พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7767/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุทางรถไฟ: บาดเจ็บหลายแห่งแม้ผ่าตัดเพียงแห่งเดียวเข้าข่ายจ่ายเพิ่ม
การประสบอันตรายในคดีนี้เป็นเหตุให้ ส. ได้รับบาดเจ็บกระดูกแขนซ้ายแตกหัก กล้ามเนื้อแขนซ้ายชอกช้ำ กระดูกสันหลังระดับทรวงอกปล้องที่ 12 และระดับเอวปล้องที่ 1 หักยุบ แพทย์ทำการรักษาโดยการผ่าตัดดามกระดูกแขนซ้ายด้วยโลหะและใส่เฝือกพยุงหลัง ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลอยู่ระยะหนึ่ง แพทย์รักษาทางยาและทำกายภาพบำบัด ต่อมาแพทย์ทำการผ่าตัดเพื่อนำเอาเหล็กที่ดามไว้ที่แขนซ้ายออก ดังนี้ แม้การประสบอันตรายของ ส. จะได้รับการผ่าตัดเพื่อดามและถอดเหล็กดามที่กระดูกแขนซ้ายเพียงแห่งเดียวก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ ส. ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขซึ่งอยู่ในเกณฑ์จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มอีกไม่เกินหกหมื่นห้าพันบาทสำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่มีลักษณะตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ.2551 ข้อ 3 (2) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4446/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีประสบอันตรายจากงาน: หลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาล
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยพลัดตกช่องลิฟต์ได้รับบาดเจ็บกระดูกกะโหลกศีรษะหลังหูขวาแตกมีเลือดออกในสมองแต่เลือดในสมองสลายไปเองได้แพทย์จึงไม่ได้ผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ ซึ่งไม่ใช่การบาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะและต้องได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ.2551 ข้อ 3 (3) กระดูกซี่โครงด้านขวาหักแต่กระดูกจะเชื่อมติดเองได้แพทย์จึงไม่ได้ผ่าตัด กระดูกนิ้วก้อยขวาหักแพทย์ให้การรักษาทายาโดยไม่ต้องผ่าตัด และกระดูกไหปลาร้าหักแพทย์ผ่าตัดรักษาตามโลหะให้ กรณีจึงเป็นการบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ.2551 ข้อ 3 (2) ส่วนอาการบาดเจ็บมีเลือดออกในปอดก็เป็นอวัยวะภายในเพียงส่วนเดียวซึ่งแพทย์รักษาโดยการเจาะใส่ท่อระบายลมและเลือดในปอด จึงไม่ใช่การบาดเจ็บอย่างรุนแรงของอวัยวะภายในหลายส่วนและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ.2551 ข้อ 3 (1) ดังนี้อาการบาดเจ็บของโจทก์เป็นการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 3 (2) เพียงรายการเดียว และเมื่อโจทก์พักรักษาตัวเป็นผู้ป่วย
ในโรงพยาบาลเป็นเวลา 20 วัน โดยพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยหนัก 5 วัน จึงไม่ใช่การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือต้องพักรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนักตั้งแต่ 20 วัน ขึ้นไป กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ.2551
ข้อ 4 (1) และ (2)
ในโรงพยาบาลเป็นเวลา 20 วัน โดยพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยหนัก 5 วัน จึงไม่ใช่การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือต้องพักรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนักตั้งแต่ 20 วัน ขึ้นไป กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ.2551
ข้อ 4 (1) และ (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บนิ้วมือหลายนิ้วถือเป็นบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่ง ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า การรักษาตามวิธีการของผู้เป็นแพทย์ผู้เป็นพยานโจทก์เป็นการรักษาที่ผิดวิธี จึงไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาลตามความจำเป็น ไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31
นิ้วมือแต่ละนิ้วต่างเป็นองคาพยพของร่างกาย แยกเป็นอิสระจากกันและมีสมรรถภาพในการใช้งานแตกต่างกัน ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนและหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน ลงวันที่ 12 กันยายน 2537 ออกตามความในมาตรา 6 และมาตรา18(2)(3) วรรคสามและวรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 ข้อ 2 และข้อ 3 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายสูญเสียนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยไว้มากน้อยกว่ากันเรียงเป็นลำดับจากนิ้วหัวแม่มือไปหานิ้วก้อยทั้งกรณีสูญเสียนิ้วมือทั้งนิ้วและบางส่วน
ลูกจ้างประสบอันตรายได้รับบาดเจ็บที่กระดูกนิ้วมือข้างขวาทั้งห้านิ้วเป็นกรณีบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความใน พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537ข้อ 2(2)
นิ้วมือแต่ละนิ้วต่างเป็นองคาพยพของร่างกาย แยกเป็นอิสระจากกันและมีสมรรถภาพในการใช้งานแตกต่างกัน ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนและหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน ลงวันที่ 12 กันยายน 2537 ออกตามความในมาตรา 6 และมาตรา18(2)(3) วรรคสามและวรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 ข้อ 2 และข้อ 3 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายสูญเสียนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยไว้มากน้อยกว่ากันเรียงเป็นลำดับจากนิ้วหัวแม่มือไปหานิ้วก้อยทั้งกรณีสูญเสียนิ้วมือทั้งนิ้วและบางส่วน
ลูกจ้างประสบอันตรายได้รับบาดเจ็บที่กระดูกนิ้วมือข้างขวาทั้งห้านิ้วเป็นกรณีบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความใน พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537ข้อ 2(2)