พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมกัน: การรับผิดชอบของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย และขอบเขตการบังคับคดี
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีที่โจทก์ จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกันและมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดอย่างคดีธรรมดาที่จะต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยแล้วพิพากษาชี้ขาดประเด็นข้อพิพาท ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือไม่เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นไกล่เกลี่ยแล้วคู่ความในคดีรวมทั้ง ก. และ น. ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย แม้จะมี ก. และ น. เข้าร่วมตกลงด้วย
การที่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง ก. และ น. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอม สัญญาประนีประนอมยอมความจึงชอบด้วยกฎหมาย ผูกพันคู่สัญญาทุกฝ่ายในสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนคำพิพากษาตามยอมซึ่งพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดตามสัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันเฉพาะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ไม่ผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เป็นคู่ความเว้นแต่ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 142 (1), 245 และ 274 และในข้อยกเว้นตามมาตรา 145 วรรคสอง (1) (2) เมื่อ ก. ประพฤติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิขอบังคับคดีแก่ ก. โดยอาศัยสัญญาประนีประนอมและคำพิพากษาตามยอมคดีนี้ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ ก. เป็นคดีต่างหาก แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 11 ระบุว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดข้อตกลงในสัญญายอมข้อใดข้อหนึ่งให้บังคับคดีไปตามสัญญายอมนี้ได้ทันที โดยให้ถือเอาคำพิพากษาตามยอมของศาลเป็นการแสดงเจตนา พร้อมให้ชำระเงิน 2,000,000 บาท แก่คู่ความอีกฝ่ายด้วย ก็มีความหมายเพียงว่า ถ้าคู่สัญญาคนใดในสัญญาประนีประนอมยอมความผิดสัญญาข้อใดก็ให้บังคับคดีเอาแก่คู่สัญญานั้นตามสัญญาแต่ละข้อเท่านั้น เพราะในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมิได้มีข้อตกลงให้โจทก์ทั้งสองกับ ก. ต้องรับผิดร่วมกันในการชำระหนี้แก่จำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมิได้ประพฤติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเอาแก่โจทก์ทั้งสอง
การที่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง ก. และ น. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอม สัญญาประนีประนอมยอมความจึงชอบด้วยกฎหมาย ผูกพันคู่สัญญาทุกฝ่ายในสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนคำพิพากษาตามยอมซึ่งพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดตามสัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันเฉพาะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ไม่ผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เป็นคู่ความเว้นแต่ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 142 (1), 245 และ 274 และในข้อยกเว้นตามมาตรา 145 วรรคสอง (1) (2) เมื่อ ก. ประพฤติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิขอบังคับคดีแก่ ก. โดยอาศัยสัญญาประนีประนอมและคำพิพากษาตามยอมคดีนี้ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ ก. เป็นคดีต่างหาก แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 11 ระบุว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดข้อตกลงในสัญญายอมข้อใดข้อหนึ่งให้บังคับคดีไปตามสัญญายอมนี้ได้ทันที โดยให้ถือเอาคำพิพากษาตามยอมของศาลเป็นการแสดงเจตนา พร้อมให้ชำระเงิน 2,000,000 บาท แก่คู่ความอีกฝ่ายด้วย ก็มีความหมายเพียงว่า ถ้าคู่สัญญาคนใดในสัญญาประนีประนอมยอมความผิดสัญญาข้อใดก็ให้บังคับคดีเอาแก่คู่สัญญานั้นตามสัญญาแต่ละข้อเท่านั้น เพราะในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมิได้มีข้อตกลงให้โจทก์ทั้งสองกับ ก. ต้องรับผิดร่วมกันในการชำระหนี้แก่จำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมิได้ประพฤติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเอาแก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันการบังคับคดี: ศาลชอบที่จะบังคับคดีจากผู้ประกันได้ทันทีเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้
ผู้ร้องนำใบหุ้น มาวางประกันการทุเลาการบังคับคดีในชั้นอุทธรณ์ว่า ถ้าจำเลยแพ้คดีโจทก์และไม่นำเงินมาชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษา ผู้ร้องยอมให้บังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันทันที เป็นการทำสัญญาประกันต่อศาลว่าถ้าจำเลยแพ้คดีผู้ร้องจะชำระหนี้แทน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้มีจำนวนสูงกว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลย่อมออกคำบังคับแก่ผู้ร้องได้ทันทีโดยไม่ต้องฟ้องผู้ร้องใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 จึงไม่ใช่กรณีผู้ร้องทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้โจทก์ ตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 11 เรื่องค้ำประกัน ดังนั้น จึงไม่อาจนำมาตรา 688 ถึง 690 มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยไม่สามารถชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้ออกคำบังคับแก่ผู้ร้องได้ หาต้องดำเนินการบังคับคดีกับจำเลยก่อนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7651/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักประกันการชำระหนี้ตามคำพิพากษา: สิทธิการรับคืนหลักประกันเมื่อจำเลยยังไม่ชำระหนี้
ผู้ร้องทำหนังสือค้ำประกันไว้ในศาลระบุว่า ผู้ร้องขอเข้าทำสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันในศาล สำหรับจำเลยเพื่อชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจนครบ และนำหลักทรัพย์โฉนดที่ดิน (น.ส. 4 จ.) เลขที่ 2669 เลขที่ดิน 28 มาวางเป็นหลักประกัน หากจำเลยไม่ชำระ ผู้ร้องยินยอมให้บังคับแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนี้ ย่อมใช้บังคับแก่การประกันโดยไม่ต้องฟ้องผู้ค้ำประกันขึ้นใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274
แม้หนังสือค้ำประกันจะเป็นการค้ำประกันในชั้นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และมีข้อความระบุทำนองว่า เพื่อชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนในศาลอุทธรณ์ภาค 4 โดยคิดถึงวันฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 แต่ในชั้นยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา จำเลยยื่นคำร้องขอถือเอาหลักประกันเพื่อใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย และศาลฎีกามีคำสั่งว่า การยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 252 จะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ประกอบมาตรา 247 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ถือเอาหลักประกันในชั้นยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์มาเป็นหลักประกันในชั้นนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะยกคำร้อง ก็พอถือได้ว่าจำเลยได้วางหลักประกันในชั้นนี้แล้ว ศาลฎีการับวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย ย่อมเท่ากับว่าจำเลยได้วางหลักประกันในชั้นฎีกาด้วย เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งว่าที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยชอบแล้ว คดีถึงที่สุดปรากฏว่าจำเลยยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนแก่โจทก์ ผู้ร้องก็ไม่อาจขอรับโฉนดที่ดินอันเป็นหลักประกันคืนจากศาลได้
แม้หนังสือค้ำประกันจะเป็นการค้ำประกันในชั้นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และมีข้อความระบุทำนองว่า เพื่อชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนในศาลอุทธรณ์ภาค 4 โดยคิดถึงวันฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 แต่ในชั้นยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา จำเลยยื่นคำร้องขอถือเอาหลักประกันเพื่อใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย และศาลฎีกามีคำสั่งว่า การยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 252 จะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ประกอบมาตรา 247 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ถือเอาหลักประกันในชั้นยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์มาเป็นหลักประกันในชั้นนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะยกคำร้อง ก็พอถือได้ว่าจำเลยได้วางหลักประกันในชั้นนี้แล้ว ศาลฎีการับวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย ย่อมเท่ากับว่าจำเลยได้วางหลักประกันในชั้นฎีกาด้วย เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งว่าที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยชอบแล้ว คดีถึงที่สุดปรากฏว่าจำเลยยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนแก่โจทก์ ผู้ร้องก็ไม่อาจขอรับโฉนดที่ดินอันเป็นหลักประกันคืนจากศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077-3078/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจากสัญญาค้ำประกันที่ยังคงมีผล แม้มีการคืนโฉนดและทำสัญญาใหม่ และการขยายระยะเวลาบังคับคดีโดยศาล
ข้อความตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2533 มีใจความว่า "...ข้าพเจ้า นายกิตติวัฒน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต... และนายวิรัช ศรีสวัสดิ์... ผู้รับมอบอำนาจขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลนี้ว่า เมื่อคดีถึงที่สุดโจทก์แพ้คดีจำเลย และไม่สามารถนำเงินมาชำระให้จำเลยได้ตามคำพิพากษา ข้าพเจ้ายอมให้บังคับคดีเอาจากที่ดินตามโฉนดเลขที่ 197889, 197890 ตำบลประเวช อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร และหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาสำนักเพชรบุรี กรุงเทพมหานคร เลขที่ แอลจี. สพ.201/2533 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2533 ซึ่งข้าพเจ้าได้นำมาวางประกันต่อศาลแล้ว" ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลย แต่โจทก์ไม่ชำระและยื่นฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายืน ผู้ประกันทั้งสองจึงยังคงต้องรับผิดตามข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ความรับผิดของผู้ค้ำประกันทั้งสองจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 หรือศาลฎีกาศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้จำเลยแพ้คดี หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่ คดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะคืนโฉนดที่ดินเลขที่ 197889 และ 197890 ให้แก่โจทก์และทำหนังสือสัญญาค้ำประกันลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 แต่ก็เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไปโดยผิดหลง และศาลชั้นต้นสั่งให้เพิกถอนหนังสือสัญญาค้ำประกันลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 แล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่คืนโฉนดที่ดินเลขที่ 197889 และ 197890 แก่โจทก์ และการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 จึงไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่ามีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่ ผู้ค้ำประกันทั้งสองจึงยังคงต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันลงวันที่ 2 สิงหาคม 2533
การร้องขอให้บังคับคดีซึ่งต้องกระทำภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 271 ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวได้ โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอ แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาวันที่ 3 ตุลาคม 2537 ผู้ร้องทั้งสองขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับและส่งคำบังคับให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสอง ตามคำร้องลงวันที่ 1 กันยายน 2546 วันที่ 23 กันยายน 2546 และวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 ยังอยู่ภายในกำหนด 10 ปี แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าว ผู้ร้องทั้งสองจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์วันที่ 8 มกราคม 2547 และอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 ที่พิพากษาให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับและส่งคำบังคับให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสองตามสัญญาค้ำประกันลงวันที่ 2 สิงหาคม 2533 กรณีจึงต้องมีการบังคับคดีต่อไปและนับได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ แต่เวลาบังคับคดีได้สิ้นสุดลงในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ทำให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีไม่อาจมีคำสั่งขยายระยะเวลาบังคับคดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น จึงมีเหตุสุดวิสัย ต่อมาผู้ร้องทั้งสองยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับและส่งคำบังคับให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำแถลงดังกล่าว ต้องถือว่าศาลชั้นต้นสั่งขยายระยะเวลาบังคับคดีออกไปแล้ว เพราะมิฉะนั้นการบังคับคดีย่อมไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ ผู้ร้องทั้งสองจึงชอบที่จะบังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์ของผู้ค้ำประกันทั้งสองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 แต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งขยายระยะเวลาบังคับคดีออกไปโดยไม่มีเวลาครบกำหนด ศาลฎีกาจึงกำหนดเวลาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
การร้องขอให้บังคับคดีซึ่งต้องกระทำภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 271 ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวได้ โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอ แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาวันที่ 3 ตุลาคม 2537 ผู้ร้องทั้งสองขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับและส่งคำบังคับให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสอง ตามคำร้องลงวันที่ 1 กันยายน 2546 วันที่ 23 กันยายน 2546 และวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 ยังอยู่ภายในกำหนด 10 ปี แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าว ผู้ร้องทั้งสองจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์วันที่ 8 มกราคม 2547 และอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 ที่พิพากษาให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับและส่งคำบังคับให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสองตามสัญญาค้ำประกันลงวันที่ 2 สิงหาคม 2533 กรณีจึงต้องมีการบังคับคดีต่อไปและนับได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ แต่เวลาบังคับคดีได้สิ้นสุดลงในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ทำให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีไม่อาจมีคำสั่งขยายระยะเวลาบังคับคดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น จึงมีเหตุสุดวิสัย ต่อมาผู้ร้องทั้งสองยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับและส่งคำบังคับให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำแถลงดังกล่าว ต้องถือว่าศาลชั้นต้นสั่งขยายระยะเวลาบังคับคดีออกไปแล้ว เพราะมิฉะนั้นการบังคับคดีย่อมไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ ผู้ร้องทั้งสองจึงชอบที่จะบังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์ของผู้ค้ำประกันทั้งสองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 แต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งขยายระยะเวลาบังคับคดีออกไปโดยไม่มีเวลาครบกำหนด ศาลฎีกาจึงกำหนดเวลาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5181/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันครอบคลุมหนี้ทั้งปวงของผู้ค้ำและลูกหนี้ร่วม การบังคับตามหนังสือประกันทำได้แม้ลูกหนี้คนหนึ่งพ้นความรับผิด
