คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 115

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ในคดีล้มละลาย และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์จำนองทรัพย์สินไว้แก่บริษัทจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 40,000 บาท แล้วโจทก์เป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันบริษัทจำเลย 99,853.90 บาทก่อนบริษัทจำเลยจะถูกฟ้องคดีล้มละลายเพียง 4 วัน โจทก์ได้ชำระเงิน 50,000 บาทให้แก่บริษัทจำเลย โดยบริษัทจำเลยยอมลดหนี้ให้ 49,853.90 บาท และทำหนังสือว่าจะปลดจำนองให้ การที่บริษัทจำเลยยอมปลดหนี้จำนวน 49,853.90 บาท และปลดจำนองให้โจทก์นั้น บริษัทจำเลยได้กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นลูกหนี้ ไม่ใช่ในฐานะเจ้าหนี้ กรณีจึงไม่เข้าเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 แต่การที่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองและปลดหนี้ดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนสูงให้แก่โจทก์เปล่าๆ ในขณะที่บริษัทจำเลยก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว ย่อมเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยฝ่ายเดียวได้กระทำลงทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237โจทก์ยังคงผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของบริษัทจำเลยบุคคลล้มละลาย
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงแต่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อนดังนั้นการปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการชำระหนี้ก่อนล้มละลายเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้โดยเสมอภาค
ก่อนถูกฟ้องให้ล้มละลาย จำเลยมีหนี้สิน 100 ล้านบาทเศษ และมีเจ้าหนี้ 40 กว่าราย ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายหนึ่งได้ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยได้ชำระหนี้ให้ผู้คัดค้านในวันทำสัญญา 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่ยังค้างชำระอยู่จะชำระให้เสร็จภายใน 10 ปี และจะเริ่มชำระครั้งแรกในปีที่ 5 เป็นต้นไปจนกว่าจะหมด หลังจากนั้นผู้คัดค้านได้ถอนฟ้องคดี อันเป็นการกระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยให้เป็นบุคคลล้มละลาย ในคราวเดียวกันนั้น มีเจ้าหนี้อื่นอีก 7 - 8 ราย ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความทำนองเดียวกันนั้นกับจำเลยด้วย ขณะนั้นจำเลยมีฐานะการเงินไม่ดี โดยมีฐานะการเงินพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้เฉพาะเท่าที่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยเท่านั้น ดังนี้ การที่จำเลยชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านไปดังกล่าวย่อมทำให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่นซึ่งมิได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งประสงค์ให้เจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับชำระหนี้โดยเสมอภาคทั่วหน้ากัน เจ้าพนักงานพิทักษ์จึงขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ เอาเงินที่ได้ชำระไปกลับคืนมาเข้ากองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายได้ ตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: คู่สัญญาลูกหนี้ & ระยะเวลาการโอน
ก. ผู้ร้องคัดค้านซึ่งได้รับโอนทรัพย์สินพิพาทโดยตรงจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย เป็นคู่สัญญากับลูกหนี้จึงมิใช่บุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 116
จำเลยที่ 2 ผู้เป็นลูกหนี้โอนขายทรัพย์พิพาทให้ ก. ในระหว่างเวลาเพียง 30 วัน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย โดยจำเลยไม่มีทรัพย์อื่นใดอีก ต้องถือว่าจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ ก.ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
การขอให้ศาลเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 115 ไม่ต้องพิจารณาว่าผู้รับโอนได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
บุคคลภายนอกซึ่งจะได้รับคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 116 นั้น นอกจากต้องเป็นผู้ได้รับโอน หรือได้สิทธิมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนแล้ว ยังต้องรับโอนหรือได้สิทธิมาก่อนมีการขอให้ล้มละลายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: คู่สัญญาลูกหนี้ไม่ใช่บุคคลภายนอก การโอนหลังฟ้องไม่มีผลคุ้มครอง
ก. ผู้ร้องคัดค้านซึ่งได้รับโอนทรัพย์สินพิพาทโดยตรงจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย เป็นคู่สัญญากับลูกหนี้จึงมิใช่บุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116
