คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 ม. 11 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7574/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขาดคุณสมบัติจากคำพิพากษาถึงที่สุด แม้เป็นโทษจำคุกรอการลงโทษ
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การกำหนดคุณสมบัติของพนักงานและเหตุที่พนักงานจะต้องพ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 มาตรา 9 (5) ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจและพนักงานทุกคนตามวันที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนด กฎหมายดังกล่าวมิใช่เป็นบทกฎหมายกำหนดความผิดที่มีโทษในทางอาญาที่จะต้องใช้ขณะกระทำความผิดและต้องห้ามมิให้ใช้บังคับย้อนหลังไปก่อนการกระทำความผิด
เมื่อมาตรา 9 (5) ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับในวันที่ 6 กันยายน 2550 โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยจึงต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าว คือ ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษหรือพ้นระยะเวลาการรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษแล้วแต่กรณีเกิน 5 ปี เมื่อโจทก์กระทำความผิดกฎหมายอาญา และคดีถึงที่สุดในวันที่ 26 สิงหาคม 2554 ให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี โจทก์จึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามในการเป็นพนักงานตามมาตรา 9 (5) ที่แก้ไขเพิ่มเติม อันเป็นเหตุให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งพนักงานตามมาตรา 11 (3) จำเลยยกเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ได้ คำสั่งเลิกจ้างของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4415-4419/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ขาดคุณสมบัติอายุ เกิน 60 ปี ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 วรรคแรก เป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าเกี่ยวกับระยะเวลาการจ้าง ส่วนการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9(2)เป็นบทกฎหมายที่กำหนดคุณสมบัติไว้โดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้าง โจทก์มีอายุเกินหกสิบปีขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ มาตรา 9(2) และต้องถูกบังคับให้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 11(3) โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุที่ขาดคุณสมบัติตามกฎหมายดังกล่าวมิใช่ถูกจำเลยเลิกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 จำเลยจึงไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
ข้อตกลงใดที่ทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิหรือได้รับสิทธิน้อยกว่าที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของรัฐวิสาหกิจของจำเลยเนื่องจากเกษียณอายุแล้ว โจทก์ร้องขอทำงานเป็นพนักงานของจำเลยต่อไป โดยทำข้อตกลงกับกรรมการผู้จัดการของจำเลยว่าโจทก์จะทำงานต่อไปพลางก่อนเพื่อรอผลการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลย สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยจะเกิดขึ้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน ถือเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 183 วรรคแรกเมื่อคณะกรรมการบริหารของจำเลยไม่อนุมัติให้จ้างโจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไป สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่เกิดขึ้นเนื่องจากเงื่อนไขบังคับก่อนตามนิติกรรมไม่สำเร็จโจทก์จึงไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลยอีกต่อไปและไม่มีสิทธิตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534
ข้อตกลงที่จะไม่รับค่าจ้างสำหรับช่วงเวลาที่รอการอนุมัติของคณะกรรมการบริหารของจำเลยทำขึ้นก่อนที่โจทก์จะมีสิทธิตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534ไม่ถือเป็นการตัดสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมมีผลบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ไม่ใช่เหตุยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย และการคำนวณดอกเบี้ย
ตามบทบัญญัติของกฎหมายก็ดี ระเบียบของจำเลยก็ดีที่ให้พนักงานพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างเพราะมิได้กำหนดให้ผูกพันจ้างกันจนกว่าพนักงานจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ แต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติพนักงานของจำเลยเป็นการทั่วไป พนักงานของจำเลยจึงมิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายบำนาญแตกต่างกับค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ถึงหากคำนวณแล้วจะมีจำนวนมากกว่าค่าชดเชย แต่ก็มีความประสงค์ในการจ่ายและวิธีการคำนวณแตกต่างกัน จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากค่าชดเชย
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยเป็นการเกินคำขอของโจทก์ ศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ระบุมาในคำฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยเพียง 2 ปี 5 เดือนไม่ถึงวันฟ้อง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระแก่โจทก์เสร็จจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุเป็น 'การเลิกจ้าง' ต้องจ่ายค่าชดเชย โรงงานยาสูบไม่อยู่ในข้อยกเว้น
การที่ระเบียบของจำเลยกำหนดให้พนักงานพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างเพราะมิใช่เป็นการกำหนดว่าให้ผูกพันจ้างกันจนกว่าพนักงานจะมีอายุครบ60 ปีบริบูรณ์ จึงหาทำให้การจ้างนั้นเป็นการจ้างที่มีกำหนดเวลาไม่
แม้ระเบียบของจำเลยและพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ จะกำหนดไว้ว่า พนักงานที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งก็ตาม ก็หมายความถึงให้จำเลยดำเนินการให้พนักงานที่ขาดคุณสมบัติเพราะเหตุดังกล่าวออกจากงานนั่นเอง ฉะนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุจึงเป็นการเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46มีหลักการให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง และในวรรคสามยกเว้นไว้ให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน กับกรณีเลิกจ้างลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานแสดงว่ามิได้ประสงค์ให้ยกเว้นถึงการเลิกจ้างที่ลูกจ้างรู้ตัวล่วงหน้าทั่วไปทุกกรณี จึงจะถือว่าการที่ลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ลูกจ้างรู้ตัวล่วงหน้าเหมือนกับกรณีดังกล่าวและไม่อยู่ในขอบเขตแห่งเจตนารมณ์ที่จะให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยเช่นเดียวกันหาได้ไม่
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มิได้เป็นส่วนราชการของกรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งสังกัดกระทรวงการคลังจึงมิใช่ราชการส่วนกลาง หาได้รับยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ บังคับไม่ ฉะนั้น กระทรวงการคลังในฐานะเป็นนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของโรงงานยาสูบฯ ซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์ จึงต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ประกาศฯ ดังกล่าวบังคับแก่กระทรวงการคลังในฐานะเป็นราชการส่วนกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774-780/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกษียณอายุและการจ่ายค่าชดเชย: การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและกฎหมายแรงงาน
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518 ใช้สำหรับพิจารณาว่าคุณสมบัติขั้นมาตรฐานของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรบ้าง การที่รัฐวิสาหกิจให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะขาดคุณสมบัติในเรื่องอายุจะเป็นการเลิกจ้างซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้หรือไม่นั้นต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 เมื่อประกาศดังกล่าวมิได้ยกเว้นไว้เป็นพิเศษว่า การให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุไม่ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วเพียงแต่การที่รัฐซึ่งเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจทั้งหลายกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจทั้งปวงให้เป็นระเบียบเดียวกันในรูปของกฎหมายนั้น หามีผลเป็นข้อยกเว้นไปในตัวสำหรับบทนิยามของคำว่า 'การเลิกจ้าง' ตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยไม่
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46ซึ่งกำหนดหน้าที่ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยได้กำหนดบทนิยามไว้ในข้อนี้เองว่า 'การเลิกจ้าง' หมายความว่าอย่างไร ทั้งยังจำกัดลงไปด้วยว่า 'การเลิกจ้างตามข้อนี้' แสดงว่า'การเลิกจ้าง' ในข้อ 46 นี้ใช้แก่ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเท่านั้น มิได้มุ่งหมายให้นำไปใช้แก่เรื่องอื่นหรือกฎหมายอื่นดังนั้น พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 31จึงไม่ต้องพลอยแปลคำว่า 'การเลิกจ้าง' ตามคำแปลในเรื่องค่าชดเชยด้วย
การที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ (ฉบับที่ 6) แก้ไขข้อ 46ของประกาศฯ (ฉบับที่ 5) ตัดข้อความที่ให้รวมเอากรณีลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างด้วยออกไปนั้น อาจจะเป็นเพราะเห็นว่าบทนิยามคำว่า'การเลิกจ้าง' ตามที่เคยใช้อยู่ครอบคลุมถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุอยู่แล้วก็ได้เพราะมิได้ระบุยกเว้นเป็นพิเศษแต่อย่างใด จะถือว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะเปลี่ยนหลักการยังไม่ได้
แม้ระเบียบของนายจ้างได้กำหนดเป็นข้อตกลงซึ่งเมื่อลูกจ้างสมัครเข้าทำงานก็ทราบอยู่แล้วว่า เมื่อมีอายุครบ 60ปีบริบูรณ์ก็จะพ้นจากตำแหน่งไป ก็ยังถือไม่ได้ว่าได้มีการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้ว เพราะมิใช่เป็นการตกลงกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเป็นรายๆ ไปว่าจะจ้างกันเป็นระยะเวลานานเท่าใด และการจ่ายค่าชดเชยนี้ เป็นหน้าที่ซึ่งกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องปฏิบัติ และหลักเกณฑ์ในการจ่ายก็ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้นั้นนายจ้างหามีอำนาจที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชยนั้นเองให้ขัดแย้งกับประกาศฯ. อันมีสภาพบังคับเป็นกฎหมายไม่
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2นิยามคำว่า 'ค่าชดเชย' แต่เพียงว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้จะดูข้อ 46 และ47 ด้วยก็ไม่ปรากฏชัดว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องนี้เป็นเพื่อการช่วยเหลือให้ลูกจ้างมีเงินยังชีพในระหว่างหางานใหม่เนื่องจากต้องออกจากงานโดยไม่รู้ตัว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 ไม่ได้บัญญัติถึงสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและยังไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้เป็นพิเศษเกี่ยวกับอายุความในเรื่องนี้ จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 164
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จึงเป็นหนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอนแล้วโดยลูกจ้างมิพักต้องทวงถามอีก. เมื่อนายจ้างมิได้จ่ายให้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยด้วย
of 2