พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8298/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ต้องพิจารณาความมุ่งหมายของลูกหนี้ในการให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ
ขณะลูกหนี้นำเงินเข้าฝากประจำไว้กับผู้คัดค้านและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้คัดค้านนั้นลูกหนี้ยังไม่ได้เป็นหนี้ผู้คัดค้านลูกหนี้จะเป็นหนี้ผู้คัดค้านหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไปจากผู้คัดค้านหรือไม่ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่แน่นอนหากลูกหนี้ยังไม่เบิกเงินไปลูกหนี้ก็ยังไม่ได้เป็นหนี้ผู้คัดค้านลูกหนี้จะเป็นหนี้ผู้คัดค้านก็ต่อเมื่อได้เบิกเงินไปจากบัญชีเท่านั้นดังนั้นขณะที่ลูกหนี้นำเงินเข้าฝากประจำและให้สิทธิที่จะถอนเงินฝากประจำของลูกหนี้ดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านแม้จะกระทำในระหว่างที่ลูกหนี้ถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายแต่ในขณะนั้นผู้คัดค้านก็ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้การกระทำของลูกหนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นซึ่งผู้ร้องจะร้องขอให้เพิกถอนการกระทำของลูกหนี้ตามมาตรา115แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ได้ เมื่อการให้สิทธิที่จะถอนเงินฝากประจำจากบัญชีของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้มอบอำนาจให้ผู้คัดค้านสามารถถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวหักกลบลบหนี้ที่มีอยู่แก่ผู้คัดค้านเมื่อใดก็ได้ผู้ร้องไม่อาจร้องขอเพิกถอนได้และลูกหนี้เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ผู้คัดค้านในเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิถอนเงินฝากประจำของลูกหนี้หักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้คัดค้านได้ตามมาตรา102แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ทั้งนี้โดยไม่จำต้องอาศัยความยินยอมของลูกหนี้อีกผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการหักกลบลบหนี้ตามมาตรา115แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8298/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การกระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ
ลูกหนี้เปิดบัญชีฝากเงินกระแสรายวันไว้กับผู้คัดค้านต่อมาลูกหนี้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้คัดค้าน ในวงเงิน 200,000 บาท และทำสัญญาจำนำสิทธิที่จะถอนเงินฝากจากบัญชีฝากประจำจำนวน 200,000 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านไว้เป็นประกัน พร้อมทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้คัดค้าน เบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำเป็นส่วนหนึ่งของการชำระหนี้ เมื่อใดก็ได้ ขณะที่ลูกหนี้นำเงินเข้าฝากประจำและทำสัญญา กู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้คัดค้านนั้น ลูกหนี้ยังไม่ได้ เป็นหนี้ผู้คัดค้าน ลูกหนี้จะเป็นหนี้ผู้คัดค้านหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไปจากหรือไม่ดังนั้นแม้จะกระทำการดังกล่าวในระหว่างที่ลูกหนี้ถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลาย แต่ในขณะนั้นผู้คัดค้านก็ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ซึ่งผู้ร้อง จะร้องขอให้เพิกถอนตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ได้ และเมื่อปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ผู้คัดค้านในเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิถอนเงินฝากประจำของลูกหนี้หักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้คัดค้านได้ตามมาตรา 102 ทั้งนี้โดยไม่จำต้องอาศัยความยินยอมของลูกหนี้อีก ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 115 ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8298/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการกระทำของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย: การมอบสิทธิถอนเงินฝากและการหักกลบลบหนี้
ขณะลูกหนี้นำเงินเข้าฝากประจำไว้กับผู้คัดค้านและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้คัดค้านนั้น ลูกหนี้ยังไม่ได้เป็นหนี้ผู้คัดค้าน ลูกหนี้จะเป็นหนี้ผู้-คัดค้านหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไปจากผู้คัดค้านหรือไม่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่แน่นอน หากลูกหนี้ยังไม่เบิกเงินไป ลูกหนี้ก็ยังไม่ได้เป็นหนี้ผู้คัดค้าน ลูกหนี้จะเป็นหนี้ผู้คัดค้านก็ต่อเมื่อได้เบิกเงินไปจากบัญชีเท่านั้น ดังนั้นขณะที่ลูกหนี้นำเงินเข้าฝากประจำและให้สิทธิที่จะถอนเงินฝากประจำของลูกหนี้ดังกล่าวแก่ผู้คัดค้าน แม้จะกระทำในระหว่างที่ลูกหนี้ถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายแต่ในขณะนั้นผู้คัดค้านก็ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ การกระทำของลูกหนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ซึ่งผู้ร้องจะร้องขอให้เพิกถอนการกระทำของลูกหนี้ตามมาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้
เมื่อการให้สิทธิที่จะถอนเงินฝากประจำจากบัญชีของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้มอบอำนาจให้ผู้คัดค้านสามารถถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวหักกลบลบหนี้ที่มีอยู่แก่ผู้คัดค้านเมื่อใดก็ได้ ผู้ร้องไม่อาจร้องขอเพิกถอนได้ และลูกหนี้เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ผู้คัดค้านในเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิถอนเงินฝากประจำของลูกหนี้หักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้คัดค้านได้ตามมาตรา 102 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 ทั้งนี้โดยไม่จำต้องอาศัยความยินยอมของลูกหนี้อีก ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้เช่นกัน
