฐานะเป็นเจ้าพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานธนาคารฉ้อโกง ยักยอกเงินผู้ฝาก ผู้จัดการต้องรับผิดฐานทรยศความไว้วางใจ
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบทั่วไปในธุระกิจและควบคุมบังคับบัญชาพนักงานของธนาคารออมสินสาขาบังอาจปลอมใบถอนเงินของผู้ฝากแล้วกรอกจำนวนเงินนำไปเบิกต่อธนาคารออมสินที่จำเลยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วเบียดบังยักยอกไว้เป็นของตนโดยทุจริตนั้นถือว่าเป็นความผิดที่จำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดของผู้จัดการธนาคารที่ปลอมเอกสารเบิกเงินและยักยอกทรัพย์สินของธนาคาร
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบทั่วไปในธุระกิจและควบคุมบังคับบัญชาพนักงานของธนาคารออกสินสาขา บังอาจปลอมใบถอนเงินของผู้ฝากแล้วกรอกจำนวนเงินนำไปเบิกต่อธนาคารออกสินที่จำเลยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วเบียดบังยักยอกไว้เป็นของตนโดยทุจริตนั้น ถือว่าเป็ฯความผิดที่จำเลยได้กระทในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ระหว่าง 'พนักงาน' ตาม พ.ร.บ.ความผิดพนักงานรัฐ กับ 'เจ้าพนักงาน' ตามกฎหมายอื่น และขอบเขตการฟ้องคดี
ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 ให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า 'พนักงาน' ไว้ให้หมายถึง บุคคลต่างๆ ตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย จำเลยเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลยย่อมเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย คือเป็นเจ้าพนักงานตามความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ฉะนั้น จำเลยจึงไม่เป็น 'พนักงาน' ตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 แต่เพียงประการเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็น'พนักงาน' ซึ่งจะมีความผิดตามมาตรานี้ได้แล้วก็ต้องยกฟ้อง จะยกบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญาขึ้นมาพิจารณาลงโทษจำเลยโดยโจทก์มิได้ขอมาไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 แต่เพียงประการเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็น'พนักงาน' ซึ่งจะมีความผิดตามมาตรานี้ได้แล้วก็ต้องยกฟ้อง จะยกบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญาขึ้นมาพิจารณาลงโทษจำเลยโดยโจทก์มิได้ขอมาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'พนักงาน' ใน พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ และขอบเขตการฟ้องคดีอาญาเฉพาะ
ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน" ไว้ให้หมายถึง บุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย จำเลยเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลยย่อมเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย คือเป็นเจ้าพนักงานตามความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ฉะนั้น จำเลยจึงไม่เป็นพนักงาน" ตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 แต่เพียงประการเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็น "พนักงาน" ซึ่งจะมีความผิดตามมาตรานี้ได้แล้ว ก็ต้องยกฟ้อง จะยกบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญาขึ้นมาพิจารณาลงโทษจำเลยโดยโจทก์มิได้ขอมาไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 แต่เพียงประการเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็น "พนักงาน" ซึ่งจะมีความผิดตามมาตรานี้ได้แล้ว ก็ต้องยกฟ้อง จะยกบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญาขึ้นมาพิจารณาลงโทษจำเลยโดยโจทก์มิได้ขอมาไม่ได้