คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 850

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,234 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ศาลพิพากษาตามสัญญาได้ แม้เกินคำขอในฟ้อง ไม่ขัดกฎหมาย
กรณีที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วจึงพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทไป ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องได้ ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งต้องห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละ 10 ต่อปี เกินกว่าร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์จึงหาเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 และขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 138 (2) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับตามสัญญา แม้เกินกำหนดระยะเวลา และเจตนาของคู่สัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล ระบุให้จำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ตกลงชำระเงินให้จำเลย 200,000 บาท ในวันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท หากจำเลยผิดนัด จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือเอาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไปจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองได้ทันทีและถือเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ วัตถุประสงค์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกันด้วยการที่จำเลยจะโอนที่ดินให้แก่โจทก์และโจทก์ก็จะชำระราคาให้แก่จำเลย การกำหนดระยะเวลา 6 เดือนไว้ จึงเป็นกำหนดเวลาให้โจทก์จำเลยปฏิบัติตามสัญญา หากไม่ปฏิบัติก็บังคับคดีกันไปเพื่อให้สมวัตถุประสงค์แห่งการทำสัญญาที่ต้องการให้ข้อพิพาทระหว่างกันระงับไปด้วยวิธีการดังกล่าว หาใช่ว่าหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วจะทำให้ข้อกำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความสิ้นผลไปโดยคู่สัญญาไม่จำต้องปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใดไม่ เนื่องจากไม่เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างกันตามที่โจทก์จำเลยมีเจตนาในการเข้าทำสัญญามาแต่ต้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์วางเงินจำนวน 200,000 บาท ต่อศาลแล้ว แม้จะเกินเวลา 6 เดือน จำเลยจึงต้องรับเงินและมีหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติ โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: กำหนดระยะเวลาเป็นเพียงกรอบการปฏิบัติตามสัญญา ไม่ใช่เงื่อนไขสิ้นสุดสัญญา
วัตถุประสงค์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกันด้วยการที่จำเลยจะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน ส่วนโจทก์ก็จะชำระราคารวมทั้งภาระค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอื่นๆ ให้แก่จำเลย เมื่อคู่สัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีวัตถุประสงค์ดังกล่าว การกำหนดระยะเวลา 6 เดือนไว้จึงเป็นการกำหนดระยะเวลาให้โจทก์จำเลยปฏิบัติตามสัญญาเท่านั้น หากไม่ปฏิบัติก็บังคับคดีกันไปเพื่อให้สมวัตถุประสงค์แห่งการทำสัญญาที่ต้องการให้ข้อพิพาทระหว่างกันระงับไปด้วยวิธีดังกล่าว หาใช่ว่าหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วจะทำให้ข้อกำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความสิ้นผลไปโดยคู่สัญญาไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใด เนื่องจากไม่เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างกันตามที่โจทก์จำเลยมีเจตนาในการเข้าทำสัญญามาตั้งแต่ต้น ดังนั้น เมื่อโจทก์วางเงินจำนวน 200,000 บาท ต่อศาลแล้วแม้จะเกินเวลา 6 เดือน จำเลยจึงต้องรับเงินและมีหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: บันทึกตกลงช่วยเหลือค่าปลงศพและค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความได้
แม้ว่าบันทึกตกลงช่วยเหลือค่าปลงศพที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์และจำเลยจะขึ้นต้นว่าเป็นการตกลงช่วยเหลือค่าปลงศพอย่างเดียวก็ตาม แต่ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับค่าช่วยเหลือค่าปลงศพ และช่วยเหลือในเรื่องค่าซ่อมรถจักรยานยนต์อีกด้วย ทั้งยังมีข้อความระบุโดยชัดแจ้งว่าฝ่ายผู้เสียหายไม่ติดใจที่จะฟ้องร้องทางแพ่งอีก นอกจากนั้นในส่วนคดีอาญาได้ความว่า การตกลงค่าเสียหายนั้นคู่กรณีสมัครใจตกลงค่าเสียหายกันเอง และคู่กรณีไม่ประสงค์จะฟ้องร้องคดีกันอีก ประกอบกับในคำพิพากษาส่วนคดีอาญาระบุว่า "ฝ่ายผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายเป็นที่พอใจ" บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทในมูลหนี้ละเมิดทั้งหมดซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความหลังลาออก ไม่ขัด พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มีผลบังคับได้
เอกสารที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามระบุว่า โจทก์ลาออกจากงานตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2544 โดยจำเลยทั้งสามจ่ายเงินผลประโยชน์พิเศษให้จำนวน 500,000 บาท และโจทก์จะไม่เรียกร้องสิทธิใด ๆ ที่เกิดขึ้นในวันที่หรือก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2544 นั้น มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ และโจทก์ตกลงกับจำเลยทั้งสามตามข้อตกลงดังกล่าวโดยลงลายมือชื่อยอมรับภายหลังจากที่โจทก์แสดงความประสงค์จะลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์ย่อมมีอิสระที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของตนเองได้ ข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ และไม่ข้ดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ค่าเสียหายจากการยักยอกเงินของลูกจ้างธนาคาร และสิทธิไล่เบี้ยของธนาคารต่อลูกจ้าง
หนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำกับ ส. ระบุว่า จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงตกลงคืนเงินที่ยักยอกไปให้แก่ ส. นั้น เป็นเพียงหนังสือที่จำเลยที่ 1 รับว่าเป็นหนี้ ส. และยอมชำระหนี้แก่ ส. ไม่มีข้อความที่จำเลยที่ 1 กับ ส. ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้จากมูลละเมิดระงับสิ้นไป
โจทก์เป็นธนาคารซึ่งได้รับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ขาดหายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตามมาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ที่เกิดจากการยักยอกเงินและการฟ้องเรียกคืนจากผู้กระทำละเมิด
หนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำกับ ส. ระบุว่าจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงตกลงคืนเงินที่ยักยอกไปให้แก่ ส. นั้น เป็นเพียงหนังสือที่จำเลยที่ 1 รับว่าเป็นหนี้ ส. และยอมรับชำระหนี้แก่ ส. ไม่มีข้อความที่จำเลยที่ 1 กับ ส. ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้จากมูลละเมิดระงันสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ถึง 852
โจทก์เป็นธนาคารซึ่งรับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่หายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ที่เกิดจากจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่งเรื่องสิทธิในที่ดิน การครอบครองตามสัญญาเช่า
ในคดีอาญาตามคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยได้ร้องทุกข์กล่าวหาว่าโจทก์บุกรุกที่ดินพิพาทและทำให้เสียทรัพย์ และได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทก็โดยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลย หาใช่เป็นการยึดถือครอบครองเพื่อตนไม่ ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว จึงมีผลผูกพันถึงคดีแพ่งซึ่งพิพาทกันภายหลังเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท ซึ่งเมื่อจำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ต่อศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายก็รับในข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยโจทก์ตกลงประนีประนอมยอมความชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง เมื่อที่ดินพิพาทมิใช่เป็นที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9086/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหยุดงานชั่วคราวไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยทำสัญญาจ้างให้ก่อสร้างงานหลัก โดยมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการว่า หากมีกรณีพิพาทให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน ต่อมาโจทก์ทั้งสองกับจำเลยได้ตกลงตามสัญญาหยุดงานชั่วคราว ให้โจทก์ทั้งสองหยุดงานไว้ก่อนเพราะภาวะเศรษฐกิจด้านการเงินที่จำเลยประสบอยู่ จำเลยไม่อาจจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งสองให้ครบถ้วนตามกำหนดได้ เจตนารมณ์ของโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ทำสัญญาหยุดงานก่อสร้างไว้ชั่วคราว ทั้งสองฝ่ายยังมีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาว่าจ้างให้ก่อสร้างงานหลักต่อกันอยู่ สัญญาหยุดงานชั่วคราวจึงหาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ไม่ และเมื่อโจทก์ทั้งสองบอกเลิกสัญญาเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ผิดสัญญาตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญาหยุดงานชั่วคราว โจทก์ทั้งสองจึงต้องนำข้อพิพาทเสนออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยก่อน ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาว่าจ้างให้ก่อสร้างงานหลัก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5644/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย แม้ไม่มีหลักฐานกู้ยืมเป็นหนังสือ ดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15
โจทก์ฟ้องขอบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้หนี้เดิมจะมาจากมูลหนี้การกู้ยืมเงิน แต่โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม โจทก์จึงไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้มาแสดงต่อศาล
หนี้ตามต้นเงินที่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ เป็นหนี้จากมูลสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่หนี้กู้ยืมจึงไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้โจทก์เรียกหรือคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
of 124