คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1552

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5661/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรหลังเสียชีวิต: สิทธิทางศาลและการคุ้มครองประโยชน์เด็ก
การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่กฎหมายให้สิทธิแก่บิดาที่มิได้สมรสกับมารดากระทำได้ ไม่ว่าเด็กนั้นจะบรรลุนิติภาวะแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่หากเด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1548 วรรคสาม และในกรณีที่เด็กยังเป็นผู้เยาว์ เด็กหรือมารดาเด็กอาจแจ้งต่อนายทะเบียนว่าบิดาไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่า ผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรไม่เป็นผู้สมควรใช้อำนาจปกครองทั้งหมดหรือบางส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1549 วรรคสอง จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะให้การคุ้มครองประโยชน์และความผาสุกของบุตรโดยให้มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดากับบุตรตั้งแต่วันที่เด็กเกิด กรณีเช่นนี้แม้กฎหมายจะมิได้กำหนดระยะเวลาในการขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรดังเช่นที่บัญญัติไว้ในกรณีของการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1556 วรรคสามและวรรคสี่ และแม้เด็กหรือบิดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว ก็ให้สิทธิแก่ผู้สืบสันดานของเด็กหรือเด็กที่จะฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการรับมรดกระหว่างกันอันมีบทกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในมาตรา 1556 วรรคสี่ และมาตรา 1558 สำหรับคดีนี้เป็นการร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ซึ่งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิโดยชัดแจ้งว่าให้ผู้อ้างว่าเป็นบิดาของเด็กนำคดีไปสู่ศาล ขอให้ศาลพิพากษาให้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรในกรณีที่เด็กถึงแก่ความตายแล้วได้ ซึ่งแตกต่างจากกรณีที่เด็กไม่มีมารดาหรือมารดาถึงแก่ความตาย โดยมีการตั้งผู้อื่นเป็นผู้ปกครองก่อนมีการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร บิดาซึ่งจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งถอนความเป็นผู้ปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1552 ย่อมเป็นข้อแสดงว่าความมีอยู่ซึ่งสภาพบุคคลของมารดาหรือไม่ มิใช่เป็นข้อสาระสำคัญ ฉะนั้น ความในมาตรา 1548 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็ก...ไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล" คำว่า "ไม่อาจให้ความยินยอม" ย่อมหมายถึงกรณีที่เด็กไม่อยู่ในภาวะที่จะให้ความยินยอมได้ เช่น เด็กยังไร้เดียงสา หรือเป็นคนวิกลจริต เป็นต้น หาใช่เป็นกรณีที่เด็กสิ้นสภาพบุคคลแล้วไม่ เพราะการพิสูจน์ความเป็นบิดากับบุตรโดยอาศัยพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ย่อมกระทำได้ยาก ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิแก่ผู้ร้องในอันที่จะนำเสนอคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อขอให้ศาลพิพากษาให้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ผู้ร้องย่อมไม่อาจใช้สิทธิทางศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2559)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความรับผิดทางละเมิดจากข่มขืนและการกำหนดค่าเลี้ยงดูบุตร
ชายข่มขืนชำเราหญิงอายุ 15 ปี จนมีครรภ์คลอดบุตรศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรของชายตามฟ้องของหญิง ให้ใช้นามสกุลชายให้เด็กอยู่กับหญิงและให้หญิงเป็นผู้ปกครองเด็กให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนอายุ 20 ปี ให้ใช้ค่าเสียหายแก่หญิง
ชายต่อสู้ว่าข้อหาละเมิดขาดอายุความ ศาลยกฟ้องโดยเหตุอื่นหญิงอุทธรณ์ฎีกา ชายมิได้อ้างอายุความในคำแก้อุทธรณ์ฎีกา ถือว่าชายไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
คำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชวิทยาตรวจร่างกายและเลือดของชายหญิงและเด็ก เห็นว่าไม่มีข้อปฏิเสธว่าเด็กไม่ใช่บุตรเกิดจากชายและหญิง มีน้ำหนักดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร: การฟ้องซ้ำและอำนาจของผู้ปกครอง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากจำเลยอ้างว่ามีข้อตกลงตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าศาลพิพากษาว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายรับผิดไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีใหม่เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากจำเลยอ้างว่าจำเลยมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1536 ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
