พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8335/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือเรียกเอกสารไม่ใช่คำสั่งทางปกครองที่ไม่ต้องระบุเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
คำสั่งที่จะเป็นคำสั่งทางปกครองตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคสาม (1) และ (2) นอกจากจะต้องเป็นคำสั่งในเรื่องการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่แล้ว ยังจะต้องมีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับหรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เมื่อพิจารณาหนังสือสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 24 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2553 แจ้งให้โจทก์นำส่งเอกสาร และหนังสือสำนักงานสรรพากรภาค 3 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2555 ขอเชิญโจทก์พบและให้นำส่งเอกสารหลักฐาน หนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวยังมิได้มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์อันใดขึ้นระหว่างกรมสรรพากรและโจทก์ผู้ขอคืนภาษีอากร ที่โจทก์อ้างว่า เมื่อเจ้าพนักงานเรียกให้ส่งเอกสารแล้วหากไม่ปฏิบัติตามจะก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร ที่กำหนดให้ระงับการคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันสุดท้ายของเวลาที่เจ้าพนักงานสั่งการ นั้น การระงับการคิดดอกเบี้ยในกรณีดังกล่าว หาใช่เป็นผลมาจากการสั่งให้ส่งเอกสารของเจ้าพนักงานโดยตรง หากแต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุที่ผู้ขอคืนภาษีอากรไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน อันทำให้ต้องระงับการคิดดอกเบี้ยโดยผลบังคับของกฎกระทรวงฉบับที่ 161 ถือไม่ได้ว่าคำสั่งเรียกให้ส่งเอกสารของเจ้าพนักงานได้ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ขอคืนภาษีอากร ดังนั้น การออกหนังสือพิพาททั้งสองฉบับของเจ้าพนักงานให้ส่งเอกสารหลักฐานอันควรแก่เรื่องเพื่อประกอบการพิจารณาในการคืนภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 27 จัตวา จึงเป็นเพียงการเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าพนักงานเพื่อจะนำไปสู่การออกคำสั่งทางปกครองต่อไปว่าจะมีคำสั่งคืนเงินค่าภาษีอากรแก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งอยู่ในความหมายของคำว่า "การพิจารณาทางปกครอง" ตามมาตรา 5 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ หนังสือพิพาททั้งสองฉบับจึงไม่เป็นคำสั่งทางปกครอง ย่อมไม่จำต้องระบุเหตุผลตามมาตรา 37
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6517/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอคืนภาษีระหว่างอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมิน ถือโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 และ 2542 ระบุผลการประกอบกิจการขาดทุนสุทธิทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย สำหรับรอบระยะเวลาปฏิบัติดังกล่าว เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบแล้ว กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องตรวจสอบบัญชีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ก่อน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกตรวจสอบโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2539 ข้อ 21 กำหนดระยะเวลาการตรวจสอบให้แล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันออกหมายเรียก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขณะที่ยังอยู่ในระยะเวลาตรวจสอบดังกล่าว การกระทำของจำเลย จึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณา คดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6517/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขอคืนภาษี: การตรวจสอบภาษียังไม่เสร็จสิ้น ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 และ 2542 ระบุผลการประกอบกิจการขาดทุนสุทธิทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย สำหรับรอบระยะเวลาปฏิบัติดังกล่าว เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบแล้ว กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องตรวจสอบบัญชีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ก่อน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกตรวจสอบโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และตามระบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรฯ ข้อ 21 กำหนดระยะเวลาการตรวจสอบให้แล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันออกหมายเรียก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอคืนภาษีขณะที่ยังอยู่ในระยะเวลาตรวจสอบดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง