คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 115

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าก่อนล้มละลาย ไม่ถือว่าเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้
การที่เช็คลงวันที่ล่วงหน้าซึ่งลูกหนี้นำไปชำระหนี้แก่ผู้คัดค้าน ถึงกำหนดภายในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการ ขอให้ล้มละลาย คงเป็นแต่เพียงผลที่กฎหมายบัญญัติให้หนี้ ระงับไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 เท่านั้น ไม่อาจถือได้ว่า วันที่เช็คถึงกำหนดเป็นวันที่ลูกหนี้กระทำ หรือยอมให้กระทำ ในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ ล้มละลาย โดยมุ่งหมาย ให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าก่อนล้มละลาย ไม่ถือเป็นการให้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
การที่เช็คลงวันที่ล่วงหน้าซึ่งลูกหนี้นำไปชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านถึงกำหนดภายในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายคงเป็นแต่เพียงผลที่กฎหมายบัญญัติให้หนี้ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 เท่านั้นไม่อาจถือได้ว่าวันที่เช็คถึงกำหนดเป็นวันที่ลูกหนี้กระทำหรือยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกเงินเกินบัญชีและการเพิกถอนเงินฝากในคดีล้มละลาย: การกระทำโดยมิได้มุ่งประโยชน์ให้เจ้าหนี้
จำเลยมีสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีมีลักษณะเป็นการลดหนี้ลงชั่วคราวแล้วก็เบิกเงินใหม่มีจำนวนรวมกันสูงกว่าเงินที่นำเข้าบัญชีอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุดจำเลยเป็นหนี้ธนาคาร 6,000,000 บาท การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีแล้วมีการลดหนี้กันเช่นนี้ แม้จะถือว่าเป็นการชำระหนี้ ก็หาใช่เป็นการชำระหนี้ทีเดียวเสร็จสิ้นกันไปเลยไม่ หากแต่เป็นการชำระหนี้เพื่อก่อหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นอีกหลายครั้งหลายคราว การนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยจึงเป็นวิธีการเบิกเงินจากธนาคารให้ได้มากยิ่งขึ้น ยิ่งกว่าจะมุ่งหมายให้ธนาคารได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 ศาลจึงไม่เพิกถอนเงินฝากดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกเงินเกินบัญชีและการเพิกถอนเงินฝากในคดีล้มละลาย: การกระทำของผู้ล้มละลายไม่ได้มุ่งให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ
จำเลยมีสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารการที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีมีลักษณะเป็นการลดหนี้ลงชั่วคราวแล้วก็เบิกเงินใหม่มีจำนวนรวมกันสูงกว่าเงินที่นำเข้าบัญชีอยู่ตลอดเวลาจนในที่สุดจำเลยเป็นหนี้ธนาคาร6,000,000 บาทการที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีแล้วมีการลดหนี้กันเช่นนี้แม้จะถือว่าเป็นการชำระหนี้ ก็หาใช่เป็นการชำระหนี้ทีเดียวเสร็จสิ้นกันไปเลยไม่หากแต่เป็นการชำระหนี้เพื่อก่อหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นอีกหลายครั้งหลายคราวการนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยจึงเป็นวิธีการเบิกเงินจากธนาคารให้ได้มากยิ่งขึ้นยิ่งกว่าจะมุ่งหมายให้ธนาคารได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115ศาลจึงไม่เพิกถอนเงินฝากดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1474/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำสิทธิในเงินฝากเป็นประกันหนี้และการหักกลบลบหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
จำเลยทำสัญญากับธนาคารผู้คัดค้านไว้ว่า จำเลยยอมมอบเงินฝากประจำของจำเลยพร้อมด้วยใบรับฝากไว้เป็นหลักประกันหนี้ของจำเลยต่อธนาคารถ้าจำเลยผิดสัญญายอมให้ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวชำระหนี้ได้ทันที และตราบใดที่ธนาคารยังไม่ได้รับชำระหนี้ จำเลยจะไม่ถอนเงินฝาก และจะไม่กระทำการใดให้เป็นการเสื่อมสิทธิในหลักประกันหนังสือสัญญา ดังกล่าวเป็นการจำนำสิทธิตามตราสารใบรับฝากเงินประจำของจำเลย เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่มีต่อธนาคารผู้คัดค้านตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา747,750 ธนาคารผู้คัดค้าน เป็นผู้รับจำนำสิทธิตามตราสารนั้นจึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่ง มีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 95 และมาตรา 110 วรรคสาม
สิทธิซึ่งจำนำตามตราสารใบรับฝากเงินเป็นมูลหนี้ซึ่งต้องชำระเป็นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 754 วรรคสอง จำเลยได้ตกลงกับธนาคารผู้คัดค้านให้หักเงินฝากของจำเลยชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องนำไปขายทอดตลาดเพื่อบังคับจำนำธนาคารผู้คัดค้านจึงมีสิทธิ หักเงินฝากประจำของจำเลยซึ่งจำนำต่อธนาคารไว้นั้นเอาชำระหนี้ธนาคารได้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน
ธนาคารผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยอยู่ก่อนพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิหักกลบลบหนี้กับจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 102 โดยไม่จำต้องอาศัยความยินยอมของจำเลยและ สิทธิในการขอหักกลบลบหนี้ตามมาตรานี้ย่อมกระทำได้แม้จะเป็นเวลาหลังพิทักษ์ทรัพย์แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีสิทธิ ขอเพิกถอนการหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 115 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2453/2527 ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาในคดีล้มละลาย หากเกินกำหนดจะไม่มีสิทธิ
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้ก็โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าว ไว้ในกฎหมายล้มละลายเท่านั้น แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียัง อยู่ในระหว่างการพิจารณา หรือเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเว้นแต่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกิน2 เดือน ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 27 และ 91 เมื่อเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมิได้อยู่นอกราชอาณาจักร ได้ ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้เกินกำหนดเวลาตามที่กฎหมายระบุ ไว้ถึง 5 เดือนเศษ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ของ ลูกหนี้ที่ 2 ที่เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้รายนี้นำยึด ก็ เพราะปรากฏว่าโรงงานแห่งนั้นติดการจำนองโดยลูกหนี้ที่ 2 ได้เอาจำนองไว้แก่ธนาคารมาก่อนที่จะถูกยึด เมื่อ เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดโรงงานที่ว่านี้อย่าง ปลอดจำนองโดยมิได้แจ้งให้ธนาคารผู้รับจำนองทราบ ย่อม เป็นการไม่ชอบ และศาลชั้นต้นคงสั่งเพิกถอนเฉพาะการ ขายทอดตลาดโรงงานดังกล่าว แต่การยึดยังมีผลอยู่ หาถูกเพิกถอนไปแต่อย่างใดไม่ จึงถือไม่ได้ว่า เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายตามนัยบทบัญญัติมาตรา 115 ที่จะให้สิทธิแก่ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์รายวันและใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ก็ต้องผูกพัน ที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับ แต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถ้าให้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้เกินกำหนดเวลา ดังกล่าวก็เท่ากับเป็นการขยายกำหนดเวลาตามมาตรา 91 ออกไป อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้อื่น และลูกหนี้ ทั้งไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต้องเป็นไปตามกำหนดเวลา แม้ไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้ก็โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าว ไว้ในกฎหมายล้มละลายเท่านั้น แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียัง อยู่ในระหว่างการพิจารณาหรือเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเว้นแต่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกิน2 เดือน ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 27 และ 91 เมื่อเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมิได้อยู่นอกราชอาณาจักร ได้ ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้เกินกำหนดเวลาตามที่กฎหมายระบุ ไว้ถึง 5 เดือนเศษจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ของ ลูกหนี้ที่ 2 ที่เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้รายนี้นำยึด ก็ เพราะปรากฏว่าโรงงานแห่งนั้นติดการจำนองโดยลูกหนี้ที่ 2 ได้เอาจำนองไว้แก่ธนาคารมาก่อนที่จะถูกยึด เมื่อ เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดโรงงานที่ว่านี้อย่างปลอดจำนองโดยมิได้แจ้งให้ธนาคารผู้รับจำนองทราบ ย่อมเป็นการไม่ชอบ และศาลชั้นต้นคงสั่งเพิกถอนเฉพาะการ ขายทอดตลาดโรงงานดังกล่าว แต่การยึดยังมีผลอยู่ หาถูกเพิกถอนไปแต่อย่างใดไม่ จึงถือไม่ได้ว่า เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายตามนัยบทบัญญัติมาตรา 115 ที่จะให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์รายวันและใน ราชกิจจานุเบกษาแล้วเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ก็ต้องผูกพัน ที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับ แต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถ้าให้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้เกินกำหนดเวลา ดังกล่าวก็เท่ากับเป็นการขยายกำหนดเวลาตามมาตรา 91 ออกไป อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้อื่น และลูกหนี้ ทั้งไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้จากเงินฝากประจำก่อนล้มละลาย: การยินยอมของลูกหนี้และการกระทำที่ไม่เข้าข่ายการเพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ธนาคารผู้คัดค้านโอนเงินฝากประจำของลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดลูกหนี้ที่ 1 ไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของลูกหนี้ที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2522 เป็นการชำระหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารเพื่อหักหนี้ เกิดจากหนังสือค้ำประกันยินยอมการหักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างลูกหนี้ที่ 2 กับธนาคารผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2520 ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2522 ธนาคารผู้คัดค้านในฐานเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้ค้ำประกัน และเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้เงินฝากประจำที่ธนาคารรับฝากไว้ แม้ว่าจะไม่มีข้อตกลงดังกล่าว ธนาคารผู้คัดค้านก็มีสิทธิที่จะหักลบกลบหนี้ระหว่างหนี้ตามสัญญาค้ำประกันกับมูลหนี้เงินฝากประจำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 ทั้งตามมาตรา 115 ใช้คำว่าลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ มุ่งถึงกิริยาที่ยินยอม มิได้ใช้คำว่าผู้อื่นทำด้วยความยินยอมของลูกหนี้ ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2522 ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมยให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามมาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวไม่ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้และการเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย พิจารณาความยินยอมของลูกหนี้ก่อนการยื่นล้มละลาย
ธนาคารผู้คัดค้านโอนเงินฝากประจำของลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดลูกหนี้ที่ 1 ไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของลูกหนี้ที่ 1 เมื่อวันที่ 28กันยายน 2522 เป็นการชำระหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารเพื่อหักหนี้ เกิดจากหนังสือค้ำประกันยินยอมการหักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างลูกหนี้ที่ 2 กับธนาคารผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 1ธันวาคม 2520 ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2522 ธนาคารผู้คัดค้านในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้ค้ำประกันและเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้เงินฝากประจำที่ธนาคารรับฝากไว้แม้ว่าจะไม่มีข้อตกลงดังกล่าว ธนาคารผู้คัดค้านก็มีสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้ระหว่างหนี้ตามสัญญาค้ำประกันกับมูลหนี้เงินฝากประจำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 102 ทั้งตามมาตรา 115 ใช้คำว่าลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ มุ่งถึงกิริยาที่ยินยอม มิได้ใช้คำว่าผู้อื่นทำด้วยความยินยอมของลูกหนี้ ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้เมื่อวันที่ 28กันยายน 2522 ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามมาตรา 115เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวไม่ได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่8/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายเงินสดและการเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย การคืนสินค้าไม่ถือเป็นการตีใช้หนี้
ข้อตกลงซื้อสินค้ารายพิพาทเป็นการซื้อขายกันด้วยเงินสด เมื่อจำเลยในฐานะผู้ซื้อยอมรับมอบสินค้าไว้ จำเลยก็ต้องชำระราคาสินค้านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา486 การที่จำเลยไม่ชำระราคาขณะส่งมอบและยอมคืนสินค้าแก่ผู้คัดค้านไป แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะซื้อสินค้าต่อไปแล้ว ผู้คัดค้านจึงมีสิทธินำสินค้ากลับคืนได้ กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการรับเอาสินค้านั้นเป็นการตีใช้หนี้ค่าสินค้าชำระแทนไม่จึงไม่เข้าข่ายการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆซึ่งจำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใด ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นอันจะเป็นเหตุให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 115
of 18