พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล, อายุความหนี้, และดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้
ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่28 สิงหาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2535 คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคลซึ่งตามบทมาตราดังกล่าวโจทก์สามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น ทั้งมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาได้โจทก์หาจำต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุให้ศาลชั้นต้นรับคดีไว้พิจารณาด้วยไม่
ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ ในกรณีดังกล่าว เจ้าหนี้ของผู้ตายจะต้องเรียกร้องให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ในกำหนด 1 ปี นับแต่ลูกหนี้ถึงแก่ความตายดังนั้น แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่ลูกหนี้ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายหากรอจนหนี้ถึงกำหนดชำระ อายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสามดังกล่าวข้างต้นอาจจะล้วงพ้นไปแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินจะระบุข้อความไว้ว่าไม่มีดอกเบี้ยแต่ข้อความตอนต้นก็ระบุไว้ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญา นอกจากนี้ผู้กู้ยังได้บันทึกรับรองไว้ในตอนท้ายของสัญญากู้ยืมเงินว่า ถ้าหากไม่ชำระหนี้ตามสัญญาใน 2 ปี ยินยอมคิดดอกเบี้ยนับจากวันครบสัญญา ดังนี้แสดงให้เห็นว่าผู้กู้ยอมรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือน (ร้อยละ 15 ต่อปี) นับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน กรณีมิใช่คู่สัญญาไม่ได้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยกันไว้ในอันที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 7
ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ ในกรณีดังกล่าว เจ้าหนี้ของผู้ตายจะต้องเรียกร้องให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ในกำหนด 1 ปี นับแต่ลูกหนี้ถึงแก่ความตายดังนั้น แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่ลูกหนี้ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายหากรอจนหนี้ถึงกำหนดชำระ อายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสามดังกล่าวข้างต้นอาจจะล้วงพ้นไปแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินจะระบุข้อความไว้ว่าไม่มีดอกเบี้ยแต่ข้อความตอนต้นก็ระบุไว้ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญา นอกจากนี้ผู้กู้ยังได้บันทึกรับรองไว้ในตอนท้ายของสัญญากู้ยืมเงินว่า ถ้าหากไม่ชำระหนี้ตามสัญญาใน 2 ปี ยินยอมคิดดอกเบี้ยนับจากวันครบสัญญา ดังนี้แสดงให้เห็นว่าผู้กู้ยอมรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือน (ร้อยละ 15 ต่อปี) นับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน กรณีมิใช่คู่สัญญาไม่ได้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยกันไว้ในอันที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้สัญญาเงินกู้และการบังคับจำนอง การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ตามสัญญากู้ยืม จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือน หากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใด ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันที โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืม แต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนด-สัญญา พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฎิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญ จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว
แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนอง โดยจำเลยที่ 1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี
แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนอง โดยจำเลยที่ 1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม และการบอกกล่าวบังคับจำนอง การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ตามสัญญากู้ยืม จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือน หากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใด ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันที โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืม แต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดสัญญา พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองโดยจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้วเมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดชำระหนี้สัญญากู้ยืม โจทก์มีสิทธิบอกกล่าวบังคับจำนองและคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่1มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือนหากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใดถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนปรากฏว่าจำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืมแต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่1โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่1ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดสัญญาพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่1ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่1ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่1ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองโดยจำเลยที่1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนองจำเลยที่2และที่3ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวจึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้วเมื่อจำเลยที่1ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่1ชำระหนี้ดังกล่าวครบกำหนดแล้วจำเลยที่1เพิกเฉยต้องถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามสัญญากู้จำเลยที่1ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ13ต่อปีและอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ1ต่อปีและหากจำเลยที่1ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำเลยที่1ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ21ต่อปีดังนี้เมื่อจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ21ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา การบอกล้างสัญญา และเบี้ยปรับ
