คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1542

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7069/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร: ผู้มีส่วนได้เสียต้องฟ้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้บิดาเสียชีวิตไปแล้ว
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีมีสิทธิโต้แย้งว่า เด็กมิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของตนได้ แต่ต้องกระทำภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตาม ป.พ.พ. 1542 แต่บทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้สงวนไว้ใช้เฉพาะชายผู้ถูกอ้างว่าเป็นบิดาเด็กเท่านั้น เมื่อ ด. ผู้ถูกอ้างว่าเป็นบิดาของจำเลยถึงแก่ความตายไปก่อนที่มีการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร ป.พ.พ. 1545 ได้เปิดช่องให้ผู้มีส่วนได้เสียฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรได้ อันได้แก่ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็ก หรือผู้ที่จะเสียสิทธิรับมรดกเพราะการเกิดของเด็ก เมื่อโจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร แต่ทั้งนี้ก็มีกำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา 1544 (1) คือ ในกรณีที่ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีตายก่อนพ้นระยะเวลาที่ชายผู้เป็นสามีจะพึงฟ้อง ซึ่งมาตรา 1542 กำหนดระยะเวลาไว้ว่า ชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการเกิดของเด็ก แต่ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันเกิดของเด็ก ดังนั้นเมื่อ ด. เป็นผู้ไปแจ้งเกิดว่า จำเลยเกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2512 เท่ากับอย่างน้อย ด. ต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับแต่วันเกิดของจำเลย คืออย่างช้าในวันที่ 30 เมษายน 2522 การที่ ด. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2544 ด. จึงไม่ได้ตายก่อนพ้นระยะเวลาที่จะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตามเงื่อนไขแห่งมาตรา 1544 (1) เมื่อ ด. ซึ่งเป็นบิดายังไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ด. แม้เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายก็ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยมิใช่บุตรของ ด. เช่นกัน ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ เพราะปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตโมฆียะจากเจตนาทุจริตของผู้เอาประกัน และการนำสืบพยานเอกสาร
ต้นฉบับเอกสารเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยของคนไข้ซึ่งแพทย์โรงพยาบาลบันทึกไว้หาไม่พบ จำเลยย่อมนำสืบข้อเท็จจริงโดยอาศัยภาพถ่ายอันเป็นสำเนาเอกสารนั้นแทนต้นฉบับได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) และมาตรา 123
ผู้เอาประกันชีวิตรู้ตัวดีว่าตนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและปัสสาวะเป็นเลือดก่อนขอเข้าทำสัญญาประกันชีวิต แต่ก็ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงให้บริษัทประกันชีวิตทราบ สัญญาประกันชีวิตย่อมตกเป็นโมฆียะ
ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยโดยระบุให้ผู้เยาว์คนหนึ่งเป็นผู้รับประโยชน์เมื่อปรากฏว่า สัญญาประกันชีวิตรายนี้เป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865และบริษัทจำเลยได้บอกล้างไปยังผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์นั้นแล้ว สัญญานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะสัญญาประกันชีวิตจากเจ็บป่วยซ่อนเร้น และการรับฟังสำเนาเอกสารทางการแพทย์
ต้นฉบับเอกสารเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยของคนไข้ซึ่งแพทย์โรงพยาบาลบันทึกไว้หาไม่พบ จำเลยย่อมนำสืบข้อเท็จจริงโดยอาศัยภาพถ่ายอันเป็นสำเนาเอกสารนั้นแทนต้นฉบับได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) และมาตรา 123
ผู้เอาประกันชีวิตรู้ตัวดีว่าตนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและปัสสาวะเป็นเลือดก่อนขอเข้าทำสัญญาประกันชีวิต แต่ก็ ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงให้บริษัทประกันชีวิตทราบ สัญญาประกันชีวิตย่อมตกเป็นโมฆียะ
ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยโดยระบุให้ผู้เยาว์คนหนึ่งเป็นผู้รับประโยชน์เมื่อปรากฏว่า สัญญาประกันชีวิตรายนี้เป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865และบริษัทจำเลยได้บอกล้างไปยังผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์นั้นแล้ว สัญญานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ผูกมัดให้ผู้เยาว์ต้องขายที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ
ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาอื่นซึ่งผูกมัดให้จำต้องขายที่ดินของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลไม่ได้