พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,234 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย และผลผูกพันของสัญญาประนีประนอมยอมความในการแบ่งทรัพย์มรดก
การสละมรดกมี ป.พ.พ. มาตรา 1612 บัญญัติให้กระทำได้ 2 แบบคือ แสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ คำว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 หมายถึง ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอหรือหัวหน้ากิ่งอำเภอและหมายรวมถึงบุคคลที่กระทำหน้าที่แทนด้วย ดังนั้น การที่บุตรทั้งเจ็ดของเจ้ามรดกไปให้ถ้อยคำและทำบันทึกหลักฐานเป็นหนังสือระบุชัดแจ้งว่าไม่ขอรับโอนมรดกที่ดินไว้ต่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำสำนักงานที่ดินอำเภอสวี ในฐานะเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินปฏิบัติราชการแทนนายอำเภอ ซึ่งนายอำเภอมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 (10) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นที่จะมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการที่ประจำอยู่ในอำเภอปฏิบัติราชการแทนได้ จึงเป็นการแสดงเจตนาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว แต่การที่บุตรทั้งเจ็ดระบุว่า ไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้และยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้เดียว ไม่ใช่การสละมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 เพราะเป็นการสละมรดกโดยมีเงื่อนไข ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1613 อย่างไรก็ตามบันทึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลใช้บังคับผูกพันบุตรทั้งเจ็ดกับจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850, 852 และ 1750
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่สัญญา แม้โจทก์ไม่ได้ลงนามโดยตรง แต่มีพฤติการณ์เชิดนายสละเป็นผู้ลงนามแทน
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงกันที่ที่ว่าการอำเภอท่าเรือว่า ให้รังวัดแบ่งที่ดินพิพาทออกเป็น 5 ส่วน โดยยึดการถือครองตามเดิมเป็นหลัก ทางเดินให้ใช้ทางหลังอาคารพาณิชย์กว้าง 1.2 เมตร ออกสู่ถนนทางด้านข้างอาคารพาณิชย์ถึงถนนสาธารณะโดยให้ใช้ได้ตลอดไป ส่วนท่อระบายนำให้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยขุดลอกหน้าท่อระบายน้ำให้มีระดับต่ำกว่าปากท่อ สามารถให้น้ำไหลออกสู่ร่องของเทศบาล หากมีการซื้อขายส่วนเกินให้คิดราคา 1,800 บาท ต่อตารางวา และมีการจัดทำแผนที่โดยโจทก์และจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อไว้ บันทึกและแผนที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงแบ่งดินกันอีกตามรูปแผนที่ดังกล่าว จึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามแผนที่วิวาท การแบ่งแยกที่ดินต้องเป็นไปตามข้อตกลง
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงกันที่ว่าการอำเภอท่าเรือว่า ให้รังวัดแบ่งที่ดินออกเป็น 5 ส่วน โดยยึดการถือครองตามเดิมเป็นหลัก ทางเดินให้ใช้ทางหลังอาคารพาณิชย์กว้าง 1.2 เมตร ออกสู่ถนนทางด้านข้างอาคารพาณิชย์ถึงถนนสาธารณะโดยให้ใช้ได้ตลอดไป ส่วนท่อระบายน้ำให้ขุดลอกหน้าท่อระบายน้ำให้มีระดับต่ำกว่าปากท่อ หากมีการซื้อขายส่วนเกินให้คิดราคา 1,800 บาท ต่อตารางวา และภายหลังจัดทำแผนที่โจทก์และจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อไว้ บันทึกและแผนที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงแบ่งที่ดินกันอีกตามรูปแผนที่ ซึ่งทั้งโจทก์ และจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อรับรองไว้ จึงมีผลผูกพันคู่ความ แม้โจทก์จะมิได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงด้วยตนเอง แต่พฤติการณ์โจทก์ถือได้ว่าเชิด ส. เป็นผู้ลงลายมือชื่อกระทำการแทน มีผลเช่นดียวกับที่โจทก์ลงลายมือชื่อเอง และถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความข้างต้น ซึ่งรูปแผนที่ตรงกับแผนที่วิวาทจึงต้องแบ่งแยกกรรมสิทธิที่ดินไปตามแผนที่วิวาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาระงับข้อพิพาทจากเช็คพิพาท: ยุติคดีอาญาได้
เมื่อพิเคราะห์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งมีข้อตกลงที่โจทก์ยอมให้แก่จำเลยทั้งสามผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นงวด โดยฝ่ายจำเลยยอมออกเช็คฉบับใหม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากการที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าว ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้เช็คที่ฝ่ายจำเลยสั่งจ่ายทั้งสามฉบับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้อันเป็นการไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยทั้งสามรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้ได้อีก ถือได้ว่าหนี้ที่จำเลยทั้งสามได้ออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถต่อการประมาทของลูกจ้าง และการระงับหนี้จากการชดใช้ค่าเสียหายบางส่วน
