พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: การถือครองกรรมสิทธิ์แทนและการรับจำนองโดยไม่สุจริต
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่ใส่ชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนต่อมามีการจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจำนอง เป็นการกล่าวอ้างว่าการที่มีชื่อน. ในโฉนดเป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยเท่านั้นมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ น.โดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ อันผู้ร้องจะต้องร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับ น. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองได้โดยตรง แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวนถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอนไม่อาจสละได้ ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทนจึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วยแม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท และผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย แม้ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดสุจริต หากจำนองไม่มีค่าตอบแทน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่ใส่ชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนต่อมามีการจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจำนอง เป็นการกล่าวอ้างว่าการที่มี ชื่อ น. ในโฉนดเป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยเท่านั้นมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ น. โดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ อันผู้ร้องจะต้องร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับ น.ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองได้โดยตรง แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวน ถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้อง ขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอน ไม่อาจสละได้ ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทนจึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วยแม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทและผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย: การกระทำอันไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่ใส่ชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมามีการจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจำนอง เป็นการกล่าวอ้างว่าการที่มีชื่อ น.ในโฉนดเป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ น. โดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบอันผู้ร้องจะต้องร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับ น. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองได้โดยตรง
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวนถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอนไม่อาจสละได้
ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทน จึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วย แม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท และผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้ จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวนถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอนไม่อาจสละได้
ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทน จึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วย แม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท และผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้ จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอเพิกถอนการจดทะเบียน
การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 ขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1เด็ดขาดแล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 1ย่อมเป็นนิติกรรมที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพราะตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้เท่านั้นดังนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่มีผลบังคับจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ย่อมกลับสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ผู้คัดค้านที่ 1 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับบทตามมาตรา 24 ไม่ใช่ปรับบทตามมาตรา 114,115 เพราะคำว่า"การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างเวลาสามปีหรือสามเดือนแล้วแต่กรณีก่อนมีการขอให้ล้มละลายหรือภายหลังนั้น"ตามมาตรา 114,115 หมายถึงการโอนหรือการกระทำที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หาใช่การโอนหรือการกระทำหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อการโอนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นโมฆะผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ*พิพาทที่จะโอนขายต่อให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่ 2 ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนอันจะได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 116 หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนในสารบัญที่ดินไว้แล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนในสารบัญที่ดินได้ และเจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลโดยศาลไม่ต้องสั่งเจ้าพนักงานที่ดินอีก ไม่เกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ก่อนล้มละลาย: กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลย การโอนเพื่อเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้
