พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5661/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับบุตรหลังเสียชีวิต: สิทธิทางศาลและการคุ้มครองประโยชน์เด็ก
การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่กฎหมายให้สิทธิแก่บิดาที่มิได้สมรสกับมารดากระทำได้ ไม่ว่าเด็กนั้นจะบรรลุนิติภาวะแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่หากเด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1548 วรรคสาม และในกรณีที่เด็กยังเป็นผู้เยาว์ เด็กหรือมารดาเด็กอาจแจ้งต่อนายทะเบียนว่าบิดาไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่า ผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรไม่เป็นผู้สมควรใช้อำนาจปกครองทั้งหมดหรือบางส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1549 วรรคสอง จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะให้การคุ้มครองประโยชน์และความผาสุกของบุตรโดยให้มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดากับบุตรตั้งแต่วันที่เด็กเกิด กรณีเช่นนี้แม้กฎหมายจะมิได้กำหนดระยะเวลาในการขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรดังเช่นที่บัญญัติไว้ในกรณีของการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1556 วรรคสามและวรรคสี่ และแม้เด็กหรือบิดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว ก็ให้สิทธิแก่ผู้สืบสันดานของเด็กหรือเด็กที่จะฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการรับมรดกระหว่างกันอันมีบทกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในมาตรา 1556 วรรคสี่ และมาตรา 1558 สำหรับคดีนี้เป็นการร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ซึ่งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิโดยชัดแจ้งว่าให้ผู้อ้างว่าเป็นบิดาของเด็กนำคดีไปสู่ศาล ขอให้ศาลพิพากษาให้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรในกรณีที่เด็กถึงแก่ความตายแล้วได้ ซึ่งแตกต่างจากกรณีที่เด็กไม่มีมารดาหรือมารดาถึงแก่ความตาย โดยมีการตั้งผู้อื่นเป็นผู้ปกครองก่อนมีการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร บิดาซึ่งจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งถอนความเป็นผู้ปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1552 ย่อมเป็นข้อแสดงว่าความมีอยู่ซึ่งสภาพบุคคลของมารดาหรือไม่ มิใช่เป็นข้อสาระสำคัญ ฉะนั้น ความในมาตรา 1548 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็ก...ไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล" คำว่า "ไม่อาจให้ความยินยอม" ย่อมหมายถึงกรณีที่เด็กไม่อยู่ในภาวะที่จะให้ความยินยอมได้ เช่น เด็กยังไร้เดียงสา หรือเป็นคนวิกลจริต เป็นต้น หาใช่เป็นกรณีที่เด็กสิ้นสภาพบุคคลแล้วไม่ เพราะการพิสูจน์ความเป็นบิดากับบุตรโดยอาศัยพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ย่อมกระทำได้ยาก ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิแก่ผู้ร้องในอันที่จะนำเสนอคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อขอให้ศาลพิพากษาให้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ผู้ร้องย่อมไม่อาจใช้สิทธิทางศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2559)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2559)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดอำนาจปกครองบุตรหลังจดทะเบียนรับรองบุตร โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบุตรและความเหมาะสมในการดูแล
โจทก์และจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาคนละแห่งอาจจะมีปัญหาในเรื่องที่จะให้จำเลยที่ 2 พักอาศัยอยู่กับโจทก์และจำเลยที่ 1 ร่วมกัน ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์มีฐานะความรักใคร่และดูแลเอาใจใส่จำเลยที่ 2 อย่างดี เมื่อคำนึงถึงประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ที่จะได้รับการดูแลและให้การศึกษาที่เหมาะสม สมควรกำหนดให้จำเลยที่ 2 ผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของโจทก์ผู้เป็นบิดาในระหว่างเปิดภาคการศึกษาประจำปีแต่ละภาคการศึกษา โดยให้สิทธิแก่จำเลยที่ 1 ที่จะรับเอาตัวจำเลยที่ 2 ไปดูแลหลังจากปิดภาคการศึกษาแต่ละภาค นับตั้งแต่มีคำพิพากษาเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 2 จะบรรลุนิติภาวะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของบุตรผู้เยาว์ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดแม้ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยเป็นบิดามารดาของผู้เยาว์ เป็นผู้มีฐานะดีมีรถใช้ในกิจการ 4 คัน ได้ยินยอมให้ผู้เยาว์ซึ่งมีอายุ 19 ปี 6 เดือน ขับรถไปใช้ได้ และได้ความว่าผู้เยาว์เป็นคนสายตาสั้น ดังนี้จำเลยย่อมรู้ดีว่าการขับรถของผู้เยาว์ย่อมเกิดอันตรายได้โดยง่าย จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่บิดามารดาที่จะพึงดูแลบุตร เมื่อผู้เยาว์ขับรถของจำเลยไปทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยต้องรับผิดในผลที่ผู้เยาว์กระทำละเมิดด้วย
แม้ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถที่เช่าซื้อมา แต่ผู้เช่าซื้อก็ชอบที่จะใช้ประโยชน์ของรถ และมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถในสภาพเรียบร้อยแก่ผู้ให้เช่าซื้อหากมีกรณีต้องคืน เมื่อมีผู้ละเมิดทำให้รถที่เช่าซื้อเสียหาย ผู้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดได้ และเมื่อผู้เช่าซื้อตาย สิทธิดังกล่าวก็ตกทอดมายังทายาทที่จะฟ้องเรียกร้องได้
แม้ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถที่เช่าซื้อมา แต่ผู้เช่าซื้อก็ชอบที่จะใช้ประโยชน์ของรถ และมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถในสภาพเรียบร้อยแก่ผู้ให้เช่าซื้อหากมีกรณีต้องคืน เมื่อมีผู้ละเมิดทำให้รถที่เช่าซื้อเสียหาย ผู้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดได้ และเมื่อผู้เช่าซื้อตาย สิทธิดังกล่าวก็ตกทอดมายังทายาทที่จะฟ้องเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473-1474/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกของทายาทโดยไม่ต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือตามมาตรา 1381 และอำนาจศาลในการบังคับแบ่งทรัพย์มรดก
จ.บุตรอาศัยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของบิดามารดาครั้นบิดาตาย ที่ดินแปลงนั้นในส่วนที่เป็นสินสมรส ของบิดาก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทซึ่งมี จ.รวมอยู่ด้วย การที่จ. อยู่ในที่ดินมรดกนับแต่นั้นมา ได้ชื่อว่าเป็นการอยู่การครอบครองของทายาท ในทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกันตามมาตรา 1748 แล้ว โดยไม่ต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทายาทของเจ้ามรดกมีโจทก์จำเลยกับคนอื่น รวม 11 คนเป็นทายาท คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยแบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกให้โจทก์ตามส่วน หากขัดข้องก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย หรือมิฉะนั้น ให้จำเลยใช้เงินแก่โจกท์ ทั้ง 4 คน ๆ ละ 17,433.33 บาท ดังนี้ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เอาที่ดินและบ้านอันเป็นมรดกมาแบ่งให้แก่โจทก์ตามส่วน และว่าถ้าแบ่งไม่ตกลงก็ให้ประมูลกันเอง หรือขายทอดตลาดทรัพย์ที่จะต้องแบ่ง
(โดยมิได้พิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ก็ได้)
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทายาทของเจ้ามรดกมีโจทก์จำเลยกับคนอื่น รวม 11 คนเป็นทายาท คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยแบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกให้โจทก์ตามส่วน หากขัดข้องก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย หรือมิฉะนั้น ให้จำเลยใช้เงินแก่โจกท์ ทั้ง 4 คน ๆ ละ 17,433.33 บาท ดังนี้ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เอาที่ดินและบ้านอันเป็นมรดกมาแบ่งให้แก่โจทก์ตามส่วน และว่าถ้าแบ่งไม่ตกลงก็ให้ประมูลกันเอง หรือขายทอดตลาดทรัพย์ที่จะต้องแบ่ง
(โดยมิได้พิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ก็ได้)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแต่งงานไม่สมบูรณ์เมื่อไม่จดทะเบียนสมรส, การเป็นเจ้าของร่วมของขวัญ, สิทธิเรียกร้องค่าหมั้นและสินสอด
ชายและหญิงทำพิธีแต่งงานและอยู่กินร่วมกันฉันท์สามีภรรยามาเป็นเวลา 6 เดือน และเป็นความประสงค์ของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ต้องการจดทะเบียนสมรส ชายจะอ้างว่าหญิงผิดสัญญาเพราะเหตุไม่ยอมจดทะเบียนสมรสนั้นไม่ได้
เงินของขวัญและสิ่งของของขวัญที่ชายหญิงได้รับในวันแต่งงาน ชายหญิงนั้นย่อมเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อชายหญิงได้เอาเงินของขวัญใช้จ่ายร่วมกันเป็นค่าเลี้ยงแขกในวันแต่งงานหมดแล้ว ชายจะมาฟ้องเรียกเอาส่วนครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินของขวัญนั้นไม่ได้ ส่วนสิ่งของของขวัญ เมื่อได้ความว่าอยู่กับหญิงเช่นนี้ ชายย่อมฟ้องเรียกเอาครึ่งหนึ่งได้
เงินของขวัญและสิ่งของของขวัญที่ชายหญิงได้รับในวันแต่งงาน ชายหญิงนั้นย่อมเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อชายหญิงได้เอาเงินของขวัญใช้จ่ายร่วมกันเป็นค่าเลี้ยงแขกในวันแต่งงานหมดแล้ว ชายจะมาฟ้องเรียกเอาส่วนครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินของขวัญนั้นไม่ได้ ส่วนสิ่งของของขวัญ เมื่อได้ความว่าอยู่กับหญิงเช่นนี้ ชายย่อมฟ้องเรียกเอาครึ่งหนึ่งได้