พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4446/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีประสบอันตรายจากงาน: หลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาล
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยพลัดตกช่องลิฟต์ได้รับบาดเจ็บกระดูกกะโหลกศีรษะหลังหูขวาแตกมีเลือดออกในสมองแต่เลือดในสมองสลายไปเองได้แพทย์จึงไม่ได้ผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ ซึ่งไม่ใช่การบาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะและต้องได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ.2551 ข้อ 3 (3) กระดูกซี่โครงด้านขวาหักแต่กระดูกจะเชื่อมติดเองได้แพทย์จึงไม่ได้ผ่าตัด กระดูกนิ้วก้อยขวาหักแพทย์ให้การรักษาทายาโดยไม่ต้องผ่าตัด และกระดูกไหปลาร้าหักแพทย์ผ่าตัดรักษาตามโลหะให้ กรณีจึงเป็นการบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ.2551 ข้อ 3 (2) ส่วนอาการบาดเจ็บมีเลือดออกในปอดก็เป็นอวัยวะภายในเพียงส่วนเดียวซึ่งแพทย์รักษาโดยการเจาะใส่ท่อระบายลมและเลือดในปอด จึงไม่ใช่การบาดเจ็บอย่างรุนแรงของอวัยวะภายในหลายส่วนและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ.2551 ข้อ 3 (1) ดังนี้อาการบาดเจ็บของโจทก์เป็นการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 3 (2) เพียงรายการเดียว และเมื่อโจทก์พักรักษาตัวเป็นผู้ป่วย
ในโรงพยาบาลเป็นเวลา 20 วัน โดยพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยหนัก 5 วัน จึงไม่ใช่การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือต้องพักรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนักตั้งแต่ 20 วัน ขึ้นไป กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ.2551
ข้อ 4 (1) และ (2)
ในโรงพยาบาลเป็นเวลา 20 วัน โดยพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยหนัก 5 วัน จึงไม่ใช่การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือต้องพักรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนักตั้งแต่ 20 วัน ขึ้นไป กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ.2551
ข้อ 4 (1) และ (2)