พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้หลังล้มละลาย: เจตนาให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ
จำเลยเป็นหนี้ผู้คัดค้านตามสัญญาซื้อขายและรับสภาพหนี้ต่อมาจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวด้วยการออกเช็คให้ไว้ ผู้คัดค้านฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว แต่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ดังนั้น ความรับผิดตามสัญญาซื้อขายหรือการที่จำเลยชำระหนี้ด้วยการออกเช็คไว้เดิม จึงเป็นอันระงับไป กลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมแม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อตกลงให้ผู้คัดค้านไปถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาที่จำเลยได้ออกเช็คไว้ด้วยก็ตาม แต่หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็มิได้มีเฉพาะรายที่ผู้คัดค้านได้ร้องทุกข์ไว้ หากมีหนี้รายอื่นรวมอยู่ด้วย จึงเห็นได้ว่าที่จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังจากโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นการกระทำที่มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยผู้ล้มละลาย ขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: การพิจารณาช่วงเวลาและเจตนาเพื่อประโยชน์เจ้าหนี้
คำร้องของผู้ร้องได้บรรยายว่า จำเลยได้โอนขายที่ดินและตึกแถวให้แก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าว ดังนี้ เป็นคำร้องที่บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอเข้าใจได้แล้ว เพราะที่ผู้ร้องบรรยายว่า 'ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย' มีความหมายว่าวันที่มีการขอให้ล้มละลายคือวันที่โจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายนั่นเองคำร้องของผู้ร้องจึงไม่เคลือบคลุม.
คำว่า 'ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย' ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 115 หมายถึงก่อนวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย หาใช่ก่อนวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานให้ศาลทราบถึงผลการประชุมเจ้าหนี้เพื่อศาลพิพากษาให้ลูกหนี้หรือจำเลยล้มละลายตามมาตรา 61 ไม่ เมื่อจำเลยโอนทรัพย์สินเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2523 นับถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย จึงอยู่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ซึ่งอาจมีการร้องขอให้เพิกถอนการโอนนั้นได้
การซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง ทันทีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนังงานเจ้าหน้าที่ ทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้จะต้องปฏิบัติต่อกัน ผู้คัดค้านในฐานะผู้ซื้อมีหน้าที่จะต้องชำระราคาแก่จำเลยผู้ขาย และจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระคือโอนทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายนั้นแก่ผู้คัดค้าน ฉะนั้นผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ตามความหมายของพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 115
ผู้คัดค้านได้รับโอนทรัพย์สินพิพาทจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้คัดค้านจึงเป็นคู่สัญญากับลูกหนี้โดยตรงมิใช่บุคคลภายนอกตามมาตรา 116 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้โอนขายทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้าน ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย และจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่นของจำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนให้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าผู้คัดค้านได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำว่า 'ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย' ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 115 หมายถึงก่อนวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย หาใช่ก่อนวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานให้ศาลทราบถึงผลการประชุมเจ้าหนี้เพื่อศาลพิพากษาให้ลูกหนี้หรือจำเลยล้มละลายตามมาตรา 61 ไม่ เมื่อจำเลยโอนทรัพย์สินเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2523 นับถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย จึงอยู่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ซึ่งอาจมีการร้องขอให้เพิกถอนการโอนนั้นได้
การซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง ทันทีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนังงานเจ้าหน้าที่ ทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้จะต้องปฏิบัติต่อกัน ผู้คัดค้านในฐานะผู้ซื้อมีหน้าที่จะต้องชำระราคาแก่จำเลยผู้ขาย และจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระคือโอนทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายนั้นแก่ผู้คัดค้าน ฉะนั้นผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ตามความหมายของพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 115
ผู้คัดค้านได้รับโอนทรัพย์สินพิพาทจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้คัดค้านจึงเป็นคู่สัญญากับลูกหนี้โดยตรงมิใช่บุคคลภายนอกตามมาตรา 116 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้โอนขายทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้าน ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย และจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่นของจำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนให้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าผู้คัดค้านได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: ระยะเวลา 3 เดือน, เจ้าหนี้, และเจตนาให้ได้เปรียบ
คำร้องของผู้ร้องได้บรรยายว่า จำเลยได้โอนขายที่ดินและตึกแถวให้แก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าว ดังนี้ เป็นคำร้องที่บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอเข้าใจได้แล้ว เพราะที่ผู้ร้องบรรยายว่า "ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย" มีความหมายว่าวันที่มีการขอให้ล้มละลายคือวันที่โจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายนั่นเอง คำร้องของผู้ร้องจึงไม่เคลือบคลุม คำว่า "ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย" ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 115 หมายถึง ก่อนวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย หาใช่ก่อนวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานให้ศาลทราบถึงผลการประชุมเจ้าหนี้เพื่อศาลพิพากษาให้ลูกหนี้หรือจำเลยล้มละลายตาม มาตรา 61 ไม่ เมื่อจำเลยโอนทรัพย์สินเมื่อวันที่5 มีนาคม 2523 นับถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย จึงอยู่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ซึ่งอาจมีการร้องขอให้เพิกถอนการโอนนั้นได้ การซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง ทันทีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน ผู้คัดค้านในฐานะผู้ซื้อมีหน้าที่จะต้องชำระราคาแก่จำเลยผู้ขาย และจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระคือโอนทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายนั้นแก่ผู้คัดค้าน ฉะนั้นผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ตามความหมายของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 ผู้คัดค้านได้รับโอนทรัพย์สินพิพาทจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้คัดค้านจึงเป็นคู่สัญญากับลูกหนี้โดยตรง มิใช่บุคคลภายนอกตามมาตรา 116 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้โอนขายทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย และจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่นของจำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนให้โดยไม่ต้องพิจารณาว่า ผู้คัดค้านได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: ระยะเวลา 3 เดือน, เจ้าหนี้, คู่สัญญา, มุ่งหมายให้ได้เปรียบ
คำว่า 'ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย' ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 หมายถึง ก่อนวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย หาใช่ก่อนวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานให้ศาลทราบถึงผลการประชุมเจ้าหนี้เพื่อศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตามมาตรา 61 ไม่
การซื้อขายที่ดินและตึกแถวเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งทันทีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติชำระต่อกัน ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านตกลงซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทกับจำเลย ผู้คัดค้านในฐานะผู้ซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องชำระราคาแก่จำเลยผู้ขายและจำเลยก็มีหนี้ที่จะต้องชำระคือโอนทรัพย์สินที่ตกลงซื่อขายนั้นแก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 แล้ว
ผู้คัดค้านซึ่งได้รับโอนทรัพย์สินพิพาทจากจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ถือเป็นคู่สัญญากับจำเลยโดยตรง มิใช่เป็นบุคคลภายนอกตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้โอนขายทรัพย์สินพิพาทให้ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย และจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 โดยไม่ต้องพิจารณาว่า ผู้คัดค้านได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
การซื้อขายที่ดินและตึกแถวเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งทันทีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติชำระต่อกัน ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านตกลงซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทกับจำเลย ผู้คัดค้านในฐานะผู้ซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องชำระราคาแก่จำเลยผู้ขายและจำเลยก็มีหนี้ที่จะต้องชำระคือโอนทรัพย์สินที่ตกลงซื่อขายนั้นแก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 แล้ว
