คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1552

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับรองบุตรเมื่อฝ่ายแม่คัดค้าน ต้องพิสูจน์เหตุผลตามกฎหมาย
การที่หญิงจำเลยรับว่าบุตรของตนเกิดจากชายซึ่งเป็นโจทก์โดยโจทก์จำเลยได้เสียกันแต่มิได้จดทะเบียนสมรส เพียงเท่านี้ยังไม่เป็นเหตุพอที่จะชี้ขาดให้จดทะเบียนว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของโจทก์ทีเดียว ในเมื่อฝ่ายจำเลยยังคัดค้านอยู่ จำต้องพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุผลอย่างใดที่จะให้ศาลมีคำพิพากษาให้จดทะเบียนตามความใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1527 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับรองบุตร การรับสารภาพและการพิสูจน์ความจริง
การที่หญิงจำเลยรับว่าบุตรของตนเกิดจากชายซึ่งเป็นโจทก์โดยโจทก์จำเลยได้เสียกันแต่มิได้จดทะเบียนสมรส เพียงเท่านี้ยังไม่เป็นเหตุพอที่จะชี้ขาดให้จดทะเบียนว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของโจทก์ทีเดียว ในเมื่อฝ่ายจำเลยยังคัดค้านอยู่ จำต้องพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุผลอย่างใดที่จะให้ศาลมีคำพิพากษาให้จดทะเบียนตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 1527
( ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2501 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการถอนผู้ปกครองและการคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เยาว์
เมื่อผู้ใดร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ไม่มีผู้ใดคัดค้านศาลได้ไต่สวนและสั่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้ปกครองดังนี้จะเรียกว่าคดีถึงที่สุดอุทธรณ์ฎีกาต่อไปไม่ได้ก็เฉพาะเรื่องการตั้งผู้ปกครอง
ส่วนเรื่องการร้องขอให้ถอนผู้ปกครองนั้นเป็นอำนาจของศาลเองหรือสั่งเมื่อบุคคลผู้มีสิทธิร้องขอขึ้นมาตาม มาตรา1552,1574,1575และการร้องขอตามมาตราดังกล่าวไม่จำเป็นต้องทำเป็นคดีเรื่องใหม่ขึ้นมาอีกต่างหากจากสำนวนเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนอำนาจปกครองเด็กจากบิดาให้ลุง กรณีบิดาประพฤติไม่สมควรและเป็นภัยต่อทรัพย์สินเด็ก
เมื่อบิดาของผู้เยาว์ประพฤติตนไม่สมควร มีพฤติการณ์ส่อไปในทางที่เป็นภัยแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์และเลี้ยงดูผู้เยาว์โดยไม่สมควร ซึ่งถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจปกครองเด็กโดยมิชอบ ดังนี้ ลุงของผู้เยาว์มีอำนาจที่จะฟ้องศาลขอให้โอนอำนาจปกครองผู้เยาว์ จากบิดาผู้เยาว์โดยตั้งลุงผู้เยาว์เป็นผู้ปกครองแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ และไม่มีประโยชน์ในการบังคับคดีต่อ
ในระหว่างพิจารณาศาลสั่งยกคำร้องในเรื่องข้อตัดฟ้องของจำเลย จำเลยแถลงว่า ยังติดใจคัดค้านและขอสงวนสิทธิเพื่ออุทธรณ์ แล้วจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาล ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำแถลงว่าพอใจคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลแล้ว จึงขอค่าธรรมเนียมคืนดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยพอใจในการสั่งของศาล ไม่ใช่พอใจที่จะไม่อุทธรณ์ เมื่อศาลพิพากษาคดีแล้ว จำเลยย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นได้ เพราะจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งไว้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) แล้ว
เมื่อความปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(12) กรณีก็ต้องตามมาตรา 56 การที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้อนุญาตหรือยินยอมแก่ผู้เยาว์ ที่จะดำเนินคดีหรือไม่เป็นอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรม ศาลไม่มีอำนาจบังคับผู้แทนโดยชอบธรรมให้ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์
การหมายเรียกตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา57(3) เป็นการหมายเรียกให้เข้ามาเป็นคู่ความ ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการดำเนินคดี หรือไม่เข้าดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ตามที่ควรศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีให้ตามมาตรา 56 วรรคท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็ไม่ได้ เพราะเป็นบทบัญญัติเฉพาะแต่ในกรณีไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำหน้าที่ไม่ได้ แต่ถ้าในกรณีที่บิดาเป็นผู้ปกครองและไม่ยอมให้คำยินยอมเช่นนี้ ผู้เยาว์อาจขอต่อศาลให้รอคดีไว้หรือศาลสั่งรอไว้เองก็ได้ โดยให้ผู้เยาว์ไปหาญาติสนิท ดำเนินการตามมาตรา 1552 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ถอนอำนาจบิดาในส่วนนี้ฐานใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบเสียก่อนได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ไม่ได้ห้ามไม่ให้ฟ้องผู้เยาว์ เป็นแต่ว่าถ้าถูกฟ้อง ผู้เยาว์จะดำเนินคดีไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดยชอบธรรม เข้าดำเนินคดีแทนเสียทีเดียว ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ระวังผลประโยชน์ของผู้เยาว์ ก็ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จะบังคับโจทก์ไม่ได้ศาลจึงชอบที่จะคอยระวังผลประโยชน์ของผู้เยาว์ให้ตามสมควร เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้เยาว์ ศาลอาจจะแจ้งไปยังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาและดำเนินการตามมาตรา 1552 นี้ก็ได้ เมื่อมีการถอนอำนาจแล้ว ก็เป็นหน้าที่ที่จะใช้มาตรา 56 วรรคท้ายได้ แต่ศาลจะหมายเรียกผู้แทนโดยชอบธรรม ให้เข้ามาแก้คดีแทนผู้เยาว์นั้นหามีกฎหมายสนับสนุนไม่
การบังคับคดีเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้น การที่ขอให้ศาลอุทธรณ์ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ให้ทุเลา ก็หมายความว่าไม่ให้ถือเอาการอุทธรณ์เป็นการทุเลาการบังคับ แม้จะมีการอุทธรณ์ ก็ให้ศาลล่างดำเนินการบังคับคดีต่อไปตามอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ในเรื่องการบังคับคดี ไม่ใช่ว่าถ้าศาลอุทธรณ์ไม่ให้ทุเลาแล้ว ก็เป็นการบังคับศาลชั้นต้นให้บังคับคดีโดยตัดอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ในเรื่องบังคับคดีเสียเลย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งบุตรสาวโจทก์อายุ 18 ปีในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาบุตรสาวโจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะจำหน่ายคดีเสีย แม้กรณีไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ศาลฎีกาก็ยังจำหน่ายคดีได้
ถ้าหากไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะชี้ขาดแล้วเช่นคดีนี้แต่คดีนี้ศาลล่างดำเนินการพิจารณามาสับสน จะเพียงแต่จำหน่ายคดี โดยให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คงไว้ หาชอบไม่ ทั้งจะให้ศาลล่างพิจารณาใหม่ก็ไม่ได้ เพราะบุตรสาวโจทก์ที่ฟ้องเรียกคืนบรรลุนิติภาวะแล้ว เช่นนี้ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง และให้จำหน่ายคดีเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะและไม่มีประโยชน์ในการชี้ขาด ศาลฎีกามีอำนาจจำหน่ายคดีได้แม้ไม่เข้าข่ายมาตรา 172
ในระหว่างพิจารณา ศาลสั่งยกคำร้องในเรื่องข้อตัดฟ้องของจำเลย ๆแถลงว่า ยังติดใจคัดค้านและขอสงวนสิทธิเพื่ออุทธรณ์ แล้วจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาล ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำแถลงว่าพอใจคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลแล้วจึงขอค่าธรรมเนียมคืน ดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยพอใจในการสั่งของศาล ไม่ใช่พอใจที่จะไม่อุทธรณ์ เมื่อศาลพิพากษาคดีแล้ว จำเลยย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นได้ เพราะจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งไว้ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 226(2) แล้ว
