คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 850

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,234 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ-ประนีประนอมยอมความ: สิทธิหน้าที่จะยังคงมีผลบังคับใช้ แม้มีการทำสัญญาใหม่
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งผู้ให้เช่าซื้อจะต้อง โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่ผู้เช่าซื้อเมื่อ ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน แต่เมื่อห้างผู้เช่าซื้อ ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อหลายงวด จนโจทก์มอบให้ทนายความ มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยังห้างผู้เช่าซื้อแล้ว กลับมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยขึ้น โดยเอาหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยและ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมเข้าเป็นเงินจำนวนเดียวให้จำเลยผ่อนชำระ ต่อไป แต่ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวหาได้มีข้อความใด กล่าวถึงรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ไม่ ทั้งปรากฏว่าหลังจากนั้น ห้างผู้เช่าซื้อและจำเลยยังคงครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อ ต่อมาอีกด้วย เห็นได้ว่า หากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามสัญญา ประนีประนอมยอมความดังกล่าวจนครบถ้วนแล้ว โจทก์ย่อมโอน กรรมสิทธิ์และโอนทางทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่ห้างผู้เช่าซื้ออย่างแน่นอน เพราะมิฉะนั้นจำเลยย่อมไม่ทำสัญญา ประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ การที่โจทก์ยอมให้ ห้างผู้เช่าซื้อและจำเลยครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อ หลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วก็ดี และยอมจะโอน กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้ห้างผู้เช่าซื้อเมื่อจำเลย ผ่อนชำระหนี้ครบถ้วนแล้วก็ดี ย่อมแสดงว่าคู่สัญญาเช่าซื้อเดิม ยังคงถือปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้มีเจตนาให้สัญญา เช่าซื้อเลิกไปเสียทั้งหมดคงเปลี่ยนแปลงเฉพาะแต่จำนวนหนี้ ค่าเช่าซื้อและการผ่อนชำระเท่านั้น สัญญาประนีประนอม ยอมความดังกล่าวจึงมิได้ทำให้สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิม ระงับไปและไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ประกอบมาตรา 852 คงมีลักษณะเป็นเพียงสัญญารับสภาพหนี้และผ่อนชำระหนี้ค่าเช่าซื้อ และหนี้อื่น ๆ ที่ค้างชำระเท่านั้น เมื่อสิทธิและหน้าที่ ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงมีผลบังคับอยู่ ห้างผู้เช่าซื้อ ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียได้ด้วยการส่งมอบรถยนต์ ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 และโจทก์จะเรียกร้อง เอาค่าเช่าซื้อหลังจากนั้นหาได้ไม่ แต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องตั้งประเด็นตามสัญญาเช่าซื้อ สิทธิของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อยังคงมีอยู่เพียงใดจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยได้ สมควรให้โอกาสแก่โจทก์ไปฟ้องร้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่กระทบสิทธิสัญญาเช่าซื้อเดิม ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภ. โดยจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ ต่อมาห้าง ภ. ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อหลายงวด และโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยังห้าง ภ. แล้ว ต่อมากลับมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยขึ้น โดยเอาหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมเข้าเป็นเงินจำนวนเดียวให้จำเลยผ่อนชำระ แต่ในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้กล่าวถึงรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ ทั้งปรากฏว่าหลังจากนั้นห้าง ภ. และจำเลยยังคงครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อต่อมาอีกด้วย จึงเห็นได้ว่า หากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจนครบแล้ว โจทก์ย่อมโอนกรรมสิทธิ์และโอนทางทะเบียนรถยนต์นั้นให้แก่ห้าง ภ. ผู้เช่าซื้ออย่างแน่นอน เพราะมิฉะนั้นจำเลยย่อมไม่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์ยอมให้ห้าง ภ. และจำเลยครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วก็ดี และยอมจะโอนกรรมสิทธ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้ห้าง ภ. เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้ครบถ้วนแล้วก็ดี ย่อมแสดงว่าคู่สัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงถือปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้มีเจตนาให้สัญญาเช่าซื้อเลิกไปเสียทั้งหมด คงเปลี่ยนแปลงเฉพาะแต่จำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อและการผ่อนชำระเท่านั้น สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ประกอบกับ มาตรา 852 อันจะทำให้สิทธิหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมระงับไป แต่คงมีลักษณะเป็นเพียงสัญญารับสภาพหนี้และผ่อนชำระหนี้ค่าเช่าซื้อและหนี้อื่น ๆ ที่ค้างชำระเท่านั้น เมื่อสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงมีผลบังคับอยู่ ห้าง ภ. ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียได้ด้วยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 และโจทก์จะเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อหลังจากนั้นหาได้ไม่ ส่วนสิทธิของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อยังคงมีอยู่เพียงใด เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องตั้งประเด็นตามสัญญาเช่าซื้อจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยได้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะไปฟ้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความและผลกระทบต่อการฟ้องคดีอาญาเช็ค
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อความว่า โจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ โดยจ่ายเป็นเช็คจำนวน 7 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แทนเช็คพิพาท ดังนี้ข้อความดังกล่าวจึงเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทโดยโจทก์ยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 แล้ว และการที่โจทก์นำเช็คที่จำเลยออกให้ใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวที่ถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คฉบับใหม่และสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทแล้ว มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า โจทก์มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทและตามเช็คฉบับใหม่ซึ่งต่างเป็นเช็คที่ชำระหนี้รายเดียวกัน ส่วนที่โจทก์ยังคงเก็บเช็คพิพาทไว้ก็ไม่อาจตีความได้ว่าโจทก์ยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาตามเช็คพิพาทต่อจำเลยแต่อย่างใด กรณีถือได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเช็คพิพาทแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีเช็ค: การสละสิทธิฟ้องอาญาจากการรับเช็คชำระหนี้ใหม่
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยมีว่า โจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ โดยจ่ายเป็นเช็คจำนวน 7 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แทนเช็คพิพาทดังนี้ข้อความดังกล่าวจึงเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทโดยโจทก์ยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 แล้วและการที่โจทก์นำเช็คที่จำเลยออกให้ใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวที่ถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คฉบับใหม่และสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทแล้วมิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า โจทก์มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับ จำเลยตามเช็คพิพาทและตามเช็คฉบับใหม่ซึ่งต่างเป็นเช็คที่ชำระหนี้รายเดียวกันส่วนที่โจทก์ยังคงเก็บเช็คพิพาทไว้ก็ไม่อาจตีความได้ว่าโจทก์ยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาตามเช็คพิพาทต่อจำเลยแต่อย่างใด กรณีถือได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเช็คพิพาทแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีเช็ค การสละสิทธิฟ้องอาญา และผลกระทบต่ออำนาจฟ้อง
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อความว่าโจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ โดยจ่ายเป็นเช็คจำนวน 7 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แทนเช็คพิพาท ดังนี้ข้อความดังกล่าวจึงเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทโดยโจทก์ยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 แล้ว และการที่โจทก์นำเช็คที่จำเลยออกให้ใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวที่ถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คฉบับใหม่และสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทแล้ว มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า โจทก์มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทและตามเช็คฉบับใหม่ซึ่งต่างเป็นเช็คที่ชำระหนี้รายเดียวกัน ส่วนที่โจทก์ยังคงเก็บเช็คพิพาทไว้ก็ไม่อาจตีความได้ว่าโจทก์ยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาตามเช็คพิพาทต่อจำเลยแต่อย่างใด กรณีถือได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเช็คพิพาทแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำสั่งศาลฎีกา & สิทธิการขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์: การทำนิติกรรมขัดคำสั่ง
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาให้ บ.โจทก์ในคดีนั้นมีสิทธิ์ซื้อที่ดินคืนจากจำเลย หากจำเลยไม่ยอมขายให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีการะหว่างฎีกาจำเลยขอทุเลาการบังคับ ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดีไว้ แต่ห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในระหว่างฎีกา เมื่อปรากฏว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์กับคำสั่งให้ทุเลาการบังคับคดีของศาลฎีกาที่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดีโดยมีเงื่อนไขห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในระหว่างฎีกานั้น มีผลบังคับอยู่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อยังไม่มีการยกเลิก คำสั่งดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลย การที่จำเลยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในคดีนี้ดังกล่าวจึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลฎีกา อีกทั้งโจทก์ในคดีนี้ก็มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นคดีหลังนี้ให้มีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรีให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ได้ เพราะเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นในคดีนี้ยกเลิกคำสั่งของศาลฎีกาในคดีแพ่งเรื่องก่อน ซึ่งเป็นคนละคดีกันและถึงที่สุดไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความขัดต่อคำสั่งศาลฎีกาและผลกระทบต่อการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