จำเลยที่ 2 ผู้เป็นลูกหนี้โอนขายทรัพย์พิพาทให้ ก. ในระหว่างเวลาเพียง 30 วัน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย โดยจำเลยไม่มีทรัพย์อื่นใดอีก ต้องถือว่าจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ ก. ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
การขอให้ศาลเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 ไม่ต้องพิจารณาว่าผู้รับโอนได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
บุคคลภายนอกซึ่งจะได้รับคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 116 นั้น นอกจากต้องเป็นผู้ได้รับโอนหรือได้สิทธิมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนแล้ว ยังต้องรับโอนหรือได้สิทธิมาก่อนมีการขอให้ล้มละลายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจโอนเงิน
ปัญหาที่ว่าทรัพย์ที่ยึดขายทอดตลาดในคดีแพ่งเป็นของใครโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ามาแต่แรก เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 110 หมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการบังคับคดีนั้นให้ถือว่าได้สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคสาม ว่าให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีแพ่งได้มีการขายทอดตลาดไปพ้นระยะเวลา 14 วันก่อนศาล มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจโอนเงินในคดีแพ่งมาในคดีล้มละลาย เพราะการบังคับคดีแพ่งสำเร็จบริบูรณ์แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 111 ที่ว่า ถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่ การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้ และถ้าต่อไปศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้นเป็นกฎหมายที่วางวิธีปฏิบัติของ เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การบังคับคดีจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 110 กล่าวคือ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้หลังจาก การบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้วการบังคับคดีนั้นย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ปัญหาเรื่องลูกหนี้โอนทรัพย์สินใน 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายเป็นคนละประเด็นกับปัญหาเรื่องลูกหนี้ถูกบังคับคดีซึ่งจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแพ่งสำเร็จก่อนการสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจโอนเงิน
ปัญหาที่ว่าทรัพย์ที่ยึดขายทอดตลาดในคดีแพ่งเป็นของใครโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ามาแต่แรก เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 110 หมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการบังคับคดีนั้นให้ถือว่าได้สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคสาม ว่าให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีแพ่งได้มีการขายทอดตลาดไปพ้นระยะเวลา 14 วันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจโอนเงินในคดีแพ่งมาในคดีล้มละลาย เพราะการบังคับคดีแพ่งสำเร็จบริบูรณ์แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 111 ที่ว่า ถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้ และถ้าต่อไปศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้น เป็นกฎหมายที่วางวิธีปฏิบัติของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การบังคับคดีจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 110กล่าวคือ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้หลังจากการบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้ว การบังคับคดีนั้นย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ปัญหาเรื่องลูกหนี้โอนทรัพย์สินใน 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายเป็นคนละประเด็นกับปัญหาเรื่องลูกหนี้ถูกบังคับคดีซึ่งจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์ก่อนล้มละลายเพื่อเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่งเป็นการฝ่าฝืนเจตนารมณ์ของกฎหมายล้มละลาย ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้
