คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 274

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันระงับเมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง แม้ศาลฎีกาจะกลับคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยคืนที่นาและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ และขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดยให้จำเลยหาประกันสำหรับค่าเสียหายที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาล ผู้ค้ำประกันจึงได้นำที่ดินและห้องแถว 2 ห้องมาวางเป็นหลักประกัน และทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้นว่า ถ้าจำเลยแพ้คดีโจทก์และไม่สามารถชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ได้ ผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้แทนจำเลยจนครบ โดยในสัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดตลอดไปจนกว่าจะถึงที่สุด ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ สัญญาค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันทำไว้นั้นย่อมระงับสิ้นไปทันที แม้ต่อมาศาลฎีกาจะพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ไม่มีผลทำให้สัญญาค้ำประกันที่ระงับไปแล้วนั้น กลับมีผลใช้บังคับได้อีกต่อไป โจทก์จึงขอให้ยึดทรัพย์ของผู้ค้ำประกันที่นำมาวางเป็นหลักประกันตามคำสั่งศาลอุทธรณ์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3337/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันของผู้รับรองหลักทรัพย์ในสัญญาประกัน การบังคับคดีและการแจ้งหนี้ที่ถูกต้อง
ผู้รับรองหลักทรัพย์ได้รับรองหลักทรัพย์ของผู้ทำสัญญาประกันไว้ว่า ขอรับรองว่าหลักทรัพย์ที่ผู้ทำสัญญาประกันเสนอมานี้มีจริง ถ้าไม่มีหรือไม่พอ ผู้รับรองหลักทรัพย์ยอมใช้ให้จนครบถ้วน เช่นนี้ ผู้รับรองหลักทรัพย์ยอมผูกพันตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันผู้ทำสัญญาประกันในอันที่จะชำระค่าปรับ เมื่อศาลสั่งปรับผู้ทำสัญญาประกันและทรัพย์สินของผู้ทำสัญญาประกันมีไม่พอชำระค่าปรับ ขาดอยู่เท่าใด ผู้รับรองหลักทรัพย์ต้องรับผิดในจำนวนค่าปรับที่ขาดอยู่นั้น ดังนั้นเมื่อผู้ทำสัญญาประกันผิดสัญญาประกัน จนศาลสั่งปรับตามสัญญาประกัน และเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์และขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ทำสัญญาประกันตามคำสั่งศาล.ยังไม่หมด ยังไม่ทราบว่าผู้ทำสัญญาประกันค้างชำระค่าปรับเท่าใด การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งให้ยึดทรัพย์และอายัดสิทธิเรียกร้องของผู้รับรองหลักทรัพย์ที่มีต่อบุคคลภายนอก โดยมิได้ออกคำบังคับแจ้งให้ผู้รับรองหลักทรัพย์ทราบว่าจะต้องชำระค่าปรับเท่าใด ภายในกำหนดเวลาเท่าใดเสียก่อน จึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3337/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับรองหลักทรัพย์มีหน้าที่ชำระค่าปรับเมื่อผู้ทำสัญญาประกันผิดนัดและทรัพย์สินไม่พอชำระ ศาลต้องออกคำบังคับก่อนยึดทรัพย์
ผู้รับรองหลักทรัพย์ได้รับรองหลักทรัพย์ของผู้ทำสัญญาประกันไว้ว่า ขอรับรองว่าหลักทรัพย์ที่ผู้ทำสัญญาประกันเสนอมานี้มีจริงถ้าไม่มีหรือไม่พอ ผู้รับรองหลักทรัพย์ยอมใช้ให้จนครบถ้วน เช่นนี้ผู้รับรองหลักทรัพย์ยอมผูกพันตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันผู้ทำสัญญาประกันในอันที่จะชำระค่าปรับ เมื่อศาลสั่งปรับผู้ทำสัญญาประกันและทรัพย์สินของผู้ทำสัญญาประกันมีไม่พอชำระค่าปรับ ขาดอยู่เท่าใดผู้รับรองหลักทรัพย์ต้องรับผิดในจำนวนค่าปรับที่ขาดอยู่นั้น ดังนั้นเมื่อผู้ทำสัญญาประกันผิดสัญญาประกัน จนศาลสั่งปรับตามสัญญาประกัน และเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์และขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ทำสัญญาประกันตามคำสั่งศาล.ยังไม่หมด ยังไม่ทราบว่าผู้ทำสัญญาประกันค้างชำระค่าปรับเท่าใด การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งให้ยึดทรัพย์และอายัดสิทธิเรียกร้องของผู้รับรองหลักทรัพย์ที่มีต่อบุคคลภายนอก โดยมิได้ออกคำบังคับแจ้งให้ผู้รับรองหลักทรัพย์ทราบว่าจะต้องชำระค่าปรับเท่าใด ภายในกำหนดเวลาเท่าใดเสียก่อน จึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิบังคับคดีจากทรัพย์สินทั้งหมด แม้มีจำนอง
