พบผลลัพธ์ทั้งหมด 563 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การที่ไม่ชัดเจนในการต่อสู้คดีสัญญาเหมาทำของ ทำให้จำเลยไม่มีประเด็นสืบ
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างเหมาทำของจากจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธต่อสู้ว่า โจทก์ทำการไม่ถูกต้องครบถ้วนตามข้อสัญญา รายการและแผนผังหลายประการและทำการยังไม่เสร็จสิ้นตามสัญญานั้น เป็นคำกล่าวอ้างที่ไม่อาจรู้ได้ว่าโจทก์ทำการไม่ถูกต้องอย่างไร และทำการยังไม่เสร็จสิ้นอย่างไรบ้าง จึงเป็นคำให้การที่มิได้ต่อสู้คดีให้ชัดแจ้งตามที่กฎหมายบังคับไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา177 ฉะนั้นจำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบตามคำให้การนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การที่ไม่ชัดเจน ไม่ระบุรายละเอียดการไม่ปฏิบัติตามสัญญา ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิอ้างเหตุนั้นในการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างเหมาทำของจากจำเลยๆให้การปฏิเสธต่อสู้ว่า โจทก์ทำการไม่ถูกต้องครบถ้วนตามข้อสัญยา รายการและแผนผังหลายประการและทำการยังไม่เสร็จสิ้นตามสัญญานั้น เป็นคำกล่าวอ้างที่ไม่อาจรู้ได้ว่า โจทก์ทำการไม่ถูกต้องอย่างไร และทำการยังไม่เสร็จสิ้นอย่างไรบ้าง จึงเป็นคำให้การที่มิได้ต่อสู้คดีให้ชัดแจ้งตามที่กฎหมายบังคับไว้ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 177 ฉะนั้นจำเลยจึงไม่มีประเด็นจำนำสืบตามคำให้การนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนในวันทำสัญญา แต่แก้ไขให้ถูกต้องก่อนฟ้อง ไม่กระทบการใช้สัญญากู้เป็นหลักฐาน
สัญญากู้ปิดอากรแสตมป์ในวันทำสัญญา ขาดอัตราไป 2 บาทต่อมาในวันยื่นฟ้อง ผู้ให้กู้ซึ่งเป็นโจทก์ปิดเพิ่มอีก 2 บาท ครบตามอัตราที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วดังนี้ ย่อมใช้สัญญากู้นั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ มิจำจะต้องเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพราะการที่จะรับผิดเสียอากรเพิ่มขึ้นเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่กระทบกระทั่งถึงการที่จะฟังตราสารนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์สัญญากู้: การปิดอากรเพิ่มเติมหลังทำสัญญาไม่กระทบความเป็นพยานหลักฐาน
สัญญากู้ปิดอากรแสตมป์ในวันทำสัญญา ขาดอัตราไป 2 บาท ต่อมาในวันยื่นฟ้อง ผู้ให้กู้ซึ่งเป็นโจทก์ปิดเพิ่มอีก 2 บาท ครบตามอัตราที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ดังนี้ ย่อมใช้สัญญากู้นั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ มิจำจะต้องเสียอากรและเงินเพิ่มอากร เพราะการที่จะรับผิดเสียอากรเพิ่มขึ้นเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่กระทบกระทั่งถึงการที่จะฟังตราสารนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกสินบริคณห์ให้บุตรต้องมียินยอมจากสามี หากศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่รับพิจารณาข้อกฎหมายใหม่
ภรรยาเอาที่ดินและบ้านเรือน อันเป็นทรัพย์สินบริคณห์ไปทำหนังสือยกให้แก่บุตร ณ ที่ว่าการอำเภอ โดยสามีได้รู้เห็นยินยอมด้วยครั้นภายหลังบุตรถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ยึดทรัพย์นั้น สามีจะไปร้องขอให้ปล่อยทรัพย์โดยอ้างว่าเป็นสินบริคณห์ ไม่ได้
สามีร้องขัดทรัพย์ โดยอ้างว่าภรรยาเอาสินบริคณห์ไปยกให้แก่บุตรโดยตนมิได้รู้เห็นยินยอม สัญญายกให้จึงใช้ไม่ได้ ครั้นศาลชั้นต้นฟังว่าสามีรู้เห็นยินยอมในการยกให้แล้ว ให้ยกคำร้อง สามีกลับคัดค้านในชั้นศาลอุทธรณ์อีกว่า สามีจะต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 อีก ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะข้อกฎหมายนี้มิได้ยกขึ้นอ้างมาแต่ศาลชั้นต้น และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
สามีร้องขัดทรัพย์ โดยอ้างว่าภรรยาเอาสินบริคณห์ไปยกให้แก่บุตรโดยตนมิได้รู้เห็นยินยอม สัญญายกให้จึงใช้ไม่ได้ ครั้นศาลชั้นต้นฟังว่าสามีรู้เห็นยินยอมในการยกให้แล้ว ให้ยกคำร้อง สามีกลับคัดค้านในชั้นศาลอุทธรณ์อีกว่า สามีจะต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 อีก ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะข้อกฎหมายนี้มิได้ยกขึ้นอ้างมาแต่ศาลชั้นต้น และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเพื่อเก็บสินค้าและให้ลูกจ้างพักอาศัย ไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า สัญญาเช่าระยะเวลาไม่แน่นอนมีผลผูกพัน
เช่าตึกแถวในย่านการค้าไว้สำหรับเก็บสินค้าและให้ลูกจ้างมาอยู่อาศัยเพื่อเฝ้าดูแลสินค้า ส่วนตัวผู้เช่าและครอบครัวตั้งร้านค้าขายอยู่อีกแห่งหนึ่งต่างหาก ดังนี้ แม้ผู้ให้เช่าจะได้รู้เห็นยินยอมด้วยแต่แรก ในการที่ลูกจ้างของจำเลยเข้าไปอยู่อาศัยในห้องเช่า ผู้เช่าก็มิได้รับความคุ้มครอง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ
สัญญาเช่าซึ่งตกลงเก็บค่าเช่ากันเป็น 2 ระยะ คือในชั้นแรกคิดค่าเช่ากันเป็นรายเดือนเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ถ้าผู้เช่ามิได้ตกลงทำสัญญาเช่ากันใหม่ แต่ยังคงใช้ห้องเช่าต่อไปก็ให้ถือว่าเช่ากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาโดยยอมให้ค่าเช่าวันละ 5 บาททุกวันไปจนกว่าจะมอบห้องคืน ดังนี้ เมื่อคู่สัญญาทำกันด้วยความสมัครใจก็ย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย
สัญญาเช่าซึ่งตกลงเก็บค่าเช่ากันเป็น 2 ระยะ คือในชั้นแรกคิดค่าเช่ากันเป็นรายเดือนเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ถ้าผู้เช่ามิได้ตกลงทำสัญญาเช่ากันใหม่ แต่ยังคงใช้ห้องเช่าต่อไปก็ให้ถือว่าเช่ากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาโดยยอมให้ค่าเช่าวันละ 5 บาททุกวันไปจนกว่าจะมอบห้องคืน ดังนี้ เมื่อคู่สัญญาทำกันด้วยความสมัครใจก็ย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเพื่อเก็บสินค้าและอยู่อาศัยของลูกจ้าง ไม่คุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า สัญญาเช่าระยะยาวผูกพันตามกฎหมาย
เช่าตึกแถวในย่านการค้าไว้สำหรับเก็บสินค้าและให้ลูกจ้างมาอยู่อาศัยเพื่อเฝ้าดูแลสินค้า ส่วนตัวผู้เช่าและครอบครัวตั้งร้านค้าขายอยู่อีกแห่งหนึ่งต่างหาก ดังนี้ แม้ผู้ให้เช่าจะได้รู้เห็นยินยอมด้วยแต่แรก ในการที่ลูกจ้างของจำเลยเข้าไปอยู่อาศัยในห้องเช่า ผู้เช่าก็มิได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯลฯ
สัญญาเช่าซึ่งตกลงเก็บค่าเช่ากันเป็น 2 ระยะ คือในชั้นแรกคิดค่าเช่ากันเป็นรายเดือนเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ถ้าผู้เช่ามิได้ตกลงทำสัญญาเช่ากันใหม่ แต่ยังคงใช้ห้องเช่าต่อไปก็ให้ถือว่าเช่ากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาโดยยอมให้ค่าเช่าวันละ 5 บาททุกวันไปจนกว่าจะมอบห้องคืน ดังนี้ เมื่อคู่สัญญาทำกันด้วยความสมัครใจก็ย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย
สัญญาเช่าซึ่งตกลงเก็บค่าเช่ากันเป็น 2 ระยะ คือในชั้นแรกคิดค่าเช่ากันเป็นรายเดือนเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ถ้าผู้เช่ามิได้ตกลงทำสัญญาเช่ากันใหม่ แต่ยังคงใช้ห้องเช่าต่อไปก็ให้ถือว่าเช่ากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาโดยยอมให้ค่าเช่าวันละ 5 บาททุกวันไปจนกว่าจะมอบห้องคืน ดังนี้ เมื่อคู่สัญญาทำกันด้วยความสมัครใจก็ย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีทหาร และการแจ้งข้อหาผู้ต้องหา: การพิจารณาตามกฎหมายและระเบียบทหาร
ประมวลกฎหมายอาญาทหาร ม.4 + 30 ถึง 33 แสดงให้เห็นว่า " ผู้ซื่งบังคับบัญชาทหาร " ย่อมออกคำสั่งหรือข้อบังคับให้ใช้บังคับทหาร เช่นกฎหมายของเขาเหล่านั้นได้ ปัญหาเรื่องอำนาจหน้าที่และวิธีการสอบสวนคดีอาญาของฝ่ายทหารศาลต้องพิจารณาแปลความหมายในบรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของฝ่ายทหารประกอบด้วยประมวลวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อบังคับทหารที่ 9/10909/2477 ว่าด้วยระเบียบจัดการทางคดี ไม่มีข้อความใดที่บังคับว่าการไต่สวนคดีที่เกิดนอกกรุงเทพ+จะให้ศาลทหารพิจารณา บุคคลอื่นนอกจากอัยการจะกระทำไม่ได้ คำว่า " ไต่สวน " ในข้อบังคับนั้น มุ่งหมายเพียงแต่ว่าจะให้ใครไต่สวนได้ เพราะการฟ้องร้องในสมัยก่อนใช้ประมวลก.ม.วิธีพิจารณาความอาญา ไม่จำต้องมีการไต่สวนมาก่อน การดำเนินคดีในกรณีทีทหารเป็นผู้ต้องหาเป็นเรื่องกึ่ง+นัยกึ่งอาญาแผ่นดิน การสอบสวนที่ผู้บังคับทหารมณฑลทหารบกที่ 2 สั่งตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิได้สั่งให้อัยการในทหารนอกกรุงเทพเป็นผู้สอบสวนตามข้อบังคับนั้น จึงชอบด้วย ก.ม.เพื่อฟ้องคดีต่อศาลทหารแล้ว
ป.วิ.อาญาม.134 หมายความเพียงว่า ก.ม.ต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนต้องถูกสอบสวนในคดีอาญา เรื่องใดอันเปนประธานมิได้หมายความความว่าต้องแจ้งกะทงความผิดทุกกะทง เช่นแจ้งข้อหาฐานลักทรัพย์ ปรากฎว่าผู้ต้องหาทำลายตราและไม่ทำตามข้อบังคับด้วยในการลักทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมฟ้องฐานรวมไปได้ทุกฐาน ฎีกา 99/81 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องฐานอื่นเพิ่มเติมโดยปรากฎขึ้นในการพิจารณาของศาล หาได้อาศัยจากการสอบสวนไม่ จึงฟ้องไม่ได้เพราะไม่มีการสอบสวน
ข้อบังคับทหารที่ 9/10909/2477 ว่าด้วยระเบียบจัดการทางคดี ไม่มีข้อความใดที่บังคับว่าการไต่สวนคดีที่เกิดนอกกรุงเทพ+จะให้ศาลทหารพิจารณา บุคคลอื่นนอกจากอัยการจะกระทำไม่ได้ คำว่า " ไต่สวน " ในข้อบังคับนั้น มุ่งหมายเพียงแต่ว่าจะให้ใครไต่สวนได้ เพราะการฟ้องร้องในสมัยก่อนใช้ประมวลก.ม.วิธีพิจารณาความอาญา ไม่จำต้องมีการไต่สวนมาก่อน การดำเนินคดีในกรณีทีทหารเป็นผู้ต้องหาเป็นเรื่องกึ่ง+นัยกึ่งอาญาแผ่นดิน การสอบสวนที่ผู้บังคับทหารมณฑลทหารบกที่ 2 สั่งตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิได้สั่งให้อัยการในทหารนอกกรุงเทพเป็นผู้สอบสวนตามข้อบังคับนั้น จึงชอบด้วย ก.ม.เพื่อฟ้องคดีต่อศาลทหารแล้ว
ป.วิ.อาญาม.134 หมายความเพียงว่า ก.ม.ต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนต้องถูกสอบสวนในคดีอาญา เรื่องใดอันเปนประธานมิได้หมายความความว่าต้องแจ้งกะทงความผิดทุกกะทง เช่นแจ้งข้อหาฐานลักทรัพย์ ปรากฎว่าผู้ต้องหาทำลายตราและไม่ทำตามข้อบังคับด้วยในการลักทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมฟ้องฐานรวมไปได้ทุกฐาน ฎีกา 99/81 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องฐานอื่นเพิ่มเติมโดยปรากฎขึ้นในการพิจารณาของศาล หาได้อาศัยจากการสอบสวนไม่ จึงฟ้องไม่ได้เพราะไม่มีการสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนคดีอาญาของทหาร และการแจ้งข้อหา
ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 430ถึง 33 แสดงให้เห็นว่า"ผู้ซึ่งบังคับบัญชาทหาร" ย่อมออกคำสั่งหรือข้อบังคับให้ใช้บังคับทหาร เช่นกฎหมายของเขาเหล่านั้นได้ ปัญหาเรื่องอำนาจหน้าที่และวิธีการสอบสวนคดีอาญาของฝ่ายทหารศาลต้องพิจารณาแปลความหมายในบรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของฝ่ายทหารประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อบังคับทหารที่ 9/10909/2477 ว่าด้วยระเบียบจัดการทางคดีไม่มีข้อความใดที่บังคับว่าการไต่สวนคดีที่เกิดนอกกรุงเทพที่จะให้ศาลทหารพิจารณานั้น บุคคลอื่นนอกจากอัยการจะกระทำไม่ได้ คำว่า "ไต่สวน" ในข้อบังคับนั้นมุ่งหมายเพียงแต่ว่าจะให้ใครไต่สวนได้ เพราะการฟ้องร้องในสมัยก่อนใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่จำต้องมีการไต่สวนมาก่อน การดำเนินคดีในกรณีที่ทหารเป็นผู้ต้องหาเป็นเรื่องกึ่งวินัยกึ่งอาญาแผ่นดิน การสอบสวนที่ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 2 สั่งตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิได้สั่งให้อัยการในหน่วยทหารนอกกรุงเทพเป็นผู้สอบสวนตามข้อบังคับนั้น จึงชอบด้วยกฎหมายเพื่อฟ้องคดีต่อศาลทหารแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 หมายความเพียงว่ากฎหมายต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนต้องถูกสอบสวนในคดีอาญาเรื่องใดอันเป็นประธาน มิได้หมายความว่าต้องแจ้งกะทงความผิดทุกกระทง เช่นแจ้งข้อหาฐานลักทรัพย์ ปรากฏว่าผู้ต้องหาทำลายตราและไม่ทำตามข้อบังคับด้วยในการลักทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมฟ้องฐานรวมไปได้ทุกฐาน ฎีกา 99/81 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องฐานอื่นเพิ่มเติมโดยปรากฏขึ้นในการพิจารณาของศาลหาได้อาศัยจากการสอบสวนไม่ จึงฟ้องไม่ได้เพราะไม่มีการสอบสวน
ข้อบังคับทหารที่ 9/10909/2477 ว่าด้วยระเบียบจัดการทางคดีไม่มีข้อความใดที่บังคับว่าการไต่สวนคดีที่เกิดนอกกรุงเทพที่จะให้ศาลทหารพิจารณานั้น บุคคลอื่นนอกจากอัยการจะกระทำไม่ได้ คำว่า "ไต่สวน" ในข้อบังคับนั้นมุ่งหมายเพียงแต่ว่าจะให้ใครไต่สวนได้ เพราะการฟ้องร้องในสมัยก่อนใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่จำต้องมีการไต่สวนมาก่อน การดำเนินคดีในกรณีที่ทหารเป็นผู้ต้องหาเป็นเรื่องกึ่งวินัยกึ่งอาญาแผ่นดิน การสอบสวนที่ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 2 สั่งตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิได้สั่งให้อัยการในหน่วยทหารนอกกรุงเทพเป็นผู้สอบสวนตามข้อบังคับนั้น จึงชอบด้วยกฎหมายเพื่อฟ้องคดีต่อศาลทหารแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 หมายความเพียงว่ากฎหมายต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนต้องถูกสอบสวนในคดีอาญาเรื่องใดอันเป็นประธาน มิได้หมายความว่าต้องแจ้งกะทงความผิดทุกกระทง เช่นแจ้งข้อหาฐานลักทรัพย์ ปรากฏว่าผู้ต้องหาทำลายตราและไม่ทำตามข้อบังคับด้วยในการลักทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมฟ้องฐานรวมไปได้ทุกฐาน ฎีกา 99/81 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องฐานอื่นเพิ่มเติมโดยปรากฏขึ้นในการพิจารณาของศาลหาได้อาศัยจากการสอบสวนไม่ จึงฟ้องไม่ได้เพราะไม่มีการสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681-713/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดิน: สิทธิยังคงมีอยู่แม้สิ่งปลูกสร้างสลาย และเจ้าของที่ดินห้ามขัดขวาง
ข้อความจดทะเบียนมีว่าให้โจทก์มีสิทธิครอบครองใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินในที่ดิน(มีโฉนด)นั้น ย่อมหมายความว่า โจทก์มีสิทธิได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินใดๆ ในที่ดินนั้นได้ ทั้งในที่ดินนั้นเองและในสิ่งปลูกสร้างใดๆบนที่ดินนั้น ฉะนั้นหากสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นจะสลายไปสิทธิเก็บกินของโจทก์ก็ยังคงมีอยู่เหนือที่ดิน อันโจทก์อาจใช้สิทธินั้นจัดการให้เกิดประโยชน์โดยปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างในที่ดินนั้นใหม่ได้ เจ้าของที่ดินไม่มีสิทธิจะขัดขวางสิทธิเก็บกินของโจทก์