เมื่อการให้สิทธิที่จะถอนเงินฝากประจำจากบัญชีของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้มอบอำนาจให้ผู้คัดค้านสามารถถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวหักกลบลบหนี้ที่มีอยู่แก่ผู้คัดค้านเมื่อใดก็ได้ ผู้ร้องไม่อาจร้องขอเพิกถอนได้ และลูกหนี้เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ผู้คัดค้านในเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิถอนเงินฝากประจำของลูกหนี้หักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้คัดค้านได้ตามมาตรา 102 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 ทั้งนี้โดยไม่จำต้องอาศัยความยินยอมของลูกหนี้อีก ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7229/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้หลังถูกขอให้ล้มละลาย ทำให้เจ้าหนี้อื่นไม่ได้รับการชำระหนี้ ถือเป็นการให้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้รายหนึ่ง
การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยมีผลทำให้เจ้าหนี้อื่นไม่ได้รับการแบ่งชำระด้วยเป็นการกระทำที่มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา115แม้การชำระหนี้ดังกล่าวจะเนื่องมาจากผู้คัดค้านอายัดเงินของลูกหนี้ที่มีต่อบริษัทอื่นไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีแพ่งที่ผู้คัดค้านฟ้องลูกหนี้ให้ชำระหนี้แล้วมีการต่อรองลดจำนวนหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะถือว่าลูกหนี้อยู่ในภาวะจำยอมหรือเป็นความจำเป็นอันมิได้ประสงค์ให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6271/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: จำเลยยังมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ เจ้าหนี้รายอื่นไม่ได้เสียประโยชน์
จำเลยมีเงินเหลือจากการไถ่ถอนจำนองเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายอื่นได้ทั้งหมดหาใช่จำเลยไม่มีทรัพย์สินใดๆพอจะชำระหนี้ได้ไม่การที่จำเลยนำเงินไปวางชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษาแม้จำเลยได้กระทำในระหว่างระยะเวลา3เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านได้ตามมาตรา115แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 ผู้คัดค้านแก้ฎีกาขอให้ผู้ร้องชดใช้ดอกเบี้ยโดยมิได้ทำเป็นฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6271/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ก่อนล้มละลายไม่ถือว่าเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายใดรายหนึ่ง ผู้ร้องไม่มีอำนาจเพิกถอน
จำเลยมีเงินเหลือจากการไถ่ถอนจำนองเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายอื่นได้ทั้งหมด หาใช่จำเลยไม่มีทรัพย์สินใด ๆ พอจะชำระหนี้ได้ไม่การที่จำเลยนำเงินไปวางชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษาแม้จำเลยได้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านได้ตามมาตรา 115 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
ผู้คัดค้านแก้ฎีกาขอให้ผู้ร้องชดใช้ดอกเบี้ย โดยมิได้ทำเป็นฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้คัดค้านแก้ฎีกาขอให้ผู้ร้องชดใช้ดอกเบี้ย โดยมิได้ทำเป็นฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย ต้องพิจารณาว่าเจ้าหนี้มีนิติสัมพันธ์กับลูกหนี้ก่อนการจำนองหรือไม่
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนหรือการกระทำในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้นให้แก่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำ และการโอนหรือการกระทำนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของลูกหนี้เสียเปรียบ ที่ว่าต้องเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำนั้นหมายความว่า เจ้าหนี้กับลูกหนี้นั้นมีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนอันเป็นการก่อสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ต่อไปได้ ขณะที่ลูกหนี้ทำสัญญาค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วเงินของ ว.ต่อผู้คัดค้าน ว. ยังมิได้นำตั๋วเงินมาขายลดให้แก่ผู้คัดค้านหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินจึงยังไม่เกิดขึ้น อันจะเป็นผลให้ผู้คัดค้านมีความผูกพันในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้นับแต่วันทำสัญญาค้ำประกัน การที่ลูกหนี้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกัน แล้ว ว. จึงนำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายลดให้แก่ผู้คัดค้านและรับเงินจากผู้คัดค้านไป จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่แล้วก่อนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท ผู้ร้องไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องมีนิติสัมพันธ์ก่อนการโอนทรัพย์สิน
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนหรือการกระทำในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้นให้แก่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำ และการโอนหรือการกระทำนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของลูกหนี้เสียเปรียบ ที่ว่าต้องเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำนั้นหมายความว่า เจ้าหนี้กับลูกหนี้นั้นมีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนอันเป็นการก่อสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ต่อไปได้
ขณะที่ลูกหนี้ทำสัญญาค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วเงินของ ว. ต่อผู้คัดค้าน ว. ยังมิได้นำตั๋วเงินมาขายลดให้แก่ผู้คัดค้าน หนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินจึงยังไม่เกิดขึ้น อันจะเป็นผลให้ผู้คัดค้านมีความผูกพันในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้นับแต่วันทำสัญญาค้ำประกัน การที่ลูกหนี้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกัน แล้ว ว. จึงนำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายลดให้แก่ผู้คัดค้านและรับเงินจากผู้คัดค้านไป จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่แล้วก่อนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท ผู้ร้องไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 ได้
ขณะที่ลูกหนี้ทำสัญญาค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วเงินของ ว. ต่อผู้คัดค้าน ว. ยังมิได้นำตั๋วเงินมาขายลดให้แก่ผู้คัดค้าน หนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินจึงยังไม่เกิดขึ้น อันจะเป็นผลให้ผู้คัดค้านมีความผูกพันในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้นับแต่วันทำสัญญาค้ำประกัน การที่ลูกหนี้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกัน แล้ว ว. จึงนำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายลดให้แก่ผู้คัดค้านและรับเงินจากผู้คัดค้านไป จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่แล้วก่อนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท ผู้ร้องไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2333/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองก่อนล้มละลาย เพื่อให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ ถือเป็นการกระทำที่ศาลเพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจให้ผู้คัดค้านไว้ล่วงหน้า ก่อนนำไปจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นเวลาประมาณ 1 ปีและได้มีการจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองจำนวน 3,500,000 บาท เมื่อวันที่15 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งอยู่ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย ดังนี้ ต้องถือเอาวันที่มีการจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นวันที่จำเลยกระทำ หรือยินยอมให้กระทำการจำนองหาใช่ถือเอาวันที่จำเลยลงลายมือชื่อลอยในแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจให้ไว้แก่ผู้คัดค้านไม่ การที่จำเลยกระทำหรือยินยอมให้กระทำการจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองจำนวนดังกล่าว ทั้งที่มีเจ้าหนี้อื่น ๆยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้รวมเป็นเงิน 16,069,344.06 บาท ในขณะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยได้เพียง200,000 บาทเศษ ย่อมถือได้ว่าจำเลยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนการขึ้นเงินจำนองดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้คัดค้านสุจริตหรือรู้เห็นเป็นใจเอาเปรียบเจ้าหนี้อื่นหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2333/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองในคดีล้มละลายเมื่อเจตนาให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ
จำเลยลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจให้ผู้คัดค้านไว้ล่วงหน้า ก่อนนำไปจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นเวลาประมาณ 1 ปี และได้มีการจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองจำนวน 3,500,000 บาท เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์2533 ซึ่งอยู่ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายดังนี้ ต้องถือเอาวันที่มีการจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นวันที่จำเลยกระทำ หรือยินยอมให้กระทำการจำนอง หาใช่ถือเอาวันที่จำเลยลงลายมือชื่อลอยในแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจให้ไว้แก่ผู้คัดค้านไม่
การที่จำเลยกระทำหรือยินยอมให้กระทำการจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองจำนวน 3,500,000 บาท ทั้งที่มีเจ้าหนี้อื่น ๆ ยื่นคำขอรับชำระหนี้รวม 10 ราย เป็นเงิน 16,069,344.06 บาท ในขณะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยได้เพียง 200,000 บาทเศษ เท่านั้น การจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ย่อมถือได้ว่าจำเลยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนการขึ้นเงินจำนองเสีย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115
การเพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา115 เพียงแต่ลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเหนือเจ้าหนี้อื่น ศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้แล้ว ไม่ต้องคำนึงถึงความสุจริตของเจ้าหนี้ผู้ถูกเพิกถอน
การที่จำเลยกระทำหรือยินยอมให้กระทำการจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองจำนวน 3,500,000 บาท ทั้งที่มีเจ้าหนี้อื่น ๆ ยื่นคำขอรับชำระหนี้รวม 10 ราย เป็นเงิน 16,069,344.06 บาท ในขณะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยได้เพียง 200,000 บาทเศษ เท่านั้น การจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ย่อมถือได้ว่าจำเลยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนการขึ้นเงินจำนองเสีย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115
การเพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา115 เพียงแต่ลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเหนือเจ้าหนี้อื่น ศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้แล้ว ไม่ต้องคำนึงถึงความสุจริตของเจ้าหนี้ผู้ถูกเพิกถอน