พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินชำระหนี้จำนองหลังล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินโดยตรง
เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิจำนองเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจฟ้องร้องบังคับเกี่ยวแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นได้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ ดังนั้นการที่จำเลยโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้จำนองแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยไม่มีการเพิ่มเงิน และไม่ปรากฏว่าราคาที่ดินพิพาทท่วมหนี้จำนองเพราะจำเลยมุ่งหวังจะได้ผลประโยชน์จากการลดหนี้จำนอง จึงมิได้เป็นไปโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่น ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอน และผู้คัดค้านจะทราบถึงฐานะอันไม่สู้ดีของจำเลยหรือไม่ก็ไม่เป็นข้อสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิฟ้องคดีล้มละลาย แม้รู้อยู่ก่อนว่ามีคดีอื่นอยู่แล้ว ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดเสียหายแก่บุคคลอื่น เป็นการมิชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 นั้น หมายถึงเป็นการแกล้งโดยผู้กระทำมุ่งต่อผลคือความเสียหายแก่ผู้อื่นฝ่ายเดียว (อ้างฎีกาที่ 1618/2512)
การที่จำเลยฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายตามที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติให้สิทธิไว้ แม้จำเลยได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนแล้วก็หาใช่เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายหรือแกล้งใช้สิทธิอันมิชอบด้วยกฎหมายต่อโจทก์อย่างใดไม่การฟ้องคดีล้มละลายก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคนไม่ว่าเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดเป็นโจทก์ผลก็ไม่แตกต่างกัน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเจ้าหนี้ทุกคนต่างก็มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ตามสิทธิที่ตนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน หากโจทก์เห็นว่าการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นการกระทำไปโดยไม่สุจริตและอาจขอให้เพิกถอนได้แล้วโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 113, 114 หรือมาตรา 115 ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการให้ได้เพียงใดหรือไม่ก็ย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริง หาใช่เกี่ยวกับการที่โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดเป็นฝ่ายฟ้องคดีล้มละลายนั้นไม่
การที่จำเลยฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายตามที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติให้สิทธิไว้ แม้จำเลยได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนแล้วก็หาใช่เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายหรือแกล้งใช้สิทธิอันมิชอบด้วยกฎหมายต่อโจทก์อย่างใดไม่การฟ้องคดีล้มละลายก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคนไม่ว่าเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดเป็นโจทก์ผลก็ไม่แตกต่างกัน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเจ้าหนี้ทุกคนต่างก็มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ตามสิทธิที่ตนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน หากโจทก์เห็นว่าการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นการกระทำไปโดยไม่สุจริตและอาจขอให้เพิกถอนได้แล้วโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 113, 114 หรือมาตรา 115 ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการให้ได้เพียงใดหรือไม่ก็ย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริง หาใช่เกี่ยวกับการที่โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดเป็นฝ่ายฟ้องคดีล้มละลายนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิฟ้องล้มละลาย แม้รู้ว่ามีคดีอื่นอยู่แล้ว ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดเสียหายแก่บุคคลอื่น เป็นการมิชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 นั้น หมายถึงเป็นการแกล้งโดยผู้กระทำมุ่งต่อผล คือความเสียหายแก่ผู้อื่นฝ่ายเดียว (อ้างฎีกาที่ 1618/2512)
การที่จำเลยฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายตามที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติให้สิทธิไว้ แม้จำเลยได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนแล้วก็หาใช่เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายหรือแกล้งใช้สิทธิอันมิชอบด้วยกฎหมายต่อโจทก์อย่างใดไม่การฟ้องคดีล้มละลายก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคนไม่ว่าเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดเป็นโจทก์ผลก็ไม่แตกต่างกัน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเจ้าหนี้ทุกคนต่างก็มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ตามสิทธิที่ตนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน หากโจทก์เห็นว่าการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นการกระทำไปโดยไม่สุจริตและอาจขอให้เพิกถอนได้แล้วโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 113,114 หรือมาตรา 115 ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการให้ได้เพียงใดหรือไม่ก็ย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริง หาใช่เกี่ยวกับการที่โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดเป็นฝ่ายฟ้องคดีล้มละลายนั้นไม่
