คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 115

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3321/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นอำนาจในการเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 135(2) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจที่จะจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยต่อไป รวมตลอดทั้งไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนหรือการจำนอง ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22,114,115 ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องขอถอนฎีกาของผู้รับโอนและพิจารณาฎีกาของผู้รับโอนและฎีกาของผู้รับจำนองต่อไป ให้จำหน่ายคดีเสีย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนองเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้จากการกระทำที่เอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่งก่อนล้มละลาย
การที่จำเลยขอกู้ยืมเงินจากผู้คัดค้าน และผู้คัดค้านตกลงยินยอมให้กู้ เมื่อผู้คัดค้านมอบเงินที่กู้ให้จำเลยรับไป การกู้ยืมก็เกิดขึ้น ผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยในทันทีนั้นเอง หลังจากนั้นการที่จำเลยจำนองที่ดินพิพาทเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอยู่ก่อนแล้วในขณะที่มีการทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 การจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันเงินกู้แก่ผู้คัดค้านมีผลบังคับนับแต่วันที่มีการทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนกันคือวันที่ 31 มกราคม 2527 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย วันที่13 กุมภาพันธ์ 2527 จำเลยมอบอำนาจให้ ช. ไปทำการจำนองดังกล่าวจึงเป็นการที่จำเลยกระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย และเมื่อจำเลยเป็นหนี้เจ้าหนี้ถึง 134 ราย รวมเป็นเงินประมาณ 99,000,000 บาท แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยได้เพียง 711,227.45 บาทจำเลยมีหนี้สินรวมกันมากกว่าจำนวนทรัพย์สินที่จำเลยมีอยู่หลายเท่าตัว จำเลยจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันเงินกู้แก่ผู้คัดค้านเป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท ก่อนที่จำเลยจะถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเพียง 13 วัน ทั้งผู้คัดค้านก็มิได้นำสืบว่ากิจการของจำเลยกำลังรุ่งเรืองแต่อย่างใด พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวแสดงว่า จำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามมาตรา 115

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนองเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้อื่นในคดีล้มละลาย พิจารณาจากเจตนาและพฤติการณ์
จำนองเป็นสัญญาที่เอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันการชำระหนี้มีหนี้ประธาน คือหนี้เงินกู้ยืมที่ลูกหนี้รับไปในวันกู้ยืม ส่วนจำนองเป็นแต่เพียงอุปกรณ์แห่งหนี้เงินกู้ยืมซึ่งเป็นหนี้คนละส่วนที่แยกออกจากกันได้ เมื่อเจ้าหนี้ตกลงให้กู้และมอบเงินกู้ให้ลูกหนี้รับไป การกู้ยืมก็เกิดขึ้น เจ้าหนี้จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ หลังจากนั้นลูกหนี้ได้มอบอำนาจให้ ช. ไปทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ก่อนแล้วในขณะที่มีการทำสัญญาและจดทะเบียนจำนอง สัญญาจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 714 การจำนองที่ดินพิพาทจึงมีผลบังคับนับแต่วันที่มีการทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองกัน คือวันที่ 31 มกราคม 2527เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ขอให้ล้มละลาย ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2527การที่ลูกหนี้มอบอำนาจให้ ช. จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่เจ้าหนี้ จึงเป็นการกระทำใด ๆ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย และการที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ 134 ราย รวมเป็นเงินประมาณ99,000,000 บาท แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ 711,227.45 บาท ลูกหนี้จึงมีหนี้สินรวมกันมากกว่าจำนวนทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่หลายเท่าตัว ลูกหนี้ได้จำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันเงินกู้แก่เจ้าหนี้เป็นจำนวน500,000 บาท ก่อนที่ลูกหนี้จะถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเพียง 13 วันโดยไม่ปรากฏว่ากิจการของลูกหนี้กำลังรุ่งเรือง พฤติการณ์แห่งคดีแสดงว่าลูกหนี้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ดังนี้ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนการจำนองได้ตามพ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 115.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การโอนในราคาต่ำกว่าตลาดเพื่อเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่ง
