พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8383/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุสายไฟฟ้าขาด: ประมาทเลินเล่อของทั้งคนขับรถบรรทุกและเจ้าของเสาไฟฟ้า
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนี้กับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีหมายเลขแดงที่ 2691/2556 ของศาลแพ่งขัดกันหรือไม่ เมื่อโจทก์ในคดีดังกล่าว (คือจำเลยที่ 2 ในคดีนี้) ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ดังนั้น เมื่อคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด กรณีจึงไม่ใช่กรณีที่มีคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของสองศาลซึ่งต่างชั้นกันขัดกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146
กรณีจะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 คู่ความทั้งสองคดีต้องเป็นคู่ความเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ถูกจำเลยที่ 2 คดีนี้ฟ้องเป็นจำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 2691/2556 ของศาลแพ่ง และคดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษายกฟ้องแล้ว แต่โจทก์คดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
เนื่องจากคดีก่อนคือคดีหมายเลขแดงที่ 2691/2556 ของศาลแพ่งและคดีนี้เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันโดยมีจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวและมีประเด็นแห่งคดีอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อ ทั้งจำเลยที่ 1 อ้างส่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนซึ่งมีความเห็นแตกต่างจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนี้ และคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นสำคัญในคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงให้นำสำนวนในคดีก่อนมาประกอบการพิจารณาคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 (เดิม) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 187
กรณีจะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 คู่ความทั้งสองคดีต้องเป็นคู่ความเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ถูกจำเลยที่ 2 คดีนี้ฟ้องเป็นจำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 2691/2556 ของศาลแพ่ง และคดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษายกฟ้องแล้ว แต่โจทก์คดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
เนื่องจากคดีก่อนคือคดีหมายเลขแดงที่ 2691/2556 ของศาลแพ่งและคดีนี้เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันโดยมีจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวและมีประเด็นแห่งคดีอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อ ทั้งจำเลยที่ 1 อ้างส่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนซึ่งมีความเห็นแตกต่างจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนี้ และคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นสำคัญในคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงให้นำสำนวนในคดีก่อนมาประกอบการพิจารณาคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 (เดิม) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 187
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล และสิทธิในการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองนำค่าขึ้นศาลเพิ่มมาชำระภายในกำหนด 30 วัน โจทก์ทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1)แต่มาตรา 132 ไม่ได้บังคับว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไปเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ คดีนี้โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเลยกำหนดที่ต้องนำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระเพียงวันเดียวซึ่งขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ยังมิได้สั่งจำหน่ายคดี คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 187 ประกอบมาตรา 246 การที่โจทก์ทั้งสองมีความจำนงจะดำเนินคดีอย่างคนอนาถาด้วยเหตุที่ไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล เมื่อตกเป็นคนยากจนลงภายหลังจะยื่นคำขอในเวลาใด ๆ ก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคแรก คดีมีเหตุสมควรให้โจทก์ทั้งสองได้มีโอกาสดำเนินคดีต่อไป โดยยังไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาลและการขอเป็นคนอนาถา ศาลมีดุลพินิจในการพิจารณาคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองนำค่าขึ้นศาลเพิ่มมาชำระภายในกำหนด 30 วัน โจทก์ทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1) แต่มาตรา 132 ไม่ได้บังคับว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ
คดีนี้โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเลยกำหนดที่ต้องนำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระเพียงวันเดียว ซึ่งขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ยังมิได้สั่งจำหน่ายคดี คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 187 ประกอบมาตรา246 การที่โจทก์ทั้งสองมีความจำนงจะดำเนินคดีอย่างคนอนาถาด้วยเหตุที่ไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล เมื่อตกเป็นคนยากจนลงภายหลังจะยื่นคำขอในเวลาใด ๆ ก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคแรก คดีมีเหตุสมควรให้โจทก์ทั้งสองได้มีโอกาสดำเนินคดีต่อไป โดยยังไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์
คดีนี้โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเลยกำหนดที่ต้องนำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระเพียงวันเดียว ซึ่งขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ยังมิได้สั่งจำหน่ายคดี คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 187 ประกอบมาตรา246 การที่โจทก์ทั้งสองมีความจำนงจะดำเนินคดีอย่างคนอนาถาด้วยเหตุที่ไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล เมื่อตกเป็นคนยากจนลงภายหลังจะยื่นคำขอในเวลาใด ๆ ก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคแรก คดีมีเหตุสมควรให้โจทก์ทั้งสองได้มีโอกาสดำเนินคดีต่อไป โดยยังไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน หลังเจรจาหนี้ไม่สำเร็จ ศาลพิพากษาคดีได้
