คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 850

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,234 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมยอมความ: จำเลยมีหน้าที่สร้างบ้านใหม่ให้ผู้รับมรดก โดยไม่ต้องร่วมจ่ายค่าใช้จ่าย
การที่ ป. ไม่ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีฐานทำให้เสียทรัพย์แก่จำเลยทั้งสอง ก็เนื่องจากจำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยทั้งสองจะปลูกสร้างบ้านใหม่ให้คืนสู่สภาพเดิมเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่ ป. ไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองที่รื้อบ้านพิพาท จึงเป็นการประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทระหว่าง ป. กับจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่จะต้องปลูกสร้างบ้านพิพาทขึ้นใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวและเมื่อตามข้อตกลงดังกล่าว ป. ไม่จำต้องร่วมออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านพิพาทขึ้นใหม่ โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวของ ป. ก็ไม่จำต้องร่วมออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านพิพาทกับจำเลยทั้งสองด้วยจำเลยทั้งสองต้องเป็นผู้ออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านดังกล่าวเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอม: หน้าที่ในการปลูกสร้างบ้านใหม่หลังรื้อถอน
การที่ ป.ไม่ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีฐานทำให้เสียทรัพย์แก่จำเลยทั้งสอง ก็เนื่องจากจำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยทั้งสองจะปลูกสร้างบ้านใหม่ให้คืนสู่สภาพเดิม เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่ ป.ไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองที่รื้อบ้านพิพาท จึงเป็นการประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทระหว่างป.กับจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่จะต้องปลูกสร้างบ้านพิพาทขึ้นใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าว และเมื่อตามข้อตกลงดักล่าว ป.ไม่จำต้องร่วมออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านพิพาทขึ้นใหม่ โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวของ ป. ก็ไม่จำต้องร่วมออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านพิพาทกับจำเลยทั้งสองด้วย จำเลยทั้งสองต้องเป็นผู้ออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านดังกล่าวเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลายและการเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน การยอมรับข้อเสนอของเจ้าหนี้ทำให้สิทธิในการเพิกถอนสิ้นสุด
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนตามมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้โดยผู้คัดค้านที่ 3ได้ชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลย การที่ผู้คัดค้านที่ 3ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอผู้ร้องขอชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 1,400,000 บาทแทนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (5)ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของผู้คัดค้านที่ 3แล้ว จึงเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องประนีประนอมยอมความกับผู้คัดค้านที่ 3 และโดยผลแห่งการประนีประนอมยอมความ ย่อมทำให้ผู้ร้องหมดสิทธิบังคับให้เพิกถอนการโอนอีกต่อไป กรณีไม่จำต้องสั่งคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนของผู้ร้อง และการที่จะพิจารณาฎีกาของผู้คัดค้านที่ 3 ที่คัดค้านการเพิกถอนการโอนระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับที่ 3 ย่อมไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีผู้คัดค้านที่ 3 ออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลายต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ การถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนหลังประนีประนอมยอมความ
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนตามมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้โดยผู้คัดค้านที่ 3 ได้ชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลย การที่ผู้คัดค้านที่ 3 ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอผู้ร้องขอชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 1,400,000 บาท แทนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 145(5) ดังนี้เมื่อปรากฏว่าที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ ผู้คัดค้านที่ 3 แล้ว จึงเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องประนีประนอมยอมความกับผู้คัดค้านที่ 3และโดยผลแห่งการประนีประนอมยอมความ ย่อมทำให้ผู้ร้องหมดสิทธิบังคับให้เพิกถอนการโอนอีกต่อไป กรณีไม่จำต้องสั่งคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนของผู้ร้อง และการที่จะพิจารณาฎีกาของผู้คัดค้านที่ 3 ที่คัดค้านการเพิกถอนการโอนระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับที่ 3 ย่อมไม่เป็นประโยชน์ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีผู้คัดค้านที่ 3 ออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทตามฟ้องชำระหนี้ค่าจ้างพิมพ์หนังสือแก่โจทก์เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน การที่ต่อมาโจทก์และจำเลยทำหนังสือผ่อนชำระหนี้กันโดยข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์โดยจะขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ไปจนครบรวม 10 งวดโจทก์จึงจะถือว่าเป็นการระงับคดีอาญา ข้อความดังกล่าวเป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คเท่านั้น มิใช่เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ หนี้เดิมจึงยังคงมีอยู่ ส่วนที่นำหนี้อื่นมารวมผ่อนชำระด้วยก็เพียงเพื่อความสะดวกไม่ต้องทำหนังสือหลายฉบับ ทั้งมิได้มีการเพิ่มเติมลูกหนี้แต่อย่างใด เพราะโจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คพิพาทอยู่แล้ว และตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น จำเลยจะต้องผ่อนชำระหนี้จนครบ 10 งวด โจทก์จึงจะถือว่าเป็นการระงับคดีอาญา ถ้าหากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมดยอมให้โจทก์ดำเนินการตามกฎหมายทันทีจึงเป็นเงื่อนไขในการ ที่โจทก์จะระงับคดีอาญาให้แก่จำเลย และตามข้อตกลงดังกล่าว เมื่อไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิในการ ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองในทันที ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่ทำให้คดีอาญาเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรู้ร่วมคิดทำละเมิดและผิดสัญญาซื้อขาย การรับผิดของลูกหนี้ร่วม และการหักกลบลดหนี้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 สมรู้กันเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้เพื่อฟ้องคดีให้มีการยึดที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายออกขายทอดตลาดป้องกันมิให้โจทก์บังคับคดีให้จำเลยที่ 1 โอนขายให้ นับว่าเป็นการกระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นอกจากจำเลยที่ 1 จะผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว ยังถือว่าได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย
จำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับมีจำนวนเดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงเป็นลูกหนี้ร่วมที่จะต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์จำนวน 9,500,000 บาท โจทก์ยอมรับและไม่ติดใจเรียกร้องหนี้ตามคำพิพากษาจากจำเลยที่ 2 อีก จำเลยที่ 2 ขอถอนอุทธรณ์เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์อนุญาต ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วจำนวน 9,500,000 บาท จำเลยที่ 1 จึงหลุดพ้นจากหนี้จำนวนดังกล่าวด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จึงต้องนำเอาราคาที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับหนี้ที่จำเลยที่ 2 ชำระให้แก่โจทก์แล้วมาหักออกจากราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ คงเหลือเป็นจำนวนค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามพฤติการณ์จำเลยที่ 1 คาดเห็นแล้วว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่โอนขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายคือไม่สามารถนำที่ดินที่จะซื้อไปขายได้ ค่าเสียหายของโจทก์ก็คือเงินกำไรจากการขายที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหักกลบลบหนี้และฟ้องแย้ง: ความสัมพันธ์ระหว่างละเมิดและผิดสัญญา
ในคดีแพ่งเมื่อจำเลยถูกฟ้อง นอกจากจำเลยจะให้การปฏิเสธแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิหักกลบลบหนี้และฟ้องแย้งได้ หากหนี้นั้นมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันและถึงกำหนดชำระแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยได้ก่อสร้างอาคารสูงหลายสิบชั้นโดยประมาท เป็นเหตุให้เศษวัสดุก่อสร้างตกใส่บ้านของโจทก์ได้รับความเสียหายหลายประการ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อกันว่า จำเลยยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นค่าชดเชยที่ต้องอพยพครอบครัวโจทก์ทั้งหมดไปอยู่สถานที่อื่นภายใน 1 ปี แต่โจทก์และครอบครัวไม่ได้ไปเช่าที่แห่งอื่นอยู่คงอยู่ในบ้านเดิมตลอดมา และฟ้องแย้งเรียกเงิน 120,000 บาทคืนจากโจทก์ ดังนี้ แม้คำฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องละเมิด ส่วนคำฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวก็คือ การที่โจทก์และครอบครัวรับเงินค่าชดเชยจากจำเลยไป โดยสัญญาว่าจะต้องอพยพครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ที่อื่นนอกบ้านที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดให้ได้รับความเสียหาย แต่แล้วก็ไม่ปฏิบัติตามกลับมาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ รวมทั้งค่าเสียหายที่โจทก์และครอบครัวไม่สามารถอยู่ในบ้านหลังที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดด้วย จึงถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์ พอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177, 179 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องแย้งของจำเลยในคดีแพ่ง: ความเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมและหลักการหักกลบลบหนี้
ในคดีแพ่งเมื่อจำเลยถูกฟ้อง นอกจากจำเลยจะให้การปฏิเสธ แล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิหักกลบลบหนี้และฟ้องแย้งได้ หากหนี้นั้นมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันและถึงกำหนดชำระแล้ว โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยได้ก่อสร้างอาคารสูงหลายสิบชั้นโดยประมาท เป็นเหตุให้เศษวัสดุก่อสร้างตกใส่บ้านของโจทก์ได้รับความเสียหายหลายประการจำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อกันว่า จำเลยยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นค่าชดเชยที่ต้องอพยพครอบครัวโจทก์ทั้งหมดไปอยู่สถานที่อื่นภายใน 1 ปี แต่โจทก์และครอบครัวไม่ได้ไปเช่าที่แห่งอื่นอยู่คงอยู่ในบ้านเดิมตลอดมาและฟ้องแย้งเรียกเงิน 120,000 บาท คืนจากโจทก์ ดังนี้แม้คำฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องละเมิด ส่วนคำฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตามแต่เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวก็คือการที่โจทก์และครอบครัวรับเงินค่าชดเชยจากจำเลยไปโดยสัญญาว่าจะต้องอพยพครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ที่อื่นนอกบ้านที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดให้ได้รับความเสียหายแต่แล้วก็ไม่ปฏิบัติตามกลับมาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายต่าง ๆรวมทั้งค่าเสียหายที่โจทก์และครอบครัวไม่สามารถอยู่ในบ้านหลังที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดด้วย จึงถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์พอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177,179 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันตามบันทึกรับสภาพหนี้ vs. สัญญาเดิม และประเด็นการปลดจำนอง
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามบันทึกหรือหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยได้ทำให้ไว้แก่โจทก์ และสัญญาจำนองอันมีมูลหนี้มาจากการกู้ยืมเงิน จำเลยรับว่าได้ทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนอง และบันทึกรับสภาพหนี้ดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์จริง ตามบันทึกรับสภาพหนี้ มีข้อตกลงในเรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ย การผ่อนชำระดอกเบี้ย การชำระเงินต้นเปลี่ยนแปลงไปจากสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิม แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้เจตนาผูกพันตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่ทำขึ้นใหม่ ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยจึงต้องบังคับตามบันทึกการรับสภาพหนี้ เมื่อข้อตกลงตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิมเป็นอันระงับไปโดยบันทึกการรับสภาพหนี้ดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่
ตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำกับโจทก์ ไม่ปรากฏข้อตกลงเกี่ยวกับการที่โจทก์จะต้องปลดจำนองที่ดินเป็นแต่ละแปลงให้จำเลยอย่างไร จำเลยกล่าวมาในฟ้องแย้งลอย ๆ โดยไม่มีข้ออ้างที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวทั้งมิได้มีคำขอหรือคำบังคับใด ๆ เกี่ยวกับข้อหาที่จำเลยกล่าวอ้างในการฟ้องแย้งของจำเลยแต่ประการใด คดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์ผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติการปลดจำนองแต่ละแปลงให้จำเลยในราคาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันทึกรับสภาพหนี้มีผลระงับสัญญากู้เดิม การปลดจำนองต้องมีข้อตกลงชัดเจน
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามบันทึกหรือหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยได้ทำให้ไว้แก่โจทก์ และสัญญาจำนองอันมีมูลหนี้มาจากการกู้ยืมเงิน จำเลยรับว่าได้ทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนอง และบันทึกรับสภาพหนี้ดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์จริง ตามบันทึกรับสภาพหนี้ มีข้อตกลงในเรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ย การผ่อนชำระดอกเบี้ย การชำระเงินต้นเปลี่ยนแปลงไปจากสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิม แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้เจตนาผูกพันตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่ทำขึ้นใหม่ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยจึงต้องบังคับตามบันทึกการรับสภาพหนี้ เมื่อข้อตกลงตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิมเป็นอันระงับไปโดยบันทึกการรับสภาพหนี้ดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ ตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำกับโจทก์ ไม่ปรากฏข้อตกลงเกี่ยวกับการที่โจทก์จะต้องปลดจำนองที่ดินเป็นแต่ละแปลงให้จำเลยอย่างไร จำเลยกล่าวมาในฟ้องแย้งลอย ๆ โดยไม่มีข้ออ้างที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวทั้งมิได้มีคำขอหรือคำบังคับใด ๆ เกี่ยวกับข้อหาที่จำเลยกล่าวอ้างในการฟ้องแย้งของจำเลยแต่ประการใด คดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์ผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติการปลดจำนองแต่ละแปลงให้จำเลยในราคา ที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาหรือไม่
of 124