คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธรรมบัณฑิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,185 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บาดเจ็บสาหัสจากการถูกทำร้ายด้วยสนับมือ ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพทำนาเกิน 20 วัน
ได้ความว่าผู้เสียหายมีอาชีพทำนาถูกชกด้วยสนับมือมีบาดแผลที่ขอบตาล่างขวาฉีกลึก 1 ซม.ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาท 20 วันก่อนระหว่างนั้นทำงานไม่ได้ ดังนี้ถือได้ว่าผู้เสียหายไม่สามารถประกอบการหาเลี้ยงชีพได้ปกติเกิน 20 วันอันเป็นบาดเจ็บสาหัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้เช่าในการฟ้องขับไล่ผู้อาศัยที่ไม่ได้รับอนุญาต แม้จะยังมิได้เข้าครอบครองสถานที่เช่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าห้องพิพาทให้โจทก์ที่ 1 แล้วโจทก์ที่ 1 ได้เช่าตรงต่อทรัพย์สิน ฯ จำเลยเป็นลูกจ้างที่ 2 โจทก์ที่ 2 ได้บอกให้จำเลยและบริวารออกจากห้องพิพาท จำเลยไม่ยอมออก จึงฟ้องขอให้บังคับ
ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวมานี้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้เช่าสถานที่พิพาทจากทรัพย์สิน ฯ จำเลยเป็นผู้อาศัยและโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยออกจากสถานที่เช่าแล้ว จำเลยไม่ยอมออกเช่นนี้โดยปกติโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยได้ ส่วนข้อต่อสู้จำเลยจะมีอย่างไรเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ควรรับไว้ พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าในการฟ้องขับไล่ผู้อาศัยสิทธิ และอำนาจฟ้องของผู้เช่าเมื่อมีข้อพิพาทกับผู้อาศัยสิทธิ
ในฟ้องของโจทก์กล่าวว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับโอนการเช่าโรงเรือนของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาจาก โจทก์ที่ 2 ผู้เช่าเดิม แต่ระหว่างโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เช่า โจทก์ที่ 2 ได้ตกลงจ้างจำเลยจัดการดำเนินการค้าอยู่ในโรงเรือนที่เช่า ครั้นโจทก์ที่ 1 ได้รับโอนสิทธิการเช่ามาจากโจทก์ที่ 2 แล้ว โจทก์ที่2 ได้บอกเลิกจ้างจำเลยและให้จำเลยเลิกดำเนินการค้าเพื่อส่งมอบเรือนโรงรายนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 จำเลยไม่ปฏิบัติตามยังคงทำการค้าและอาศัยอยู่ในโรงเรือนรายนี้ตลอดมาโดยมิได้รับความอนุญาตจากเจ้าของสถานที่และโจทก์ที่ 1 ผู้เช่าเป็นการละเมิดและรอนสิทธิโจทก์ที่ 1 ฟ้องดังกล่าวมานี้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้เช่าสถานที่พิพาทจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จำเลยเป็นผู้อาศัยสิทธิโจทก์ และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยออกจากสถานที่เช่าแล้วจำเลยไม่ยอมออกเช่นนี้โดยปกติโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยได้ ส่วนข้อต่อสู้จำเลยจะมีอย่างไรเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการครอบครองไม้ผิดกฎหมาย: ครอบครองเพื่อตนเองหรือแทนผู้อื่น
คำว่าครอบคอรงตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 ม.69 มีความหมายกว้างขวางกล่าวคือไม่เฉพาะครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นแต่รวมทั้งครอบครองแทนผู้อื่นด้วยเพราะไม่มี ก.ม.บทใดจำกัดไว้ว่าการครอบครองของที่มีไว้โดยไม่ชอบด้วย ก.ม.นั้น จะเป็นความผิดต่อเมื่อครอบครองเพื่อตนเอง ตรงข้าม ก.ม.ว่าด้วยการสมคบกันกระทำผิดก็ยังมีอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการสำรวจออกโฉนดที่ดินจำกัดเฉพาะการแก้ไขข้อผิดพลาด ไม่สามารถยกเลิกโฉนดที่ออกตามคำพิพากษาศาลได้
คณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ยกเลิกโฉนดที่เจ้าพนักงานได้ออกให้เนื่องจากคำพิพากษาของศาล เพราะความใน พ.ร.บ.ไม่กินถึงว่าให้อำนาจ เช่นนั้น.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2499)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851-853/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิในที่ดินวัด: การโอนกรรมสิทธิที่ดินวัดและที่ธรณีสงฆ์ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
ม.1332 ใช้บังคับเฉพาะทรัพย์สินธรรมดา แต่สำหรับที่วัดและที่ธรณีสงฆ์นั้น พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ม.41 บัญญัติว่าจะโอนกรรมสิทธิได้แต่โดย พ.ร.บ.เท่านั้น ดังนั้นแม้จะซื้อที่พิพาทไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนจากการขายทอดตลาดก็หาได้กรรมสิทธิไม่ และเมื่อวัดซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินก็ไม่มีหน้าที่คืนหรือชดใช้ราคาแก่ผู้ซื้อ เพราะกรณีไม่เข้า ม.1332
บรรยายฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของวัดกลางมาแต่สร้างวัดเช่นนี้หาเป็นเคลือบคลุมไม่ กรณีวัดจะได้ที่มาโดยเหตุใด เมื่อใดไม่ใช่ข้อสำคัญและไม่มีทางที่จะหลงผิดในการต่อสู้คดี
เจ้าอาวาสแห่งวัดมอบอำนาจให้บุคคลดำเนินคดีแทนวัดได้ อ้างฎีกาที่ 823,824,825/2496
การมอบอำนาจก็คือการให้ตัวแทนมีอำนาจแทนตัวการนั่นเอง และการแต่งตั้งตัวแทนนั้นจะแต่งตั้งโดยเปิดเผยหรือโดยปริยายก็ได้ (ม.797 วรรค 2) และกิจการใดที่ ก.ม.บัญญัติว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนก็ต้องทำเป็นหนังสือมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย.การที่ทำหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือย่อมหมายถึงหนังสือหรือหลักฐานอันมีลายมือชื่อของผู้เป็นตัวการซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง (ม.9) สวนสำหรับตัวแทนหรือผู้รับมอบนั้น หามี ก.ม.ใดบังคับให้ต้องลงนามด้วยไม่
ข้อ ก.ม. ที่เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาเป็นการต้องห้าม หาฎีกาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851-853/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินธรณีสงฆ์: การโอนกรรมสิทธิ์ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์, การซื้อสุจริตจากการขายทอดตลาดไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
มาตรา 1332 ใช้บังคับเฉพาะทรัพย์สินธรรมดาสำหรับที่วัดและที่ธรณีสงฆ์นั้นพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 มาตรา 41บัญญัติว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ได้แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้นดังนั้นแม้จะซื้อที่พิพาทไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนจากการขายทอดตลาดก็หาได้กรรมสิทธิ์ไม่ และวัดซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินก็ไม่มีหน้าที่คืนหรือชดใช้ราคาแก่ผู้ซื้อเพราะกรณีไม่เข้ามาตรา 1332
บรรยายฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของวัดกลางมาแต่สร้างวัดเช่นนี้หาเป็นเคลือบคลุมไม่ กรณีวัดจะได้ที่มาโดยเหตุใด เมื่อใดไม่ใช่ข้อสำคัญและไม่มีทางที่จะหลงผิดในการต่อสู้คดี
เจ้าอาวาสแห่งวัดมอบอำนาจให้บุคคลดำเนินคดีแทนวัดได้อ้างฎีกาที่ 823,824,825/2496
การมอบอำนาจก็คือการให้ตัวแทนมีอำนาจทำการแทนตัวการนั่นเอง และการแต่งตั้งตัวแทนนั้นจะแต่งตั้งโดยเปิดเผยหรือโดยปริยายก็ได้(มาตรา 797 วรรคสอง) และกิจการใดที่กฎหมายบัญญัติว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนก็ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย การที่ทำหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือย่อมหมายถึงหนังสือหรือหลักฐานอันมีลายมือชื่อของผู้เป็นตัวการซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง(มาตรา 9)ส่วนสำหรับตัวแทนหรือผู้รับมอบนั้นหามีกฎหมายใดบังคับให้ต้องลงนามด้วยไม่
ข้อกฎหมายที่เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาเป็นการต้องห้ามหาฎีกาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวิวาทชุลมุนและการร่วมกันกระทำความผิด การพิพากษาความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกาย
จำเลยทั้งสองฝ่ายวิวาทต่อสู้กับพวกของจำเลยฝ่ายหนึ่งใช้ปืนยิงอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะหนี้เองจำเลยอีกฝ่ายหนึ่งอ้างว่าได้ผละหนีออกมาจาการต่อสู้แล้ว เมื่อความปรากฏว่าการวิวาทได้ชุลมุนติดพันกันอยู่ตลอดมาชั่วเวลาเล็กน้อยจึงไม่อาจแยกว่าจำเลยนั้นได้ผละหนีจากการต่อสู้ขณะมีการยิงกันขึ้นแล้ว ดังนี้จำเลยอีกฝ่ายหนึ่งที่อ้างว่าผละหนี้ออกมาแล้วนั้นย่อมมีความผิดตาม ม.253 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความชัดเจนของฟ้องอาญา ต้องพิจารณาจากข้อความทั้งหมดที่บรรยายไว้
การพิเคราะห์ฟ้องของโจทก์นั้นจะต้องพิจารณาข้อความที่โจทก์บรรยายไว้ทั้งหมดประกอบกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยวิ่งราวทรัพย์โจทก์ไปต่หน้าเป็นเงิน 1,700 บาท
ดังนี้เรียกว่าโจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าทรัพย์ที่จำเลยทำการฉกฉวยไปนั้นเป็นเงิน จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.อากรฆ่าสัตว์ และการออกประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดเกินอำนาจ
ตามพ.ร.บ.อากรฆ่าสัตว์ พ.ศ.2488 บัญญัติไว้ว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้เพื่อขายซึ่งทรากสัตว์ฯ" แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยมีเนื้อชำแหละไว้เพื่อขายก็ดี แต่คำว่าขายก็รวมอยู่ในคำว่าจำหน่ายด้วย ทั้งฐานความผิดที่โจทก์หาโจทก์ก็ได้ตั้งข้อหาว่าจำเลยทำผิดฐานสมคบกันมีทรากกระบือไว้เพื่อขายโดยไม่มีใบอนุญาตกำกับ คำขอให้ลงโทษก็เป็นเรื่องหาว่ามีไว้เพื่อขายและจำเลยก็รับสารภาพว่าได้ทำผิดตามฟ้องโจทก์ เช่นนี้ถือว่าจำเลยมีเนื้อกระบือชำแหละไว้เพื่อขายลงโทษจำเลยในฐานนี้ได้
ประกาศของคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรจังหวัดพระนคร ฉบับที่ 37 ลงวันที่ 5 ต.ค.96 ซึ่งประกาศห้ามมิให้ผู้ใดนำเนื้อกระบือชำแหละเข้ามาในเขตเทศบาลโดยฝ่าฝืนต่อประกาศฉบับดังกล่าวนั้น ประกาศฉบับนี้ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร ม.8(6),(8) แต่ไม่ปรากฏในว่าคดีนี้ว่าได้มีการห้ามการค้ากำไรเกินควรในเนื้อโคหรือกระบือชำแหละเลย ทั้งข้ออ้างของกรรมการในการออกประกาศก็ว่าเพื่อสวัสดิภาพของประชาชนผู้บริโภคและเพื่อช่วยสงวนพันธ์โคกระบือสำหรับเกษตรกรรมด้วยหาใช่เพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควรไม่ เมื่อเช่นนี้จึงถือว่าประกาศฉบับนี้นอกเหนือวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร จึงไม่ควรมีผลบังคับดังนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 737/2497.
of 219