ในวันนัดสืบพยานจำเลย ทนายจำเลยแถลงว่าจำเลยไม่มีประเด็นอื่นที่จะสืบตามคำให้การอีก จึงไม่ติดใจสืบพยาน แต่ขอเลื่อนคดีเพื่อไปตกลงยอดหนี้กับโจทก์ก่อน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีไปนัดพร้อมในวันนัดพร้อมเพื่อฟังผลการเจรจา โจทก์และจำเลยยังไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องยอดหนี้ ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างและการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์: ศาลไม่จำต้องยึดข้อเท็จจริงจากคดีอาญา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จำเลยที่สั่งให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่ ก. เนื่องจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเพราะการกระทำความผิดอาญาไม่ แม้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาในความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ไม่ใช่มูลเหตุเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ คดีนี้จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา คำร้องทั้งสามฉบับของ ก. กล่าวหาว่าโจทก์เลิกจ้าง ก.ซึ่งเป็นลูกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม แม้คำร้องสองฉบับแรกจะไม่ระบุว่าโจทก์ได้เลิกจ้าง ก. เพราะเหตุที่ ก. ทำคำร้องและให้หลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่ก็ได้ระบุเหตุดังกล่าวในคำร้องกล่าวหาเพิ่มเติมฉบับที่สาม ซึ่งชอบที่ ก. จะกระทำได้ เมื่อจำเลยได้รับคำร้องดังกล่าวแล้วก็ย่อมจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่กรณีที่จะนำบทบัญญัติในเรื่องแก้ไขคำฟ้อง คำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180,187 มาใช้บังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จำเลยที่สั่งให้ โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่ ก. เนื่องจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเพราะการกระทำความผิดอาญาไม่ แม้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาในความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและเรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ไม่ใช่มูลเหตุเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้อง ในคดีนี้ คดีนี้จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ในการพิพากษาคดีศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา คำร้องทั้งสามฉบับของ ก. กล่าวหาว่าโจทก์เลิกจ้าง ก.ซึ่งเป็นลูกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม แม้คำร้องสองฉบับแรกจะไม่ระบุว่าโจทก์ได้เลิกจ้าง ก. เพราะเหตุที่ ก.ทำคำร้องและให้หลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่ก็ได้ระบุเหตุดังกล่าวในคำร้องกล่าวหาเพิ่มเติมฉบับที่สาม ซึ่งชอบที่ ก. จะกระทำได้ เมื่อจำเลยได้รับคำร้องดังกล่าวแล้วก็ย่อมจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่กรณีที่จะนำบทบัญญัติในเรื่องแก้ไขคำฟ้อง คำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180,187 มาใช้บังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาของโจทก์และการแถลงไม่ติดใจสืบพยานของจำเลย ทำให้ศาลต้องพิพากษาคดี
ในวันนัดสืบพยานซึ่งโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน เมื่อโจทก์ไม่นำพยานมาสืบในวันนัด โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาซึ่งศาลอาจสั่งจำหน่ายคดีเสียก็ได้ เมื่อจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน แม้มิได้แถลงให้ชัดแจ้งว่าจำเลยตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป แต่กรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณาและจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลไม่ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดต่อไปอีก และกระบวนพิจารณาเป็นอันสิ้นสุด ดังนี้ คำแถลงของจำเลยดังกล่าวจึงถือได้ว่าจำเลยตั้งใจให้ศาลทำการพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาของโจทก์และการแถลงไม่ติดใจสืบพยานของจำเลย ถือเป็นการตั้งใจให้ศาลพิจารณาพิพากษาคดี
ในวันนัดสืบพยานซึ่งโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน เมื่อโจทก์ไม่นำพยานมาสืบในวันนัด โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาซึ่งศาลอาจสั่งจำหน่ายคดีเสียก็ได้ เมื่อจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน แม้มิได้แถลงให้ชัดแจ้งว่าจำเลยตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป แต่กรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณาและจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลไม่ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดต่อไปอีก และกระบวนพิจารณาเป็นอันสิ้นสุด ดังนี้ คำแถลงของจำเลยดังกล่าวจึงถือได้ว่าจำเลยตั้งใจให้ศาลทำการพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ตัวโจทก์ และการพิพากษาคดีซื้อขายถ่านหิน
การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์สืบพยานเพิ่มเติมภายหลังจากสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้วเหลือเพียงรอฟังคำพิพากษาเพื่อพิสูจน์ชื่อโจทก์เพราะชื่อโจทก์ตามฟ้องกับหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ไม่ตรงกันนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลชั้นต้นมีอำนาจดำเนินการได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคท้าย และ 187 จำเลยผู้ซื้อผิดนัดชำระราคาตามสัญญาซื้อขาย โจทก์ผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่ค้างชำระนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดแต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่าโจทก์ทวงถามวันใดอันจะถือว่าจำเลยผิดนัด ศาลให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ชื่อโจทก์ และการคิดดอกเบี้ยจากวันผิดนัด
การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์สืบพยานเพิ่มเติมภายหลังจากสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้วเพียงรอฟัง คำพิพากษา เพื่อพิสูจน์ชื่อโจทก์เพราะชื่อโจทก์ตามฟ้องกับหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ไม่ตรงกันนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลชั้นต้นมีอำนาจดำเนินการได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคท้าย และ 187
จำเลยผู้ซื้อผิดนัดชำระราคาตามสัญญาซื้อขาย โจทก์ผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่ค้างชำระนับแต่วันที่จำเลยผิดนัด แต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่าโจทก์ทวงถามวันใดอันจะถือว่าจำเลยผิดนัด ศาลให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
จำเลยผู้ซื้อผิดนัดชำระราคาตามสัญญาซื้อขาย โจทก์ผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่ค้างชำระนับแต่วันที่จำเลยผิดนัด แต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่าโจทก์ทวงถามวันใดอันจะถือว่าจำเลยผิดนัด ศาลให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง