คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1545

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7069/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร: ผู้มีส่วนได้เสียต้องฟ้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้บิดาเสียชีวิตไปแล้ว
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีมีสิทธิโต้แย้งว่า เด็กมิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของตนได้ แต่ต้องกระทำภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตาม ป.พ.พ. 1542 แต่บทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้สงวนไว้ใช้เฉพาะชายผู้ถูกอ้างว่าเป็นบิดาเด็กเท่านั้น เมื่อ ด. ผู้ถูกอ้างว่าเป็นบิดาของจำเลยถึงแก่ความตายไปก่อนที่มีการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร ป.พ.พ. 1545 ได้เปิดช่องให้ผู้มีส่วนได้เสียฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรได้ อันได้แก่ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็ก หรือผู้ที่จะเสียสิทธิรับมรดกเพราะการเกิดของเด็ก เมื่อโจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร แต่ทั้งนี้ก็มีกำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา 1544 (1) คือ ในกรณีที่ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีตายก่อนพ้นระยะเวลาที่ชายผู้เป็นสามีจะพึงฟ้อง ซึ่งมาตรา 1542 กำหนดระยะเวลาไว้ว่า ชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการเกิดของเด็ก แต่ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันเกิดของเด็ก ดังนั้นเมื่อ ด. เป็นผู้ไปแจ้งเกิดว่า จำเลยเกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2512 เท่ากับอย่างน้อย ด. ต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับแต่วันเกิดของจำเลย คืออย่างช้าในวันที่ 30 เมษายน 2522 การที่ ด. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2544 ด. จึงไม่ได้ตายก่อนพ้นระยะเวลาที่จะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตามเงื่อนไขแห่งมาตรา 1544 (1) เมื่อ ด. ซึ่งเป็นบิดายังไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ด. แม้เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายก็ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยมิใช่บุตรของ ด. เช่นกัน ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ เพราะปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองและการใช้จ่ายเงินบุตรผู้เยาว์: บิดาใช้อำนาจปกครอง เงินบุตรต้องใช้เพื่อประโยชน์บุตร
บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาแต่อำนาจปกครองโดยแท้จริงคงอยู่ที่บิดา บิดาจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและผู้ใช้อำนาจปกครองเท่านั้นที่มีสิทธิเอาเงินของบุตรมาใช้ได้ตามสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1545 มารดาหามีสิทธิไม่
บิดาเปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารให้บุตรผู้เยาว์ โดยมอบหมายให้มารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนเงินจากธนาคารมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตร แล้วบิดามารดาต่างได้นำเงินเข้าฝากในบัญชีดังกล่าวระคนปนกับเงินได้ของบุตร โดยมีเจตนายกเงินที่นำเข้าฝากนั้นให้แก่บุตรดังนี้ เงินในบัญชีเงินฝากจึงเป็นของบุตรทั้งสิ้น หาใช่เป็นเงินที่บิดามารดาฝากไว้เป็นของตนเอง โดยฝากไว้ในนามของบุตรทำนองลงชื่อบุตรเป็นนามแฝงไม่ แม้จะมีข้อตกลงกับธนาคารว่าผู้ใดจะเป็นผู้ลงชื่อถอนเงินจากธนาคารได้นั้น ก็เป็นเรื่องระเบียบและวิธีการตามธรรมดาของธนาคารซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1545 และ 1546 ก็บัญญัติให้อำนาจและวิธีการแก่ผู้ใช้อำนาจปกครองที่จะนำเงินของบุตรไปใช้จ่ายได้ ย่อมจำเป็นที่จะต้องระบุชื่อผู้มีอำนาจหน้าที่ในการถอนเงินของบุตรจากธนาคารไว้ด้วย มิฉะนั้นจะเกิดความยุ่งยากในกรณีที่จะต้องนำเงินมาใช้จ่ายตามอำนาจ ที่บิดามอบหมายให้มารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนเงินจากธนาคารมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรจึงเป็นเรื่องการมอบหมายให้มารดาทำหน้าที่แทนบิดาตามธรรมดานั่นเองมารดาหามีสิทธิถอนเงินของบุตรไปใช้สอยส่วนตัวไม่