มารดาในฐานะส่วนตัว ไม่มีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากบิดาของบุตร จนกว่าจะได้ร้องขอต่อศาลให้ถอนบิดาจากการเป็นผู้ปกครองเสียก่อน โดยขอตั้งมารดาผู้เป็นโจทก์เป็นผู้ปกครองใหม่แล้วจึงจะใช้สิทธิเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากบิดาของบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรต้องมีอำนาจปกครอง การฟ้องซ้ำ และหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากจำเลย อ้างว่ามีข้อตกลงตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าศาลพิพากษาว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายรับผิดไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีใหม่เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากจำเลยอ้างว่าจำเลยมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1536 ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
มารดาในฐานะส่วนตัว ไม่มีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากบิดาของบุตร จนกว่าจะได้ร้องขอต่อศาลให้ถอนบิดาจากการเป็นผู้ปกครองเสียก่อน โดยขอตั้งมารดาผู้เป็นโจทก์เป็นผู้ปกครองใหม่ แล้วจึงจะใช้สิทธิเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากบิดาของบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการถอนอำนาจปกครองบุตรหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด กรณีมีการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือจัดการทรัพย์สินผิด
แม้โจทก์จะเคยฟ้องจำเลยต่อศาลขอให้เพิกถอน อำนาจปกครองบุตรและศาลได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คดีถึงที่สุดไปแล้ว แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่ามีการใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวเด็กโดยมิชอบ หรือจัดการทรัพย์สินของเด็กในทางที่ผิดจนอาจเป็นภัยศาลก็มีอำนาจสั่งถอนอำนาจปกครองหรืออำนาจจัดการทรัพย์เสียบางส่วนหรือทั้งหมดได้ โดยศาลจะสั่งเองหรือผู้มีสิทธิร้องขอก็ได้ โดยจะร้องขอมาในคดีเดิมหรือจะฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทขึ้นมาใหม่ก็ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะเหตุที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ต่างกันคนละประเด็นกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก: การถอนอำนาจปกครองและตั้งผู้ปกครองใหม่ แม้โจทก์ถึงแก่ความตาย
กรณีที่เกี่ยวกับผู้เยาว์อันว่าด้วยเรื่องอำนาจปกครองและความปกครองนั้นไม่เหมือนกับคดีธรรมดาสามัญอื่นทั่วไปบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 2หมวด 2 และ 3 ให้อำนาจแก่ศาลเป็นพิเศษ ในอันที่จะป้องกันสวัสดิภาพและรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ แม้ผู้เยาว์นั้นจะมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองอยู่แล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมด และจะสั่งถอนผู้ปกครองเสียก็ได้ อำนาจเช่นว่านี้ศาลจะสั่งเองโดยไม่จำต้องมีใครร้องขอก็ได้ในเมื่อมีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครองอยู่แล้ว หรือจะสั่งในเมื่อมีบุคคลผู้มีสิทธิร้องขอขึ้นมาก็ได้ตามมาตรา 1552, 1574 และ 1575เพราะอำนาจควบคุมและคุ้มครองของศาลยังคงมีอยู่เรื่อยไป(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 797/2499)
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามคำสั่งศาล และตั้งโจทก์เป็นผู้ปกครองแทน การฟ้องขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้เยาว์ เมื่อปรากฏเรื่องการใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ต่อศาลภายหลังที่มีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครอง ศาลมีอำนาจที่จะนำมาตรา 1552 มาบังคับคดีและเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กเข้ามาในการไต่สวนเกี่ยวกับการถอนผู้ปกครองเดิมและการตั้งผู้ปกครองใหม่ได้ แม้โจทก์จะถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก: การถอนอำนาจผู้ปกครองเดิมและตั้งผู้ปกครองใหม่
กรณีที่เกี่ยวกับผู้เยาว์อันว่าด้วยเรื่องอำนาจปกครองและความปกครองนั้นไม่เหมือนกับคดีธรรมดาสามัญอื่นทั่วไป.บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 2หมวด 2 และ 3 ให้อำนาจแก่ศาลเป็นพิเศษ. ในอันที่จะป้องกันสวัสดิภาพและรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์. แม้ผู้เยาว์นั้นจะมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองอยู่แล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมด. และจะสั่งถอนผู้ปกครองเสียก็ได้. อำนาจเช่นว่านี้ศาลจะสั่งเองโดยไม่จำต้องมีใครร้องขอก็ได้ในเมื่อมีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครองอยู่แล้ว หรือจะสั่งในเมื่อมีบุคคลผู้มีสิทธิร้องขอขึ้นมาก็ได้ตามมาตรา 1552,1574 และ 1575เพราะอำนาจควบคุมและคุ้มครองของศาลยังคงมีอยู่เรื่อยไป.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 797/2499).
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามคำสั่งศาล และตั้งโจทก์เป็นผู้ปกครองแทน. การฟ้องขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้เยาว์. เมื่อปรากฏเรื่องการใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ต่อศาลภายหลังที่มีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครอง. ศาลมีอำนาจที่จะนำมาตรา 1552 มาบังคับคดีและเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กเข้ามาในการไต่สวนเกี่ยวกับการถอนผู้ปกครองเดิมและการตั้งผู้ปกครองใหม่ได้. แม้โจทก์จะถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา. ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก: ถอนผู้ปกครองเดิมและตั้งผู้ปกครองใหม่ได้แม้มีข้อจำกัดเรื่องตัวความ
กรณีที่เกี่ยวกับผู้เยาว์อันว่าด้วยเรื่องอำนาจปกครองและความปกครองนั้นไม่เหมือนกับคดีธรรมดาสามัญอื่นทั่วไปบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 2 หมวด 2 และ 3 ให้อำนาจแก่ศาลเป็นพิเศษ ในอันที่จะป้องกันสวัสดิภาพและรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ แม้ผู้เยาว์นั้นจะมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองอยู่แล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมด และจะสั่งถอนผู้ปกครองเสียก็ได้ อำนาจเช่นว่านี้ศาลจะสั่งเองโดยไม่จำต้องมีใครร้องขอก็ได้ในเมื่อมีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครองอยู่แล้ว หรือจะสั่งในเมื่อมีบุคคลผู้มีสิทธิร้องขอขึ้นมาก็ได้ตามมาตรา 1552,1574 และ 1575 เพราะอำนาจควบคุมและคุ้มครองของศาลยังคงมีอยู่เรื่อยไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 797/2499)
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามคำสั่งศาล และตั้งโจทก์เป็นผู้ปกครองแทน การฟ้องขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้เยาว์ เมื่อปรากฏเรื่องการใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ต่อศาลภายหลังที่มีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครอง ศาลมีอำนาจที่จะนำมาตรา 1552 มาบังคับคดีและเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กเข้ามาในการไต่สวนเกี่ยวกับการถอนผู้ปกครองเดิมและการตั้งผู้ปกครองใหม่ได้ แม้โจทก์จะถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตร: การพิพากษาให้บุตรอยู่กับมารดาถือเป็นการให้อำนาจปกครองตามกฎหมาย
การที่ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย (บิดา) และให้เด็กอยู่กับโจทก์ (มารดา) โดยให้จำเลยส่งค่าเลี้ยงดูเด็กจนเด็กอายุครบ 20 ปี ถือได้ว่าศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่แก่มารดา ตามมาตรา 1538(6) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองเด็ก: ศาลพิพากษาให้เด็กอยู่กับมารดาถือเป็นการมอบอำนาจปกครองตามกฎหมาย จำเลยต้องขอถอนอำนาจก่อนจึงจะรับตัวเด็กได้
การที่ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย(บิดา)และให้เด็กอยู่กับโจทก์ (มารดา) โดยให้จำเลยส่งค่าเลี้ยงดูเด็กจนเด็กอายุครบ 20 ปี ถือได้ว่าศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่แก่มารดา ตามมาตรา 1538(6) แล้ว
of 2