คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 203

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลหนี้ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อนำเข้าสินค้า แม้ยังมิได้ยื่นแบบฯ กรมสรรพากรมีสิทธิรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507-2508 โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จำเลยย่อมมีรายรับตามมูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร และมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกเก็บได้เสมอ การค้ำประกันไม่หลุดพ้นแม้มีการผ่อนเวลา
สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ และการที่ผู้กู้นำพยานบุคคลมาสืบว่า การกู้รายนี้มีข้อตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้คืน 3 เดือน ตามเช็คล่วงหน้าที่ผู้กู้ได้ออกให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้นั้น เป็นการนำสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญากู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
เอกสารหมาย ล.6 ที่โจทก์ผู้ให้กู้มีถึงจำเลยแจ้งกำหนดเวลาชำระหนี้ให้จำเลยทราบถือได้แต่เพียงเป็นหลักฐานที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดไว้เท่านั้น จะถือเป็นหลักฐานว่าโจทก์จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนแล้วหาได้ไม่
เมื่อหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ การค้ำประกันก็มิใช่การค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แม้ผู้ให้กู้จะผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นความรับผิดไม่
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเอาดอกเบี้ย แต่เมื่อฟังได้ว่าการกู้มีดอกเบี้ย ผู้กู้จึงต้องชำระดอกเบี้ยอยู่ และก่อนฟ้องโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยด้วยสิ่งของเป็นเงิน 8,725 บาท โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเฉพาะต้นเงินกู้ ดังนี้ การที่ศาลจัดใช้เงิน 8,725 บาท ที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ก่อนฟ้องเป็นใช้ดอกเบี้ยเสียก่อน ส่วนเหลือใช้เป็นการชำระต้นเงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 แล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงินกู้ที่ยังค้างให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอนั้น ดังนี้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
สัญญากู้มีข้อความว่า จำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์แต่อัตราดอกเบี้ยมิได้กำหนดลงไว้จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกได้เสมอ การนำสืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญาเป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ และการที่ผู้กู้นำพยานบุคคลมาสืบว่า การกู้รายนี้มีข้อตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้คืน 3 เดือน ตามเช็คล่วงหน้าที่ผู้กู้ได้ออกให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้นั้น เป็นการนำสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญากู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เอกสารหมาย ล.6 ที่โจทก์ผู้ให้กู้มีถึงจำเลยแจ้งกำหนดเวลาชำระหนี้ให้จำเลยทราบถือได้แต่เพียงเป็นหลักฐานที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดไว้เท่านั้นจะถือเป็นหลักฐานว่าโจทก์จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนแล้วหาได้ไม่
เมื่อหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ การค้ำประกันก็มิใช่การค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แม้ผู้ให้กู้จะผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นความรับผิดไม่
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเอาดอกเบี้ย แต่เมื่อฟังได้ว่าการกู้มีดอกเบี้ย ผู้กู้จึงต้องชำระดอกเบี้ยอยู่ และก่อนฟ้องโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยด้วยสิ่งของเป็นเงิน 8,725 บาท โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเฉพาะต้นเงินกู้ ดังนี้ การที่ศาลจัดใช้เงิน 8,725 บาท ที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ก่อนฟ้องเป็นใช้ดอกเบี้ยเสียก่อน ส่วนเหลือใช้เป็นการชำระต้นเงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 แล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงินกู้ที่ยังค้างให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอนั้น ดังนี้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
สัญญากู้มีข้อความว่า จำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ แต่อัตราดอกเบี้ยมิได้กำหนดลงไว้จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกหนี้เมื่อใดก็ได้ การค้ำประกันจึงไม่ผูกพันเมื่อไม่มีกำหนดเวลา
สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้. ผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้. และการที่ผู้กู้นำพยานบุคคลมาสืบว่า การกู้รายนี้มีข้อตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้คืน 3 เดือน ตามเช็คล่วงหน้าที่ผู้กู้ได้ออกให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้นั้น. เป็นการนำสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญากู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94.
เอกสารหมาย ล.6 ที่โจทก์ผู้ให้กู้มีถึงจำเลยแจ้งกำหนดเวลาชำระหนี้ให้จำเลยทราบถือได้แต่เพียงเป็นหลักฐานที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดไว้เท่านั้น. จะถือเป็นหลักฐานว่าโจทก์จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนแล้วหาได้ไม่.