การที่จำเลยฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายตามที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติให้สิทธิไว้ แม้จำเลยได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนแล้วก็หาใช่เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายหรือแกล้งใช้สิทธิอันมิชอบด้วยกฎหมายต่อโจทก์อย่างใดไม่การฟ้องคดีล้มละลายก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคนไม่ว่าเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดเป็นโจทก์ผลก็ไม่แตกต่างกัน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเจ้าหนี้ทุกคนต่างก็มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ตามสิทธิที่ตนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน หากโจทก์เห็นว่าการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นการกระทำไปโดยไม่สุจริตและอาจขอให้เพิกถอนได้แล้วโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 113,114 หรือมาตรา 115 ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการให้ได้เพียงใดหรือไม่ก็ย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริง หาใช่เกี่ยวกับการที่โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดเป็นฝ่ายฟ้องคดีล้มละลายนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ก่อนล้มละลายเมื่อเจตนาให้เจ้าหนี้บางรายได้เปรียบ
การที่จำเลยประกาศทางหนังสือพิมพ์ให้เจ้าหนี้ไปรับชำระหนี้โดยกำหนดจำนวนเงินที่จะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แต่ละรายไว้แม้จะมีเจ้าหนี้ไปขอรับชำระหนี้หลายราย แต่ก็มีเจ้าหนี้อีกหลายรายที่ไม่ได้รับชำระหนี้ พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยรู้ดีอยู่แล้วว่าตนมีหนี้สินล้นพ้นตัว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น และอยู่ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ศาลชอบที่จะสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ดังกล่าวเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำกัดเฉพาะทรัพย์สินของลูกหนี้ การอายัดทรัพย์สินที่โอนไปแล้วต้องมีการเพิกถอนก่อน
ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขออายัดที่ดินที่ได้โอนไปเป็นของบุคคลอื่นแล้ว เว้นแต่จะได้มีการเพิกถอนการโอนที่ดินดังกล่าวก่อน ตราบใดที่ยังมิได้มีการเพิกถอนการโอน ผู้รับโอนก็ยังเป็นเจ้าของอยู่ตราบนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจยึดหรืออายัดที่ดินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนที่ดินในภาวะล้มละลาย: อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุดเมื่อยกเลิกการล้มละลาย
ผู้ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนที่ดินซึ่งจำเลยโอนให้ผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 1 โอนให้ผู้คัดค้านที่ 2 ในระหว่างที่จำเลยยังอยู่ในภาวะล้มละลาย แม้จะได้ความว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้เพิกถอนการโอน แต่คดียังไม่ถึงที่สุดเมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยเพราะเหตุที่หนี้สินของผู้ล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว จำเลยจึงพ้นภาวะการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจที่จะร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินนั้นได้ ศาลฎีกาจึงยกคำร้องของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: มาตรา 113 vs. มาตรา 114/115
ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย อายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 คือมีกำหนดระยะเวลาหนึ่งปี แต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114 และ 115 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้ ต้องนำอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: มาตรา 113 vs. มาตรา 114/115
ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย อายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 คือมีกำหนดระยะเวลาหนึ่งปี แต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114 และ115 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้ ต้องนำอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ญาติ เจ้าหนี้มีสิทธิเพิกถอนการชำระหนี้
ผู้คัดค้านให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นสอบสวนว่ารู้จักกับลูกหนี้ (จำเลย) มานานถึง 20 ปีแล้วทั้งปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นญาติทางสมรสกับลูกหนี้ (จำเลย) การที่ผู้คัดค้านรับโอนสิทธิการเช่าตึกแถวจากจำเลยก็เป็นการกระทำที่รีบร้อน โอนกันก่อนวันลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องล้มละลายเพียงไม่กี่วัน แสดงว่าผู้คัดค้านรู้ดีว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและกำลังจะถูกฟ้องล้มละลาย ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ได้ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้รายอื่นซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 15 ราย จำนวนเงินถึง 20 ล้านบาทเศษเลย การกระทำของลูกหนี้ (จำเลย) ถือได้ว่าทำให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการปลดหนี้ในคดีล้มละลาย และดอกเบี้ยผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์จำนองทรัพย์สินไว้แก่บริษัทจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 40,000 บาท แล้วโจทก์เป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันบริษัทจำเลย 99,853.90 บาท ก่อนบริษัทจำเลยจะถูกฟ้องล้มละลายเพียง 4 วัน โจทก์ได้ชำระเงิน 50,000 บาท ให้แก่บริษัทจำเลย โดยบริษัทจำเลยยอมลดหนี้ให้ 49,853.90 บาท และทำหนังสือว่าจะปลดจำนองให้ การที่บริษัทจำเลยยอมปลดหนี้จำนวน 49,853.90 บาท และปลดจำนองให้โจทก์นั้น บริษัทจำเลยได้กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นลูกหนี้ ไม่ใช่ในฐานะเจ้าหนี้ กรณีจึงไม่เข้าเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 แต่การที่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองและปลดหนี้ดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนสูงให้แก่โจทก์เปล่า ๆ ในขณะที่บริษัทจำเลยก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว ย่อมเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยฝ่ายเดียวได้กระทำลงทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์ยังคงผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของบริษัทจำเลยบุคคลล้มละลาย
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงบริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อน ดังนั้น การปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่งเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงบริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อน ดังนั้น การปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่งเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป