คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นนทประชา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,529 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความเจตนาในการแบ่งทรัพย์มรดก การประมูลทรัพย์สินต้องทำก่อนการชำระเงินค่าหุ้น
คำขอท้ายฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ของหุ้นส่วนที่มีข้อความว่า 'ขอได้โปรดแบ่งที่ดินพร้อมด้วยโรงสีและห้องแถว.......... ให้เป็นของโจทก์ 1 ส่วนเป็นเงิน 40,000 บาทโดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาด'นั้นมิได้หมายความว่าโจทก์ต้องการเงินค่าทรัพย์สินเพียง 40,000 เท่านั้นการตั้งทุนทรัพย์มาเป็นแต่เพียงเพื่อเสียค่าขึ้นศาล ส่วนการแบ่งทรัพย์ถ้าไม่ตกลงกันต้องประมูลหรือขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของตัวการและตัวแทนตามกฎหมายตัวการตัวแทน กรณีเช็คและการจำกัดอำนาจ
ข้อจำกัดอำนาจของตัวแทนไม่ให้ตัวแทนกู้ยืมเงินได้นั้น เป็นการภายในระหว่างตัวการกับตัวแทน ถ้าบุคคลภายนอกไม่รู้ถึงข้อจำกัดดังกล่าวตัวการย่อมไม่พ้นความรับผิด
ที่ตัวแทนต้องรับผิดในเมื่อตัวการอยู่ต่างประเทศนั้น เป็นการเพิ่มความรับผิดให้แก่ตัวแทน หาได้หมายความว่าตัวการหมดความรับผิดไม่
การฟ้องเรียกหนี้ตามเช็คที่ออกให้โดยตัวแทน เพื่อชำระหนี้เงินที่ตัวแทนได้รับจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของตัวการนั้น ไม่ใช่การฟ้องเรียกตามเช็คโดยเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวการตัวแทน ไม่ใช่บังคับตามกฎหมายว่าด้วยตั๋วเงิน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของตัวการและตัวแทน, การจำกัดอำนาจตัวแทน, และการฟ้องเรียกหนี้ตามเช็ค
ข้อจำกัดอำนาจของตัวแทนไม่ให้ตัวแทนกู้ยืมเงินได้นั้นเป็นการภายในระหว่างตัวการกับตัวแทนถ้าบุคคลภายนอกไม่รู้ถึงข้อจำกัดดังกล่าวตัวการย่อมไม่พ้นความรับผิด
ที่ตัวแทนต้องรับผิดในเมื่อตัวการอยู่ต่างประเทศนั้นเป็นการเพิ่มความรับผิดให้แก่ตัวแทน หาได้หมายความว่าตัวการหมดความรับผิดไม่
การฟ้องเรียกหนี้ตามเช็คที่ออกให้โดยตัวแทน เพื่อชำระหนี้เงินที่ตัวแทนได้รับจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของตัวการนั้น ไม่ใช่การฟ้องเรียกเงินตามเช็คโดยเฉพาะเพราะฉะนั้น จึงต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวการตัวแทนไม่ใช่บังคับตามกฎหมายว่าด้วยตั๋วเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกบัตรประชาชน: ปลัดอำเภอไม่ใช่ผู้รักษาราชการแทน แม้ได้รับคำสั่งจากนายอำเภอ
คำว่า "ผู้รักษาการแทน" ตามกฎกระทรวงมหาดไทยดั่งกล่าว หมายถึงผู้รักษาราชการแทนโดยธรรมดา เช่นไม่มีตัวนายอำเภอหรือนายอำเภอไม่ได้มาปฏิบัติราชการ ผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนทำงานแทน เรียกว่าเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีตัวนายอำเภอและนายอำเภอมาปฏิบัติราชการอยู่ แม้จะมีงานมากและนายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอช่วยทำแทนให้งานสำเร็จลุล่วงไปโดยรวดเร็ว ผู้รับคำสั่งจากนายอำเภอคือ ปลัดอำเภอก็เป็นแต่เพียงผู้ทำงานแทนนายอำเภอ ไม่ใช่เป็นผู้รักษาราชการแทน
เมื่อปลัดอำเภอไม่ใช่เป็นผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอ แต่ปลัดอำเภอได้ลงนามออกบัตรประชาชนให้แก่ผู้อื่นไป การกระทำของปลัดอำเภอก็เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและหน้าที่ ปลัดอำเภอไม่มีความผิดตามกฎหมายลักษณะ อาญา ม.230.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกบัตรประชาชน: ปลัดอำเภอไม่ใช่ผู้รักษาราชการแทนหากนายอำเภอยังปฏิบัติหน้าที่
คำว่า 'ผู้รักษาการแทน' ตามกฎกระทรวงมหาดไทยดั่งกล่าวหมายถึงผู้รักษาราชการแทนโดยธรรมดา เช่นไม่มีตัวนายอำเภอหรือนายอำเภอไม่ได้มาปฏิบัติราชการผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนทำงานแทน เรียกว่าเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีตัวนายอำเภอและนายอำเภอมาปฏิบัติราชการอยู่ แม้จะมีงานมากและนายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอช่วยทำแทนให้งานสำเร็จลุล่วงไปโดยรวดเร็วผู้รับคำสั่งจากนายอำเภอคือปลัดอำเภอก็เป็นแต่เพียงผู้ทำงานแทนนายอำเภอไม่ใช่เป็นผู้รักษาราชการแทน
เมื่อปลัดอำเภอไม่ใช่เป็นผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอแต่ปลัดอำเภอได้ลงนามออกบัตรประชาชนให้แก่ผู้อื่นไป การกระทำของปลัดอำเภอก็เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและหน้าที่ปลัดอำเภอไม่มีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา230
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าจำกัดเฉพาะประเภทสินค้าที่จดทะเบียน แม้คล้ายคลึงกันก็ไม่อาจอ้างสิทธิเหนือผู้ขอจดทะเบียนก่อน
ผู้ใดจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใดสำหรับสินค้าจำพวกหนึ่งตามรายการท้าย พ.ร.บ.แล้วจะถือว่าคุ้มครองไปทั่วทุกจำพวกไม่ได้ ถ้ามีผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะคล้ายคลึงกันบ้างในสินค้าจำพวกอื่นไว้ก่อนแล้ว ตนจะมาขอให้ศาลสั่งว่าตนมีสิทธิดีกว่าในการที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกหลังไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าจำกัดเฉพาะประเภทสินค้าที่จดทะเบียน แม้เครื่องหมายคล้ายคลึงกัน
ผู้ใดจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใดสำหรับสินค้าจำพวกหนึ่งตามรายการท้าย พ.ร.บ.แล้วจะถือว่าคุ้มครองไปทั่วทุกจำพวกไม่ได้ถ้ามีผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะคล้ายคลึงกันบ้างในสินค้าจำพวกอื่นไว้ก่อนแล้ว ตนจะมาขอให้ศาลสั่งว่าตนมีสิทธิดีกว่าในการที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกหลังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดวางเพลิงทำให้ทรัพย์สินเสียหาย: การเปรียบเทียบอัตราโทษตามกฎหมายลักษณะอาญาและประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยจุดไฟเผากิ่งไม้แห้งในไร่ของจำเลยและไฟได้ลุกลามไปไหม้ทรัพย์ของผู้เสียหาย ทั้งยังน่ากลัวจะไหม้โรงข้าวของผู้เสียหายอีกด้วย ความผิดของจำเลยขณะทำผิดต้องด้วยกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา187 วรรคสอง ไฟที่จำเลยจุดเผาขึ้นได้ไหม้เอาต้นมะพร้าวอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายตามข้อ (5) แห่ง มาตรา186 ด้วย โทษที่ควรลงแก่จำเลยจึงต้องเอาโทษที่กำหนดไว้ใน มาตรา186 เป็นเกณฑ์แต่ขณะนี้ กฎหมายลักษณะอาญาได้ถูกยกเลิกไปแล้วใช้ประมวลกฎหมายอาญาแทน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตรงตามมาตรา 220 วรรคแรกแห่งประมวลกฎหมายอาญาแต่วรรค 2 ของมาตรานี้บัญญัติว่าถ้าเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 218 ให้ลงโทษดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 218 แต่ในมาตรา218ข้อ 1 ถึง 6 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวางเพลิงเผาต้นมะพร้าวอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ไว้เลย ฉะนั้นจะลงโทษตามวรรคสองของ มาตรา 220ประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้คงลงโทษจำเลยตาม มาตรา 220 วรรคแรกซึ่งมีอัตราโทษจำคุกเบากว่า มาตรา 187 วรรคแรกของ กฎหมายลักษณะอาญา ตาม มาตรา 3 ประมวลกฎหมายอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วางเพลิงเผาต้นมะพร้าวผู้อื่น: การเปรียบเทียบโทษตามกฎหมายอาญาเดิมและประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยจุดไฟเผากิ่งไม้แห้งในไร่ของจำเลยและไฟได้ลุกลามไปไหม้ทรัพย์ของผู้เสียหาย ทั้งยังน่ากลัวจะไหม้โรงข้าวของผู้เสียหายอีกด้วย ความผิดของจำเลยขณะทำผิดต้องด้วย ก.ม.ลักษณะอาญา ม.187 วรรค 2 ไฟที่จำเลยจุดเผาขึ้นได้ไหม้เอาต้นมะพร้าว อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายตามข้อ (5) แห่ง ม.186 ด้วย โทษที่ควรลงแก่จำเลยจึง ต้องเอาโทษที่กำหนดไว้ใน ม.186 เป็นเกณฑ์ แต่ขณะนี้ ก.ม.ลักษณะอาญาได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ใช้ประมวล ก.ม.อาญาแทน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตรงตาม ม.220 วรรคแรกแห่งประมวล ก.ม.อาญา แต่วรรค 2 ของมาตรานี้บัญญัติว่า ถ้าเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ตามที่ระบุไว้ใน ม.218 ให้ลงโทษดังที่บัญญัติไว้ใน ม.218 แต่ใน ม.218 ข้อ 1 ถึง 6 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวางเพลิงเผาต้นมะพร้าวอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ไว้เลย ฉะนั้นจะลงโทษตามวรรค 2 ของ ม.220 ประมวล ก.ม.อาญาไม่ได้ คงลงโทษจำเลยตาม ม.220 วรรคแรกซึ่งมีอัตราโทษจำคุกเบากว่า ม.187 วรรคแรกของ ก.ม.ลักษณะอาญา ตาม ม.3 ประมวล ก.ม.อาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน: ผู้ซื้อต้องสุจริตและเสียค่าตอบแทน หากผู้ขายไม่ได้จดทะเบียนสิทธิ
เมื่อโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1-2 โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความชัดว่า. ที่ดินและห้องพิพาทเป็นของโจทก์ครอบครองมาจนได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมายและจำเลยที่ 2 รับซื้อไว้โดยไม่สุจริตเมื่อโจทก์มิได้จดทะเบียนสิทธิของโจทก์ไว้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299โจทก์ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกคือ จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิไว้แล้วนั้นได้
of 153