เมื่อหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้. การค้ำประกันก็มิใช่การค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700. แม้ผู้ให้กู้จะผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นความรับผิดไม่.
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเอาดอกเบี้ย. แต่เมื่อฟังได้ว่าการกู้มีดอกเบี้ย ผู้กู้จึงต้องชำระดอกเบี้ยอยู่.และก่อนฟ้องโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยด้วยสิ่งของเป็นเงิน 8,725 บาท. โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเฉพาะต้นเงินกู้. ดังนี้ การที่ศาลจัดใช้เงิน 8,725 บาทที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ก่อนฟ้องเป็นใช้ดอกเบี้ยเสียก่อน. ส่วนเหลือใช้เป็นการชำระต้นเงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329. แล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงินกู้ที่ยังค้างให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอนั้น. ดังนี้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่.
สัญญากู้มีข้อความว่า จำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์.แต่อัตราดอกเบี้ยมิได้กำหนดลงไว้จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องกรณีสัญญาจะขาย และการฟ้องซ้ำ ประเด็นสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นเมื่อใด
ฟ้องคดีก่อนมีประเด็นว่า จำเลยได้สละสิทธิ์มอบที่พิพาทให้โจทก์และภริยาโจทก์แล้วหรือไม่ ส่วนคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้ขายที่พิพาทให้โจทก์หรือไม่ จึงมีประเด็นคนละอย่าง ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ภริยาโจทก์ซึ่งเป็นบุตรจำเลยได้ไถ่ถอนการขายฝากที่พิพาทแทนจำเลยแล้วจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอขายที่พิพาทให้โจทก์ในวันเดียวกันนั้น ครั้นเมื่อภริยาโจทก์ถึงแก่กรรม จำเลยกลับยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอถอนคำร้องขอขายที่พิพาทดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ ดังนี้ สิทธิ์เรียกร้องของโจทก์จะบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้ได้เกิดขึ้นแล้วนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอขายที่พิพาท โจทก์ย่อมได้สิทธิ์เรียกร้องให้จำเลยโอนที่พิพาทให้ได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นไป อายุความฟ้องร้องจึงเริ่มนับแต่วันนั้น ไม่ใช่เริ่มนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอขายที่พิพาท ฉะนั้น เมื่อนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอขายที่พิพาทจนถึงวันฟ้องคดีเกินสิบปี คดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 163, 164
โจทก์ฟ้องคดีเรื่องก่อน ศาลพิพากษายกฟ้องอายุความจึงไม่สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 174

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องกรณีสัญญาจะซื้อขายและประเด็นฟ้องซ้ำ
ฟ้องคดีก่อนมีประเด็นว่า จำเลยได้สละสิทธิมอบที่พิพาทให้โจทก์และภริยาโจทก์แล้วหรือไม่ ส่วนคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้ขายที่พิพาทให้โจทก์หรือไม่ จึงมีประเด็นคนละอย่าง ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ภริยาโจทก์ซึ่งเป็นบุตรจำเลยได้ไถ่ถอนการขายฝากที่พิพาทแทนจำเลยแล้วจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอขายที่พิพาทให้โจทก์ในวันเดียวกันนั้น ครั้นเมื่อภริยาโจทก์ถึงแก่กรรม จำเลยกลับยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอถอนคำร้องขอขายที่พิพาทดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ ดังนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จะบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้ได้เกิดขึ้นแล้วนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอขายที่พิพาท โจทก์ย่อมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนที่พิพาทให้ได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นไป อายุความฟ้องร้องจึงเริ่มนับแต่วันนั้น ไม่ใช่เริ่มนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอขายที่พิพาท ฉะนั้น เมื่อนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอขายที่พิพาทจนถึงวันฟ้องคดีเกินสิบปี คดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 163,164
โจทก์ฟ้องคดีเรื่องก่อน ศาลพิพากษายกฟ้องอายุความ จึงไม่สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 174

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เมื่อไม่มีกำหนดเวลา การบอกกล่าวทวงถามทำให้เกิดหน้าที่ชำระหนี้ทันที การเสนอผ่อนชำระไม่ผูกพันจนกว่าจะตกลง
ตามหนังสือที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ไม่มีการกำหนดเวลาชำระหนี้ ดังนั้น เมื่อโจทก์บอกล่าวทวงถามแล้ว จำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ จำเลยจะขอผ่อนชำระหนี้โดยโจทก์ไม่ได้ตกลงตามข้อเสนอนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลา เมื่อทวงถามแล้วจำเลยต้องชำระเต็มจำนวน การเสนอผ่อนชำระไม่ผูกพันโจทก์หากไม่ตกลง
ตามหนังสือที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ไม่มีการกำหนดเวลาชำระหนี้ ดังนี้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวทวงถามแล้ว จำเลยก็มีนั้นหน้าที่ต้องชำระหนี้ จำเลยจะขอผ่อนชำระหนี้โดยโจทก์ไม่ได้ตกลงตามข้อเสนอนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้และการกำหนดเวลาชำระหนี้ที่ไม่ชัดเจน ไม่ถือเป็นตราสารหนี้ที่ต้องปิดอากรแสตมป์
จำเลยทำหลักฐานเป็นรูปจดหมายให้ไว้แก่โจทก์ขอรับรองและขอบคุณโจทก์สำหรับเงินกู้ที่โจทก์ให้จำเลยกู้ จึงเป็นเพียงหนังสือรับสภาพว่าเป็นเงินที่โจทก์ให้จำเลยยืม อันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามมาตรา 653 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อย่างหนึ่งเท่านั้น หาใช่เป็นลักษณะแห่งตราสารการกู้ยืมเงินอันจะพึงต้องปิดอากรแสตมป์ไม่ (อ้างฎีกาที่ 531/2505)
การที่ในจดหมายของบริษัทจำเลยกำหนดเวลาชำระหนี้ขึ้นเองว่า จะชำระให้แก่โจทก์ต่อเมื่อการขายผลิตผลของตนมีผลพอเพียงที่จะชำระหนี้ได้นั้น ไม่มีระยะเวลาชำระหนี้ที่ได้กำหนดลงไว้ ทั้งจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ว่าเมื่อใดบริษัทจำเลยจึงจะขายผลิตผลได้พอเพียงที่จะชำระหนี้ได้ เพราะเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่ยากจะมองเห็นผลสำเร็จได้ว่าต้องกินเวลาช้านานเพียงใด การชำระเงินคืนให้โจทก์ที่บริษัทจำเลยทำให้นั้นเท่ากับไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ลงไว้ ดังนั้น แม้จำเลยจะขาดทุนก็ไม่สามารถจะยกเอาเหตุนี้มาปัดความรับผิดต่อโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้และการกำหนดเวลาชำระหนี้ที่ไม่ชัดเจน ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหนี้ได้ทันที
จำเลยทำหลักฐานเป็นรูปจดหมายให้ไว้แก่โจทก์ขอรับรองและขอบคุณโจทก์สำหรับเงินกู้ที่โจทก์ให้จำเลยกู้จึงเป็นเพียงหนังสือรับสภาพว่าเป็นเงินที่โจทก์ให้จำเลยยืมอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามมาตรา 653 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อย่างหนึ่งเท่านั้นหาใช่เป็นลักษณะแห่งตราสารการกู้ยืมเงินอันจะพึงต้องปิดอากรแสตมป์ไม่ (อ้างฎีกาที่ 531/2505)
การที่ในจดหมายของบริษัทจำเลยกำหนดเวลาชำระหนี้ขึ้นเองว่า จะชำระให้แก่โจทก์ต่อเมื่อการขายผลิตผลของตนมีผลพอเพียงที่จะชำระหนี้ได้นั้น ไม่มีระยะเวลาชำระหนี้ที่ได้กำหนดลงไว้ทั้งจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ว่าเมื่อใดบริษัทจำเลยจึงจะขายผลิตผลได้พอเพียงที่จะชำระหนี้ได้ เพราะเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่ยากจะมองเห็นผลสำเร็จได้ว่าต้องกินเวลาช้านานเพียงใดการชำระเงินคืนให้โจทก์ที่บริษัทจำเลยทำให้นั้นเท่ากับไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ลงไว้ ดังนั้น แม้จำเลยจะขาดทุนก็ไม่สามารถจะยกเอาเหตุนี้มาปัดความรับผิดต่อโจทก์ได้
of 12