คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 203

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8438/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากการประนีประนอมยอมความ แม้มีเงื่อนไข ยังถือเป็นหนี้ที่ทายาทต้องรับผิดชอบ
สัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า "2. ข้าพเจ้า ป.ยินยอมชดใช้เงินจำนวน 40,000,000 บาท ให้แก่ ศ.3.ข้าพเจ้าป. จะจ่ายเงินจำนวน 40,000,000 บาท ให้แก่ ศ. เมื่อข้าพเจ้าสามารถขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3837 พร้อมที่ดินติดต่อกันอันเป็นที่ตั้งของโรงแรม ร. หรือที่ดินโฉนดที่ 4211 ได้และได้รับเงินค่าที่ดินเรียบร้อยแล้ว" แสดงว่าหนี้ที่ ป.จะต้องชำระแก่ ศ. เกิดขึ้นแล้วตามสัญญาข้อ 2 ส่วนข้อกำหนดตามสัญญาข้อ 3 เป็นเพียงข้อกำหนดอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 เดิม (มาตรา 182 ที่แก้ไขใหม่) หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวถือได้ว่าเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้ไว้ เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้ฟ้องทายาทของลูกหนี้ให้ชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งให้ส่งตัวผู้ต้องหาล่าช้าไม่ถือเป็นการบอกกล่าวโดยมิได้กำหนดวันนัด ผู้ประกันภัยไม่ต้องรับผิด
โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยซึ่งเป็นผู้ประกันตัวผู้ต้องหาให้ส่งตัวผู้ต้องหาวันที่4พฤศจิกายน2530เวลา8นาฬิกาแต่หนังสือดังกล่าวไปถึงจำเลยภายหลังวันเวลาตามกำหนดเพราะความผิดของโจทก์เองถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวให้ส่งตัวผู้ต้องหาโดยมิได้กำหนดวันนัดอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องส่งตัวผู้ต้องหาแก่โจทก์โดยพลันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา203เมื่อจำเลยได้ส่งตัวผู้ต้องหาแก่โจทก์แล้วแม้จะมิได้ส่งโดยพลันก็ไม่ผิดสัญญาประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขายที่ดิน เริ่มนับจากวันชำระเงินบางส่วน แม้ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
สัญญาซื้อขายที่ดินมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม การที่โจทก์ชำระเงินให้จำเลยในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2518 แล้วโจทก์จำเลยตกลงกันว่าส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอน โดยมิได้กำหนดเวลาวันโอนไว้นั้น ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ซึ่งโจทก์อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2518 เป็นต้นไปอันเป็นวันเริ่มนับอายุความตามมาตรา 169 เดิม มิใช่เริ่มนับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะมีการบอกกล่าวก่อน เมื่อนับถึงวันฟ้องเกิน 10 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3590/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงวันที่เช็คหลังทวงหนี้โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถือเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เป็นหนี้เงินกู้และจากการเอาเช็คแลกเงินสด เมื่อไม่กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้โจทก์ย่อมทวงถามให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน การที่โจทก์ลงวันที่สั่งจ่ายเงินในเช็คที่จำเลยมิได้ลงวันที่สั่งจ่ายไว้ภายหลังจากวันที่โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย กระทำการโดยสุจริตจดวันสั่งจ่ายที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็ค ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การลงวันที่เช็คหลังเกิดเหตุ และสิทธิของผู้รับอาวัลในการไล่เบี้ย
การที่ผู้ตายได้ออกเช็คพิพาทโดยเว้นรายการวันที่ออกเช็คไว้ให้ลูกแชร์คือผู้ทรงไป โดยมีข้อตกลงว่าให้ผู้ทรงไปลงวันที่เองตามกำหนดที่เปียแชร์ได้ แต่นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย วงแชร์จึงล้มไม่มีการเปีย เวลาพึงชำระหนี้ตามเช็คที่อาศัยการเปียแชร์เป็นวิธีกำหนดจึงตกเป็นการพ้นวิสัย และจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็มิได้เจ้าหนี้คือผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน แต่ผู้ตายถูกคนร้ายฆ่าเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2528 สิทธิของผู้ทรงที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ต่อผู้สั่งจ่ายจึงเริ่มมีขึ้นและมีอยู่ตลอดไปถึงวันครบกำหนดอายุความที่อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องตามมูลตั๋วเงินนั้น ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1002 ปรากฏว่าผู้ทรงได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่อาจใช้สิทธิได้ดังกล่าว