การโอนที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 นั้น ต้องเป็นการโอนภายในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย และภายหลังนั้น ให้แก่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนโอนและการโอนนั้นทำให้เจ้าหนี้คนอื่น ๆ เสียเปรียบ ที่ว่าต้องเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนโอนนั้นหมายความว่า เจ้าหนี้กับลูกหนี้นั้นมีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนแล้วอันเป็นการก่อสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนีได้ต่อไป จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านไว้ก่อนแล้ว ผู้คัดค้านจึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยในส่วนที่จะเรียกให้โอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านตามสัญญาจะซื้อจะขายอยู่แล้วก่อนโอนตามนัยบทกฎหมายดังกล่าวจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านในราคา 995,000 บาทต่อมาในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย จำเลยโอนขายบ้านและที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนการโอนไว้ในราคาเพียง500,000 บาท แม้ก่อนการโอนผู้คัดค้านต้องไปไถ่ถอนจำนองแทนจำเลยแต่ก็ปรากฏว่ามีการไถ่ถอนจำนองและโอนขายบ้านและที่ดินพิพาทในวันเดียวกัน โดยเงินที่นำไปไถ่ถอนเป็นเงินค่าบ้านและที่ดินพิพาทที่ต้องชำระให้จำเลยนั้นเอง การที่ผู้คัดค้านทำการไถ่ถอนจำนองและรับโอนบ้านและที่ดินพิพาทไปในราคาที่ต่ำกว่าราคาตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำไว้เดิม และเป็นการได้ทรัพย์ไปในขณะที่เจ้าหนี้รายอื่น ๆยังมิได้รับชำระหนี้ ประกอบกับได้ความว่าจำเลยมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สิน การโอนทรัพย์สินของจำเลยในพฤติการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนหรือการกระทำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 มีความมุ่งหมายถึงการโอนทรัพย์สินหรือกระทำการใด ๆ ของลูกหนี้ ซึ่งได้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น โดยหาได้คำนึงถึงเหตุอันสมควรความจำเป็นหรือการถูกบังคับตามสัญญาไม่เมื่อตามพฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำไปโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนได้ การเพิกถอนการโอนเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ยังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันยื่นคำร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้เดิม vs. ผู้รับโอนสุจริต
การร้องขอเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115นั้น ต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมีการโอน และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ เพราะการที่จำเลยนำทรัพย์เท่าที่มีไปชำระเจ้าหนี้คนใดโดยเฉพาะเป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้คนนั้น และทำให้เจ้าหนี้คนอื่นเสียเปรียบ กฎหมายมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ด้วยกัน ซึ่งเป็นหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบแก่กัน จำเลยโอนขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ ช.ก่อนโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายไม่ถึง 1 เดือน แม้จะเป็นการโอนตามสัญญาต่างตอบแทนซึ่งทำให้ช.มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาขายฝากก็ตาม แต่เมื่อ ช.ผู้รับโอนมิได้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก่อนทำสัญญาขายฝาก และ ช.ผู้รับโอนเข้าทำสัญญากับจำเลยโดยไม่ทราบความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลย จึงเพิกถอนการโอนรายนี้ตามมาตรา 115 ไม่ได้
