คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 36

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8482/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงานแทนสมาชิก: สัญญา, วัตถุประสงค์, มติที่ประชุม, และการมอบอำนาจ
โจทก์ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานฟ้องว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย ขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีต่อกัน กรณีดังกล่าวจึงไม่จำต้องให้สมาชิกของโจทก์มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีแทนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 36 บทบัญญัติดังกล่าวให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่ได้หมายถึงเป็นการตัดสิทธิไม่ให้สหภาพแรงงานฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพแรงงานโดยเฉพาะ โจทก์มีวัตถุที่ประสงค์ตามข้อบังคับ ข้อ 5 (1) ว่า เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 98 (2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุที่ประสงค์ของสหภาพแรงงานและที่ประชุมใหญ่มีมติให้โจทก์ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย อันเป็นไปตามมาตรา 103 (2) แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องแทนสมาชิกของโจทก์ได้
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 100 เป็นเพียงข้อกำหนดให้สหภาพแรงงานซึ่งเป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการต่าง ๆ โดยทางผู้แทนทั้งหลายที่เรียกว่าคณะกรรมการเท่านั้น ไม่ได้มีมาตราอื่นใดของพระราชบัญญัติฉบับนี้บังคับว่าสหภาพแรงงานจะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการทุกคน เมื่อข้อบังคับของโจทก์ได้กำหนดเรื่องการเป็นผู้แทนสหภาพแรงงานในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกไว้ใน ข้อ 20 ว่า คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติของที่ประชุม และเป็นผู้แทนสหภาพแรงงานในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก... และเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการ ในข้อ 27 วรรคสาม ว่า ... การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก...การที่โจทก์มีกรรมการทั้งหมด 11 คน แม้ขณะฟ้องกรรมการโจทก์จะเหลืออยู่เพียง 8 คน ก็ถือว่าเป็นเสียงข้างมากตามข้อบังคับของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจโดยชอบที่จะมอบอำนาจให้ ส. หรือ ท. หรือ น. ดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจได้ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน: สิทธิของลูกจ้างต้องเป็นผู้ฟ้องเองหรือมอบอำนาจ
สมาชิกของสหภาพแรงงานโจทก์แต่ละคนหากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ที่จะได้รับหรือจ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่อีกร้อยละห้าสิบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ และตามสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของสมาชิกโจทก์สามารถบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามกฎหมายและสัญญาจ้างแรงงานได้โดยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาล ซึ่งจะดำเนินคดีด้วยตนเองหรือจะแต่งตั้งผู้แทนหรือทนายความ หรือจะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานที่ตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีแทนตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 36 ก็ได้ เมื่อสมาชิกโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยและมิได้มอบอำนาจให้โจทก์ดำเนินคดีแทน แต่โจทก์ในฐานะสหภาพแรงงานฟ้องจำเลยโดยมิได้มีข้อโต้แย้งใด ๆ เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งกับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 และมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: สหภาพแรงงานฟ้องแทนลูกจ้างโดยไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นโมฆะ
โจทก์ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างว่าจำเลยสั่งให้สมาชิกของโจทก์หมุนเวียนหยุดงานเป็นช่วง ๆ โดยอ้างเหตุจำเป็นเนื่องจากประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และจ่ายค่าจ้างให้สมาชิกของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยระหว่างหยุดงานเพียงร้อยละห้าสิบของอัตราค่าจ้างปกติ การกระทำของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 เป็นการผิดสัญญาจ้างและเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยสมาชิกของโจทก์และโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วยขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่อีกร้อยละห้าสิบแก่สมาชิกของโจทก์ เป็นกรณีที่สมาชิกของโจทก์แต่ละคนมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ที่จะได้รับหรือจ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่อีกร้อยละห้าสิบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541และตามสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของสมาชิกของโจทก์โดยตรงซึ่งหากสมาชิกของโจทก์คนใดประสงค์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามกฎหมายและสัญญาจ้างแรงงานสมาชิกของโจทก์คนนั้น ก็จะต้องเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 36
สมาชิกของโจทก์มิได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างและมิได้มอบอำนาจให้โจทก์ดำเนินคดีแทน แต่โจทก์ในฐานะสหภาพแรงงานเป็นผู้ฟ้องจำเลยโดยมิได้มีข้อโต้แย้งใด ๆ เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งกับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8และมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงานตามข้อตกลงสภาพการจ้าง และสิทธิของนายจ้างในการยุบหอพักลูกจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับโจทก์โดยมีข้อตกลงให้มีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างทุกคนของจำเลยทั้งสามขอให้บังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ดังนี้ โจทก์ในฐานะสหภาพแรงงานย่อมมีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าลูกจ้างของจำเลยทั้งสามเป็นสมาชิกของโจทก์หรือไม่
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องหอพักของพนักงานระหว่างโจทก์จำเลยมีว่า โจทก์ตกลงรับหลักการให้ยุบที่พักอาศัยของบริษัทจำเลยทั้งสามได้โดยทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาในรายละเอียดร่วมกันและต้องทำความตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม2529 และให้ลูกจ้างที่พักอาศัยทุกคนย้ายออกไปภายใน 2เดือนหลังจากตกลงกันได้ เช่นนี้ ความสำคัญของข้อตกลงนี้จึงมีว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์ให้มีที่พักอาศัยของลูกจ้างต่อไปอีก ส่วนข้อความว่าจะต้องมีการตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2529 นั้นเป็นเพียงรายละเอียด ทั้งยังแสดงเจตนาของคู่สัญญานั้นว่าไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไรลูกจ้างจะต้องออกไปจากหอพักอย่างช้าที่สุดคือสิ้นปีพ.ศ. 2529 เมื่อปรากฏว่าโจทก์จำเลยไม่อาจเจรจาทำความตกลงกันได้ภายในเวลาที่กำหนด และเวลาก็ได้ล่วงพ้นปี พ.ศ. 2529ไปแล้วจำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิประกาศให้ลูกจ้างออกจากหอพักได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน และสิทธิของนายจ้างในการยุบหอพักหลังเจรจาไม่เป็นผล
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับโจทก์โดยมีข้อตกลงให้มีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างทุกคนของจำเลยทั้งสามขอให้บังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ดังนี้ โจทก์ในฐานะสหภาพแรงงานย่อมมีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นสัญญา ระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าลูกจ้างของจำเลยทั้งสามเป็นสมาชิกของโจทก์หรือไม่
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องหอพักของพนักงานระหว่างโจทก์จำเลยมีว่า โจทก์ตกลงรับหลักการให้ยุบที่พักอาศัยของบริษัทจำเลยทั้งสามได้โดยทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาในรายละเอียดร่วมกันและต้องทำความตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2529 และให้ลูกจ้างที่พักอาศัยทุกคนย้ายออกไปภายใน 2 เดือนหลังจากตกลงกันได้ เช่นนี้ ความสำคัญของข้อตกลงนี้จึงมีว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์ให้มีที่พักอาศัยของลูกจ้างต่อไปอีก ส่วนข้อความว่าจะต้องมีการตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2529 นั้นเป็นเพียงรายละเอียด ทั้งยังแสดงเจตนาของคู่สัญญานั้นว่าไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร ลูกจ้างจะต้องออกไปจากหอพักอย่างช้าที่สุดคือสิ้นปี พ.ศ. 2529 เมื่อปรากฏว่าโจทก์จำเลยไม่อาจเจรจาทำความตกลงกันได้ภายในเวลาที่กำหนด และเวลาก็ได้ล่วงพ้นปี พ.ศ. 2529 ไปแล้วจำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิประกาศให้ลูกจ้างออกจากหอพักได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการฟ้องของสหภาพแรงงาน และการบังคับใช้มติคณะรัฐมนตรีกับบริษัทเอกชน
บทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นเพียง กำหนดให้สหภาพแรงงานดำเนินกิจการต่าง ๆ โดยทางผู้แทนทั้งหลายที่เรียกว่าคณะกรรมการเท่านั้น และไม่มีมาตรา อื่นใดบังคับว่า สหภาพแรงงานจะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการทุกคน เมื่อข้อบังคับของสหภาพ แรงงานโจทก์มิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 ว่าการจะทำความตกลงต่าง ๆ ในทางอำนวยกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ในหมู่ผู้จัดการทั้งหลายด้วยกัน
พระราชบัญญัติตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 36 ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งคนเป็นสมาชิก ดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงาน ซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมาย แรงงานแทนลูกจ้าง ผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่หมายถึงการฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพ แรงงานโดยเฉพาะ สหภาพแรงงานโจทก์มีวัตถุประสงค์ว่า เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 98 (2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน ฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ วินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของโจทก์ไปในทางเสื่อมประโยชน์ ของสมาชิก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสหภาพแรงงานฟ้องคดี – เสียงข้างมากกรรมการ – สิทธิลูกจ้างมอบอำนาจ – สัญญาเช่าผูกพันตามมติคณะรัฐมนตรี
บทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เป็นเพียงกำหนดให้สหภาพแรงงานดำเนินกิจการต่าง ๆ โดยทางผู้แทนทั้งหลายที่เรียกว่าคณะกรรมการเท่านั้น และไม่มีมาตราอื่นใดบังคับว่า สหภาพแรงงานจะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการทุกคน เมื่อข้อบังคับของสหภาพแรงงานโจทก์มิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่นกรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 ว่าการจะทำความตกลงต่างๆ ในทางอำนวยกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้เป็นไปตามเสียงข้างมากในหมู่ผู้จัดการทั้งหลายด้วยกัน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา 36 ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่หมายถึงการฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพแรงงานโดยเฉพาะ สหภาพแรงงานโจทก์มีวัตถุประสงค์ว่า เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา98(2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน ฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของโจทก์ไปในทางเสื่อมประโยชน์ของสมาชิกโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้