จึงเป็นการลงวันที่สั่งจ่ายโดยถูกต้องแท้จริงตามสิทธิโดยสุจริตแล้วรายการในเช็คพิพาทจึงสมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อการลงวันที่ในเช็คพิพาทมีผลตามกฎหมายวันที่ลงในเช็คพิพาทอันเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงินที่ปรากฏดังกล่าวคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันนั้น โจทก์ผู้ทรงฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2530 จึงไม่เกินกำหนด 1 ปี ยังไม่ขาดอายุความ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ถือ จึงมีผลเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 เมื่อได้ชำระเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้ทรงตามที่เรียกร้องแล้ว โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินตามเช็คไปแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทลงวันที่หลังออกเช็ค: สิทธิเรียกร้อง, อายุความ, การสลักหลัง, และการไล่เบี้ย
ผู้ตายได้ออกเช็คพิพาทโดยเว้นรายการวันที่ออกเช็คไว้ให้ลูกแชร์ คือผู้ทรงไป โดยมีข้อตกลงว่าให้ผู้ทรงไปลงวันที่เองตามกำหนดที่เปียแชร์ได้ แต่นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย วงแชร์จึงล้มไม่มีการเปีย เวลาพึงชำระหนี้ตามเช็คที่อาศัยการเปียแชร์เป็นวิธีกำหนดจึงตกเป็นการพ้นวิสัย และจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็มิได้ เจ้าหนี้คือผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน แต่ผู้ตายถูกคนร้ายฆ่าเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน2528 สิทธิของผู้ทรงที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ต่อผู้สั่งจ่ายจึงเริ่มมีขึ้นและมีอยู่ตลอดไปถึงวันครบกำหนดอายุความที่อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องตามมูลตั๋วเงินนั้น ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีกำหนดอายุความ1 ปี นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ปรากฏว่าผู้ทรงได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่อาจใช้สิทธิได้ดังกล่าว จึงเป็นการลงวันที่สั่งจ่ายโดยถูกต้องแท้จริงตามสิทธิโดยสุจริตแล้ว รายการในเช็คพิพาทจึงสมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อการลงวันที่ในเช็คพิพาทมีผลตามกฎหมาย วันที่ลงในเช็คพิพาทอันเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงินที่ปรากฏดังกล่าวคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันนั้น โจทก์ผู้ทรงฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2530 จึงไม่เกินกำหนด 1 ปี ยังไม่ขาดอายุความ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ถือ จึงมีผลเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 เมื่อได้ชำระเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้ทรงตามที่เรียกร้องแล้ว โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินตามเช็คไปแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ตามมาตรา 940 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลงหลังสัญญาซื้อขายหุ้น การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน และอำนาจฟ้องของเจ้าของกิจการ
บรรยายฟ้องว่า บริษัทค. เป็นหนี้โจทก์ 1,811,515.90เหรียญฮ่องกงเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2526 บริษัทค. บริษัทบ.และจำเลย ได้ทำสัญญาซื้อขายหุ้นกัน โจทก์จำเลยและ บริษัทค. ตกลงให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แทนบริษัทค.เป็นเงิน 1,700,000เหรียญฮ่องกง หนี้ถึงกำหนดจำเลยไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นการบรรยายเกี่ยวกับสภาพแห่งข้อหาโดยละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีแล้ว หาจำต้องบรรยายว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์เนื่องมาจากการแปลงหนี้ใหม่หรือการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ ส่วนที่ระบุชื่อโจทก์ในฟ้องว่า "นายสุทินฟุ้งสาธิต ในฐานะเจ้าของและผู้จัดการผู้มีอำนาจรามาทัวร์แอนด์เทรดดิ้งคอมปานี และในฐานะส่วนตัว" นั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องต่อมาว่า โจทก์ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวและกิจการค้าใช้ชื่อทางการค้าว่ารามาทัวร์แอนด์เทรดดิ้งคอมปานี โดยโจทก์เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวและเป็นผู้จัดการมีอำนาจเต็มอ่านโดยตลอดแล้วย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องในฐานะเป็นเจ้าของกิจการดังกล่าวซึ่งมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม การประกอบธุรกิจทางการค้า ผู้ประกอบธุรกิจจะตั้งชื่อร้านหรือกิจการของตนได้โดยไม่จำต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์เป็นเจ้าของกิจการจึงมีอำนาจฟ้องในฐานะส่วนตัว หนังสือสัญญาระบุว่า จำเลยตกลงจะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ภายใน 90 วันนับจากวันที่ทำสัญญาซื้อขายระหว่างบริษัทค. และบริษัทบ. กับจำเลย เมื่อ บริษัทค. บริษัทบ. และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกันแล้วตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526ข้อที่จำเลยอ้างว่าสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะไม่สามารถโอนหุ้นกันได้เป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญาหาอาจนำมาอ้างกับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ไม่ ข้อตกลงจึงมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526การนับระยะเวลา 90 วัน จึงเริ่มนับแต่นั้นเป็นต้นไป และครบกำหนดชำระแล้ว จำเลยเป็นคนไทยจะชำระหนี้เป็นเงินเหรียญฮ่องกง ปกติจำเลยก็ต้องไปซื้อเงินเหรียญฮ่องกงจากธนาคาร อัตราแลกเปลี่ยนเงินก็ต้องเป็นไปตามอัตราขายของธนาคาร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายข้าวสาร การบอกเลิกสัญญา และการผิดสัญญา
โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นตีความข้อตกลงแห่งสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ผิดทำให้ศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานผิดไปจากสำนวน หากตีความตามที่โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ จะเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 สืบได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1เช่นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย สัญญาแม้จะมิได้กำหนดเวลาให้ผู้ขายส่งมอบข้าวสารให้ผู้ซื้อก็ตามแต่ที่สัญญาระบุว่าผู้ซื้อจะต้องชำระราคาข้าวสารให้ผู้ขายภายในวันที่ 30 กันยายน 2529 นั้น พอจะอนุมานได้ว่าคู่กรณีตกลงให้ผู้ขายส่งมอบข้าวสารให้แก่ผู้ซื้อภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วยทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 และเมื่อเกิดสัญญากันขึ้นแล้ว คู่กรณีย่อมต้องผูกพันชำระหนี้กันตามสัญญาส่วนฝ่ายใดจะมีสิทธิเลิกสัญญาหรือไม่นั้นย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือมีข้อความในสัญญาระบุให้สิทธิเลิกสัญญาไว้ เมื่อข้อความในสัญญาตามเอกสารหมาย จ.1 ไม่ได้ระบุให้ผู้ขายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระ ทั้งไม่มีกฎหมายให้สิทธิผู้ขายบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยได้บอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 17 กันยายน2529 แล้วเช่นนี้ย่อมถือว่าจำเลยได้บอกเลิกสัญญาก่อนที่จะส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามสัญญา การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยไม่ยอมส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ที่ 1 ภายในวันที่ 30 กันยายน 2529 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา โจทก์ที่ 1ย่อมได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายข้าวสาร การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ และผลของการผิดสัญญา
อุทธรณ์ที่ว่าศาลตีความข้อตกลงแห่งสัญญาผิดไปจากสำนวนหากตีความตามอุทธรณ์แล้วจะเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 นำสืบได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย แม้ในสัญญาจะมิได้กำหนดเวลาให้ผู้ขายส่งมอบข้าวสารให้ผู้ซื้อก็ตามแต่ที่สัญญาระบุให้ผู้ซื้อต้องชำระราคาให้ผู้ขายภายในวันที่ 30 กันยายน 2529 นั้นพออนุมานได้ว่า คู่กรณีตกลงให้ผู้ขายส่งมอบข้าวสารให้ผู้ซื้อภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย ตามป.พ.พ. มาตรา 203 ส่วนสิทธิในการเลิกสัญญาย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือตามข้อความในสัญญาที่ระบุให้สิทธิไว้เมื่อไม่ปรากฏสิทธิดังกล่าวแล้ว จำเลยผู้ขายย่อมไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาก่อนที่จะส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ยอมส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ที่ 1 ภายในวันที่ 30 กันยายน 2529 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินไม่มีกำหนดเวลาชำระ และอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกกล่าว
เมื่อการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์จำเลยตามสัญญาไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระหนี้โดยไม่จำต้องบอกกล่าว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 652 ก่อนได้ จำเลยฎีกาว่า จำเลยขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดที่จำเลยได้หยิบยกเอามาบรรยายไว้ในฎีกาในเบื้องต้นเป็นฎีกาส่วนหนึ่งของจำเลยปรากฏตามคำฟ้องฎีกาของจำเลยเพียงว่า จำเลยได้หยิบยกเอาข้อความที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมากล่าวว่าจำเลยอุทธรณ์ว่าอย่างไรศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอย่างไร โดยจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหน อย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
of 12