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 และมาตรา 115 ต่างก็มีวัตถุประสงค์คุ้มครองบุคคลภายนอกผู้สุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน ต่างกันเพียงว่า ถ้าโอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จำเลยมุ่งให้เจ้าหนี้เดิมคนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นแล้ว อาศัยเพียงความมุ่งหมายของจำเลยฝ่ายเดียวก็พอให้เพิกถอนได้ โดยไม่ต้องให้เจ้าหนี้เดิมพิสูจน์ว่าตนสุจริตและมีค่าตอบแทน เพราะเจ้าหนี้เช่นนี้รู้หรือควรจะรู้แล้วถึงสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลย แต่ถ้าเป็นการโอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยผู้รับโอนซึ่งไม่เป็นเจ้าหนี้อยู่เดิมและโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ก็ยังเพิกถอนได้ตามมาตรา 114ไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 115 ตรงกันข้าม ถ้าผู้รับโอนเช่นนี้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจะนำมาตรา 115 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมิได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันมาก่อน อีกประการหนึ่งจะถือว่าผู้รับโอนได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นไม่ได้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2534)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้เดิม vs. ผู้รับโอนสุจริตและมีค่าตอบแทน
การร้องขอเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115 นั้น ต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมีการโอน และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆของจำเลยเสียเปรียบ เพราะการที่จำเลยนำทรัพย์เท่าที่มีไปชำระเจ้าหนี้คนใดโดยเฉพาะเป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้คนนั้น และทำให้เจ้าหนี้คนอื่นเสียเปรียบ กฎหมายมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ด้วยกันซึ่งเป็นหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบแก่กัน จำเลยโอนขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ ช. ก่อนโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายไม่ถึง1 เดือน แม้จะเป็นการโอนตามสัญญาต่างตอบแทนซึ่งทำให้ ช.มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาขายฝากก็ตาม แต่เมื่อ ช. ผู้รับโอนมิได้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก่อนทำสัญญาขายฝาก และ ช.ผู้รับโอนเข้าทำสัญญากับจำเลยโดยไม่ทราบความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลย จึงเพิกถอนการโอนรายนี้ตามมาตรา 115 ไม่ได้พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 และมาตรา 115ต่างก็มีวัตถุประสงค์คุ้มครองบุคคลภายนอกผู้สุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน ต่างกันเพียงว่า ถ้าโอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จำเลยมุ่งให้เจ้าหนี้เดิมคนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นแล้ว อาศัยเพียงความมุ่งหมายของจำเลยฝ่ายเดียวก็พอให้เพิกถอนได้โดยไม่ต้องให้เจ้าหนี้เดิมพิสูจน์ว่าตนสุจริตและมีค่าตอบแทน เพราะเจ้าหนี้เช่นนี้รู้หรือควรจะรู้แล้วถึงสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลย แต่ถ้าเป็นการโอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยผู้รับโอนซึ่งไม่เป็นเจ้าหนี้อยู่เดิมและโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ก็ยังเพิกถอนได้ตามมาตรา 114 ไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 115 ตรงกันข้าม ถ้าผู้รับโอนเช่นนี้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจะนำมาตรา 115 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมิได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันมาก่อน อีกประการหนึ่งจะถือว่าผู้รับโอนได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: การคุ้มครองเจ้าหนี้และผู้รับโอนสุจริต
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 115 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอเพิกถอนการโอนทรัพย์ในกรณีที่จำเลยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น มีความหมายว่า การโอนทรัพย์นั้นต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบแต่กรณีการโอนตามสัญญาต่างตอบแทนซึ่งผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน หากจะถือว่าการโอนของจำเลยเป็นการให้เปรียบแก่ผู้รับโอนเหนือเจ้าหนี้ที่มีอยู่แล้ว ย่อมจะทำให้ผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนไม่รู้ถึงสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยต้องเสียหาย ไม่เป็นธรรมต่อผู้รับโอน วัตถุประสงค์ของมาตรา 114และ 115 ยังคงคุ้มครองผู้สุจริตและมีค่าตอบแทนเช่นเดียวกันต่างกันเพียงว่าถ้า โอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและจำเลยมุ่งให้เจ้าหนี้เดิม คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นอาศัยเพียงความมุ่งหมายของจำเลยฝ่ายเดียวเป็นการพอเพียงให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนเสียได้ แต่ถ้า เป็นการโอนไปภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยโอนไปยังผู้รับโอนซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้อยู่เดิม ต้องอาศัยความไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนของผู้รับโอนด้วยจึงเพิกถอนได้ตามมาตรา 114 เช่นกันจะใช้มาตรา 115 มาเพิกถอนการโอนแก่ผู้รับโอนซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อนแล้วไม่ได้ พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 113 เป็นเรื่องลูกหนี้ทำให้ทรัพย์สินของตนลดลงเพื่อให้เจ้าหนี้ของตนเสียเปรียบ โดยผู้รับโอนไม่จำต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้โอนมาก่อน แต่การจะเพิกถอนได้ต้องปรากฏว่าในขณะทำการโอนนั้นผู้รับโอนได้รู้เท่าถึงการกระทำของลูกหนี้ว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนให้เจ้าหนี้เดิมเพื่อให้ได้เปรียบเหนือเจ้าหนี้อื่น