ผู้คัดค้านซึ่งได้รับโอนทรัพย์สินพิพาทจากจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ถือเป็นคู่สัญญากับจำเลยโดยตรง มิใช่เป็นบุคคลภายนอกตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้โอนขายทรัพย์สินพิพาทให้ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย และจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 โดยไม่ต้องพิจารณาว่า ผู้คัดค้านได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักบัญชีเงินฝากและเช็คในบัญชีเดินสะพัดช่วงก่อนล้มละลาย ไม่ถือเป็นการโอนทรัพย์สินเพื่อเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยมีบัญชีเดินสะพัดกับธนาคารผู้คัดค้านและอยู่ในระหว่างบัญชียังเดินสะพัด การที่จำเลยนำเช็คของธนาคารอื่นมาเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อให้ธนาคารผู้คัดค้านเรียกเก็บเงินให้ภายในระยะเวลา 3 เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลาย ถือได้ว่าเป็นการนำเงินตามเช็คฝากเข้าบัญชีเดินสะพัดหาใช่จำเลยมีเจตนาชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้คัดค้าน ที่ธนาคารผู้คัดค้านเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้วนำมาหักกับยอดหนี้ที่จำเลยเบิกเกินบัญชีอยู่ในขณะนั้น เป็นเพียงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชีตามปกติธรรมดาของธนาคาร กรณีมิใช่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการฝากเงินตามเช็คดังกล่าวไม่ได้
ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินฝากประจำของจำเลยไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของจำเลยภายในกำหนด 3 เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารผู้คัดค้าน การกระทำของธนาคารผู้คัดค้านดังกล่าวเกิดจากข้อตกลงตามหนังสือยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับธนาคารผู้คัดค้าน โดยทำขึ้นก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายเกือบ 9 เดือน ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวลูกหนี้ยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินในบัญชีฝากประจำมาหักหนี้เบิกเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัด เมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องมีการตัดทอนบัญชีก่อนและโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือขอความยินยอมลูกหนี้เสียก่อน การที่ธนาคารหักหนี้ดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้ (อ้างฎีกา 2483/2527)
ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินฝากประจำของจำเลยไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของจำเลยภายในกำหนด 3 เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารผู้คัดค้าน การกระทำของธนาคารผู้คัดค้านดังกล่าวเกิดจากข้อตกลงตามหนังสือยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับธนาคารผู้คัดค้าน โดยทำขึ้นก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายเกือบ 9 เดือน ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวลูกหนี้ยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินในบัญชีฝากประจำมาหักหนี้เบิกเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัด เมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องมีการตัดทอนบัญชีก่อนและโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือขอความยินยอมลูกหนี้เสียก่อน การที่ธนาคารหักหนี้ดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้ (อ้างฎีกา 2483/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักบัญชีเงินฝากและการโอนบัญชีเพื่อชำระหนี้ก่อนล้มละลาย ไม่ถือเป็นการเจตนาให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ
จำเลยมีบัญชีเดินสะพัดกับธนาคารผู้คัดค้านและอยู่ในระหว่างบัญชียังเดินสะพัดการที่จำเลยนำเช็คของธนาคารอื่นมาเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อให้ธนาคารผู้คัดค้านเรียกเก็บเงินให้ภายในระยะเวลา3เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายถือได้ว่าเป็นการนำเงินตามเช็คฝากเข้าบัญชีเดินสะพัดหาใช่จำเลยมีเจตนาชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้คัดค้านที่ธนาคารผู้คัดค้านเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้วนำมาหักกับยอดหนี้ที่จำเลยเบิกเกินบัญชีอยู่ในขณะนั้นเป็นเพียงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชีตามปกติธรรมดาของธนาคารกรณีมิใช่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา115เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการฝากเงินตามเช็คดังกล่าวไม่ได้ ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินฝากประจำของจำเลยไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของจำเลยภายในกำหนด3เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารผู้คัดค้านการกระทำของธนาคารผู้คัดค้านดังกล่าวเกิดจากข้อตกลงตามหนังสือยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับธนาคารผู้คัดค้านโดยทำขึ้นก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายเกือบ9เดือน ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวลูกหนี้ยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินในบัญชีฝากประจำมาหักหนี้เบิกเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัดเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องมีการตัดทอนบัญชีก่อนและโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือขอความยินยอมลูกหนี้เสียก่อนการที่ธนาคารหักหนี้ดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้ในระหว่างระยะเวลา3เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา115เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่2453/2527).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย ศาลไม่สามารถสั่งให้ชดใช้เงินหากเพิกถอนการจำนองแล้ว