ก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย 1 วัน จำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามแม้จะฟังว่าก่อนหน้านั้นจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทให้แก่ ท.ท. ชำระราคาครบถ้วนแล้วแต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เนื่องจาก ท. ประสงค์จะขายต่อและจะให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อไปทีเดียวเพื่อประหยัดค่าธรรมเนียม ต่อมา ท. ตกลงจะขายที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1โดยให้ผู้คัดค้านที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยมีข้อความระบุว่าเป็นการขายภายใต้ความยินยอมของ ท. เมื่อผู้คัดค้านที่ 1ชำระราคาให้ ท. ครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามตามความประสงค์ของผู้คัดค้านที่ 1 แต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่ ท. การซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยกับ ท. ก็ยังไม่เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก ต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในที่พิพาทยังเป็นของจำเลยอยู่ จำเลยจึงมิใช่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแทน ท. ผลตามสัญญาจะซื้อขายทั้งสองฉบับคงมีแต่เพียงว่าหากจำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1โดย ท.ยินยอมไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายกับท. เท่านั้นการที่จำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามจึงหาใช่เป็นการโอนที่พิพาทแทน ท. ไม่ เมื่อการโอนขายที่ดินดังกล่าวเป็นการโอนในระหว่างสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยขณะนั้นจำเลยมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ ต้องถือว่าเป็นการโอนโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านทั้งสามได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 การเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทเป็นไปโดยผลของคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้อง อันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในดอกเบี้ยตามขอ ผู้ร้องมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้หลังล้มละลาย: การให้ได้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่นขัดต่อกฎหมาย
การที่จำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้ผู้คัดค้านจำนวน 48,100 บาทหลังจากที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายแล้ว โดยจำเลยเป็นหนี้เจ้าหนี้อื่นอีก 5 ราย ที่ยื่นขอรับชำระหนี้ไว้ถึง 11 ล้านบาทเศษการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระให้แก่ผู้คัดค้านเพียงรายเดียว โดยเจ้าหนี้อื่นมิได้รับการแบ่งชำระด้วย จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นการมุ่งให้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่น เข้าหลักเกณฑ์ที่จะให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้ โดยมิต้องคำนึงว่าผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้ไว้โดยสุจริตหรือไม่ การเพิกถอนการชำระหนี้เป็นผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการชำระหนี้ ก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบ กรณีถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดตั้งแต่วันยื่นคำร้องผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการชำระหนี้ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินช่วงล้มละลาย: สัญญาเช่าซื้อ vs. ซื้อขายผ่อนส่ง และการหลีกเลี่ยงภาษี
ผู้คัดค้านทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อนำมาจัดสรรขาย มีผู้จองซื้อที่ดินจากผู้คัดค้านจำนวน 96 ราย รวมทั้งลูกหนี้ด้วยผู้คัดค้านให้ผู้จองซื้อที่ดินทำสัญญาเช่าซื้อไว้ และก่อนทำการแบ่งแยกเป็นโฉนดแปลงย่อย ผู้คัดค้านใส่ชื่อผู้จองซื้อที่ดินทั้งหมดลงในโฉนดที่ดินเป็นการซื้อร่วมกับผู้คัดค้าน และเมื่อเจ้าพนักงานออกโฉนดที่ดินแปลงย่อยแล้วมีชื่อผู้จองซื้อที่ดินเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่ละแปลงซึ่งเป็นการให้ผู้จองซื้อที่ดินถือกรรมสิทธิ์แทนผู้คัดค้านเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีอีกชั้นหนึ่ง ทั้งเป็นการอำพรางว่าผู้คัดค้านมิได้จัดสรรที่ดิน ผู้คัดค้านให้ผู้จองซื้อที่ดินลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจไว้ใช้ดำเนินการโอนที่ดินเป็นของผู้คัดค้านในกรณีที่ผู้จองซื้อที่ดินผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ และผู้คัดค้านเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินไว้แสดงว่าผู้คัดค้านและผู้จองซื้อที่ดินมีเจตนาให้ผูกพันต่อกันอย่างสัญญาเช่าซื้อไม่ใช่สัญญาซื้อขายโดยวิธีผ่อนส่งราคา เมื่อลูกหนี้ค้างชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกันผู้คัดค้านทวงถามแล้วลูกหนี้ไม่ชำระ ผู้คัดค้านกรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจที่ลูกหนี้ลงชื่อไว้ล่วงหน้าไปดำเนินการโอนที่ดินใส่ชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิที่ดิน กรณีจึงไม่ใช่เป็นการที่ลูกหนี้โอนชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้าน หากแต่เป็นการโอนให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงจึงไม่ใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของลูกหนี้ให้ผู้คัดค้านโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องขอเพิกถอนการโอนตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนที่ทำให้เจ้าหนี้รายอื่นเสียเปรียบ และผู้รับโอนไม่ใช่เจ้าหนี้เดิม
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ร้องขอเพิกถอนในกรณีที่จำเลยที่ 1มุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีความหมายว่าการโอนทรัพย์นั้นต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ เนื่องจากบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นต่างก็จะไม่ได้ชำระหนี้หรือไม่ได้ชำระหนี้เต็มจำนวนจากจำเลยที่ 1เพราะสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้น ได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้วจากการที่ลูกหนี้มีทรัพย์สินน้อยกว่าหนี้สินซึ่งจะทำให้บรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นได้รับชำระหนี้เพียงส่วนเฉลี่ยในทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1นำทรัพย์สินเท่าที่มีไปชำระให้เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นการให้เปรียบแก่เจ้าหนี้คนนั้นและทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบเพราะได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่มีโอกาสได้รับชำระโดยเฉลี่ยจากทรัพย์สินที่โอนไป กฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ด้วยกัน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน และอาจให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนการโอนหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นการให้เปรียบเช่นนี้ได้ แต่กรณีการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และพันธบัตรโทรศัพท์พิพาทอันเป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มาก่อน ไม่มีปัญหาเรื่องผู้รับโอนจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นหรือไม่ หากจะถือว่าการโอนของจำเลยที่ 1 เป็นการให้เปรียบแก่ผู้โอนเหนือเจ้าหนี้ที่มีอยู่แล้ว ย่อมจะทำให้ผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนซึ่งไม่รู้ถึงสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยที่ 1 ต้องเสียหายไม่เป็นธรรมต่อผู้รับโอนอันไม่ใช่วัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ประสงค์จะคุ้มครองผู้สุจริตและต้องเสียค่าตอบแทน กรณีนี้จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และพันธบัตรโทรศัพท์พิพาทแก่ผู้คัดค้านซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มาก่อนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนให้เจ้าหนี้เดิมเพื่อไม่ให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ การโอนทรัพย์ให้บุคคลภายนอกโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ไม่อาจเพิกถอนได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอเพิกถอนในกรณีที่จำเลยที่ 1มุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีความหมายว่าการโอนทรัพย์นั้นต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ เนื่องจากบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นต่างก็จะไม่ได้รับชำระหนี้หรือไม่ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนจากจำเลยที่ 1 เพราะสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้วจากการที่ลูกหนี้มีทรัพย์สินน้อยกว่าหนี้สินซึ่งจะทำให้บรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นได้รับชำระหนี้เพียงส่วนเฉลี่ยในทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 นำทรัพย์สินเท่าที่มีไปชำระให้เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นการให้เปรียบแก่เจ้าหนี้คนนั้นและทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบเพราะได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่มีโอกาสได้รับชำระโดยเฉลี่ยจากทรัพย์สินที่โอนไป กฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ด้วยกันซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน และให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนการโอนหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นการให้เปรียบเช่นนี้ได้ แต่กรณีการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และพันธบัตรโทรศัพท์พิพาทอันเป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มาก่อน ไม่มีปัญหาเรื่องผู้รับโอนจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นหรือไม่ หากจะถือว่าการโอนของจำเลยที่ 1เป็นการให้เปรียบแก่ผู้รับโอนเหนือเจ้าหนี้ที่มีอยู่แล้ว ย่อมจะทำให้ผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนซึ่งไม่รู้ถึงสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยที่ 1 ต้องเสียหายไม่เป็นธรรมต่อผู้รับโอน อันไม่ใช่วัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ประสงค์จะคุ้มครองผู้สุจริตและต้องเสียค่าตอบแทน กรณีนี้จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และพันธบัตรโทรศัพท์พิพาทแก่ผู้คัดค้านซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มาก่อนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้อื่นในคดีล้มละลาย
ขณะจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองครั้งที่ 4 แก่ผู้คัดค้าน นอกจากจำเลยจะเป็นหนี้ผู้คัดค้าน จำเลยยังเป็นหนี้เจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งหมด 5 ราย เป็นเงินกว่า 11,000,000 บาท การที่ อ.ซึ่งเป็นประธานสหกรณ์จำเลยรู้อยู่ว่าจำเลยเป็นหนี้บรรดาเจ้าหนี้อื่นอยู่เป็นจำนวนมาก ยังไปกระทำการจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นประกันดังกล่าวให้ผู้คัดค้าน โดยที่ขณะนั้นจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้เจ้าหนี้อื่น การจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นประกันดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ศาลต้องเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 กรณีพิพาทแห่งคดีผู้คัดค้านไม่ใช่บุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านกระทำไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ล้มละลายหรือไม่