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 115 ได้นั้น การโอนนั้นจะต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ แต่การโอนตามสัญญาซื้อขายผู้ซื้อมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน จึงไม่มีกรณีที่ผู้ซื้อจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ย่อมนำมาตรา 115 มาเพิกถอนการโอนตามสัญญาซื้อขายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องพิจารณาว่าเป็นการโอนให้เจ้าหนี้เดิมหรือไม่ และผู้รับโอนสุจริตหรือไม่
พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 115 ที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอเพิกถอนการโอนได้ในกรณีที่จำเลยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นนั้น มีความหมายว่าการโอนทรัพย์สินต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้วและการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ เนื่องจากบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นต่างก็จะไม่ได้รับชำระหนี้หรือไม่ได้รับชำระหนี้เต็ม จำนวนจากจำเลยเพราะสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้ว เมื่อจำเลยนำทรัพย์สินเท่าที่มีไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นการให้เปรียบเทียบแก่เจ้าหนี้คนนั้นและทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ เพราะได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่มีโอกาสได้รับชำระหนี้โดยเฉลี่ยจากทรัพย์ที่โอนไปกฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน เมื่อผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน จึงไม่มีกรณีที่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นแต่อย่างใด จะนำมาตรานี้มาเพิกถอนการโอนรายนี้ไม่ได้และเมื่อผู้รับโอนได้รับโอนมาโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทน ก็ไม่อาจเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 114 ได้เช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: สัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้ก่อนฟ้อง ไม่ถือเป็นการโอนเพื่อเจตนาให้ได้เปรียบเจ้าหนี้
ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ทำการโอนที่ดินและตึกแถวให้แก่ผู้คัดค้านภายในสามเดือน ก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตามแต่ การโอนที่ดินและตึกแถวแก่ผู้คัดค้านดังกล่าวเป็นการโอนที่สืบเนื่องมาจากลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ได้ ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวให้ผู้คัดค้านไว้ตั้งแต่ ก่อนโจทก์ฟ้องให้ลูกหนี้ (จำเลย)ทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายประมาณ 2 ปีเศษ โดย ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1จะต้อง โอนที่ดินและตึกแถวแก่ผู้คัดค้านเมื่อสร้างเสร็จ ผู้คัดค้านชำระราคาแล้ว 200,000 บาท ยังเหลืออีก 200,000 บาท แต่ เมื่อสร้างเสร็จแล้วลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 นำที่ดินและตึกแถวไปจำนองบริษัท เครดิตฟองซิเอร์เอเซีย จำกัด ไว้ และไม่สามารถไถ่ถอนจำนองมาเพื่อโอนให้แก่ผู้คัดค้านได้ ฝ่ายผู้คัดค้านจึงได้ ชำระหนี้แทนลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1300,000 บาท เพื่อไถ่ถอนจำนอง ทำให้ผู้คัดค้านต้อง เสียค่าโอนเกินกว่าที่สัญญากำหนดถึง 100,000 บาทการโอนดังกล่าวเป็นการโอนตาม สัญญาที่ลูกหนี้จำต้องโอนให้ผู้คัดค้านอยู่แล้ว ซึ่ง ราคาที่ดินและตึกแถวที่ผู้คัดค้านรับโอนนั้นก็ใกล้เคียงกับราคาที่เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ของกรมบังคับคดีประเมินไว้ในปี 2529 เป็นเงิน 545,300 บาท แต่ ปรากฏว่าผู้คัดค้านรับโอนในปี 2524 ก่อนการประเมินถึง 5 ปี แสดงว่าราคาขณะรับโอนนั้นผู้รับโอนได้ รับโอนในราคาที่สูงกว่าปกติ พฤติการณ์ดังกล่าวไม่มีข้อเท็จจริงใด ส่อแสดงว่าลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม มาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้ .
of 18