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจำนองของลูกหนี้คู่กรณีตาม สัญญาจำนองย่อมกลับสู่ฐานะเดิม ศาลจะสั่งให้มีการ ชดใช้เงินในกรณีที่ ไม่สามารถกลับสู่ฐานะเดิมอีกไม่ได้และเป็นการสั่งที่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติของมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย ศาลไม่สามารถสั่งให้ชดใช้เงินหากกลับสู่ฐานะเดิมไม่ได้
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจำนองของลูกหนี้คู่กรณีตาม สัญญาจำนองย่อมกลับสู่ฐานะเดิมศาลจะสั่งให้มีการ ชดใช้เงินในกรณีที่ ไม่สามารถกลับสู่ฐานะเดิมอีกไม่ได้และเป็นการสั่งที่นอกเหนือไปจาก บทบัญญัติของมาตรา115แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายเมื่อเจตนาให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ
จำเลยที่ 2 มีหนี้สินจำนวนมาก เฉพาะที่มายื่น คำร้องขอรับชำระหนี้ มี 119 ราย เป็นจำนวนหนี้ถึง 262 ล้านบาท ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าตนเอง มีหนี้สินเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ แต่กลับโอนรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายหนึ่งเพื่อเป็นการชำระหนี้ภายในเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ ล้มละลาย ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้โอนทรัพย์สิน โดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามนัยของ มาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 แล้ว
การโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการ ขอให้ล้มละลายตาม มาตรา 115 ถ้าลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้โอน ทรัพย์สิน เพียงฝ่ายเดียวรู้ว่าเป็นการโอนที่ทำให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบ เจ้าหนี้อื่นก็เป็นการเพียงพอที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะร้องขอให้เพิกถอนการโอนได้แล้ว
บุคคลภายนอกแม้จะรับโอนมาโดยสุจริต และมีค่าตอบแทนแต่หากรับโอนไว้ภายหลังที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้วย่อมไม่ได้รับ ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 116
การโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการ ขอให้ล้มละลายตาม มาตรา 115 ถ้าลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้โอน ทรัพย์สิน เพียงฝ่ายเดียวรู้ว่าเป็นการโอนที่ทำให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบ เจ้าหนี้อื่นก็เป็นการเพียงพอที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะร้องขอให้เพิกถอนการโอนได้แล้ว
บุคคลภายนอกแม้จะรับโอนมาโดยสุจริต และมีค่าตอบแทนแต่หากรับโอนไว้ภายหลังที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้วย่อมไม่ได้รับ ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 116
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายเมื่อเจตนาให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ
จำเลยที่ 2 มีหนี้สินจำนวนมาก เฉพาะที่มายื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ มี119 ราย เป็นจำนวนหนี้ถึง 262 ล้าน บาท ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าตนเอง มีหนี้สินเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ แต่กลับ โอนรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายหนึ่งเพื่อเป็นการชำระหนี้ภายในเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ ล้มละลายย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้โอนทรัพย์สิน โดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามนัยของ มาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แล้ว
การโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการ ขอให้ล้มละลายตาม มาตรา 115. ถ้าลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้โอน ทรัพย์สิน เพียงฝ่ายเดียวรู้ว่าเป็นการโอนที่ทำให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบ เจ้าหนี้อื่นก็เป็นการเพียงพอที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะร้องขอให้ เพิกถอนการโอนได้แล้ว
บุคคลภายนอกแม้จะรับโอนมาโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน แต่หากรับโอนไว้ภายหลังที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้วย่อมไม่ได้รับ ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 116
การโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการ ขอให้ล้มละลายตาม มาตรา 115. ถ้าลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้โอน ทรัพย์สิน เพียงฝ่ายเดียวรู้ว่าเป็นการโอนที่ทำให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบ เจ้าหนี้อื่นก็เป็นการเพียงพอที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะร้องขอให้ เพิกถอนการโอนได้แล้ว
บุคคลภายนอกแม้จะรับโอนมาโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน แต่หากรับโอนไว้ภายหลังที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้วย่อมไม่ได้รับ ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 116