พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8482/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงานแทนสมาชิก: สัญญา, วัตถุประสงค์, มติที่ประชุม, และการมอบอำนาจ
โจทก์ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานฟ้องว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย ขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีต่อกัน กรณีดังกล่าวจึงไม่จำต้องให้สมาชิกของโจทก์มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีแทนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 36 บทบัญญัติดังกล่าวให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่ได้หมายถึงเป็นการตัดสิทธิไม่ให้สหภาพแรงงานฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพแรงงานโดยเฉพาะ โจทก์มีวัตถุที่ประสงค์ตามข้อบังคับ ข้อ 5 (1) ว่า เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 98 (2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุที่ประสงค์ของสหภาพแรงงานและที่ประชุมใหญ่มีมติให้โจทก์ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย อันเป็นไปตามมาตรา 103 (2) แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องแทนสมาชิกของโจทก์ได้
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 100 เป็นเพียงข้อกำหนดให้สหภาพแรงงานซึ่งเป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการต่าง ๆ โดยทางผู้แทนทั้งหลายที่เรียกว่าคณะกรรมการเท่านั้น ไม่ได้มีมาตราอื่นใดของพระราชบัญญัติฉบับนี้บังคับว่าสหภาพแรงงานจะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการทุกคน เมื่อข้อบังคับของโจทก์ได้กำหนดเรื่องการเป็นผู้แทนสหภาพแรงงานในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกไว้ใน ข้อ 20 ว่า คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติของที่ประชุม และเป็นผู้แทนสหภาพแรงงานในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก... และเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการ ในข้อ 27 วรรคสาม ว่า ... การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก...การที่โจทก์มีกรรมการทั้งหมด 11 คน แม้ขณะฟ้องกรรมการโจทก์จะเหลืออยู่เพียง 8 คน ก็ถือว่าเป็นเสียงข้างมากตามข้อบังคับของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจโดยชอบที่จะมอบอำนาจให้ ส. หรือ ท. หรือ น. ดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจได้ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 100 เป็นเพียงข้อกำหนดให้สหภาพแรงงานซึ่งเป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการต่าง ๆ โดยทางผู้แทนทั้งหลายที่เรียกว่าคณะกรรมการเท่านั้น ไม่ได้มีมาตราอื่นใดของพระราชบัญญัติฉบับนี้บังคับว่าสหภาพแรงงานจะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการทุกคน เมื่อข้อบังคับของโจทก์ได้กำหนดเรื่องการเป็นผู้แทนสหภาพแรงงานในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกไว้ใน ข้อ 20 ว่า คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติของที่ประชุม และเป็นผู้แทนสหภาพแรงงานในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก... และเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการ ในข้อ 27 วรรคสาม ว่า ... การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก...การที่โจทก์มีกรรมการทั้งหมด 11 คน แม้ขณะฟ้องกรรมการโจทก์จะเหลืออยู่เพียง 8 คน ก็ถือว่าเป็นเสียงข้างมากตามข้อบังคับของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจโดยชอบที่จะมอบอำนาจให้ ส. หรือ ท. หรือ น. ดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจได้ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7906/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติสมาชิก/กรรมการสหภาพแรงงาน: ลูกจ้างนายจ้างเดียวกัน
คุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นสมาชิกหรือกรรมการหรืออนุกรรมการของสหภาพแรงงานซึ่งดำเนินการขอจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 100, 101(1) คือการเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานนั้น ๆ เพราะสหภาพแรงงานต้องมีวัตุประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน นอกจากนี้สหภาพแรงงานยังมีอำนาจหน้าที่ในการเรียกร้อง เจรจาทำความตกลงกับนายจ้างแทนสมาชิกเพื่อประโยชน์ของสมาชิกอีกด้วย โจทก์ที่ 2 พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างไปแล้ว จึงขาดคุณสมบัติในข้อที่เป็นสาระสำคัญในการเป็นสมาชิกหรือกรรมการของสหภาพแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7906/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติสมาชิก/กรรมการสหภาพแรงงาน: ต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างเดียวกัน
คุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นสมาชิกหรือกรรมการหรืออนุกรรมการของสหภาพแรงงานซึ่งดำเนินการขอจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 100,101(1) คือการเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานนั้น ๆ เพราะสหภาพแรงงานต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน นอกจากนี้สหภาพแรงงานยังมีอำนาจหน้าที่ในการเรียกร้องเจรจาทำความตกลงกับนายจ้างแทนสมาชิกเพื่อประโยชน์ของสมาชิกอีกด้วย โจทก์ที่ 2 พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างไปแล้วจึงขาดคุณสมบัติในข้อที่เป็นสาระสำคัญในการเป็นสมาชิกหรือกรรมการของสหภาพแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสหภาพแรงงาน: คณะกรรมการชุดเดิมหมดวาระ ย่อมไม่มีอำนาจดำเนินการแทนสหภาพ
ตามข้อบังคับของสหภาพแรงงานฯ โจทก์มิได้มีข้อกำหนดให้คณะกรรมการสหภาพฯ ทำหน้าที่รักษาการต่อไปภายหลังสิ้นสุดวาระการดำรง ตำแหน่งลง คณะกรรมการสหภาพฯ จึงต้องสิ้นสุดสภาพการเป็นกรรมการนับแต่วันครบวาระการดำรง ตำแหน่งเป็นต้นไป และไม่มีอำนาจลงมติปลดสมาชิกภาพของผู้แทนสมาชิกใด ๆ อีก ประกอบกับข้อบังคับของสหภาพฯ กำหนดว่าการประชุมใหญ่คือการประชุมซึ่งผู้แทนสมาชิกทุกคนตามทะเบียนมีสิทธิเข้าประชุมได้ ฉะนั้นการที่คณะกรรมการซึ่งสิ้นสุดวาระการดำรง ตำแหน่งดังกล่าว ได้ลงมติปลดสมาชิกภาพของผู้แทนสมาชิก 15 คน และจัดประชุมใหญ่ โดยไม่ยอมให้ผู้แทนที่ถูกปลดเหล่านี้เข้าประชุมด้วย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของสหภาพฯ การเลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ในวันดังกล่าวต้องเสียไปไม่มีผลใช้บังคับ และคณะกรรมการสหภาพฯ ชุด ที่ได้รับเลือกในวันดังกล่าวซึ่งมี ส. ได้รับเลือกตั้งด้วยนั้น จึงมิได้มีฐานะเป็นกรรมการสหภาพฯ ดังนี้ การที่คณะกรรมการชุด นี้ได้ลงมติให้ ส. เป็นผู้แทนโจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอำนาจ ไม่มีผลทำให้สหภาพฯ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้แทนสหภาพแรงงาน: การแต่งตั้งทนายความต้องเป็นไปตามมติคณะกรรมการ
คณะกรรมการของสหภาพแรงงานเป็นผู้แทนที่มีอำนาจดำเนินกิจการของสหภาพแรงงาน หากคณะกรรมการของสหภาพแรงงานไม่ประสงค์จะดำเนินกิจการในฐานะเป็นผู้แทนทั้งหมด ก็มีสิทธิที่จะตกลงมอบหมายให้กรรมการของสหภาพแรงงานคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนรวมกันทำกิจการแทนคณะกรรมการของสหภาพแรงงานได้
การดำเนินคดีของสหภาพแรงงานจำเลยที่ 1 ต้องกระทำร่วมกันโดยจำเลยที่ 2 - 14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ผู้เดียวลงชื่อแต่งตั้ง ส. เป็นทนายความให้มีสิทธิอุทธรณ์ในนามจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 - 14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 มิได้มอบหมายให้จำเลยที่ 3 ดำเนินคดีแทนคณะกรรมการแต่อย่างใดจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ ส. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจโดยชอบ
การดำเนินคดีของสหภาพแรงงานจำเลยที่ 1 ต้องกระทำร่วมกันโดยจำเลยที่ 2 - 14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ผู้เดียวลงชื่อแต่งตั้ง ส. เป็นทนายความให้มีสิทธิอุทธรณ์ในนามจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 - 14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 มิได้มอบหมายให้จำเลยที่ 3 ดำเนินคดีแทนคณะกรรมการแต่อย่างใดจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ ส. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้แทนสหภาพแรงงาน: คณะกรรมการต้องร่วมกันดำเนินการ หรือมอบหมายให้กรรมการอื่นทำแทน
คณะกรรมการของสหภาพแรงงานเป็นผู้แทนที่มีอำนาจดำเนินกิจการของสหภาพแรงงาน หากคณะกรรมการของสหภาพแรงงานไม่ประสงค์จะดำเนินกิจการในฐานะเป็นผู้แทนทั้งหมด ก็มีสิทธิที่จะตกลงมอบหมายให้กรรมการของสหภาพแรงงานคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนรวมกันทำกิจการแทนคณะกรรมการของสหภาพแรงงานได้ การดำเนินคดีของสหภาพแรงงานจำเลยที่ 1 ต้องกระทำร่วมกันโดยจำเลยที่ 2-14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3ผู้เดียวลงชื่อแต่งตั้ง ส. เป็นทนายความให้มีสิทธิอุทธรณ์ในนามจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2-14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการของจำเลยที่ 1มิได้มอบหมายให้จำเลยที่ 3 ดำเนินคดีแทนคณะกรรมการแต่อย่างใดจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ ส. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจโดยชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้แทนสหภาพแรงงาน: การแต่งตั้งทนายความต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการทั้งหมด
คณะกรรมการของสหภาพแรงงานเป็นผู้แทนที่มีอำนาจดำเนินกิจการของสหภาพแรงงาน หากคณะกรรมการของสหภาพแรงงานไม่ประสงค์จะดำเนินกิจการในฐานะเป็นผู้แทนทั้งหมด ก็มีสิทธิที่จะตกลงมอบหมายให้กรรมการของสหภาพแรงงานคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนร่วมกันทำกิจการแทนคณะกรรมการสหภาพแรงงานได้ ในการดำเนินคดีของสหภาพแรงงานจำเลยที่ 1 จึงต้องกระทำร่วมกันโดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 ได้ตกลงมอบหมายให้จำเลยที่ 3 แต่ผู้เดียวเป็นผู้ดำเนินคดีแทนคณะกรรมการ การที่จำเลยที่ 3 แต่เพียงผู้เดียวได้ลงลายมือชื่อแต่งตั้งทนายความให้มีสิทธิอุทธรณ์ในนามของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 มีอำนาจเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ที่จะปฏิบัติเช่นนั้นได้ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ทนายความดังกล่าวลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน: ข้อบังคับภายในต้องสอดคล้องกับกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ การมอบอำนาจฟ้องต้องเป็นไปตามข้อบังคับ
ข้อบังคับของสหภาพแรงงานคุรุสภาโจทก์มีว่าคณะกรรมการสหภาพแรงงานเป็นผู้แทนของสหภาพแรงงานในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกและเพื่อการนี้คณะกรรมการสหภาพแรงงานอาจมอบหมายให้ประธานกรรมการร่วมกับกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนกระทำการแทนได้. ดังนี้ การที่สหภาพแรงงานฯ โจทก์จะดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกจะต้องมอบหมายให้ประธานกรรมการร่วมกับกรรมการอื่นเป็นผู้ทำการแทน และไม่อาจแปลได้ว่าอาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งทำการแทนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา100 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ได้ ฉะนั้นการที่โจทก์โดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานมอบให้ประธานกรรมการเป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแต่เพียงผู้เดียวจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน: ข้อจำกัดจากข้อบังคับภายใน vs. บทบัญญัติกฎหมาย
ข้อบังคับของสหภาพแรงงานคุรุสภาโจทก์มีว่า คณะกรรมการสหภาพแรงงานเป็นผู้แทนของสหภาพแรงงานในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกและเพื่อการนี้คณะกรรมการสหภาพแรงงานอาจมอบหมายให้ประธานกรรมการร่วมกับกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนกระทำการแทนได้. ดังนี้ การที่สหภาพแรงงาน ฯ โจทก์จะดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกจะต้องมอบหมายให้ประธานกรรมการร่วมกับกรรมการอื่นเป็นผู้ทำการแทน และไม่อาจแปลได้ว่าอาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งทำการแทนดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ได้ ฉะนั้นการที่โจทก์โดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานมอบให้ประธานกรรมการเป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแต่เพียงผู้เดียวจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสหภาพแรงงานฟ้องคดี – เสียงข้างมากกรรมการ – สิทธิลูกจ้างมอบอำนาจ – สัญญาเช่าผูกพันตามมติคณะรัฐมนตรี
บทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เป็นเพียงกำหนดให้สหภาพแรงงานดำเนินกิจการต่าง ๆ โดยทางผู้แทนทั้งหลายที่เรียกว่าคณะกรรมการเท่านั้น และไม่มีมาตราอื่นใดบังคับว่า สหภาพแรงงานจะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการทุกคน เมื่อข้อบังคับของสหภาพแรงงานโจทก์มิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่นกรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 ว่าการจะทำความตกลงต่างๆ ในทางอำนวยกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้เป็นไปตามเสียงข้างมากในหมู่ผู้จัดการทั้งหลายด้วยกัน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา 36 ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่หมายถึงการฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพแรงงานโดยเฉพาะ สหภาพแรงงานโจทก์มีวัตถุประสงค์ว่า เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา98(2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน ฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของโจทก์ไปในทางเสื่อมประโยชน์ของสมาชิกโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา 36 ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่หมายถึงการฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพแรงงานโดยเฉพาะ สหภาพแรงงานโจทก์มีวัตถุประสงค์ว่า เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา98(2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน ฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของโจทก์ไปในทางเสื่อมประโยชน์ของสมาชิกโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้