จำเลยอุทธรณ์และได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ โดยจำเลยทั้งสองนำหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ก. ที่ออกให้เพื่อค้ำประกันเฉพาะจำเลยที่ 1 มาวางเป็นหลักประกันพร้อมทำหนังสือประกันต่อศาลชั้นต้น กรณีดังกล่าวถือว่านอกจากจำเลยที่ 1 จะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 1 ยังมีฐานะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยทั้งสองตามหนังสือประกันที่ทำต่อศาล เมื่อปรากฏว่าต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 และศาลฎีกาพิพากษายืน ก็เพียงแต่เป็นผลให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องชำระเงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นระงับสิ้นไป แต่ความรับผิดตามหนังสือประกันหาได้ระงับไปด้วยไม่ เพราะไม่มีข้อความใดระบุว่าหนังสือประกันดังกล่าวให้มีผลบังคับเฉพาะในชั้นอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่เป็นการทำหนังสือประกันเพื่อได้รับการทุเลาการบังคับเฉพาะจำเลยคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองยอมรับผิดร่วมกันในฐานะผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้แทนจำเลยทั้งสองหรือจำเลยคนใดคนหนึ่งหากไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยังมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา แต่จำเลยที่ 2 ไม่ชำระ โจทก์ก็มีสิทธิบังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองนำมาวางเป็นหลักประกันตามสัญญาค้ำประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6619/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนหนังสือค้ำประกันหลังคำสั่งอายัดถูกเพิกถอนด้วยความยินยอมและหนังสือค้ำประกันเป็นสัญญาแยกต่างหาก
โจทก์ทั้งสองและจำเลยตกลงกันให้ศาลชั้นต้นถอนคำสั่งอันเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยจำเลยเสนอหนังสือค้ำประกันของธนาคารซึ่งเป็นบุคคลภายนอกยอมผูกพันเพื่อการชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยเงื่อนไขว่าหากคดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ธนาคารจึงต้องผูกพันตามข้อความในหนังสือค้ำประกันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 กรณีไม่อาจถือว่าการเข้าค้ำประกันของธนาคารต่อศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา เป็นคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันจะมีผลยกเลิกไปเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ตามมาตรา 260 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันสัญญาค้ำประกันที่ทำต่อหน้าศาล แม้มีลายมือชื่อจำกัด
ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมีคำพิพากษาตามยอมศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยได้นำตัว ช.มาทำสัญญาค้ำประกันตามที่ตกลงกันจึงให้ผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันเสนอมาในวันนี้ด้วยแล้วแม้หนังสือสัญญาค้ำประกันคงมีแต่เพียงลายมือชื่อของ ช. กับจ่าศาลลงไว้เท่านั้นก็ถือได้ว่า ช. ได้เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในศาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา274แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาค้ำประกันเมื่อมีการเปลี่ยนหลักทรัพย์ค้ำประกันในชั้นอุทธรณ์ ผู้ค้ำประกันเดิมมีสิทธิรับหลักทรัพย์คืน
ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามที่โจทก์ร้องขอต่อมาจำเลยนำผู้ร้องมาทำสัญญาค้ำประกันโดยนำโฉนดที่ดินวางไว้ต่อศาล โจทก์จึงได้ถอนคำขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาไป ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์และได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดย ป. บุตรชายจำเลยนำสมุดเงินฝากธนาคารออมสินมาวางประกัน การที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดย ป.นำสมุดฝากเงินธนาคารออมสิน วางเงิน ประกันแทนหลักทรัพย์ที่ผู้ร้องวางประกันไว้ แสดงว่าในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้เปลี่ยนหลักทรัพย์ ในการค้ำประกันจากของผู้ร้องมาเป็นของ ป.สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องที่ไว้ต่อศาลจึงสิ้นสุดลง ผู้ร้องมีสิทธิรับ โฉนดที่ดินวางประกันไว้คืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกันหลังสัญญาประนีประนอมสิ้นสุด – ไม่ต้องฟ้องคดีใหม่
เมื่อจำเลยรับว่าจำเลยยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่ภายหลังจากกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้โดยยึดทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 ได้โดยไม่ต้องฟ้องผู้ค้ำประกันเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันตามคำพิพากษาตามยอม ผู้ค้ำประกันมีหน้าที่ชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัด
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วจำเลยตกลงจะนำบริษัท ค. เข้ามาเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้โดยยินยอมผูกพันตนรับผิดกับจำเลยอย่างลูกหนี้ร่วม และบริษัท ค.ได้ทำสัญญาดังกล่าวแล้ว ดังนั้นจึงถือว่าบริษัท ค. เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในศาล โดยทำหนังสือประกันเพื่อการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 แล้ว เมื่อจำเลยยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่ โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้เอากับบริษัท ค.ผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่