คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทรงนิติกรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,336 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781-1786/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรถไฟฯ ต้องจ่ายค่าจ้างช่วงพักงาน แม้ผู้ถูกพักงานกระทำผิดวินัย แต่ไม่ได้สอบสวนตามระเบียบ
ก่อนที่โจทก์ซึ่งเป็นคนงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยจะถูกตำรวจจับมาฟ้องคดีอาญาในข้อหากบฎภายในราชอาณาจักร โจทก์กับคนงานการรถไฟฯ ได้มีการหยุดงานกันมาก่อน แต่จำเลยคือการรถไฟฯไม่ได้สั่งพักงานโจทก์เพราะพฤติการณ์ดังกล่าวนี้ หากแต่เห็นโจทก์มีปฏิกิริยาอื่นต่อมาจนตำรวจจับมาฟ้อง การรถไฟฯจึงสั่งพักงานโจทก์ ในที่สุดได้ความชัดว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิดทางอาญา แม้ว่าโจทก์จะได้กระทำผิดทางวินัย
แต่ก็ไม่ปรากฎว่าได้มีการสอบสวนโจทก์ตามระเบียบการของการรถไฟฯ ฉบับที่ 7 ข้อ 7,9 เช่นนี้ โดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่าการรถไฟฯ จำเลยต้องรับผิดจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานให้โจทก์การที่การรถไฟฯจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบการเอง จะปรับให้โจทก์รับผิดในการกระทำของการรถไฟฯจำเลยนั้นไม่ได้.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781-1786/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานลูกจ้างและการจ่ายค่าจ้างช่วงพักงานตามระเบียบการรถไฟฯ กรณีลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด
ก่อนที่โจทก์ซึ่งเป็นคนงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยจะถูกตำรวจจับมาฟ้องคดีอาญาในข้อหากบฏภายในราชอาณาจักร โจทก์กับคนงานการรถไฟฯได้มีการหยุดงานกันมาก่อน แต่จำเลยคือการรถไฟฯไม่ได้สั่งพักงานโจทก์เพราะพฤติการณ์ดังกล่าวนี้หากแต่เห็นโจทก์มีปฏิกิริยาอื่นต่อมาจนตำรวจจับมาฟ้องการรถไฟฯจึงสั่งพักงานโจทก์ ในที่สุดได้ความชัดว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิดทางอาญา แม้ว่าโจทก์จะได้กระทำผิดทางวินัยแต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการสอบสวนโจทก์ตามระเบียบการของการรถไฟฯฉบับที่ 7 ข้อ 7,9 เช่นนี้ โดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่าการรถไฟฯจำเลยต้องรับผิดจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานให้โจทก์ การที่การรถไฟฯจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบการเอง จะปรับให้โจทก์รับผิดในการกระทำของการรถไฟฯจำเลยนั้นไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนองต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบก่อน หากไม่แจ้ง สิทธิในการบังคับจำนองเป็นโมฆะ
ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองเอาทรัพย์ที่จำนองหลุดเป็นสิทธิตามประมวลแพ่งฯ มาตรา 729 ต้องบอกกล่าวให้ผู้จำนองทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 728 เพราะมาตรา728 และ 729 เป็นบทบังคับจำนอง ต้องอ่านคู่กันไป ถ้าไม่บอกกล่าวก่อน จะบังคับเอาทรัพย์ให้หลุดจำนองไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอผลสอบกรรมการจัดสรรที่ดิน เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่อุทธรณ์ได้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอการวินิจฉัยของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินตาม พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อคณะกรรมการดังกล่าววินิจฉัยแล้ว เมื่อใดถ้าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปก็ให้มาร้องให้ศาลทราบภายใน 1 เดือนนับแต่คณะกรรมการได้มีคำสั่ง เช่นนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จะอุทธรณ์คำสั่งไม่ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวระหว่างพิจารณา: ไม่อุทธรณ์ได้ตามวิ.แพ่ง ม.226
การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอการวินิจฉัยของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อคณะกรรมการดังกล่าววินิจฉัยแล้วเมื่อใดถ้าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปก็ให้มาร้องให้ศาลทราบภายใน 1 เดือนนับแต่คณะกรรมการได้มีคำสั่ง เช่นนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จะอุทธรณ์คำสั่งไม่ได้ตาม วิ.แพ่ง มาตรา 226.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมซื้อขายที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาวางมัดจำและผลกระทบต่อการรับฟังพยานหลักฐาน
พฤติการณ์ที่นับว่าเป็นเรื่องสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