ในคดีแพ่งการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นเรื่องการชั่งน้ำหนักคำพยานว่า พยานหลักฐานของฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อกว่าอีกฝ่าย แม้จะไม่มีประจักษ์พยานเบิกความก็ไม่ได้หมายความว่าศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงไม่ได้ โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์เก๋งคันที่ถูกบรรทุกชนมีพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุของโจทก์ เบิกความว่าได้ไปตรวจดูร่องรอยในที่เกิดเหตุและสอบถามพนักงานสอบสวนได้ความว่าผู้ขับรถบรรทุกขับรถโดยประมาทล้ำเข้าไปช่องเดินรถของรถยนต์เก๋ง หลังเกิดเหตุผู้ขับรถบรรทุกหลบหนีไป ส่วนจำเลยที่ 1 เจ้าของรถบรรทุกไม่นำสืบหักล้าง และยังทำบันทึกข้อตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ฝ่ายรถยนต์เก๋ง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ซึ่งเบิกความเพียงว่า ที่ต้องทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อนำรถบรรทุกออกไปใช้งานและเพื่อนของ ส. คนขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 มาขอยืมรถบรรทุกจากบุตรสาวจำเลยที่ 1 ไปขนไม้เพื่อใช้สร้างบ้านนั้นโดยไม่ปรากฏข้อท้วงติงในบันทึกดังกล่าวว่า เป็นการช่วยเหลือโดยเห็นแก่มนุษยธรรมเพิ่งกล่าวอ้างในภายหลัง จึงฟังได้ว่าผู้ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุขับรถโดยประมาท
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์เก๋งมีข้อความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถบรรทุกจะซ่อมรถยนต์เก๋งคันที่ผู้ขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 ขับไปชนให้อยู่ในสภาพเดิมข้อตกลงในส่วนนี้ จึงไม่มีรายละเอียดและข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงิน วิธีชำระ ตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก และหาได้มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์คันเกิดเหตุ โดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่อย่างใดไม่ ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งที่เกิดเหตุดังกล่าวจึงยังไม่ระงับ ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถบรรทุกชดใช้เงินค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งนั้นเป็นเพียงการชดใช้ค่าเสียหายเพียงบางส่วนตามความรับผิดในสัญญาประกันภัย ไม่ทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับ
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์เก๋งมีข้อความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถบรรทุกจะซ่อมรถยนต์เก๋งคันที่ผู้ขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 ขับไปชนให้อยู่ในสภาพเดิมข้อตกลงในส่วนนี้ จึงไม่มีรายละเอียดและข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงิน วิธีชำระ ตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก และหาได้มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์คันเกิดเหตุ โดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่อย่างใดไม่ ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งที่เกิดเหตุดังกล่าวจึงยังไม่ระงับ ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถบรรทุกชดใช้เงินค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งนั้นเป็นเพียงการชดใช้ค่าเสียหายเพียงบางส่วนตามความรับผิดในสัญญาประกันภัย ไม่ทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และการประเมินสัญญาประนีประนอมยอมความ
บันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุกับผู้เอาประกันภัยมีข้อความเพียงว่า จำเลยจะซ่อมรถยนต์คันที่ถูกชนให้อยู่ในสภาพเดิม ไม่มีรายละเอียดและข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงิน วิธีชำระ ตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก และไม่มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้น จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดจึงยังไม่ระงับ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ร้บประกันภัยจึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9131/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้ที่ดินโดยมีค่าภาระติดพัน vs. สิทธิครอบครองจากสัญญาประนีประนอม ผู้รับสิทธิไม่มีผลผูกพันสัญญาเดิม