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอุทลุมในนามของตนเองแทนเด็กตามอำนาจและหน้าที่ในกฎหมาย โดยไม่มีการแต่งตั้งทนายศาลไม่สั่งให้ค่าทนายความ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2516 แต่ไม่ลงมติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองและการใช้เงินของบุตรผู้เยาว์: สิทธิของบิดามารดาและเจตนายกเงิน
บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาแต่อำนาจปกครองโดยแท้จริงคงอยู่ที่บิดา บิดาจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและผู้ใช้อำนาจปกครองเท่านั้นที่มีสิทธิเอาเงินของบุตรมาใช้ได้ตามสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1545 มารดาหามีสิทธิไม่
บิดาเปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารให้บุตรผู้เยาว์ โดยมอบหมายให้มารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนเงินจากธนาคารมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตร แล้วบิดามารดาต่างได้นำเงินเข้าฝากในบัญชีดังกล่าวระคนปนกับเงินได้ของบุตร โดยมีเจตนายกเงินที่นำเข้าฝากนั้นให้แก่บุตรดังนี้ เงินในบัญชีเงินฝากจึงเป็นของบุตรทั้งสิ้น หาใช่เป็นเงินที่บิดามารดาฝากไว้เป็นของตนเอง โดยฝากไว้ในนามของบุตรทำนองลงชื่อบุตรเป็นนามแฝงไม่ แม้จะมีข้อตกลงกับธนาคารว่าผู้ใดจะเป็นผู้ลงชื่อถอนเงินจากธนาคารได้นั้น ก็เป็นเรื่องระเบียบและวิธีการตามธรรมดาของธนาคารซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1545 และ 1546 ก็บัญญัติให้อำนาจและวิธีการแก่ผู้ใช้อำนาจปกครองที่จะนำเงินของบุตรไปใช้จ่ายได้ ย่อมจำเป็นที่จะต้องระบุชื่อผู้มีอำนาจหน้าที่ในการถอนเงินของบุตรจากธนาคารไว้ด้วย มิฉะนั้นจะเกิดความยุ่งยากในกรณีที่จะต้องนำเงินมาใช้จ่ายตามอำนาจ ที่บิดามอบหมายให้มารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนเงินจากธนาคารมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรจึงเป็นเรื่องการมอบหมายให้มารดาทำหน้าที่แทนบิดาตามธรรมดานั่นเองมารดาหามีสิทธิถอนเงินของบุตรไปใช้สอยส่วนตัวไม่
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอุทลุมในนามของตนเองแทนเด็กตามอำนาจและหน้าที่ในกฎหมาย โดยไม่มีการแต่งตั้งทนาย ศาลไม่สั่งให้ค่าทนายความ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2516 แต่ไม่ลงมติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้เยาว์: การซื้อที่ดินให้โดยมารดา
มารดาซื้อที่ดินให้แก่ผู้เยาว์ หาใช่เพียงลงชื่อผู้เยาว์ไว้ในฐานะเป็นตัวแทนมารดาไม่ที่ดินที่ซื้อจึงย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เยาว์ ฉะนั้นเจ้าหนี้ของมารดาตามคำพิพากษาจะยึดเอาที่ดินของผู้เยาว์ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 วรรคท้ายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินซื้อให้ผู้เยาว์: เจ้าหนี้บังคับยึดไม่ได้
มารดาซื้อที่ดินให้แก่ผู้เยาว์ หาใช่เพียงลงชื่อผู้เยาว์ไว้ในฐานะเป็นตัวแทนมารดาไม่ ที่ดินที่ซื้อจึงย่อมเป็นกรรมสิทธิของผู้เยาว์ ฉะนั้นเจ้าหนี้ของมารดาตามคำพิพากษาจะยึดเอาที่ดินของผู้เยาว์ดังกล่าวตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 282 วรรท้าย ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอครอบครองทรัพย์สินและแบ่งมรดก: คำขอไม่ชัดเจนและจำเลยมีสิทธิในกองมรดก
โจทก์เป็นภรรยาผู้ตาย ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบุตรขอให้ (1) ส่งทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดให้โจทก์มีสิทธิยึดถือครอบครองแต่ผู้เดียว หรือว่า (2) ให้แบ่งปันทรัพย์ซึ่งโจทก์มีส่วนได้รับ 2,206 บาท ดังนี้ ศาลบังคับให้ตามฟ้องโจทก์ไม่ได้ เพราะคำขอข้อ 1 ไม่ใช่เรื่องขอเข้าจัดการมรดกตามกฎหมาย เป็นการขอเข้าครอบครองเฉยๆ ซึ่งจำเลยเป็นทายาทมีส่วนได้ในกองมรดกอยู่ด้วย จึงทำไม่ได้ คำขอข้อ 2 โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องเป็นเรื่องขอแบ่งสมรสและแบ่งมรดก จำเลยไม่มีโอกาสต่อสู้ในเรื่องสินเดิมของผู้ตาย ไม่มีทางจะแบ่งให้ในคดีนี้ได้