คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 850

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,234 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและค่าล่วงเวลาหลังการเลิกจ้าง ย่อมมีผลผูกพันตามกฎหมาย
จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 ซึ่งโจทก์ทราบการเลิกจ้างและไม่ไปทำงานตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ไปทำหนังสือยินยอมการสละสิทธิเรียกร้องของโจทก์ หลังจากโจทก์ไม่ไปทำงานถึง 2 เดือนเศษ โจทก์จึงมีอิสระแก่ตน พ้นพันธะกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามเอกสารดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและไม่เป็นโมฆะ จึงมีผลใช้บังคับ
เอกสารฉบับพิพาทระบุว่า จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ 169,600 บาท โจทก์ทราบแล้วตกลงรับเงินจำนวนดังกล่าวโดยจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดี เรียกค่าชดเชยหรือเงินใด ๆจากจำเลยอีก ซึ่งเงินใด ๆ ที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอีกดังกล่าวนั้น ย่อมหมายถึงเงินทุกประเภท รวมทั้งค่าล่วงเวลาที่โจทก์อาจจะมีสิทธิได้รับจากจำเลยด้วย เมื่อการสละสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คห้ามเปลี่ยนมือที่ถูกนำไปขึ้นเงินโดยมิชอบ
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการสาขามีหน้าที่ดูแลงานของธนาคารจำเลยที่ 1สาขาดังกล่าวทุก ๆ ด้าน มีอำนาจหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาพนักงานทุกคนในสาขาต้องคอยควบคุมดูแลให้พนักงานทุกคนทำงานด้วยความเรียบร้อยและถูกต้องมิให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้าและบุคคลภายนอก ไม่อาจปัดความรับผิดชอบให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นพนักงานและพนักงานคนอื่น การที่ปล่อยให้จำเลยร่วมนำเช็คพิพาทที่ห้ามเปลี่ยนมือและขีดฆ่าคำว่าผู้ถือออก ซึ่งโจทก์ออกให้เพื่อชำระหนี้แก่บุคคลอื่นเรียกเก็บเงินและนำเข้าบัญชีเงินฝากของตนโดยผิดขั้นตอนไม่เป็นไปตามระเบียบแล้วเป็นผู้รับเงินและเบิกจ่ายเงินไป โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าตนใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยร่วมและพนักงานที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว ต้องถือว่าได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย
ส่วนการที่จำเลยร่วมและ น. ร่วมกันนำเช็คของโจทก์หลายฉบับ รวมทั้งเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารซึ่งโจทก์ได้ดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลทั้งสองฐานฉ้อโกงและยักยอก แล้วต่อมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อระงับข้อพิพาทในทางอาญา ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยร่วมและ น. หามีผลถึงความรับผิดของจำเลยทั้งสองซึ่งมีมูลจากการละเมิดและไม่ได้ร่วมตกลงประนีประนอมยอมความด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความครอบคลุมค่าเสียหายทั้งหมดจากการเลิกจ้าง โจทก์จึงฟ้องซ้ำไม่ได้
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ หรือจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น แม้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 จะกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้แตกต่างกันและเป็นกฎหมายต่างฉบับกันก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในการได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายจ้างเช่นเดียวกันสำหรับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือศาลแรงงานไม่เห็นสมควรให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานอีก
การที่โจทก์นำสาเหตุจากการที่จำเลยเลิกจ้าง ไปยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์และต่อมาโจทก์ได้นำเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวไปฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน อีกจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งชำระเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมชำระเงิน 147,820 บาท ให้แก่โจทก์ โจทก์ตกลงรับเงินดังกล่าวและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายและเงินอื่นใดจากจำเลยอีกศาลแรงงานมีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยชำระตอบแทนในการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว ซึ่งรวมทั้งโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันแล้ว คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะวินิจฉัยว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ก็ตาม
เมื่อค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลแรงงาน ต่างมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างของจำเลยเดียวกัน ค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของข้อความว่าค่าเสียหายและเงินอื่นใดที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลย ที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั่นเอง ค่าเสียหายที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระแก่โจทก์ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไปก่อนแล้วโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์จึงไม่อาจนำมาฟ้องให้จำเลยรับผิดได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของสัญญาประนีประนอมยอมความ: การระงับข้อพิพาทจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ หรือจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น แม้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 จะกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้แตกต่างกัน และเป็นกฎหมายต่างฉบับกันก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในการได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายจ้างเช่นเดียวกันสำหรับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือศาลแรงงานไม่เห็นสมควรให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานอีก
การที่โจทก์นำสาเหตุจากการที่จำเลยเลิกจ้าง ไปยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ และต่อมาโจทก์ได้นำเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวไปฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน อีกจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งชำระเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมชำระเงิน 147,820 บาท ให้แก่โจทก์ โจทก์ตกลงรับเงินดังกล่าวและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายและเงินอื่นใดจากจำเลยอีก ศาลแรงงานมีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยชำระตอบแทนในการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว ซึ่งรวมทั้งโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันแล้ว คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะวินิจฉัยว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ก็ตาม
เมื่อค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลแรงงาน ต่างมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างของจำเลยเดียวกัน ค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของข้อความว่า ค่าเสียหายและเงินอื่นใดที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลย ที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั่นเอง ค่าเสียหายที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระแก่โจทก์ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไปก่อนแล้วโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์จึงไม่อาจนำมาฟ้องให้จำเลยรับผิดได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คคืน การประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คระงับ
ที่จำเลยฎีกาว่า เช็คพิพาทคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยชดใช้เงิน ในที่สุดโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทคดีนี้ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้ชดใช้เงิน โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทคดีนี้ได้อีก หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เงินพ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย หากมีการกระทำที่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายกรณีใดกรณีหนึ่งแล้วย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปทันทีไม่ใช่เรื่องที่คู่สัญญาจะทำสัญญาหรือตกลงกันยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายมิให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับได้
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จะมีข้อความว่า การตกลงประนีประนอมยอมความนี้ โจทก์และจำเลยไม่ถือว่าได้ตกลงยอมความในคดีอาญาหากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญานี้โจทก์ยังคงประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยจนถึงที่สุดนั้น หากจะฟังว่าไม่เป็นการยอมความในคดีอาญา ก็เป็นคนละเรื่องกับกรณีหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพัน ซึ่งมีผลให้คดีเลิกกันและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปอีกกรณีหนึ่งที่มิใช่กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า การตกลงประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการยอมความในคดีอาญาอันเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาหรือข้อตกลงกันไม่ให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทคดีนี้เป็นอันระงับไป ถือว่ามีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แต่ข้อตกลงในส่วนดังกล่าวนี้สามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความในส่วนอื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งตกเป็นโมฆะทั้งหมด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความต่อคดีอาญาเช็ค สัญญาไม่สามารถขัดขวางการระงับคดีอาญาได้
ที่จำเลยฎีกาว่า เช็คพิพาทคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยชดใช้เงิน ในที่สุดโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทคดีนี้ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้ชดใช้เงิน โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทคดีนี้ได้อีก หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เงิน พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย หากมีการกระทำที่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายกรณีใดกรณีหนึ่งแล้วย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปทันที ไม่ใช่เรื่องที่คู่สัญญาจะทำสัญญาหรือตกลงกันยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายมิให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับได้
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จะมีข้อความว่า การตกลงประนีประนอมยอมความนี้ โจทก์และจำเลยไม่ถือว่าได้ตกลงยอมความในคดีอาญาหากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญานี้โจทก์ยังคงประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยจนถึงที่สุดนั้น หากจะฟังว่าไม่เป็นการยอมความในคดีอาญา ก็เป็นคนละเรื่องกับกรณีหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพัน ซึ่งมีผลให้คดีเลิกกันและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปอีกกรณีหนึ่งที่มิใช่กรณีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า การตกลงประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการยอมความในคดีอาญา อันเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาหรือข้อตกลงกันไม่ให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทคดีนี้เป็นอันระงับไป ถือว่ามีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 แต่ข้อตกลงในส่วนดังกล่าวนี้สามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมในส่วนอื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งตกเป็นโมฆะทั้งหมด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาระหว่างสมรส การบอกล้างสัญญา และผลของการบอกล้าง
คดีนี้เดิมโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยมีเงื่อนไขฉบับลงวันที่ 15 มกราคม 2539 และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมนั้นแล้ว ต่อมาเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่สำเร็จผล มีผลให้ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นอันตกไปไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์และจำเลยจึงได้ทำข้อตกลงกันใหม่เป็นสัญญาใหม่ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 จึงมีผลผูกพันโจทก์จำเลยแทนสัญญาประนีประนอมยอมความ ฉบับลงวันที่ 15 มกราคม 2539 แต่จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาใหม่ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 นั้นได้อีก จำเลยได้ยื่นข้อเสนอขึ้นมาใหม่ เมื่อโจทก์ไม่ตกลงจึงยังไม่เกิดเป็นสัญญา เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 โจทก์ต้องฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวเป็นคดีใหม่
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 เป็นข้อตกลงเพื่อจัดการทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสเป็นสัญญาระหว่างสมรส คู่สมรสมีสิทธิบอกล้างได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 เมื่อจำเลยได้บอกล้างข้อตกลงดังกล่าวแล้ว สัญญาระหว่างสมรสของโจทก์จำเลยจึงเป็นอันสิ้นผล โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8951/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้ไม่ถือเป็นประนีประนอมยอมความ สิทธิเรียกร้องยังคงอยู่ หากไม่ชำระหนี้ตามตกลง
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยจะให้การรับสารภาพเพราะสามารถตกลงกับโจทก์ร่วมได้ โดยจำเลยต้องชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมเพียงบางส่วน แต่ก็มิได้เป็นการตกลงให้โจทก์ร่วมต้องถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความเพื่อให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยเป็นอันระงับไปทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) โดยจำเลยไม่จำต้องชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมตามข้อตกลงดังกล่าวให้ครบถ้วนก่อน ศาลชั้นต้นจึงได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปตามคำแถลงของจำเลย เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยชำระหนี้ตามข้อตกลง เจตนาอันแท้จริงของโจทก์ร่วมและจำเลยจึงเป็นเพียงความตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามที่โจทก์ร่วมยินยอมลดยอดหนี้ให้ โดยมีเงื่อนไขเป็นปริยายว่า เมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมครบถ้วนตามจำนวนดังกล่าวก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา โจทก์ร่วมก็จะติดใจเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เพียงเท่านั้นและไม่ติดใจดำเนินทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยต่อไปอีก ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง สิทธิและความรับผิดระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยยังคงมีอยู่ต่อกันตามฟ้องทุกประการข้อตกลงดังกล่าวโจทก์ร่วมและจำเลยจึงมิได้ประสงค์ให้เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากมูลหนี้ละเมิดตามฟ้องต้องระงับไปไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อตกลง เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมไม่ถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความด้วย ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องได้และจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินทั้งหมดที่ยักยอกคืนแก่โจทก์ร่วมตามคำขอท้ายฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8951/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้ไม่ถือเป็นประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องคดีอาญาและแพ่งยังคงอยู่
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยจะให้การรับสารภาพเพราะสามารถตกลงกับโจทก์ร่วมได้ โดยจำเลยต้องชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมเพียงบางส่วน แต่ก็มิได้เป็นการตกลงให้โจทก์ร่วมต้องถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความเพื่อให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยเป็นอันระงับไปทันทีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โดยจำเลยไม่จำต้องชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมตามข้อตกลงดังกล่าวให้ครบถ้วนก่อน ศาลชั้นต้นจึงได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปตามคำแถลงของจำเลย เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยชำระหนี้ตามข้อตกลง เจตนาอันแท้จริงของโจทก์ร่วมและจำเลยจึงเป็นเพียงความตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามที่โจทก์ร่วมยินยอมลดยอดหนี้ให้ โดยมีเงื่อนไขเป็นปริยายว่า เมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมครบถ้วนตามจำนวนดังกล่าวก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา โจทก์ร่วมก็จะติดใจเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เพียงเท่านั้น และไม่ติดใจดำเนินทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยต่อไปอีก ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง สิทธิและความรับผิดระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยยังคงมีอยู่ต่อกันตามฟ้องทุกประการข้อตกลงดังกล่าวโจทก์ร่วมและจำเลยจึงมิได้ประสงค์ให้เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากมูลหนี้ละเมิดตามฟ้องต้องระงับไปไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อตกลง เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมไม่ถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความด้วย ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องได้และจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินทั้งหมดที่ยักยอกคืนแก่โจทก์ร่วมตามคำขอท้ายฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8744/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้จะสละสิทธิเรียกร้องในอนาคต
บันทึกฉบับพิพาทมีข้อความว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้รับต้นฉบับหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารคืนไปจากจำเลยเป็นการเรียบร้อยแล้ว และห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอย่างใด ๆ ในทุก ๆ กรณี เอาจากจำเลยทั้งสิ้น โดยหุ้นส่วนผู้จัดการผู้แทนตามกฎหมายของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ลงชื่อพร้อมทั้งประทับตราโจทก์ไว้บันทึกดังกล่าวทำขึ้นหลังจากจำเลยชำระเงินค่าซื้อขายแพขนานยนต์จำนวน 3 ลำ ให้แก่โจทก์โดยหักเงินค่าปรับตามสัญญาออกแล้วแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์โดยชัดแจ้งว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องเรื่องเงินค่าปรับและค่าเสียหายจากจำเลยในทุกกรณี อันมีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายแพขนานยนต์ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850,851, และ 852 ย่อมมีผลผูกพันโจทก์
of 124