เมื่อสัญญาวางเงินมัดจำปรากฏชัดแจ้งว่าการซื้อขายที่ดินตกลงราคากัน 40,000 บาท โจทก์ได้วางเงินมัดจำให้จำเลยรับไปในวันทำสัญญา 30,000 บาท จำเลยจะอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบว่าได้รับเงินไปในวันทำสัญญาเพียง 5,000 บาท ย่อมเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาวางเงินมัดจำที่จำเลยทำให้โจทก์ยึดถือไว้ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ในคดีฟ้องขอให้แสดงว่าสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะโดยอ้างว่าสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงในเรื่องความประมาทเลินเล่อฯ ไว้ในคำให้การ ก็ไม่มีประเด็นที่ศาลจะพึงรับพิจารณาวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมซื้อขายที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาวางมัดจำ และการรับฟังพยานหลักฐาน
พฤติการณ์ที่นับว่าเป็นเรื่องสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
เมื่อสัญญาวางเงินมัดจำปรากฎชัดแจ้งว่าการซื้อขายที่ดินตกลงราคากัน 40,000 บาท โจทก์ได้วางเงินมัดจำให้จำเลยรับไปในวันทำสัญญา 30,000 บาท จำเลยจะอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบว่าได้รับเงินไปในวันทำสัญญาเพียง 500 บาท ย่อมเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาวางเงินมัดจำที่จำเลยทำให้โจทก์ยึดถือไว้ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง ม.94
ในคดีฟ้องขอให้แสดงว่าสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะโดยอ้างว่าสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงในเรื่องความประมาทเลินเล่อ ฯ ไว้ในคำให้การ ก็ไม่มีประเด็นที่ศาลจะพึงรับพิจารณาวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียนมีผลบังคับใช้ 3 ปี การฟ้องขับไล่ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหากเหตุต่างกัน
คดีแรกโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอาศัยเหตุที่คณะกรรมการควบคุมค่าเช่าลงมติให้โจทก์เข้าอยู่ในห้องพิพาทได้ ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องไปแล้ว คดีหลังโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอีก แต่อาศัยเหตุที่สัญญาเช่าหมดอายุแล้ว เช่นนี้ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ เพราะอาศัยเหตุที่ฟ้องต่างกัน
เมื่อฟังว่าจำเลยเช่าเพื่อประกอบการค้าโดยตรง ก็ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ
ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์กันไว้ 5 ปี แต่ไม่มีการจดทะเบียนการเช่า ย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปีเท่านั้น เมื่อครบ 3 ปีแล้วผู้ให้เช่าก็มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าได้
ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์กันไว้ 5 ปี แต่เมื่อไม่ปรากฎในหนังสือสัญญาเช่าว่าจะไปจดทะเบียนการเช่าในภายหลัง ย่อมไม่ผูกพันผู้รับโอนทรัพย์ที่ให้เช่า ให้จำต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่ผู้เช่า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ, การฟ้องซ้ำ, และผลของการไม่จดทะเบียนสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์
คดีแรกโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอาศัยเหตุที่คณะกรรมการควบคุมค่าเช่าลงมติให้โจทก์เข้าอยู่ในห้องพิพาทได้ ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องไปแล้ว คดีหลังโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอีก แต่อาศัยเหตุที่สัญญาเช่าหมดอายุแล้ว เช่นนี้ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ เพราะอาศัยเหตุที่ฟ้องต่างกัน
เมื่อฟังว่าจำเลยเช่าเพื่อประกอบการค้าโดยตรง ก็ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ
ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์กันไว้ 5 ปี แต่ไม่มีการจดทะเบียนการเช่า ย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปีเท่านั้น เมื่อครบ 3 ปีแล้วผู้ให้เช่าก็มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าได้
ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์กันไว้ 5 ปี แต่เมื่อไม่ปรากฏในหนังสือสัญญาเช่าว่าจะไปจดทะเบียนการเช่าในภายหลังย่อมไม่ผูกพันผู้รับโอนทรัพย์ที่ให้เช่า ให้จำต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่ผู้เช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่, การบอกเลิกสัญญาเช่า, ค่าเสียหายจากการเช่าพื้นที่ค้า
จำเลยรับว่าเช่าที่จากโจทก์ถือได้ว่าโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่เช่าโดยไม่จำเป็นต้องเรียกคนอื่นที่ร่วมเช่าที่กับโจทก์มาเข้าชื่อฟ้องด้วย
จำเลยปลูกห้องแถว 5 ห้อง 2 ชั้น กั้นอยู่เฉพาะชั้นบน ติดป้ายว่าเป็นบริษัทรับก่อสร้าง อยู่ในที่ทำเลการค้าถือว่าห้องนั้นไม่ใช่เคหะ
ผู้แทนโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว แม้จำเลยจะอยู่ต่อมาและโจทก์ก็ยังเก็บค่าเช่า ถือว่าโจทก์ผ่อนผันให้จำเลย มิใช่เจตนาต่อสัญญาเช่ากับจำเลย
โจทก์เบิกความยืนยันว่าโจทก์ได้ค่าเช่าจากจำเลยเดือนละ 56 บาท จำเลยไม่สืบคัดค้าน ศาลย่อมให้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามอัตรานี้ได้
of 134