พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,234 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6949/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: หนี้ค้างชำระ ไม่ใช่หนี้ในอนาคต สิทธิในการขอเปลี่ยนแปลงไม่มี
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อหน้าศาลเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2546 ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วนั้น กำหนดให้จำเลยชำระค่าอุปกรณ์เลี้ยงดูบุตรทั้งสี่คนให้แก่โจทก์เป็นเงิน 400,000 บาท โดยจำเลยจะชำระให้โจทก์ภายในเดือนสิงหาคม 2546 หลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยไม่ได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์เลย แต่จำเลยกลับมายื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ต้องชำระแก่โจทก์ โดยจำเลยขอชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นเงิน 200,000 บาท การที่จำเลยไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นหนี้ค้างชำระตามข้อสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ใช่หนี้จะพึงชำระในอนาคต จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะขอเพิกถอนหรือลดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่กระทบสิทธิการฟ้องอาญา ยักยอกทรัพย์
การที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยกับพวกต่อศาลแรงงานภาค 5 เป็นการฟ้องเนื่องจากจำเลยกับพวกซึ่งเป็นลูกจ้างได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยกับพวกจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งซึ่งไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญา ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการ "ยอมความกัน" สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5786/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยศาลวินิจฉัยว่าการพิจารณาของศาลชั้นต้นนอกฟ้องและนอกประเด็น
โจทก์ตั้งรูปคดีฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยนำสืบตามคำฟ้องให้เห็นว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ซึ่งเป็นของ ช. วันเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ของ ช. ซึ่งเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้ทำการซ่อมรถยนต์คันดังกล่าวให้อยู่ในสภาพเดิมและส่งมอบคืนให้แก่ ช. แล้ว ต่อมาจำเลยได้ตกลงระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามสัญญา ดังนี้ เห็นได้ว่าสภาพแห่งข้อหาตามฟ้องของโจทก์คือจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้กับโจทก์ ไม่ได้ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยในฐานที่โจทก์รับช่วงสิทธิจาก ช. ผู้เอาประกันภัยในมูลหนี้ละเมิดส่วนที่โจทก์กล่าวในฟ้องบรรยายให้เห็นว่าจำเลยทำละเมิดขับรถยนต์ชนรถยนต์ของ ช. คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายก็เป็นเพียงเท้าความอ้างถึงที่มาว่าเหตุใดโจทก์และจำเลยจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ช. ผู้เอาประกันภัยไปแล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของ ช. ผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง โจทก็ย่อมมีสิทธิทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยได้ สัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาและทำให้มูลหนี้ละเมิดเดิมเป็นอันระงับสิ้นไป เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดขับรถเฉี่ยวชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยและโจทก์นำรถยนต์ซ่อมแซมโดยชำระค่าซ่อมรถยนต์ไปแล้วหรือไม่ เพียงใด จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามกฎหมายไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5387-5388/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชำระหนี้ด้วยการก่อสร้างไม่ถือเป็นการยอมความ หรือแปลงหนี้ ทำให้สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยมีเงื่อนไขในลักษณะที่โจทก์มีเจตนาจะให้จำเลยทำงานให้โจทก์แล้วเสร็จก่อน แล้วจึงหักหนี้ค่าก่อสร้างกับมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทคดีนี้ภายหลัง เมื่อจำเลยก่อสร้างหรือชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วน โจทก์จึงจะถอนฟ้องคดีนี้ให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทันทีแต่อย่างใด จึงมิใช่การยอมความเพื่อให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ฝ่ายเดียวผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่จำเลยมิใช่ต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมตามเช็คระงับไป แล้วเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความทั้งไม่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปแต่อย่างใด เมื่อจำเลยมิได้ใช้เงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับให้โจทก์ และหนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นก็ไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 คดีจึงไม่เลิกกัน
ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ฝ่ายเดียวผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่จำเลยมิใช่ต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมตามเช็คระงับไป แล้วเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความทั้งไม่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปแต่อย่างใด เมื่อจำเลยมิได้ใช้เงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับให้โจทก์ และหนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นก็ไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 คดีจึงไม่เลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการตัวแทน ความรับผิดในสัญญาประกันภัย การรับชำระเงินล่วงหน้า และผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แต่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดอันเนื่องมาจากการเป็นตัวการตัวแทน จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5
การที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ชักชวนบุคคลทั่วไปให้มาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ทั้งมีหน้าที่รับเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 ด้วย ย่อมเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปซึ่งรวมทั้งโจทก์เข้าใจและเชื่อว่าสิ่งที่จำเลยที่ 2 พูดหรือกระทำนั้นเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวแทน แม้การที่จำเลยที่ 2 รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าจะเป็นการกระทำนอกขอบอำนาจของการเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 820 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าดังกล่าวหรือไม่
การที่จำเลยที่ 1 มิได้มีระเบียบให้ตัวแทนรับเบี้ยประกันภัยล่วงหน้า และในการสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเบี้ยประกันภัยโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในใบรับเงินชั่วคราว แต่จำเลยที่ 1 จะมีระเบียบในเรื่องการรับชำระเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าหรือไม่ ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ไม่อาจยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อปฏิเสธความรับผิดได้
ข้อตกลงที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 2 มิได้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว แต่ยังมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามข้อตกลงข้ออื่นๆ ครบถ้วนแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและไม่ทำให้หนี้เดิมระงับ จำเลยที่ 1 จึงยังผูกพันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ชักชวนบุคคลทั่วไปให้มาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ทั้งมีหน้าที่รับเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 ด้วย ย่อมเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปซึ่งรวมทั้งโจทก์เข้าใจและเชื่อว่าสิ่งที่จำเลยที่ 2 พูดหรือกระทำนั้นเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวแทน แม้การที่จำเลยที่ 2 รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าจะเป็นการกระทำนอกขอบอำนาจของการเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 820 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าดังกล่าวหรือไม่
การที่จำเลยที่ 1 มิได้มีระเบียบให้ตัวแทนรับเบี้ยประกันภัยล่วงหน้า และในการสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเบี้ยประกันภัยโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในใบรับเงินชั่วคราว แต่จำเลยที่ 1 จะมีระเบียบในเรื่องการรับชำระเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าหรือไม่ ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ไม่อาจยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อปฏิเสธความรับผิดได้
ข้อตกลงที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 2 มิได้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว แต่ยังมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามข้อตกลงข้ออื่นๆ ครบถ้วนแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและไม่ทำให้หนี้เดิมระงับ จำเลยที่ 1 จึงยังผูกพันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันระงับเมื่อมีการประนีประนอมยอมความกับลูกหนี้หลัก ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายของ ก. ต่อโจทก์ แต่เมื่อโจทก์และ ก. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ ก. จะต้องรับผิด ความรับผิดของ ก. ที่เกิดจากสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายและความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงระงับสิ้นไป และทำให้ ก. ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และ 852 เมื่อความรับผิดของ ก. ต่อโจทก์เปลี่ยนเป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยเนื่องจากหนี้ของ ก. ตามสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายระงับสิ้นไปแล้วตามมาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องทางแพ่งต้องมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างคู่สัญญา มิใช่เพียงการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว
โจทก์ที่ 2 มีหนังสือถึง ส. ผู้จัดการธนาคารจำเลย สาขาปักธงชัยว่า โจทก์ที่ 2 ขอรับผิดชอบสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 2 เพียงผู้เดียว ขอให้ผู้จัดการอย่าได้ลงโทษ ร. ถึงขั้นรุนแรง โจทก์ที่ 2 ไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยทั้งทางแพ่งและทางอาญา เป็นเพียงคำรับรองว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ติดใจเรียกร้องทางแพ่งและทางอาญาแก่จำเลย โดยจำเลยมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาตกลงด้วยในอันที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความรับผิดนายจ้างต่อการเสียชีวิตของลูกจ้างระหว่างการเดินทางเพื่อเจรจาค่าเสียหาย
การที่ น. ขับรถยนต์จากกรุงเทพมหานครไปที่จังหวัดชัยนาทตามคำสั่งของ พ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท พ. และเป็นนายจ้างของ น. เพื่อพา พ. ไปเจรจาเพื่อชดใช้ความเสียหายกรณีที่ พ. เคยขับรถยนต์ชนกับรถยนต์ของบุคคลอื่นในระหว่างการทำตามหน้าที่ของผู้แทนบริษัท พ. เป็นการไปเพื่อตกลงชดใช้ค่าเสียหายประนีประนอมยอมความหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 850, 852 สำหรับการทำละเมิดของ พ. ที่บริษัท พ. อาจต้องรับผิดในความเสียหายด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 77, 425, 427 การไปเจรจาเพื่อชดใช้ความเสียหายของ พ. เป็นการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่บริษัท พ. ดังนั้น แม้ น. จะไม่ได้ป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างแต่ก็ได้ทำงานตามคำสั่งของนายจ้าง แต่ในระหว่างการเดินทางก่อนการเจรจาเรื่องค่าเสียหาย มีคนร้ายใช้อาวุธปืนยิง น. และ พ. ถึงแก่ความตายโดยไม่ปรากฏสาเหตุการถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงไม่ได้เกิดในระหว่างการเจรจาหรือสืบเนื่องมาจากการเจรจาเรื่องค่าเสียหาย ทั้งไม่ใช่เหตุที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นได้จากการเดินทาง จึงมิใช่ผลโดยตรงจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง การที่ น. และ พ. ถึงแก่ความตายจึงถือไม่ได้ว่าเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่บริษัท พ. ซึ่งเป็นนายจ้าง น. จึงไม่ได้ประสบอันตรายตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8231/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอดีตสามี แม้เปลี่ยนฐานการฟ้องจากบันทึกข้อตกลงเป็น ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูตามบันทึกข้อตกลงเป็นเงิน 11,000 บาท และจ่ายจากเงินบำนาญครึ่งหนึ่ง หรือให้โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันรับเงินบำเหน็จ เมื่อจำเลยเกษียณอายุราชการแล้ว ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เต็มคำขอโดยตกลงว่า จำเลยยินยอมจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ 11,000 บาท และโจทก์จำเลยไม่ติดใจว่ากล่าวคดีสืบต่อไป ย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยเป็นเงิน 11,000 บาท โดยไม่ติดใจที่จะเรียกให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อไป ดังนี้ ที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ แม้ในคดีก่อนโจทก์จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยอาศัยบันทึกข้อตกลงแต่มูลเหตุของการทำบันทึกข้อตกลงเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาของโจทก์จำเลยตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1461 วรรคสอง นั่นเอง แม้ในคดีก่อนโจทก์จะไม่อ้างบันทึกข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องจำเลยเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้อยู่แล้ว ประเด็นแห่งคดีนี้กับคดีก่อนจึงเป็นประเด็นและเหตุเดียวกัน คือ การเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8141/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและผลของการสละสิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างชำระ
ก่อนที่จะมีการบันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาจ้างต่อกัน โจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทกันหลายเรื่องได้มีการเจรจากันหลายครั้งก่อนหน้านี้ และโจทก์เป็นผู้คิดคำนวณเรียกร้องเงินช่วยเหลือจากจำเลยเองโดยมีจำนวนเงินสูงกว่าสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับโดยรวมเงินค่าจ้างค้างและเงินค่าตำแหน่งไว้แล้ว และตามบันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาจ้าง ข้อ 3 ระบุว่าโจทก์พอใจในข้อตกลงตามบันทึกดังกล่าวโดยไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งอื่นใด ๆ อีกต่อไป เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินค่าจ้างค้างชำระและเงินค่าตำแหน่งเพราะได้นำไปรวมไว้ในเงินช่วยเหลือตามบันทึกข้อตกลงแล้ว บันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 850