ก่อนโจทก์จำเลยทำสัญญากันได้มีการโต้เถียงกัน แล้วโจทก์เดินขึ้นไปบนบ้านของโจทก์ เมื่อโจทก์กลับลงมากระเป๋ากางเกงของโจทก์มีสิ่งของซึ่งไม่ทราบว่าเป็นอะไรตุงอยู่เท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการข่มขู่ให้จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย ยิ่งกว่านั้นในวันที่กำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยไปรอโจทก์ที่สำนักงานที่ดินตามนัด แต่ไม่พบโจทก์เพราะเป็นวันหยุดราชการ เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยมิได้ถูกโจทก์ข่มขู่ให้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายสัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆียะ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อ 2 ระบุว่า "ในการจะซื้อขายนี้ผู้จะซื้อได้วางมัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน 389,000 บาทผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว" จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายไม่ได้รับเงินมัดจำนั้น เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์ผู้จะซื้อได้วางมัดจำเงินจำนวน389,000 บาท และจำเลยผู้จะขายได้รับเงินมัดจำนั้นไว้แล้ว แม้วันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นวันเสาร์ อันเป็นวันหยุดราชการ ไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันได้ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ในกรณีที่วันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการอีกด้วย ดังนั้นการที่จำเลยไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ต่อไปเมื่อต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกล้างสัญญาดังกล่าวไปยังโจทก์ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, และการบังคับตามสัญญา
ก่อนโจทก์จำเลยทำสัญญากันได้มีการโต้เถียงกันแล้วโจทก์เดินขึ้นไปบนบ้านของโจทก์เมื่อโจทก์กลับลงมากระเป๋ากางเกงของโจทก์มีสิ่งของซึ่งไม่ทราบว่าเป็นอะไรตุงอยู่เท่านั้นโดยโจทก์ไม่ได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการข่มขู่ให้จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายยิ่งกว่านั้นในวันที่กำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์จำเลยไปรอโจทก์ที่สำนักงานที่ดินตามนัดแต่ไม่พบโจทก์เพราะเป็นวันหยุดราชการเช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยมิได้ถูกโจทก์ข่มขู่ให้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายสัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆียะ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทข้อ2ระบุว่า"ในการจะซื้อขายนี้ผู้จะซื้อได้วางมัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน389,000บาทผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว"จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายไม่ได้รับเงินมัดจำนั้นเพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคหนึ่ง(ข)ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์ผู้จะซื้อได้วางมัดจำเงินจำนวน389,000บาทและจำเลยผู้จะขายได้รับเงินมัดจำนั้นไว้แล้ว แม้วันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันได้ก็ตามแต่กรณีดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/8ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลาในกรณีที่วันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการอีกด้วยดังนั้นการที่จำเลยไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ต่อไปเมื่อต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกล้างสัญญาดังกล่าวไปยังโจทก์ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การข่มขู่, มัดจำ, และการบอกล้างสัญญา
ก่อนโจทก์จำเลยทำสัญญากันได้มีการโต้เถียงกัน แล้วโจทก์เดินขึ้นไปบนบ้านของโจทก์ เมื่อโจทก์กลับลงมากระเป๋ากางเกงของโจทก์มีสิ่งของซึ่งไม่ทราบว่าเป็นอะไรตุงอยู่เท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการข่มขู่ให้จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย ยิ่งกว่านั้นในวันที่กำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยไปรอโจทก์ที่สำนักงานที่ดินตามนัด แต่ไม่พบโจทก์เพราะเป็นวันหยุดราชการ เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยมิได้ถูกโจทก์ข่มขู่ให้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายสัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆียะ
สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อ 2 ระบุว่า "ในการจะซื้อขายนี้ผู้จะซื้อได้วางมัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน 389,000 บาท ผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว" จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจะซื้อขายว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อไม่ได้วางมัดจำเงินจำนวนดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายไม่ได้รับเงินมัดจำนั้น เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์ผู้จะซื้อได้วางมัดจำเงินจำนวน 389,000 บาท และจำเลยผู้จะขายได้รับเงินมัดจำนั้นไว้แล้ว
แม้วันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นวันเสาร์ อันเป็นวันหยุดราชการ ไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันได้ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ.มาตรา193/8 ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ในกรณีที่วันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการอีกด้วย ดังนั้นการที่จำเลยไม่ได้ทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยก็ยังคงมีความผูกพันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่จะต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ต่อไป เมื่อต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกล้างสัญญาดังกล่าวไปยังโจทก์ ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อ 2 ระบุว่า "ในการจะซื้อขายนี้ผู้จะซื้อได้วางมัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน 389,000 บาท ผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว" จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจะซื้อขายว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อไม่ได้วางมัดจำเงินจำนวนดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายไม่ได้รับเงินมัดจำนั้น เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์ผู้จะซื้อได้วางมัดจำเงินจำนวน 389,000 บาท และจำเลยผู้จะขายได้รับเงินมัดจำนั้นไว้แล้ว
แม้วันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นวันเสาร์ อันเป็นวันหยุดราชการ ไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันได้ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ.มาตรา193/8 ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ในกรณีที่วันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการอีกด้วย ดังนั้นการที่จำเลยไม่ได้ทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยก็ยังคงมีความผูกพันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่จะต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ต่อไป เมื่อต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกล้างสัญญาดังกล่าวไปยังโจทก์ ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137-1138/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน หลักฐานการกู้ยืม เอกสารที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ และการฟ้องร้องเรียกหนี้
โจทก์ฟ้องว่าบิดาจำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามฟ้องจำเลยให้การต่อสู้คดีว่าบิดาจำเลยไม่ได้กู้เงินไปจากโจทก์ดังนี้ข้อความที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าบิดาจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปตามฟ้องหรือไม่ย่อมมีความหมายรวมไปถึงว่าบิดาจำเลยได้รับเงินแล้วหรือไม่ไม่จำต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าบิดาจำเลยได้กู้เงินโจทก์และรับเงินกู้ไปแล้วหรือไม่ บิดาจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปตามเอกสารหมายจ.2และจ.6โดยเอกสารหมายจ.2ทำขึ้นในวันที่3กรกฎาคม2535มีข้อความว่า"ฯลฯข้อ1ฯลฯ1.1ผู้กู้ได้กู้ยืมเงินมาเมื่อวันที่22กุมภาพันธ์2533จำนวนเงิน2,025,000บาท(สองล้านสองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)1.2ผู้กู้ได้กู้ยืมเงินมาเมื่อวันที่13มิถุนายน2533จำนวนเงิน590,000บาทฯลฯรวมเป็นเงินฯลฯ10,900,000บาท(สิบล้านเก้าแสนบาทถ้วน)ฯลฯข้อ3ผู้ให้กู้และผู้กู้ตกลงกันว่าเงินจำนวนกู้ทั้งหมดตามสัญญากู้นี้ผู้กู้จะชำระคืนให้เมื่อขายที่ที่สามเหลี่ยมทองคำฯลฯได้เสร็จเรียบร้อยแล้วฯลฯ"การที่โจทก์และบิดาจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินกันก่อนหน้าที่โจทก์และบิดาจำเลยจะได้ทำเอกสารหมายจ.2ซึ่งตามข้อความในเอกสารหมายจ.2ก็ปรากฏชัดว่าบิดาจำเลยได้รับเงินไปก่อนแล้วทั้งเอกสารหมายจ.6ก็มีลักษณะอย่างเดียวกันเอกสารหมายจ.2และจ.6จึงเป็นเพียงหลักบานในการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อบิดาจำเลยผู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคหนึ่งไม่ใช่สัญญากู้ยืมเงินแม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ หนี้ตามเอกสารหมายจ.2จำเลยให้การต่อสู้ว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไม่เคยทวงถามจำเลยให้ชำระหนี้เลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าหนี้ตามเอกสารหมายจ.2ยังไม่ถึงกำหนดเพราะจำเลยยังไม่ได้ขายที่ดินฎีกาของจำเลยที่ว่าหนี้ตามเอกสารหมายจ.2ยังไม่ถึงกำหนดจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ หนี้ตามเอกสารหมายจ.6ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้โจทก์จะบอกกล่าวเพื่อให้เวลาแก่จำเลยหรือไม่ก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา203โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้แม้ไม่ได้บอกกล่าวจำเลยให้ชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2831/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต และการผิดสัญญาจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน ศาลพิจารณาถึงความผิดของผู้รับจ้างและสิทธิของเจ้าของงาน
การให้งดทาสีใต้ท้องกระเบื้องหลังคาเป็นติดเหล็กดัดช่องแสงรอบอาคาร48ช่องเป็นการเปลี่ยนแปลงรายการละเอียดที่ผิดไปจากข้อกำหนดในสัญญาจ้างเพราะกรณีดังกล่าวมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงหรือตัดทอนกิจการจ้างเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาแต่เป็นการกระทำที่มิให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างดังนั้นจำเลยที่2ถึงที่5ซึ่งเป็นกรรมการตรวจการจ้างจึงไม่มีอำนาจที่จะตกลงได้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ.2521ข้อ49การที่โจทก์ติดเหล็กดัดช่องแสงไปก่อนที่จำเลยที่1จะอนุญาตจึงเป็นการกระทำที่เสี่ยงภัยของโจทก์เองนับเป็นความผิดของโจทก์ ส่วนการใช้เหล็กค้ำยันโครงหลังคาซึ่งไม่ได้รับรองมาตรฐานนั้นแม้โจทก์รับว่าเหล็กดังกล่าวไม่ได้รับรองมาตรฐานเพราะขณะทำการก่อสร้างเหล็กขาดตลาดแต่เหล็กที่โจทก์นำมาใช้ก็มีคุณสมบัติและลักษณะเช่นเดียวกันก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะให้ฟังว่าโจทก์ไม่ผิดสัญญาจ้าง จำเลยที่1มิได้ใช้สิทธิปรับโจทก์เพราะเหตุโจทก์ผิดสัญญาจ้างดังกล่าวมาก่อนวันบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อจำเลยที่1บอกเลิกสัญญาจ้างในเวลาต่อมาจึงไม่อาจใช้สิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันตามสัญญาได้คงได้แต่ใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาจ้างเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีข้อยุ่งยาก, สัญญาเงินกู้, การบอกกล่าวหนี้, การชำระหนี้, มาตรา 203
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าคดีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากให้ดำเนินคดีอย่างคดีมโนสาเร่ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จำเลยจึงไม่อาจอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้ การเรียกให้ชำระหนี้เงินยืมซึ่งมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ไว้ ต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคแรก มิใช่เป็นการเรียกให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไปตามมาตรา 652 เมื่อสัญญากู้ยืมมิได้กำหนดวันชำระคืนโจทก์ผู้ให้กู้ย่อมจะเรียกให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้โดยพลันได้