ก่อนฟ้องคดีแปดวัน ลูกหนี้ได้โอนขายอาคารโรงเรียนซึ่งปลูกอยู่ในที่เช่าให้แก่เจ้าของที่ดินที่เช่า คือ ผู้คัดค้านในคดีนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ด้วยคนหนึ่งในราคา 300,000 บาท (น้อยกว่าราคาจริง)โดยไม่มีการชำระราคากัน แต่มีข้อสัญญาว่า หนี้สินต่าง ๆ ของลูกหนี้ให้ผู้คัดค้านรับเป็นลูกหนี้ชำระให้เอง ส่วนหนี้สินต่าง ๆของผู้คัดค้านที่ค้างอยู่กับลูกหนี้ ผู้คัดค้านยอมยกให้แก่ลูกหนี้ทั้งหมดลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอย่างอื่นอีก การรับโอนของผู้คัดค้านและวิธีการชำระหนี้ของลูกหนี้ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งประสงค์ให้เจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับชำระหนี้โดยเสมอหน้ากัน การโอนทรัพย์ของลูกหนี้ดังกล่าวเห็นได้ว่า ทำให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ซึ่งมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์ก่อนล้มละลายเพื่อเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่งขัดเจตนารมณ์กฎหมายล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเพิกถอนได้
ก่อนฟ้องคดีแปดวัน ลูกหนี้ได้โอนขายอาคารโรงเรียนซึ่งปลูกอยู่ในที่เช่าให้แก่เจ้าของที่ดินที่เช่า คือผู้คัดค้านในคดีนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ด้วยคนหนึ่งในราคา 300,000 บาท (น้อยกว่าราคาจริง)โดยไม่มีการชำระราคากัน แต่มีข้อสัญญาว่า หนี้สินต่าง ๆ ของลูกหนี้ให้ผู้คัดค้านรับเป็นลูกหนี้ชำระให้เอง ส่วนหนี้สินต่าง ๆของผู้คัดค้านที่ค้างอยู่กับลูกหนี้ ผู้คัดค้านยอมยกให้แก่ลูกหนี้ทั้งหมดลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอย่างอื่นอีก การรับโอนของผู้คัดค้านและวิธีการชำระหนี้ของลูกหนี้ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งประสงค์ให้เจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับชำระหนี้โดยเสมอหน้ากัน การโอนทรัพย์ของลูกหนี้ดังกล่าวเห็นได้ว่า ทำให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ซึ่งมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้รับชำระหนี้หลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือเป็นเจ้าหนี้ที่เอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น
การที่จำเลย (ลูกหนี้) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องขอรับชำะหนี้ซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย (ลูกหนี้) และได้มอบเงินให้ทนายจำเลยนำไปวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นโจทก์รับไป ดังนี้ เป็นการที่จำเลย (ลูกหนี้) ไม่มีสิทธิจะทำได้ เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 23 เมื่อทั้งผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ (จำเลย) ผู้ล้มละลาย ทราบอยู่แล้วว่าลูกหนี้ (จำเลย) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ผู้ร้องจะขอรับชำระหนี้ยังรับเงินจากลูกหนี้ (จำเลย) ไว้ เช่นนี้ เป็นการมิชอบด้วยมาตรา 173 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ที่เอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรพัย์มีสิทธิเรียกเอาเงินจำนวนนั้นคืนจากผู้ร้องขอรับชำะรหนี้ได้ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ยืนยันให้เรียกเงินคืน ในกรณีเช่นนี้ แม้จะมีเจ้าหนี้มาประชุมเป็นส่วนน้อย เมื่อได้ความว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งแจ้งความนัดประชุมไปยังเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบโดยชอบแล้ว ก็ไม่ทำให้การประชุมและมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในการนั้นเสียไป ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ล้มละลายทำสัญญาประนีประนอมหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้รับเงิน ถือเป็นเจ้าหนี้ที่เอาเปรียบ
การที่จำเลย (ลูกหนี้) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย (ลูกหนี้) และได้มอบเงินให้ทนายจำเลยนำไปวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นโจทก์รับไป ดังนี้ เป็นการที่จำเลย (ลูกหนี้) ไม่มีสิทธิจะทำได้ เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อทั้งผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ (จำเลย) ผู้ล้มละลายทราบอยู่แล้วว่าลูกหนี้ (จำเลย) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ยังรับเงินจากลูกหนี้(จำเลย) ไว้ เช่นนี้ เป็นการมิชอบด้วยมาตรา 173 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ที่เอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเรียกเอาเงินจำนวนนั้นคืนจากผู้ร้องขอรับชำระหนี้ได้
มติที่ประชุมเจ้าหนี้ยืนยันให้เรียกเงินคืน ในกรณีเช่นนี้แม้จะมีเจ้าหนี้มาประชุมเป็นส่วนน้อย เมื่อได้ความว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งแจ้งความนัดประชุมไปยังเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบโดยชอบแล้วก็ไม่ทำให้การประชุมและมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในการนั้นเสียไปทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 157
of 18