คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นนทประชา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,529 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าไม่กระทบหน้าที่จำเลยตามคำพิพากษา ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ระหว่างอุทธรณ์โจทก์ซึ่งชนะคดีจำเลยในเรื่องฟ้องให้ศาลบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างล้ำเข้าไปในที่โจทก์ซึ่งโจทก์เช่ามาพร้อมด้วยเรียกค่าเสียหายโจทก์ได้โอนสิทธิการเช่าที่ไปยังบุคคลอื่นจำเลยจะถือว่าโจทก์มีสิทธิบังคับตามคำพิพากษาเพียงวันโอนไม่ได้เพราะการโอนเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้รับโอนส่วนจำเลยมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าหลังมีคำพิพากษา: จำเลยยังต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาเดิม
ระหว่างอุทธรณ์โจทก์ซึ่งชนะคดีจำเลยในเรื่องฟ้องให้ศาลบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างล้ำเข้าไปในที่โจทก์ ซึ่งโจทก์เช่ามา พร้อมด้วยเรียกค่าเสียหาย โจทก์ได้โอนสิทธิการเช่าที่ไปยังบุคคลอื่น จำเลยจะถือว่าโจทก์มีสิทธิบังคับตามคำพิพากษาเพียงวันโอนไม่ได้ เพราะการโอนเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้รับโอน ส่วนจำเลยมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึง และสิทธิลำดับก่อน
ฟ้องโจทก์ขอให้ศาลบังคับกรมทะเบียนการค้าจำเลยให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อ้างว่าโจทก์มีสิทธิและสมควรที่จะได้รับการพิจารณาจดทะเบียนก่อน ผู้มีชื่อซึ่งร้องคัดค้านการร้องขอจดทะเบียนของโจทก์เข้าเป็นจำเลยร่วมสู้คดีด้วย ดั่งนี้ ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยมีว่าใครมีสิทธิที่จะได้รับจดทะเบียนก่อน ศาลจะงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วยกฟ้องของโจทก์โดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนมีลักษณะเหมือนและคล้ายกับของผู้มีชื่อที่ร้องคัดค้านนั้นหาชอบไม่ หากศาลพึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามประเด็นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายและความเก่าแก่ในการใช้
ฟ้องโจทก์ขอให้ศาลบังคับกรมทะเบียนการค้าจำเลยให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อ้างว่าโจทก์มีสิทธิและสมควรที่จะได้รับการพิจารณาจดทะเบียนก่อน ผู้มีชื่อซึ่งร้องคัดค้านการร้องขอจดทะเบียนของโจทก์เข้าเป็นจำเลยร่วมสู้คดีด้วยดั่งนี้ ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยมีว่าใครมีสิทธิที่จะได้รับจดทะเบียนก่อน ศาลจะงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วยกฟ้องของโจทก์โดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนมีลักษณะเหมือนและคล้ายกับของผู้มีชื่อที่ร้องคัดค้านนั้นหาชอบไม่หากศาลพึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามประเด็นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินโดยผู้จัดการมรดกที่ไม่ได้รับมอบหมาย: ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
การที่สามีจำเลยได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ แล้วต่อมาสามีถึงแก่กรรม จำเลยเป็นผู้รับมรดกและเป็นผู้จัดการมรดกของสามีตามคำสั่งศาล จะถือว่าจำเลยได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาหรือเก็บรักษาหรือจัดการทรัพย์(ของโจทก์)ที่สามีได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษา สืบต่อจากสามีไม่ได้ แม้จำเลยจะถือโอกาสที่โฉนดมีชื่อสามี ได้ไปขอใบแทนโฉนดอ้างว่าโฉนดเดิมหาย แล้วโอนขายที่ดินให้จำเลยที่ 2 ไป ตามพฤติการณ์ดังนี้การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์: ผู้จัดการมรดกไม่ได้เป็นผู้รับมอบอำนาจดูแลทรัพย์สินของผู้อื่น จึงไม่เข้าข่ายความผิดฐานยักยอก
การที่สามีจำเลยได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ แล้วต่อมาสามีถึงแก่กรรม จำเลยเป็นผู้รับมรดกและเป็นผู้จัดการมรดกของสามีตามคำสั่งศาลจะถือว่าจำเลยได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาหรือเก็บทรัพย์หรือจัดการทรัพย์(ของโจทก์)ที่สามีได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษา สืบต่อจากสามีไม่ได้ แม้จำเลยจะถือโอกาสที่โฉนดมีชื่อสามีได้ไปขอใบแทนโฉนดอ้างว่าโฉนดเดิมหายแล้วโอนขายที่ดินให้จำเลยที่ 2 ไปตามพฤติการณ์ดังนี้การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเล่นพนันเกินเวลาที่อนุญาต แม้มีใบอนุญาต ศาลไม่ลงโทษเนื่องจากเป็นการต่อสู้คดีที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเล่นการพนันไพ่ผ่องไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเล่นไพ่โดยได้รับอนุญาตหากแต่เล่นเลยเวลาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตซึ่งเป็นการผิดเงื่อนไขและจำเลยหลงต่อสู้คดีด้วยจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
(หมายเหตุ อัยการฎีกาว่า ควรต้องลงโทษจำเลย จะถือตามฎีกาเดิมที่เคยมีมาแล้วไม่ได้เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 นี้ได้แก้ไขใหม่แล้ว)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเล่นพนันเกินเวลาที่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดที่ไม่ตรงกับฟ้อง จำเลยหลงต่อสู้คดีจึงไม่ลงโทษ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเล่นการพนันไพ่ผ่องไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อเท็จจริงปรากฎว่าจำเลยเล่นไพ่โดยได้รับอนุญาต หากแต่เล่นเลยเวลาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตซึ่งเป็นการผิดเงื่อนไข และจำเลยหลงต่อสู้คดีด้วย จึงลงโทษจำเลยไม่ได้
(หมายเหตุ อัยการฎีกา ว่า ควรต้องลงโทษจำเลย จะถือตามฎีกาเดิมที่เคยมีมาแล้วไม่ได้ เพราะ วิ.อาญา มาตรา 192 นี้ได้แก้ไขใหม่แล้ว)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดินตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ. ๑๒๑ เมื่อมีผู้รับมรดกหลายคนและมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิ
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายในประมวลแพ่งฯ มาตรา 1357 ใช้เมื่อความจริงไม่ปรากฎ เมื่อมีข้อเท็จจริงปรากฎฟังได้ก็พึงถือตามข้อเท็จจริงนั้น
การที่จำเลยและโจทก์และทายาทอื่นรวม 14 คนมีชื่อในโฉนดแต่ พ.ศ.2465 เวลาจะแบ่งที่ในโฉนด ย่อมต้องแบ่งตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ.121 มาตรา 1 ข้อ 1 (2) คือ "ถ้าบุตรบางคนมรณภาพ ฯลฯ ให้เอาส่วนของบุตรที่มรณภาพแบ่งให้แก่หลานผู้มรณภาพ ซึ่งเป็นบุตรของบุตรผู้มรณภาพนั้น เหมือนอย่างว่าเป็นมรดกของบุตรผู้นั้นเองต่อ ๆ ลงไป ฯลฯ"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดินตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ. 121 กรณีมีผู้รับมรดกหลายคนและมีการเสียชีวิต
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายในประมวลแพ่งฯ มาตรา 1357 ใช้เมื่อความจริงไม่ปรากฏเมื่อมีข้อเท็จจริงปรากฏฟังได้ก็พึงถือตามข้อเท็จจริงนั้น
การที่จำเลยและโจทก์และทายาทอื่นรวม 14 คนมีชื่อในโฉนดแต่ พ.ศ.2465 เวลาจะแบ่งที่ในโฉนดย่อมต้องแบ่งตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ.121 มาตรา 1 ข้อ 1(2) คือ 'ถ้าบุตรบางคนมรณภาพฯลฯ ให้เอาส่วนของบุตรที่มรณภาพแบ่งให้แก่หลานผู้มรณภาพซึ่งเป็นบุตรของบุตรผู้มรณภาพนั้นเหมือนอย่างว่าเป็นมรดกของบุตรผู้นั้นเองต่อๆ ลงไป ฯลฯ'
of 153