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมตกลงชำระหนี้11,901.29 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายในเวลาที่กำหนไว้ ถ้าผิดนัดยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีรวมทั้งบังคับเงินจำนวนดังกล่าวได้ด้วย และตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิได้กล่าวไว้ว่า โจทก์จะบังคับเอาชำระหนี้ได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่ได้จำนองกันไว้ ดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากทรัพย์ใดๆ ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่โจทก์เจ้าหนี้ฟ้องบังคับจำนองจำเลยลูกหนี้ที่ยอมรับผิดชดใช้เงินกู้จนครบ ต่อมาเจ้าหนี้ลูกหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยลูกหนี้ยอมชำระเงินให้เจ้าหนี้ 311,901.29 บาทพร้อมดอกเบี้ย และศาลพิพากษาตามยอม ก็หมายความได้แต่เพียงว่า ยังไม่ขอบังคับตามสัญญาจำนองเท่านั้น มิใช่เป็นการปลดจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(2) ฉะนั้น เมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ มีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมบังคับเอาจากทรัพย์อื่นนอกเหนือจากที่จำนองไว้ได้ หาได้หมายความหรือเป็นการยกเลิกลบล้างข้อเรียกร้องตามคำขอท้ายฟ้องให้หมดไปและโจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้แต่เพียงทรัพย์ที่จำนองเท่านั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีจากทรัพย์สินทั้งหมดหลังผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีทรัพย์จำนอง
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมตกลงชำระหนี้ 11,901.29 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายในเวลาที่กำหนไว้ถ้าผิดนัดยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีรวมทั้งบังคับเงินจำนวนดังกล่าวได้ด้วย และตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิได้กล่าวไว้ว่า โจทก์จะบังคับเอาชำระหนี้ได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่ได้จำนองกันไว้ ดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากทรัพย์ใด ๆ ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่โจทก์เจ้าหนี้ฟ้องบังคับจำนองจำเลยลูกหนี้ที่ยอมรับผิดชดใช้เงินกู้จนครบ ต่อมาเจ้าหนี้ลูกหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยลูกหนี้ยอมชำระเงินให้เจ้าหนี้ 311,901.29 บาท พร้อมดอกเบี้ยและศาลพิพากษาตามยอม ก็หมายความได้แต่เพียงว่า ยังไม่ขอบังคับตามสัญญาจำนองเท่านั้น มิใช่เป็นการปลดจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) ฉะนั้น เมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ มีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมบังคับเอาจากทรัพย์อื่นนอกเหนือจากที่จำนองไว้ได้ หาได้หมายความหรือเป็นการยกเลิกลบล้างข้อเรียกร้องตามคำขอท้ายฟ้องให้หมดไป และโจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้แต่เพียงทรัพย์ที่จำนองเท่านั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินฝากให้ทายาทหลังผู้ฝากเสียชีวิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 673 ผู้ฝากเงินจะถอนเงินคืนก่อนถึง เวลาที่ได้ตกลงกันไว้ไม่ได้ และธนาคารผู้รับฝาก จะส่งคืนเงินก่อนถึงเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกันแต่เมื่อผู้ฝากเงินตาย ธนาคาร มีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นให้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 665 วรรค 2
ธนาคารมีหน้าที่จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการอาชีวะของธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659
ผู้จัดการมรดกของผู้ฝากเงินตามคำพิพากษาของศาลของถอนเงินของผู้ฝากคืนจากธนาคาร ธนาคารขอผัดคืนเงินนั้นใน 1 เดือน เพื่อให้คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกขาดอายุอุทธรณ์ โดยธนาคารมีเงินพร้อมที่จะคืนให้ถือได้ว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659เป็นการใช้ความระมัดระวังตามหน้าที่ สมควรแก่กรณีโดยสุจริต ไม่ได้โต้แย้งสิทธิของของผู้จัดการมรดก จึงไม่เป็นการผิดสัญญาหรือเป็นการกระทำละเมิดแก่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาของศาลมีอำนาจจัดการมรดกได้ตามกฎหมาย คำพิพากษาตั้งผู้จัดการมรดกมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้นไม่ใช่คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล ไม่เข้าอยู่ในข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)(2)และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1),245,274 จึงไม่ผูกพันธนาคารผู้รับฝากเงินของเจ้ามรดกซึ่งเป็น บุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2511 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินฝากให้ทายาทเมื่อผู้ฝากเสียชีวิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 673 ผู้ฝากเงินจะถอนเงินคืนก่อนถึงเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ไม่ได้ และธนาคารผู้รับฝากจะส่งคืนเงินก่อนถึงเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกัน แต่เมื่อผู้ฝากเงินตาม ธนาคารมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นให้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 665 วรรค 2
ธนาคารมีหน้าที่จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการอาชีวะของธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659
ผู้จัดการมรดกของผู้ฝากเงินตามคำพิพากษาของศาลขอถอนเงินของผู้ฝากคืนจากธนาคาร ธนาคารขอผัดคืนเงินนั้นใน 1 เดือน เพื่อให้คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกขาดอายุอุทธรณ์ โดยธนาคารมีเงินพร้อมที่จะคืนให้ ถือได้ว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 เป็นการใช้ความระมัดระวังตามหน้าที่ สมควรแก่กรณีโดยสุจริต ไม่ได้โต้แย้งสิทธิของผู้จัดการมรดก จึงไม่เป็นการผิดสัญญาหรือเป็นการกระทำละเมิดแก่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาของศาลมีอำนาจจัดการมรดกได้ตามกฎหมาย คำพิพากษาตั้งผู้จัดการมรดกมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้น ไม่ใช่คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล ไม่เข้าอยู่ในข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 (1) (2) และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 (1), 245, 274 จึงไม่ผูกพันธนาคารผู้รับฝากเงินของเจ้ามรดกซึ่งเป็นบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินฝากให้ทายาทหลังผู้ฝากเสียชีวิต โดยต้องใช้ความระมัดระวังและไม่ละเมิดสิทธิ
ผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 673 ผู้ฝากเงินจะถอนเงินคืนก่อนถึง เวลาที่ได้ตกลงกันไว้ไม่ได้ และธนาคารผู้รับฝาก จะส่งคืนเงินก่อนถึงเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกันแต่เมื่อผู้ฝากเงินตาย ธนาคาร มีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นให้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 665 วรรค 2
ธนาคารมีหน้าที่จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการอาชีวะของธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659
ผู้จัดการมรดกของผู้ฝากเงินตามคำพิพากษาของศาลของถอนเงินของผู้ฝากคืนจากธนาคาร ธนาคารขอผัดคืนเงินนั้นใน 1 เดือน เพื่อให้คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกขาดอายุอุทธรณ์ โดยธนาคารมีเงินพร้อมที่จะคืนให้ถือได้ว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659เป็นการใช้ความระมัดระวังตามหน้าที่ สมควรแก่กรณีโดยสุจริต ไม่ได้โต้แย้งสิทธิของของผู้จัดการมรดก จึงไม่เป็นการผิดสัญญาหรือเป็นการกระทำละเมิดแก่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาของศาลมีอำนาจจัดการมรดกได้ตามกฎหมาย คำพิพากษาตั้งผู้จัดการมรดกมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้นไม่ใช่คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล ไม่เข้าอยู่ในข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)(2)และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1),245,274 จึงไม่ผูกพันธนาคารผู้รับฝากเงินของเจ้ามรดกซึ่งเป็น บุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ธนาคารในการคืนเงินฝากให้ทายาทหลังผู้ฝากเสียชีวิต และขอบเขตผลของคำสั่งศาลที่ผูกพันบุคคลภายนอก
ผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 673 ผู้ฝากเงินจะถอนเงินคืนก่อนถึงเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ไม่ได้และธนาคารผู้รับฝากจะส่งคืนเงินก่อนถึงเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกันแต่เมื่อผู้ฝากเงินตายธนาคาร มีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นให้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 665 วรรค 2
ธนาคารมีหน้าที่จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการอาชีวะของธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659
ผู้จัดการมรดกของผู้ฝากเงินตามคำพิพากษาของศาลขอถอนเงินของผู้ฝากคืนจากธนาคารธนาคารขอผัดคืนเงินนั้นใน 1 เดือนเพื่อให้คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกขาดอายุอุทธรณ์ โดยธนาคารมีเงินพร้อมที่จะคืนให้ถือได้ว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 เป็นการใช้ความระมัดระวังตามหน้าที่สมควรแก่กรณีโดยสุจริตไม่ได้โต้แย้งสิทธิของผู้จัดการมรดกจึงไม่เป็นการผิดสัญญาหรือเป็นการกระทำละเมิดแก่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาของศาลมีอำนาจจัดการมรดกได้ตามกฎหมายคำพิพากษาตั้งผู้จัดการมรดกมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้นไม่ใช่คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลไม่เข้าอยู่ในข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)(2)และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1), 245, 274 จึงไม่ผูกพันธนาคารผู้รับฝากเงินของเจ้ามรดกซึ่งเป็นบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินฝากแก่ทายาทหลังผู้ฝากเสียชีวิต โดยต้องใช้ความระมัดระวังและไม่โต้แย้งสิทธิทายาท
ผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 673 ผู้ฝากเงินจะถอนเงินคืนก่อนถึงเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ไม่ได้ และธนาคารผู้รับฝากจะส่งคืนเงินก่อนถึงเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกัน แต่เมื่อผู้ฝากเงินตาย ธนาคารมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นให้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 665 วรรค 2
ธนาคารมีหน้าที่จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการอาชีวะของธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659
ผู้จัดการมรดกของผู้ฝากเงินตามคำพิพากษาของศาลขอถอนเงินของผู้ฝากคืนจากธนาคาร ธนาคารขอผัดคืนเงินนั้นใน 1 เดือนเพื่อให้คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกขาดอายุอุทธรณ์ โดยธนาคารมีเงินพร้อมที่จะคืนให้ ถือได้ว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 เป็นการใช้ความระมัดระวังตามหน้าที่สมควรแก่กรณีโดยสุจริตไม่ได้โต้แย้งสิทธิของผู้จัดการมรดก จึงไม่เป็นการผิดสัญญาหรือเป็นการกระทำละเมิดแก่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาของศาลมีอำนาจจัดการมรดกได้ตามกฎหมาย คำพิพากษาตั้งผู้จัดการมรดกมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้น ไม่ใช่คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล ไม่เข้าอยู่ในข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)(2) และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1), 245, 274 จึงไม่ผูกพันธนาคารผู้รับฝากเงินของเจ้ามรดกซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
of 7