คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 203

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าจ้างเหมา: เริ่มนับเมื่อได้รับเงินงวดสุดท้ายบางส่วน
โจทก์รับเหมาก่อสร้างอาคารซึ่งจำเลยรับเหมาจากองค์การโทรศัพท์กำหนดจ่ายค่าจ้างตามงวดที่จำเลยได้รับเงินจากองค์การจำเลยรับเงินงวดสุดท้ายจากองค์การได้มาบางส่วนเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2514 แล้วได้รับอีกบางส่วนเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2515 ดังนี้ อายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา165(1) สำหรับหนี้ที่ค้างงวดนั้นทั้งจำนวนเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2514

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังหย่า: อายุความเริ่มนับจากวันทำข้อตกลง
ข้อตกลงที่บิดามารดาทำไว้ในเมื่อจดทะเบียนหย่าว่า จะจดทะเบียนยกที่ดินสินสมรสให้แก่บุตร ไม่ได้กำหนดเวลาโอนกรรมสิทธิ์ไว้มารดาซึ่งเป็นเจ้าหนี้เรียกให้โอนได้ทันที อายุความเริ่มนับตั้งแต่วันทำข้อตกลง ขาดอายุความเมื่อครบ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้เงินกู้และการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระดอกเบี้ยด้วยการให้ทำนา
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ โดยบรรยายปีที่กู้สลับกัน ไม่เรียงลำดับแต่ละปีแต่ได้อ้างเอกสารสำเนาสัญญากู้แต่ละฉบับมาท้ายฟ้อง ตรงกับคำบรรยายฟ้องและไม่ขัดกับเอกสารดังนี้ ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ป.กู้เงินของสามีโจทก์ไป และมอบนาให้ทำกินต่างดอกเบี้ยตลอดมา ต่อมา ป.ตาย จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป.ได้มอบนานั้นให้ทำต่างดอกเบี้ยจนกระทั่งสามีโจทก์ตาย และเมื่อสามีโจทก์ตายแล้ว จำเลยก็มอบนาดังกล่าวให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของสามีทำนาต่างดอกเบี้ยต่อมาอีก ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระดอกเบี้ยด้วยการให้ทำนา เป็นการรับสภาพต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยการส่งดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง (อ้างฎีกาประชุมใหญ่ที่ 159/2513)
หนี้กู้ยืมที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาอันพึงชำระหนี้ไว้นั้น เจ้าหนี้จะฟ้องให้ชำระหนี้ที่ยืมไปโดยไม่ต้องบอกกล่าวก็ได้ (อ้างฎีกาที่ 873/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การประเมินภาษีเพิ่มเติมและการอุทธรณ์ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ
ห้างโจทก์เป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีพร้อมด้วยบัญชีต่าง ๆ ตามที่กฎหมายระบุไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และถ้ามีกำไรสุทธิก็ต้องชำระเงินภาษีที่ต้องเสียต่ออำเภอพร้อมกับรายการที่ยื่นนั้นด้วย ดังบัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65,68,69 ดังนั้น หนี้ภาษีอากรของโจทก์ได้ถึงกำหนดชำระแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร เมื่อนับจากวันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์ชำระภาษีที่ขาดเพิ่มเติมให้ครบถ้วนยังไม่ครบ 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของกรมสรรพากรจำเลยจึงยังไม่ขาดอายุความส่วนที่ห้าง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งการประเมินต่อเจ้าพนักงานอุทธรณ์ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ห้างโจทก์ทราบเมื่อพ้น 10 ปีแล้วนั้นคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นเพียงข้อวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินว่าถูกต้องหรือไม่ ควรลดหย่อนภาษีให้ห้างโจทก์หรือไม่เท่านั้น ไม่ใช่คำสั่งเรียกเก็บภาษี ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดชำระภาษีและผลกระทบต่อสิทธิในคดีล้มละลาย
หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า และเงินเพิ่มที่เจ้าพนักงานประเมินเพราะยื่นรายการไม่ถูกต้อง ถือว่าถึงกำหนดชำระตั้งแต่ครบ 150 วัน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65,68,69 มิใช่ตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้ผู้ต้องเสียภาษีทราบ ถ้าเกิน 6 เดือนก็ไม่มีบุริมสิทธิตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินไม่มีกำหนดเวลาชำระคืน: ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกเงินคืนได้ทันที และสิทธิในการทำกินต่างดอกเบี้ยสิ้นสุดเมื่อมีคำพิพากษา
กู้เงินไม่มีกำหนดเวลาชำระคืน ผู้ให้กู้เรียกให้ชำระเงินได้โดยพลัน ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง
สัญญากู้มอบที่สวนให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปตั้งแต่วันศาลพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีจนกว่าจะชำระเสร็จ ชั้นฎีกาไม่มีข้อโต้แย้งว่าโจทก์มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ จึงต้องถือตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันพิพากษา ส่วนการทำกินต่างดอกเบี้ย เมื่อพิพากษาแล้วต่อไปไม่คืนสวน เป็นคนละเรื่องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงิน, สัญญาไม่สมบูรณ์, การฟ้องบังคับสิทธิหลังลูกหนี้เสียชีวิต, การทวงถามหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จ. สามีจำเลยทั้งสองยืมเงินโจทก์ไป 2 ครั้งครั้งแรก 110,000 บาท ครั้งที่สอง 90,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจ. ทำหนังสือสัญญากู้ 2 ราย และรับเงินกู้ไป 200,000 บาทจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จ. ไม่ได้รับเงินกู้รายแรก แต่ไม่ได้อุทธรณ์ว่าจ. ไม่ได้ทำสัญญากู้รายแรก ดังนี้ ประเด็นว่า จ. ได้ทำสัญญากู้รายแรกหรือไม่ จึงยุติเพียงศาลชั้นต้นว่า จ.ได้ทำสัญญากู้รายแรกจริงจำเลยที่ 2 จึงฎีกาในปัญหาข้อนี้ไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จ. จะได้ยืมเงินจากโจทก์ หรือไม่จำเลยที่ 2 ไม่ทราบไม่รับรอง ลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่สมบูรณ์ ดังนี้ที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้นั้นเป็นการประกอบคำให้การที่ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.คำให้การดังกล่าวจึงมีความหมายว่าเนื่องด้วยสัญญากู้ปลอมจ. จึงไม่ได้รับเงินที่ระบุไว้ในสัญญากู้ ดังนั้นเมื่อฟังว่า จ.ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริง ไม่ใช่สัญญากู้ปลอมแล้ว ข้อต่อสู้ว่าจ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เป็นอันตกไป ต้องฟังว่า จ.ได้รับเงินตามสัญญากู้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 3 บัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมเป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ถึงแก่กรรมโดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ชำระหนี้ก่อน ฉะนั้น แม้สัญญากู้ซึ่ง จ. กู้เงินโจทก์ไปจะมีข้อความว่าหากโจทก์ต้องการเงินคืนเมื่อใดจ. จะคืนให้ทันที แต่ต้องบอกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก็ตามเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้ทันทีโดยไม่จำต้องทวงถามก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้และการฟ้องบังคับสิทธิหลังลูกหนี้ถึงแก่กรรม โดยไม่ต้องทวงถามก่อน
โจทก์ฟ้องว่า จ. สามีจำเลยทั้งสองยืมเงินโจทก์ไป 2 ครั้ง ครั้งแรก 110,000 บาท ครั้งที่สอง 90,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จ. ทำหนังสือสัญญากู้ 2 ราย และรับเงินกู้ไป 200,000 บาทจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จ. ไม่ได้รับเงินกู้รายแรก แต่ไม่ได้อุทธรณ์ว่าจ. ไม่ได้ทำสัญญากู้รายแรก ดังนี้ ประเด็นว่า จ. ได้ทำสัญญากู้รายแรกหรือไม่ จึงยุติเพียงศาลชั้นต้นว่า จ.ได้ทำสัญญากู้รายแรกจริงจำเลยที่ 2 จึงฎีกาในปัญหาข้อนี้ไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จ. จะได้ยืมเงินจากโจทก์ หรือไม่ จำเลยที่ 2 ไม่ทราบไม่รับรอง ลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ. จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่สมบูรณ์ ดังนี้ ที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้นั้นเป็นการประกอบคำให้การที่ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.คำให้การดังกล่าวจึงมีความหมายว่าเนื่องด้วยสัญญากู้ปลอมจ. จึงไม่ได้รับเงินที่ระบุไว้ในสัญญากู้ ดังนั้นเมื่อฟังว่า จ.ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริง ไม่ใช่สัญญากู้ปลอมแล้ว ข้อต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เป็นอันตกไปต้องฟังว่า จ.ได้รับเงินตามสัญญากู้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมเป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ถึงแก่กรรมโดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ชำระหนี้ก่อน ฉะนั้น แม้สัญญากู้ซึ่ง จ. กู้เงินโจทก์ไปจะมีข้อความว่าหากโจทก์ต้องการเงินคืนเมื่อใดจ. จะคืนให้ทันที แต่ต้องบอกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก็ตามเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้ทันทีโดยไม่จำต้องทวงถามก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อนำเข้าสินค้า แม้ยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการ กรมสรรพากรมีสิทธิรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
89ตรี จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507-2508. โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า. ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี. ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร. จำเลยย่อมมีรายรับตามมูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร. และมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป. มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ.
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง. เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า. แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด. แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว. กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้.
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย.
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี.
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ. เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลหนี้ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อใด: การประเมินภาษีและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507- 2508 โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ถือว่า ผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขาย สินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จำเลยย่อมมีรายรับตาม มูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร และมีหน้าที่ต้อง ชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของ เดือนถัดไป มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจาก จำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมี หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่น คำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตาม ประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะ เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็น หนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว
of 12