คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 304

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องรับผิดหากลูกหนี้โอนทรัพย์ก่อนแจ้งการยึด แม้แจ้งล่าช้าเล็กน้อย
พนักงานยึดทรัพย์ในการบังคับคดียึดที่ดินตามที่โจทก์นำยึดแล้วรายงานหัวหน้าแผนกในวันเดียวกัน หัวหน้าแผนกแจ้งการยึดต่อลูกหนี้ 10 วันต่อมา แต่เป็นวันหยุดราชการเสีย 5 วัน มีเวลาทำงาน 4 วัน ลูกหนี้โอนทรัพย์นั้นไปเสียก่อนแจ้งการยึด 3 วันแล้ว ดังนี้ เจ้าหน้าที่ได้แจ้งการยึดในเวลารวดเร็วตามสมควร ส่วนที่แจ้งการยึดต่อเจ้าพนักงานที่ดินล่าช้าต่อมาจากการที่ลูกหนี้ขายทรัพย์ไปแล้วไม่เป็นผลโดยตรง พนักงานยึดทรัพย์ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดที่ดิน - การแจ้งเจ้าพนักงานที่ดิน - ผลของการไม่แจ้ง
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินมีโฉนด แต่มิได้แจ้งการยึดแก่เจ้าพนักงานที่ดิน ไม่ทำให้การยึดและขายทอดตลาดที่ดินนั้นเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์และขายทอดตลาด: ศาลฎีกาเน้นข้อเท็จจริงจากการสืบพยานที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องเท่านั้น มิอาจวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงนอกประเด็น
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้ศาลยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีได้.โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) นั้น. จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ. ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็น.ไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบ หรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง. ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตามบทมาตราดังกล่าวมิได้.เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1211/2492).
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของโจทก์มาขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยละเมิด. ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ว่า ในการยึดที่ดินนั้น เจ้าพนักงานที่ดินมิได้นำเอาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) หนังสือสำคัญสำหรับที่ดินมาด้วย. ถึงหากจะเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304. อันเป็นบทกฎหมายที่ว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็ไม่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดจะต้องนำสืบ เพราะไม่มีใครกล่าวอ้าง. ย่อมเป็นข้อเท็จจริงนอกเรื่องนอกประเด็น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87. ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) หาได้ไม่.
โจทก์ทำสัญญาซื้อที่ดินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้มีการยึดไว้โดยชอบแล้ว หาอาจใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่. ผู้ซื้อที่ดินที่ถูกยึดโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ไม่จำต้องคืนที่ดินให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อกฎหมายสงบเรียบร้อยต้องมาจากกระบวนการพิจารณาชอบ ศาลรับฟังพยานนอกประเด็นไม่ได้
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้ศาลยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีได้โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 (5) นั้น จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนการพิจารณาโดยชอบ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบ หรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตามบทมาตราดังกล่าวมิได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1211/2492)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของโจทก์มาขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยละเมิด ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่า ในการยึดที่ดินนั้น เจ้าพนักงานที่ดินมิได้นำเอาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) หนังสือสำคัญสำหรับที่ดินมาด้วย ถึงหากจะเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304 อันเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็ไม่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดจะต้องนำสืบ เพราะไม่มีใครกล่าวอ้าง ย่อมเป็นข้อเท็จจริงนอกเรื่องนอกประเด็น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) หาได้ไม่
โจทก์ทำสัญญาซื้อที่ดินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้มีการยึดไว้โดยชอบแล้ว หาอาจใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ ผู้ซื้อที่ดินที่ถูกยึดโดยสุจริตในการขาดทอดตลาดตามคำสั่งศาล ไม่จำต้องคืนที่ดินให้แก่โจทก์ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18 - 19/121 แล้วขอถอน)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อกฎหมายความสงบเรียบร้อยต้องได้จากกระบวนพิจารณาชอบ ศาลมิอาจวินิจฉัยจากพยานนอกประเด็น
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้ศาลยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีได้ โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) นั้น จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็น ไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบ หรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตามบทมาตราดังกล่าวมิได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1211/2492)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของโจทก์มาขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยละเมิด ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ว่า ในการยึดที่ดินนั้น เจ้าพนักงานที่ดินมิได้นำเอาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) หนังสือสำคัญสำหรับที่ดินมาด้วย ถึงหากจะเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304 อันเป็นบทกฎหมายที่ว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็ไม่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดจะต้องนำสืบ เพราะไม่มีใครกล่าวอ้าง ย่อมเป็นข้อเท็จจริงนอกเรื่องนอกประเด็น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) หาได้ไม่
โจทก์ทำสัญญาซื้อที่ดินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้มีการยึดไว้โดยชอบแล้ว หาอาจใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ ผู้ซื้อที่ดินที่ถูกยึดโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ไม่จำต้องคืนที่ดินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต แม้ประกาศขายจะผิดพลาด ย่อมได้รับสิทธิตามมาตรา 1330
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินมีโฉนดของโจทก์มาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่โจทก์ร่วมซึ่งเป็นสามีโจทก์ถูกจำเลยฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ แม้ในการยึดเจ้าพนักงานบังคับคดีจะยึดอย่างที่ดินมือเปล่าโดยนำ ส.ค.1 สำหรับที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ร่วมมา และประกาศขายทอดตลาดว่าเป็นที่ดินมี ส.ค. 1 โดยระบุเลขที่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำโดยสุจริต และจำเลยเป็นผู้ซื้อที่ดินดังกล่าวจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต จำเลยย่อมได้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกผลนิตินัยจากการยึดทรัพย์: สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเกินกำหนด
การยึดที่ดินสวนยางซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ ย่อมครอบไปถึงดอกผลนิตินัยด้วยตามมาตรา 304 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เงินค่าประมูลกรีดยางซึ่งคู่กรณีพิพาทกันในชั้นบังคับคดีนำมาวางศาล ถือเป็นดอกผลนิตินัยของสวนยางที่ถูกนำยึดเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอเข้าเฉลี่ยในเงินค่ากรีดยางนี้ได้ แต่ทั้งนี้ต้องยื่นคำขอเข้าเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผู้ร้องนำเงินค่าประมูลกรีดยางมาวางศาลเป็นรายเดือนเดือนละ 600 บาท นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2502 เป็นต้นมาและในที่สุดโจทก์ได้รับเงินค่ากรีดยางนี้ไปเสร็จแล้วเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2504 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิ่งมายื่นคำร้องขอเข้าเฉลี่ยเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2504จึงไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยในเงินค่ากรีดยางรายนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกผลนิตินัยจากทรัพย์ยึดและการขอเฉลี่ยหนี้ เจ้าหนี้ต้องยื่นคำร้องตามกำหนดเวลา
การยึดที่ดินสวนยางซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ย่อมครอบไปถึงดอกผลนิตินัยด้วยตามมาตรา 304 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เงินค่าประมูลกรีดยางซึ่งคู่กรณีพิพาทกันในชั้นบังคับคดีนำมาวางศาล ถือเป็นดอกผลนิตินัยของสวนยางที่ถูกนำยึด เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอเข้าเฉลี่ยในเงินค่ากรีดยางนี้ได้ แต่ทั้งนี้ต้องยื่นคำขอเข้าเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผู้ร้องนำเงินค่าประมูลกรีดยางมาวางศาลเป็นรายเดือน ๆ ละ 600 บาท นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2502 เป็นต้นมา และในที่สุดโจทก์ได้รับเงินค่ากรีดยางนี้ไปเสร็จแล้วเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2504 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิ่งมายื่นคำร้องขอเข้าเฉลี่ยเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2504 จึงไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยในเงินค่ากรีดยางรายนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดและอายัดทรัพย์มรดก: ศาลมีอำนาจสั่งยึดทรัพย์รวมถึงดอกผล และสั่งให้ชำระค่าเช่าแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้
การขอให้คุ้มครองก่อนพิพากษานั้น ศาลอาจสั่งให้ยึดหรืออายัดได้ทั้งสองอย่าง
เมื่อศาลสั่งยึดทรัพย์แล้วย่อมครอบถึงดอกผลนิตินัยด้วยเช่น ค่าเช่าเป็นต้น
เมื่อศาลสั่งยึดทรัพย์แล้วศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้เช่าส่งค่าเช่าให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้โดยไม่ต้องดำเนินการไต่สวนอีก
คำสั่งของศาลที่ให้ทรัพย์ทั้งหมดมาอยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมเป็นเรื่องยึดทรัพย์ ถ้าห้ามมิให้คนภายนอก ทำการโอน หรือชำระหนี้ ก็เป็นการอายัด
เมื่อลักษณะของคำสั่งเป็นกรณีเรื่องใดแล้ว แม้จะเรียกชื่อคลาดเคลื่อนไป ก็ไม่สำคัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์มรดกและค่าเช่า: ศาลมีอำนาจยึดทรัพย์รวมถึงดอกผลและสั่งให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าให้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้
การขอให้คุ้มครองก่อนพิพากษานั้น ศาลอาจสั่งให้ยึดหรืออายัติได้ทั้งสองอย่าง
เมื่อศาลสั่งยึดทรัพย์แล้วย่อมครอบถึงดอกผลนิตินัยด้วย เช่น ค่าเช่าเป็นต้น
เมื่อศาลสั่งยึดทรัพย์แล้วศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้เช่าส่งค่าเช่าให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้โดยไม่ต้องดำเนินการไต่สวนอีก
คำสั่งของศาลที่ใช้ทรัพย์ทั้งหมดมาอยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมเป็นเรื่องยึดทรัพย์ ถ้าห้ามมิให้คนภายนอกทำการโอน, หรือชำระหนี้ ก็เป็นการอายัติ
เมื่อลักษณะของคำสั่งเป็นกรณีเรื่องใดแล้ว แม้จะเรียกชื่อคลาดเคลื่อนไป ก็ไม่สำคัญ
of 4