คดีก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บ.โจทก์ในคดีนั้นมีสิทธิซื้อที่ดินคืนจากจำเลย หากจำเลยไม่ยอมขายให้ถือเอาคำพิพากษา แทนการแสดงเจตนา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา ระหว่างฎีกาจำเลยขอทุเลาการบังคับ ศาลฎีกามีคำสั่ง อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดีไว้ แต่ห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในระหว่างฎีกา เมื่อปรากฏว่าคำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์กับคำสั่งให้ทุเลาการบังคับคดีของศาลฎีกา ที่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดีโดยมีเงื่อนไขห้ามจำเลย ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในระหว่างฎีกานั้นมีผลบังคับอยู่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อยังไม่มีการยกเลิก คำสั่งดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยการที่จำเลยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในคดีหลังนี้ จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลฎีกา อีกทั้งโจทก์ในคดีนี้ก็มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นคดีหลังนี้ให้มีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ได้ เพราะเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นในคดีนี้ยกเลิกคำสั่งของศาลฎีกาในคดีแพ่งเรื่องก่อนซึ่งเป็นคนละคดีกันและถึงที่สุดไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอาญา ไม่กระทบความรับผิดทางละเมิด
มูลละเมิดคดีนี้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ แก่บุคคลอื่น โดยเป็นเช็คขีดคร่อมและมีคำสั่งห้ามเปลี่ยนมือ แต่เช็คดังกล่าวถูกนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารจำเลยที่ 1 ในบัญชีจำเลยร่วมซึ่งมิใช่ผู้รับเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่าย เป็นการผิดขั้นตอนไม่เป็นไปตามระเบียบ และจำเลยร่วม เบิกจ่ายเงินดังกล่าวจากบัญชีจำเลยร่วมแล้ว ส่วนคดีที่ โจทก์กับจำเลยร่วมและ น. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้นสืบเนื่องมาจากจำเลยร่วมและ น. ร่วมกันนำเช็คของโจทก์หลายฉบับรวมทั้งเช็คที่เป็นมูลละเมิดในคดีนี้ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร โจทก์จึงดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยร่วมและ น. ฐานฉ้อโกง แล้วมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน อันเป็นเรื่อง ระงับข้อพิพาทในทางอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิด อันยอมความได้และเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยร่วมและ น. หาได้มีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจาก การละเมิดเป็นคนละเรื่องกัน จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่พ้น ความรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินตามพินัยกรรมและการจดทะเบียนสิทธิ แม้พินัยกรรมไม่ได้ระบุ และการข้อยกเว้นอายุความ
ตามข้อกำหนดพินัยกรรมระบุให้โจทก์มีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินได้ชั่วชีวิตของโจทก์ สิทธิอยู่อาศัยดังกล่าวเป็นสิทธิเหนือพื้นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1410และเป็นทรัพยสิทธิซึ่งโจทก์ได้รับมาตามพินัยกรรมโดยชอบ โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีสิทธิบริบูรณ์ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตามวัตถุประสงค์ของเจ้ามรดกโดยการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้แม้ตามข้อกำหนดพินัยกรรมมิได้ระบุให้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินต่อเจ้าพนักงานก็ตาม
โจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิอาศัยได้ชั่วชีวิตโจทก์ตามข้อกำหนดพินัยกรรมอยู่ก่อนที่ ท.เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมและก่อนที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แม้ว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการโอนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดิน กรณีเช่นนี้จึงเปรียบได้เสมือนหนึ่งว่า โจทก์ในฐานะทายาทตามพินัยกรรมได้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นโดยฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ1 ปีแล้ว โดยปรับเข้ากับ ป.พ.พ.มาตรา 1748 ซึ่งเป็นบทมาตราข้อยกเว้นที่จะใช้บังคับตามมาตรา 1754 ดังนี้แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรมก็ตาม คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยไว้ด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้มีคำสั่งในส่วนนี้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430-431/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่มีผลสละสิทธิฟ้องอาญา ต้องมีเจตนาสละสิทธิชัดเจน
บันทึกข้อตกลงซึ่งมีข้อความว่า ผู้เสียหายได้ตกลงประนอมหนี้กับจำเลย ซึ่งมียอดหนี้ค้างชำระอยู่ 212,000 บาท วันนี้จำเลยชำระหนี้ให้ผู้เสียหาย 12,000 บาท ส่วนที่เหลือจะผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 10,000 บาท ทุกสิ้นเดือน นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2542 เป็นต้นไป หากผิดนัดใดนัดหนึ่งยอมให้ฟ้องบังคับคดีต่อศาล ทั้งสองฝ่ายได้อ่านข้อความแล้วเป็นไปตามวัตถุประสงค์จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน บันทึกข้อตกลงดังกล่าว ไม่มีข้อความตอนใด ที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันทีหรือตกลงระงับข้อพิพาทตามสัญญา ค้ำประกันและกู้เงินที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ข้อตกลงดังกล่าว จึงเป็นแต่เพียงข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเท่านั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและมิใช่เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ อันจะถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทยังมีอยู่มิได้สิ้นผลผูกพัน คดีอาญายังมิได้เลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7
of 124