เมื่อความปรากฎว่าจำเลยเป็นผู้เยาว์ ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 1(12) กรณีก็ต้องตามมาตรา 56 การที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้อนุญาตหรือยินยอมแต่ผู้เยาว์ ที่จะดำเนินคดีหรือไม่เป็นอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรม ศาลไม่มีอำนาจบังคับผู้แทนโดยชอบธรรมให้ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์
การหมายเรียกตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 57(3) เป็นการหมายเรียกให้เข้ามาเป็นคู่ความ ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการดำเนินคดี หรือไม่เข้าดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ตามที่ควรศาลจะตั้งผู้แทนฉะเพาะคดีให้ตามมาตรา 56 วรรคท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็ไม่ได้ เพราะเป็นบทบัญญัติฉะเพาะแต่ในกรณีไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำหน้าที่ไม่ได้ แต่ถ้าในกรณีที่บิดาเป็นผู้ปกครองและไม่ยอมให้คำยินยอมเช่นนี้ ผู้เยาว์อาจขอต่อศาลให้รอคดีไว้หรือศาลสั่งรอไว้เองก็ได้ โดยให้ผู้เยาว์ไปหาญาติสนิท ดำเนินการตามมาตรา 1552 ป.ม.แพ่ง ฯ ถอนอำนาจบิดาในส่วนนี้ฐานใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบเสียก่อนได้
ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 56 ไม่ได้ห้ามไม่ให้ฟ้องผู้เยาว์ เป็นแต่ว่าถ้าถูกฟ้อง ผู้เยาว์จะดำเนินคดีไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดยชอบธรรม เข้าดำเนินคดีแทนเสียทีเดียว ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ระวังผลประโยชน์ของผู้เยาว์ ก็ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จะบังคับโจทก์ไม่ได้ ศาลจึงชอบที่จะคอยระวังผลประโยชน์ของผู้เยาว์ให้ตามสมควร เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้เยาว์ศาลอาจจะแจ้งไปยังพนักงานอัยยการเพื่อพิจารณาและดำเนินการตามมาตรา 1552 นี้ก็ได้เมื่อมีการถอนอำนาจแล้ว ก็เป็นหน้าที่ที่จะใช้มาตรา 56 วรรคท้ายได้ แต่ศาลจะหมายเรียกผู้แทนโดยชอบธรรม ให้เข้ามาแก้คดีแทนผู้เยาว์นั้นหามีกฎหมายสนับสนุนไม่
การบังคับคดีเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้น การที่ขอให้ศาลอุทธรณ์ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ให้ทุเลา ก็หมายความว่าไม่ให้ถือเอาการอุทธรณ์เป็นการทุเลาการบังคับ แม้จะมีการอุทธรณ์ ก็ให้ศาลล่างดำเนินการบังคับคดีต่อไป ตามอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ในเรื่องการบังคับคดี ไม่ใช่ว่าถ้าศาลอุทธรณ์ไม่ให้ทุเลาแล้ว ก็เป็นการบังคับศาลชั้นต้นให้บังคับคดีโดยตัดอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ในเรื่องบังคับคดีเสียเลย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งบุตรสาวโจทก์อายุ 18 ปี ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาบุตรสาวโจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะจำหน่ายคดีเสียแม้กรณีไม่ต้องด้วย ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 132 ศาลฎีกาก็ยังจำหน่ายคดีได้
ถ้าหากไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะชี้ขาดแล้วเช่นคดีนี้ แต่คดีนี้ศาลล่างดำเนินการพิจารณามาสับสน จะเพียงแต่จำหน่ายคดี โดยให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คงไว้ หาชอบไม่ ทั้งจะให้ศาลล่างพิจารณาใหม่ก็ไม่ได้ เพราะบุตรสาวโจทก์ที่ฟ้องเรียกคืนบรรลุนิติภาวะแล้ว เช่นนี้ ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง และให้จำหน่ายคดีเสีย.
of 2