พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงร่วมกันของคู่ความมีผลผูกพันศาลตามหลักการยอมรับของคู่ความ (principle of party disposition)
ในวันนัดเดินเผชิญสืบ คู่ความทั้งสองฝ่ายลงชื่อรับรองความถูกต้องของแผนผังและแถลงสละประเด็นพิพาท ข้อ 2 ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสอง กรณีจึงไม่จำต้องสืบพยานและวินิจฉัยประเด็นพิพาท ข้อ 2 อีกต่อไป ข้อเท็จจริงจึงเป็นไปตามที่คู่ความยอมรับกันในความรับรู้ของศาลตามหลักความประสงค์ของคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3) และมาตรา 99 วรรคหนึ่ง โดยไม่ต้องใช้พยานหลักฐาน ไม่ต้องอาศัยกฎเกณฑ์เรื่องหน้าที่นำสืบ เรื่องการรับฟังพยานหลักฐานหรือเรื่องการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับสัญญากู้ยืมเงินและขอบเขตความรับผิดของตัวการ-ตัวแทน
จำเลยที่ 1 ผิดนัดภายหลังวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 มีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์ที่ 1 ผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 5 และที่ 7 ผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2559 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ผิดนัด เนื่องจากไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 5 และที่ 7 ผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าว ทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 5 และที่ 7 ชำระหนี้ ไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวภายในกำหนดเวลาหกสิบวันหรือพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันอันต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้ บ. ดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า โจทก์ทั้งสองไม่ได้มอบอำนาจดังกล่าวไว้ คดีจึงไม่มีประเด็นที่โจทก์ทั้งสองจะต้องนำสืบหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอีกว่าถูกต้องหรือไม่ และข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่คู่ความรับกันแล้วว่า โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีโดยชอบแล้ว
จำเลยที่ 4 และที่ 6 ให้การยอมรับว่าลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินจริง เพียงแต่อ้างว่าไม่มีมูลหนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนกับจำเลยที่ 4 และที่ 6 ทำสัญญากู้ยืมเงินฉบับดังกล่าวกันจริงหรือไม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่าสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์มีผลบังคับได้ตามกฎหมายและผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะตัวการ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้ฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ กรณีจึงไม่จำต้องใช้สัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานหลักฐานและไม่ต้องพิจารณาปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ว่า สัญญากู้ยืมเงิน ไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์จะรับฟังได้หรือไม่อีกต่อไป
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้ บ. ดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า โจทก์ทั้งสองไม่ได้มอบอำนาจดังกล่าวไว้ คดีจึงไม่มีประเด็นที่โจทก์ทั้งสองจะต้องนำสืบหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอีกว่าถูกต้องหรือไม่ และข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่คู่ความรับกันแล้วว่า โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีโดยชอบแล้ว
จำเลยที่ 4 และที่ 6 ให้การยอมรับว่าลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินจริง เพียงแต่อ้างว่าไม่มีมูลหนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนกับจำเลยที่ 4 และที่ 6 ทำสัญญากู้ยืมเงินฉบับดังกล่าวกันจริงหรือไม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่าสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์มีผลบังคับได้ตามกฎหมายและผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะตัวการ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้ฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ กรณีจึงไม่จำต้องใช้สัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานหลักฐานและไม่ต้องพิจารณาปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ว่า สัญญากู้ยืมเงิน ไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์จะรับฟังได้หรือไม่อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุด: การจัดหาที่จอดรถตามสัญญา และผลของการยอมรับแก้ไขฟ้อง
โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลทรัพย์สินส่วนกลางของอาคารชุดย่อมมีอำนาจกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ตามมติของเจ้าของร่วมดังบัญญัติใน มาตรา 33 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมมีมติให้โจทก์ที่ 1 ฟ้องจำเลยกรณีส่งมอบพื้นที่จอดรถไม่เป็นไปตามสัญญา โจทก์ที่ 1 ย่อมใช้สิทธิของเจ้าของร่วมฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องสิทธิในพื้นที่จอดรถเป็นทรัพย์ส่วนกลางเพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วมทั้งหมดได้ตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้อง ส่วนโจทก์ที่ 5 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 15 และที่ 28 ซึ่งเป็นผู้รับโอนโดยซื้อต่อจากผู้ซื้อเดิมนั้น ได้ความตามสัญญาจะซื้อจะขายว่า ผู้จะซื้อจะต้องจัดให้ผู้รับโอนรับโอนไปซึ่งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดตามสัญญานี้ อันแสดงว่าจำเลยยินยอมให้ผู้จะซื้อโอนสิทธิตามสัญญาต่อไปได้ โดยจำเลยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับโอนต้องถูกผูกพันรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาที่ผู้จะซื้อเดิมทำไว้กับจำเลย เมื่อโจทก์ดังกล่าวรับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายไปจากผู้จะซื้อเดิมจึงย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจะซื้อจะขายดังเช่นที่ผู้จะซื้อเดิมมีอยู่กับจำเลยโดยผลของสัญญา
ตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเก้ากล่าวอ้างข้อตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายว่า จำเลยกำหนดให้มีที่จอดรถรวมที่จอดรถแบบซ้อนคันประมาณ 391 คัน ซึ่งจำเลยให้การรับในข้อนี้ ข้อสัญญาจัดให้มีที่จอดรถรวมที่จอดรถแบบซ้อนคันจึงเป็นเงื่อนไขที่จำเลยกำหนดขึ้นเพื่อเสนอให้มีที่จอดรถบริการแก่ผู้บริโภคและจูงใจให้ผู้บริโภคเข้าทำสัญญา เมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเก้าอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาข้อนี้ก็ย่อมใช้สิทธิฟ้องคดีให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ ส่วนการบังคับตามฟ้องของโจทก์ทั้งสามสิบเก้าจะเป็นไปได้หรือไม่ หรือฝ่าฝืนต่อกฎหมายอย่างไรเป็นเรื่องศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษา การฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสามสิบเก้าหาได้ขัดกับข้อเท็จจริงและเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตดังจำเลยฎีกาไม่
โจทก์ทั้งสามสิบเก้าฟ้องอ้างว่าสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า โครงการมีพื้นที่จอดรถทั้งแบบช่องจอดรวมแบบจอดซ้อนคันประมาณ 391 คัน ต่อมาจำเลยก่อสร้างอาคารชุดมีที่จอดรถเพียง 284 ช่องจอด และไม่สามารถจอดแบบซ้อนคันได้ทำให้ที่จอดรถขาดหายไป 107 คัน จำเลยให้การว่า ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ระบุไว้เป็นการประมาณพื้นที่จอดรถยนต์และขาดไปเพียง 12 คัน เพราะต้องกันพื้นที่ไปทำบันไดและห้องน้ำตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามคำฟ้องและคำให้การจึงมีประเด็นโต้เถียงกันว่า จำเลยก่อสร้างอาคารชุดพิพาทมีที่จอดรถขาดจำนวนไปจากสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่เพียงใด ความปรากฏว่าระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความแถลงรับกันว่าโจทก์ทั้งสามสิบเก้าสามารถยอมรับให้จอดรถซ้อนคันพอที่จะให้เดินรถได้สะดวกที่จอดรถขาดไปเพียง 74 คัน คดีจึงไม่มีประเด็นโต้เถียงกันอีกต่อไปว่าที่จอดรถขาดจำนวนไปเพียงใด เพราะถือว่าโจทก์ทั้งสามสิบเก้าและจำเลยต่างยอมรับข้อเท็จจริงแล้วว่าที่จอดรถขาดจำนวนไป 74 คัน โจทก์ทั้งสามสิบเก้าและจำเลยจึงไม่จำต้องนำสืบข้อเท็จจริงนั้นอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 ที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยพยานหลักฐานแล้วฟังว่าจำเลยจัดที่จอดรถขาดจำนวนไป 49 คัน จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 โจทก์ทั้งสามสิบเก้าโต้แย้งว่าคำรับของคู่ความดังกล่าวขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นทำนองกล่าวอ้างว่าคำรับดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสามสิบเก้า นั้น เห็นว่า การที่จำเลยกับโจทก์ทั้งสามสิบเก้าตกลงกันจัดให้มีที่จอดรถซ้อนคันแตกต่างไปจากข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเป็นเรื่องระหว่างผู้ก่อสร้างอาคารกับผู้ใช้อาคารตามปกติวิสัยของการใช้อาคารทั่วไป ข้อตกลงเช่นนี้ย่อมบังคับในระหว่างกันเองได้ ในส่วนที่ฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนั้น เป็นเรื่องเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะว่ากล่าวเอาผิดแก่ผู้ฝ่าฝืนเป็นกรณีต่างหาก ทั้งโจทก์ทั้งสามสิบเก้าเป็นฝ่ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยจัดที่จอดรถซ้อนคันตามสัญญา ภายหลังการแถลงรับต่อศาลชั้นต้นแล้วโจทก์ทั้งสามสิบเก้าก็ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องลดจำนวนที่จอดรถซ้อนคันที่ขอบังคับจำเลยจาก 107 คัน เหลือเพียง 74 คัน ซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ฟ้องได้ โจทก์ทั้งสามสิบเก้าจึงจะกลับยกความข้อนี้อ้างว่าไม่มีผลผูกพันตนไม่ได้
ตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเก้ากล่าวอ้างข้อตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายว่า จำเลยกำหนดให้มีที่จอดรถรวมที่จอดรถแบบซ้อนคันประมาณ 391 คัน ซึ่งจำเลยให้การรับในข้อนี้ ข้อสัญญาจัดให้มีที่จอดรถรวมที่จอดรถแบบซ้อนคันจึงเป็นเงื่อนไขที่จำเลยกำหนดขึ้นเพื่อเสนอให้มีที่จอดรถบริการแก่ผู้บริโภคและจูงใจให้ผู้บริโภคเข้าทำสัญญา เมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเก้าอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาข้อนี้ก็ย่อมใช้สิทธิฟ้องคดีให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ ส่วนการบังคับตามฟ้องของโจทก์ทั้งสามสิบเก้าจะเป็นไปได้หรือไม่ หรือฝ่าฝืนต่อกฎหมายอย่างไรเป็นเรื่องศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษา การฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสามสิบเก้าหาได้ขัดกับข้อเท็จจริงและเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตดังจำเลยฎีกาไม่
โจทก์ทั้งสามสิบเก้าฟ้องอ้างว่าสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า โครงการมีพื้นที่จอดรถทั้งแบบช่องจอดรวมแบบจอดซ้อนคันประมาณ 391 คัน ต่อมาจำเลยก่อสร้างอาคารชุดมีที่จอดรถเพียง 284 ช่องจอด และไม่สามารถจอดแบบซ้อนคันได้ทำให้ที่จอดรถขาดหายไป 107 คัน จำเลยให้การว่า ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ระบุไว้เป็นการประมาณพื้นที่จอดรถยนต์และขาดไปเพียง 12 คัน เพราะต้องกันพื้นที่ไปทำบันไดและห้องน้ำตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามคำฟ้องและคำให้การจึงมีประเด็นโต้เถียงกันว่า จำเลยก่อสร้างอาคารชุดพิพาทมีที่จอดรถขาดจำนวนไปจากสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่เพียงใด ความปรากฏว่าระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความแถลงรับกันว่าโจทก์ทั้งสามสิบเก้าสามารถยอมรับให้จอดรถซ้อนคันพอที่จะให้เดินรถได้สะดวกที่จอดรถขาดไปเพียง 74 คัน คดีจึงไม่มีประเด็นโต้เถียงกันอีกต่อไปว่าที่จอดรถขาดจำนวนไปเพียงใด เพราะถือว่าโจทก์ทั้งสามสิบเก้าและจำเลยต่างยอมรับข้อเท็จจริงแล้วว่าที่จอดรถขาดจำนวนไป 74 คัน โจทก์ทั้งสามสิบเก้าและจำเลยจึงไม่จำต้องนำสืบข้อเท็จจริงนั้นอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 ที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยพยานหลักฐานแล้วฟังว่าจำเลยจัดที่จอดรถขาดจำนวนไป 49 คัน จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 โจทก์ทั้งสามสิบเก้าโต้แย้งว่าคำรับของคู่ความดังกล่าวขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นทำนองกล่าวอ้างว่าคำรับดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสามสิบเก้า นั้น เห็นว่า การที่จำเลยกับโจทก์ทั้งสามสิบเก้าตกลงกันจัดให้มีที่จอดรถซ้อนคันแตกต่างไปจากข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเป็นเรื่องระหว่างผู้ก่อสร้างอาคารกับผู้ใช้อาคารตามปกติวิสัยของการใช้อาคารทั่วไป ข้อตกลงเช่นนี้ย่อมบังคับในระหว่างกันเองได้ ในส่วนที่ฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนั้น เป็นเรื่องเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะว่ากล่าวเอาผิดแก่ผู้ฝ่าฝืนเป็นกรณีต่างหาก ทั้งโจทก์ทั้งสามสิบเก้าเป็นฝ่ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยจัดที่จอดรถซ้อนคันตามสัญญา ภายหลังการแถลงรับต่อศาลชั้นต้นแล้วโจทก์ทั้งสามสิบเก้าก็ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องลดจำนวนที่จอดรถซ้อนคันที่ขอบังคับจำเลยจาก 107 คัน เหลือเพียง 74 คัน ซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ฟ้องได้ โจทก์ทั้งสามสิบเก้าจึงจะกลับยกความข้อนี้อ้างว่าไม่มีผลผูกพันตนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5112/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดร่วมกันของนายจ้างในความผิดของลูกจ้างที่กระทำในทางการจ้าง และการรับข้อเท็จจริงของจำเลย