แม้สัญญาให้ระหว่างโจทก์ผู้ให้กับจำเลยผู้รับได้กำหนดเงื่อนไขรายละเอียดไว้ในสัญญาโดยให้จำเลยปลูกบ้านและกรีดยางพาราในที่ดินของโจทก์พร้อมทั้งให้ส่งรายได้ส่วนแบ่งให้โจทก์อันเป็นการให้โดยมีค่าภาระติดพันก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิคงมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือโจทก์กับจำเลยเท่านั้นไม่มีผลผูกพันผู้ร้องทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับสิทธิในที่ดินจากจำเลย เพราะไม่ปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสามได้ตกลงยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวไว้และอยู่รู้เห็นด้วยขณะทำสัญญาให้ดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อขณะจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องที่ 3 จำเลยยังเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินย่อมมีสิทธิต่าง ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 บัญญัติไว้ และไม่ใช่กรณีผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยในฐานะผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินจึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 โดยให้ผู้ร้องที่ 3 เข้าครอบครองเก็บเกี่ยวทำประโยชน์ในที่ดินได้ ดังนั้น ผู้ร้องทั้งสามจึงได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่ายึดถือเพื่อตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1369 เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบหักล้าง ผู้ร้องทั้งสามจึงได้สิทธิครอบครองที่ดิน การครอบครองที่ดินของผู้ร้องทั้งสามจึงไม่ใช่ครอบครองที่ดินในฐานะบริวารของจำเลย
จำเลยในฐานะผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินจึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 โดยให้ผู้ร้องที่ 3 เข้าครอบครองเก็บเกี่ยวทำประโยชน์ในที่ดินได้ ดังนั้น ผู้ร้องทั้งสามจึงได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่ายึดถือเพื่อตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1369 เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบหักล้าง ผู้ร้องทั้งสามจึงได้สิทธิครอบครองที่ดิน การครอบครองที่ดินของผู้ร้องทั้งสามจึงไม่ใช่ครอบครองที่ดินในฐานะบริวารของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7919/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ฉบับแก้ไข เป็นสัญญาประนีประนอม อายุความเริ่มนับจากวันชำระหนี้ครั้งสุดท้าย
หนังสือที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ แม้จะใช้คำว่า "หนังสือรับสภาพหนี้" แต่เมื่อข้อกำหนดและเหตุผลในการจัดทำเป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยต่างตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งเกิดจากหนังสือรับสภาพหนี้ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งเมื่อจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2540 อายุความที่โจทก์จะต้องบังคับใช้สิทธิเรียกร้องจึงมีกำหนดสิบปีนับแต่วันดังกล่าวตามมาตรา 193/32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7919/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้และการประนีประนอมยอมความ ผลต่ออายุความ
หนังสือรับสภาพหนี้ เอกสารหมาย จ.6 มีขึ้นเนื่องจากจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามข้อตกลงในหนังสือรับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.5 จนกระทั่งโจทก์ต้องดำเนินคดีในทางอาญาแก่ผู้ที่สั่งจ่ายเช็คให้ไว้แต่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อจำเลยทั้งสามทำหนังสือรับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.6 ให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ได้ถอนฟ้องหรือถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาเหล่านั้น อีกทั้งโจทก์ยังได้ลดจำนวนหนี้ ตามหนังสือรับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.5 ให้แก่จำเลยทั้งสาม ส. และ ท. และให้ผ่อนชำระดังรายละเอียดในหนังสือรับสภาพหนี้ เอกสารหมาย จ.6 ดังนี้ แม้เอกสารหมาย จ.6 จะใช้คำว่า "หนังสือรับสภาพหนี้" แต่เมื่อข้อกำหนดและเหตุผลในการจัดทำเป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามต่างตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งเกิดจากหนังสือรับสภาพหนี้ เอกสารหมาย จ.5 ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน เอกสารหมาย จ.6 จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 จำเลยทั้งสามปฏิบัติการชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2540 อายุความที่โจทก์จะต้องบังคับใช้สิทธิเรียกร้องจึงมีกำหนดสิบปีนับแต่วันดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2545 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6479/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้เดิม ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันหนี้เงินกู้ของ จ. โดยยอมรับผิดร่วมกับ จ. อย่างลูกหนี้ร่วมก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ จ. และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ความรับผิดของ จ. ตามสัญญากู้ยืมเงินย่อมระงับสิ้นไปและทำให้ จ. ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และมาตรา 852 เมื่อความรับผิดของ จ. ต่อโจทก์เปลี่ยนเป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้ของ จ. ตามสัญญากู้เงินจึงระงับสิ้นไป จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินของ จ. จึงหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 698