คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรรยา จีระเรืองรัตนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2567 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักเกณฑ์การรอการลงโทษจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) พิจารณาโทษจำคุกสุทธิก่อนบวกโทษคดีอื่น
หลักเกณฑ์การรอการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) ต้องพิจารณาโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำในคดีนั้น ๆ ว่าต้องคำพิพากษาให้จำคุกเกิน 6 เดือนหรือไม่ ซึ่งหมายถึงโทษจำคุกสุทธิก่อนบวกโทษที่รอการลงโทษในคดีอื่นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำเลยที่ 5 ให้จำคุกไม่เกิน 6 เดือน แม้ศาลคดีก่อนจะนำโทษจำคุกของจำเลยที่ 5 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอื่นมาบวกคดีละ 4 เดือน เป็นจำคุก 14 เดือน ก็ยังถือว่าอยู่ในเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกณฑ์รอการลงโทษมาตรา 56: พิจารณาโทษจำคุกสุทธิก่อนบวกโทษคดีอื่น
หลักเกณฑ์การรอการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) ต้องพิจารณาโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำในคดีนั้น ๆ ว่าต้องคำพิพากษาให้จำคุกเกิน 6 เดือนหรือไม่ ซึ่งหมายถึงโทษจำคุกสุทธิก่อนบวกโทษที่รอการลงโทษในคดีอื่นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำเลยที่ 5 ให้จำคุกไม่เกิน 6 เดือน แม้ศาลคดีก่อนจะนำโทษจำคุกของจำเลยที่ 5 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอื่นมาบวกคดีละ 4 เดือน เป็นจำคุก 14 เดือน ก็ยังถือว่าอยู่ในเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4190/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจัดให้เล่นการพนันและฝ่าฝืนข้อกำหนดชุมนุม การลงโทษกรรมเดียวและบทแก้ไข
ความผิดต่อ พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 8 เป็นการกระทำที่มีเจตนาต่างกัน กล่าวคือ การจัดให้มีการเล่นก็โดยเจตนาเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน ซึ่งเมื่อจำเลยที่ 8 จัดให้มีการเล่น จำเลยที่ 8 ก็ได้ผลประโยชน์แห่งตนแล้ว เป็นความผิดสำเร็จไปกรรมหนึ่ง และเมื่อจำเลยที่ 8 เข้าร่วมเล่นการพนันอยู่ด้วย เป็นการที่จำเลยที่ 8 มีเจตนาเข้าพนันเอาเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นกับผู้ร่วมเล่นคนอื่น จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ดังนี้ จำเลยที่ 8 จึงมีความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 แต่ไม่อาจเรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 8 ได้ทุกกระทงความผิด เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 8 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 จำเลยที่ 8 จึงมีความผิดฐานจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่และฐานร่วมกันเล่นการพนันชนไก่ เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่ให้ลงโทษจำเลยที่ 8 ฐานจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่เพียงกรรมเดียว แต่สำหรับความผิดต่อ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฐานร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกันนั้น แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกความผิดของจำเลยที่ 8 ฐานร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน กับความผิดฐานจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่มาคนละข้อต่างหากจากกันและความผิดทั้งสองฐานจะเป็นความผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายหลายกรรมต่างกัน ประกอบกับจำเลยที่ 8 ให้การรับสารภาพก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 8 ร่วมกันชุมนุมทำกิจกรรมและมั่วสุมกันในที่เกิดเหตุ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามมิให้ชุมนุมหรือมั่วสุมกันในสถานที่แออัดก็โดยมีเจตนาเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่และเข้าร่วมเล่นการพนันอยู่ด้วย ดังนั้น ความผิดฐานร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมในสถานที่แออัดกับความผิดฐานจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่ และร่วมกันเล่นการพนันชนไก่ ก็ยังคงเป็นการกระทำความผิดโดยเกิดจากเจตนาเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ 8 ในส่วนนี้จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหาใช่ความผิดหลายกรรมต่างกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4084-4085/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในคดีฟอกเงิน ยืนตามศาลอุทธรณ์
การยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของบุคคลตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายที่กำหนดทั้งความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินซึ่งมีโทษทั้งอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน โดยความผิดอาญาและโทษทางอาญามุ่งบังคับแก่บุคคลส่วนมาตรการทางแพ่งมุ่งบังคับแก่ตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะป้องปรามไม่ให้มีการกระทำความผิดมูลฐาน เพราะถึงอย่างไรทรัพย์สินที่ได้มาหรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดก็ไม่เป็นของผู้กระทำความผิด ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ใด เพื่อตัดวงจรการกระทำความผิดมิให้นำทรัพย์สินนั้นไปใช้สนับสนุนการก่ออาชญากรรมต่อไป ดังนั้น หากเพียงปรากฏว่ามีการกระทำความผิดมูลฐานเกิดขึ้น ไม่ว่าจะจับตัวผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือผู้กระทำความผิดถูกลงโทษหรือไม่ แต่มีทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกิดขึ้น และแม้เจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดและไม่ได้ถูกฟ้อง ก็สามารถดำเนินมาตรการทางแพ่งแก่ตัวทรัพย์สินนั้นได้ เพราะเป็นมาตรการส่วนแพ่งในการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3 มิใช่เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนั้น พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 49 ได้บัญญัติมาตรฐานการสั่งคดีของพนักงานอัยการที่จะพิจารณาว่าจะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่นั้น ย่อมมีเพียงการปรากฏเป็นที่เชื่อได้ว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ตามบทนิยาม "ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด" ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3 เท่านั้น โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าเจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือไม่ โดยการสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเป็นอำนาจของศาล ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 51 ศาลต้องไต่สวนพยานหลักฐานจนเชื่อว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนี้ แม้จะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 แต่หากผู้ร้องเห็นว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้ร้องก็มีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลได้
เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง มาตรา 51 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม ประกอบกันแล้ว ย่อมหมายความว่า ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดินสามารถแยกออกได้เป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50 (1) หากเป็นผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่เคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน จะต้องแสดงให้ศาลเห็นรวม 2 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง ต้องแสดงว่าตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และประการที่สอง ต้องแสดงว่าทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือตามมาตรา 50 (2) เป็นผู้รับโอนโดยสุจริตหรือมีค่าตอบแทน หรือได้มาโดยสุจริตและตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางกุศลสาธารณะ และกรณีที่ 2 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 51 วรรคสาม หากเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต ทั้งการให้คำจำกัดความ "ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด" ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงทำให้คำว่า ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นทรัพย์สินในคดีที่ศาลมีคำพิพากษาว่าเจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้กระทำความผิดและถูกลงโทษเท่านั้น เพียงแต่หากปรากฎว่ามีการกระทำความผิดมูลฐานเกิดขึ้น ไม่ว่าจะจับกุมตัวผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือผู้กระทำความผิดจะถูกลงโทษหรือไม่ แต่มีทรัพย์สินเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น หรือเป็นทรัพย์สินอื่นที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สินจากการกระทำดังกล่าวหรือเป็นดอกผลของทรัพย์สินจากการกระทำดังกล่าว ก็ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ: การสมคบเพื่อค้ามนุษย์ และความผิดต่อเนื่องในการช่วยเหลือคนต่างด้าว
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 มาตรา 5 (2) มีองค์ประกอบของความผิด คือ สมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดร้ายแรงอันเกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งมาตรา 3 บัญญัติ คำว่า "องค์กรอาชญากรรม" หมายความว่า คณะบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปรวมตัวกันช่วงระยะเวลาหนึ่งและร่วมกันกระทำการใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำความผิดร้ายแรงและเพื่อได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ทางวัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม คำว่า "องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ" หมายความว่า องค์กรอาชญากรรมที่มีการกระทำความผิดซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ความผิดที่กระทำในเขตแดนรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐ... และคำว่า "ความผิดร้ายแรง" หมายความว่า ความผิดอาญาที่กฎหมายกำหนดโทษจำคุกขั้นสูงตั้งแต่สี่ปีขึ้นไปหรือโทษที่สถานหนักกว่านั้น ซึ่งความผิดฐานร่วมกันนำหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 63 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ส่วนความผิดฐานร่วมกันซ่อนเร้นและช่วยเหลือคนต่างด้าวเพื่อให้พ้นจากการจับกุม ตามมาตรา 64 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ถือได้ว่า ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและรายละเอียดในการกระทำผิดของจำเลยครบถ้วนตามองค์ประกอบของความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติแล้ว การบรรยายฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 มาตรา 5 (2)
อนึ่ง การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และในความผิดฐานร่วมกันนำหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เป็นการกระทำความผิดที่ต่อเนื่องกันโดยมีเจตนามุ่งหมายอันเดียวกันเพื่อจะช่วยเหลือนำหรือพาคนต่างด้าวทั้งสิบเจ็ดให้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และการที่จำเลยกับพวกร่วมกันนำหรือพาคนต่างด้าวทั้งสิบเจ็ดเข้ามาในราชอาณาจักรดังกล่าว ย่อมเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวเมื่อนำหรือพาคนต่างด้าวทั้งสิบเจ็ดเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว แต่เมื่อจำเลยกับพวกรู้ว่าคนต่างด้าวดังกล่าวเข้าในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ยังร่วมกันซ่อนเร้น ช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวทั้งสิบเจ็ดนั้นพ้นจากการจับกุม จึงเป็นความผิดอีกส่วนหนึ่งซึ่งสามารถแยกการกระทำต่างหากจากกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้พื้นที่ส่วนกลางอาคารชุดเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดและมติที่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 บัญญัติมิให้นําบทบัญญัติในมาตรา 17/1 และมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่อาคารชุดซึ่งได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุดและมีห้องชุดที่ใช้เพื่อประกอบการค้าอยู่ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดังนั้น นอกจากจะต้องจดทะเบียนเป็นอาคารชุดก่อนวันที่ พ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับแล้วยังต้องมีห้องชุดที่ใช้เพื่อประกอบการค้าอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติอาคารชุดฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับด้วย เมื่อจำเลยเพิ่งนําพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุด ช. ก่อสร้างร้านกาแฟ ร้านตัดผม ร้านสปา ห้องสำนักงานบริหารโรงแรมของจำเลย ห้องเก็บของและห้องน้ำของจำเลย ภายหลังจาก พ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับแล้ว มิใช่กรณีห้องชุดที่ใช้เพื่อประกอบการค้ามีอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ มาตรา 17/1 และมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 จึงมีผลใช้บังคับแก่นิติบุคคลอาคารชุด ช. ด้วย และเมื่อข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด ช. ข้อที่ 26.18 กำหนดว่าเจ้าของร่วมหรือผู้ใช้ประโยชน์ห้องชุดจะใช้พื้นที่จอดรถเพื่อการอื่นมิได้นอกจากการใช้เพื่อจอดรถ และจะต้องจอดรถตามตำแหน่งที่จอดรถของอาคารชุดตามข้อตกลงที่ได้กำหนดไว้เท่านั้น และข้อบังคับข้อที่ 26.19 กำหนดให้คณะกรรมการหรือที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมโดยผู้จัดการมีอำนาจในการงดให้บริการสาธารณูปโภค มีอำนาจริบเงินค่าประกันใด ๆ หรือเรียกเก็บค่าเสียหาย หรือระงับยกเลิกมิให้ดำเนินการ หรือสั่งการให้รื้อถอนหรือเข้ารื้อถอนส่วนใด ๆ รวมทั้งสั่งการให้ปรับปรุงแก้ไขให้อยู่ในสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของเจ้าของร่วมนั้น อันเป็นบทบังคับมิให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพย์ส่วนกลางโดยฝ่าฝืนข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด ช. และฝ่าฝืนต่อมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 การลงมติในการประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วมครั้งที่ 1/2553 ที่อนุญาตให้จำเลยสามารถนําพื้นที่ส่วนบุคคลของจำเลยและพื้นที่ส่วนกลางไปทำประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยสร้างร้านกาแฟ ร้านตัดผม ร้านสปา ห้องสำนักงานของจำเลย ห้องเก็บของและห้องน้ำของจำเลยได้ จึงเป็นการขัดต่อข้อบังคับข้อที่ 26.18 นอกจากนั้นจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดในอาคารชุด ช. โดยมีอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดเกินกว่ากึ่งหนึ่งของอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางทั้งหมด จำเลยเพียงผู้เดียวจึงมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงทั้งหมด แต่ในการลงมติในการประชุมครั้งดังกล่าวไม่มีการลดจำนวนคะแนนเสียงของจำเลยลงมาเหลือเท่ากับคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมอื่น ๆ รวมกัน ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคสอง มติดังกล่าวจึงไม่ชอบ จำเลยไม่อาจอ้างเอาผลการลงมติดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่ตน การที่จำเลยนําเอาพื้นที่จอดรถส่วนกลางไปประกอบการค้าเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ของจำเลยโดยนิติบุคคลอาคารชุด ช. มิได้มีการจัดพื้นที่ของอาคารชุดเพื่อประกอบการค้าไว้ก่อนแล้ว จึงเป็นความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธคำสั่งพิมพ์ลายนิ้วมือโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
คำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ผู้ต้องหาพิมพ์ลายนิ้วมือนอกจากมีวัตถุประสงค์เป็นการตรวจสอบข้อมูลบุคคลเพื่อยืนยันตัวตนของผู้ต้องหา ตรวจสอบประวัติอาชญากรเพื่อประกอบการพิจารณาเงื่อนไขในการเพิ่มโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 92 และมาตรา 93 และยังกระทำเพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมพยานหลักฐานในคดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 132 (1) และถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสอบสวน อันเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวน ซึ่งรัฐย่อมมีอำนาจที่จะรวบรวมและเก็บข้อมูลของบุคคลได้ภายในขอบเขตความจำเป็น ทั้งยังสามารถนำข้อมูลจากการพิมพ์ลายนิ้วมือมาประกอบการดำเนินการในเรื่องอื่น ๆ แก่จำเลยได้ แม้คดีนี้และคดีก่อนการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดลหุโทษ ซึ่งมิอาจนำประวัติการกระทำความผิดในครั้งก่อนหรือครั้งหลังมาเพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 94 แต่การพิมพ์ลายนิ้วมือมิใช่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเพิ่มโทษเพียงประการเดียว ดังนั้น ที่จำเลยปฏิเสธไม่พิมพ์ลายนิ้วมือตามคำสั่งพนักงานสอบสวนโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 368 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนบัตรปลอม: การรู้เห็นเป็นใจ, พยานหลักฐาน, การพิสูจน์ความผิด
สภาพแห่งข้อหาคดีนี้อ้างว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยรู้ว่าเป็นธนบัตรปลอม โดยเมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว ข้อเท็จจริงเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้ว่าธนบัตรของกลางในคดีนี้เป็นธนบัตรปลอม ซึ่งจำเลยที่ 3 นำสืบปฏิเสธต่อสู้คดีว่า ธนบัตรของกลางเป็นของ อ. โดยจำเลยที่ 3 ไม่ทราบว่าเป็นธนบัตรปลอม จำเลยที่ 3 จึงไม่ได้กระทำความผิด ดังนั้น แม้หากสืบพยานจำเลยที่ 3 ปากพันตำรวจโท ม. ซึ่งเป็นหัวหน้าชุดจับกุม และ อ. เจ้าของธนบัตรปลอมของกลาง ก็ได้ความแต่เพียงว่าพันตำรวจโท ม. ร่วมวางแผนกับจำเลยที่ 3 เพื่อจับกุม อ. เจ้าของธนบัตรปลอมของกลางเท่านั้น พยานทั้งสองปากดังกล่าวยังไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าจำเลยที่ 3 มีความผิดหรือบริสุทธิ์ เนื่องจากยังมิใช่พยานสำคัญเกี่ยวกับสภาพแห่งข้อหาและข้อต่อสู้โดยตรงในความรับรู้ของจำเลยที่ 3 เกี่ยวกับธนบัตรของกลางว่าในขณะที่รับไว้นั้นจำเลยที่ 3 รู้อยู่แล้วหรือไม่ว่าเป็นธนบัตรปลอม ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจงดสืบพยานทั้งสองปากของจำเลยที่ 3 มานั้น จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 174 วรรคท้าย แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้มีส่วนได้เสียขอเป็นผู้จัดการมรดก: ทายาทโดยธรรมในทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งสอง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง หาจำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทของผู้ตายทุกกรณีไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ผู้ตายที่ 1 กับ ศ. เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2556 ผู้ตายที่ 1 ถึงแก่ความตาย ก่อนตายผู้ตายที่ 1 มีทรัพย์สินเป็นที่ดิน 2 แปลง คือที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 419 และ 420 โดยผู้ตายที่ 1 กับผู้ตายที่ 2 ทำประโยชน์และมีชื่อเป็นผู้ครอบครองร่วมกันตั้งแต่ปี 2516 โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ตายที่ 1 เป็นผู้ทำกินโดยปลูกข้าวและนำผลผลิตมาอุปการะเลี้ยงดูผู้ตายที่ 2 หากผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายก็ให้ที่ดินทั้งหมดตกเป็นสิทธิของผู้ตายที่ 1 เพียงผู้เดียว ต่อมาผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมและมิได้แต่งตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ตายที่ 1 ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสองแปลงมาโดยตลอด จนกระทั่งถึงแก่ความตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายที่ 1 ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกในที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวของผู้ตายที่ 2 เมื่อปรากฏว่าการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้องและผู้ร้องมิได้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก จึงเห็นสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี แม้ผู้พิพากษาอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษหลังลดโทษแล้วจำคุก 3 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษหลังลดโทษแล้วจำคุก 1 เดือน 15 วัน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนเช่นกัน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะใช้รถยนต์เพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ นั้น ในการวินิจฉัยฎีกาดังกล่าวศาลต้องย้อนไปรับฟังข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างให้ยุติเสียก่อน จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษมาด้วย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบ เพราะบทบัญญัติของมาตรา 219 ตรี เป็นบทห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยเด็ดขาด
of 3