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง บัญญัติว่า "ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น" แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวตกแก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อตามคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การรับว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และไม่ได้ให้การปฏิเสธในข้อที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างนั้นแล้ว และไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวซึ่งถือว่าคู่ความรับกันแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10157/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่า: การให้อภัยคู่กรณีเป็นเหตุให้สิทธิฟ้องหย่าสิ้นสุดลงได้ แม้ไม่มีการระบุชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดือนพฤษภาคม 2557 จำเลยทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่าโจทก์มีพฤติกรรมในทางชู้สาวกับหญิงอื่น ต่อมาเดือนสิงหาคม 2557 จำเลยถอนเรื่องร้องเรียนดังกล่าว แล้วโจทก์ยอมกลับมาอยู่กับจำเลยที่บ้าน จึงเห็นได้ว่า ตามคำฟ้องของโจทก์มีการบรรยายระบุถึงพฤติการณ์ที่แสดงถึงการให้อภัยจำเลยโดยยอมกลับมาอยู่กับจำเลยภายหลังเกิดเหตุการณ์ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกันแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3) อีกทั้งจำเลยได้ยื่นถอนเรื่องร้องเรียนความประพฤติด้านชู้สาวของโจทก์ต่อผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ว่า จำเลยตกลงใจถอนเรื่องร้องเรียนโดยมีเงื่อนไข 3 ประการ คือให้โจทก์กลับเข้าบ้านและปฏิบัติตนเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดีดูแลบุตรภริยาตามเดิม ให้โจทก์ปฏิบัติตนในทางที่ดี ไม่ให้เป็นที่ดูถูก ดูหมิ่นเหยียดหยาม ซุบซิบนินทาของบุคคลทั่วไปในสังคมและให้โจทก์ให้เกียรติยกย่องบุคคลในครอบครัวอันได้แก่ บุตร ภริยา ตามกาลเทศะที่เหมาะสม โดยโจทก์ก็ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงว่าโจทก์จะกลับเข้าพักในบ้านเดิมกับครอบครัวซึ่งมีบุตรและภริยาเช่นเดิม แม้ข้อตกลงจะไม่ได้ระบุว่าโจทก์ให้อภัยการกระทำของจำเลย แต่พฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกโดยกลับมาอยู่บ้านเดิมกับครอบครัวซึ่งมีบุตรและภริยาเช่นเดิมเพื่ออยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยต่อไปภายหลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นการแสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยต่อการกระทำของจำเลยที่ส่งข้อความหมิ่นประมาทบิดาของโจทก์ สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์ในเรื่องนี้จึงหมดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี: การที่จำเลยไม่ปฏิเสธการมอบอำนาจถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องชอบด้วยกฎหมาย แม้หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจให้ พ. ดำเนินคดีแทน แต่จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์มิได้มอบอำนาจดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานอีกว่าถูกต้องหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังยุติได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินที่ซื้อก่อนสมรสใหม่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า เดิมผู้ร้องเคยสมรสกับจำเลยที่ 3 ต่อมาเมื่อปี 2535 ผู้ร้องหย่ากับจำเลยที่ 3 และได้ตกลงสัญญาในการหย่าให้ที่ดินพิพาทตกแก่ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาโดยจำเลยที่ 3 ไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้อง โจทก์ให้การต่อสู้คดี โดยมิได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของผู้ร้อง ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 ว่าให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบมาตรา 84 (3) เช่นนี้ เมื่อผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนสมรสกันในปี 2527 ต่อมาปี 2534 ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทแม้จะใส่ชื่อผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเพียงคนเดียวก็ตาม ที่ดินพิพาทก็เป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (2) ซึ่งเมื่อทั้งสองจดทะเบียนหย่ากันและทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 ว่าให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเพียงคนเดียวอยู่แล้ว แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้องนับแต่เวลาจดทะเบียนหย่า และเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสกับจำเลยที่ 3 ใหม่ ในปี 2549 จึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 โจทก์จึงยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ไม่ได้ ผู้ร้องมีสิทธิขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3604/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้คู่สัญญาจะโอนสิทธิให้ผู้อื่น การซื้อขายที่ดินโดยรู้เงื่อนไขเป็นเหตุเพิกถอนได้
โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสองมิได้ให้การโต้แย้งถึงความมีอยู่หรือความสมบูรณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว กรณีต้องถือว่าจำเลยทั้งสองรับแล้วว่า จำเลยที่ 1 กับโจทก์ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3) ดังนั้น กรณีจึงถือว่าสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญา และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 นั่นคือ การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ด้วยเหตุนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เข้าผูกพันตนตามสัญญากับโจทก์ยอมยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้เป็นของบุตรทั้งสองเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว โดยจำเลยที่ 1 จะไม่โอนขายบ้านและที่ดินดังกล่าวเด็ดขาด แม้ว่าสัญญาดังกล่าวจะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือ บุตรทั้งสอง และบุคคลภายนอกตามที่ระบุไว้ในสัญญายังมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะยังไม่บรรลุนิติภาวะตามเงื่อนไขในสัญญาก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ยังคงต้องผูกพันตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จะย้อนมาอ้างสิทธิว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสหรือไม่อย่างไรไม่ได้ เพราะสิทธิของจำเลยที่ 1 ตามที่มีอยู่เดิมเหนือที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวได้ระงับสิ้นไปแล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้แต่สิทธิและพันธะหน้าที่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3604/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนสัญญาซื้อขายเนื่องจากฉ้อฉลและขัดต่อสัญญาสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสองมิได้ให้การโต้แย้งถึงความมีอยู่หรือความสมบูรณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว กรณีต้องถือว่าจำเลยทั้งสองรับแล้วว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3) ดังนั้น กรณีจึงถือว่าสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาและผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 นั่นคือ การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ด้วยเหตุนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เข้าผูกพันตนตามสัญญากับโจทก์ยอมยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้เป็นของบุตรทั้งสองเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว โดยจำเลยที่ 1 จะไม่โอนขายบ้านและที่ดินดังกล่าวเด็ดขาดแม้ว่าสัญญาดังกล่าวจะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือ บุตรทั้งสอง และบุคคลภายนอกตามที่ระบุไว้ในสัญญายังมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะยังไม่ได้บรรลุนิติภาวะตามเงื่อนไขในสัญญาก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ยังคงต้องผูกพันตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจะย้อนมาอ้างสิทธิว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสหรือไม่อย่างไรไม่ได้ เพราะสิทธิของจำเลยที่ 1 ตามที่มีอยู่เดิมเหนือที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวได้ระงับสิ้นไปแล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้แต่สิทธิและพันธะหน้าที่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12715/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดหรือไม่ขึ้นอยู่กับการยอมรับข้อเท็จจริงของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177
คำให้การจำเลยทั้งสิบมิได้ปฏิเสธข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างว่าผู้กู้ได้ชำระหนี้บางส่วนให้โจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง จึงไม่มีประเด็นโต้เถียงว่า ผู้กู้ได้ชำระหนี้บางส่วนตามคำฟ้องหรือไม่ เพราะถือว่าจำเลยทั้งสิบยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว โจทก์ไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3) ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์แล้วฟังว่า ผู้กู้ไม่ได้ชำระหนี้บางส่วนให้โจทก์ อายุความจึงไม่สะดุดหยุดลง คดีโจทก์ขาดอายุความ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง