พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,185 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าค้างชำระ, การค้ำประกัน, ลดค่าเช่า: ศาลพิจารณาความรับผิดของผู้เช่าและผู้ค้ำประกันตามสัญญาและมติคณะเทศมนตรี
โจทก์อ้างว่าสัญญาเช่าที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนซึ่งตามประมวลรัษฎากร ม.118 ว่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานมิได้นั้น หากยังมีเอกสรที่ไม่ต้องด้วยข้อห้ามอื่น ๆ อีกพอที่จะรับฟังเป็นหลักฐานได้ว่ามีสัญญาเช่ากันแล้ว เอกสารที่ไม่ต้องด้วยข้อห้ามอื่น ๆ อีกพอที่จะรับฟังเป็นหลักฐานได้ว่าได้มีสัญญาเช่ากันแล้ว เอกสารที่ไม่ใช่สัญญาเช่านั้นถือว่าเป็นหลักฐานพอที่จะบังคับผู้เช่าได้แล้ว
ก.ม.ในเรื่องค้ำประกันไม่ได้บังคับว่าต้องบรรยายควมผิดของผู้ค้ำประกันไว้ แม้ปรากฏว่าเอกสารที่โจทก์ยังมิได้แสดงถึงข้อผูกพันระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้ก็ตามแต่เมื่อมีหนังสือให้ปรากฏว่าเป็นการค้ำประกันก็เป็นหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับผู้ค้ำประกันแล้ว ผู้ค้ำประกันจึงไม่พ้นจากความผิดฐานเป็นผู้ค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นถือเอามติคณะเทศมนตรีลดค่าเช่าที่จำเลยค้างชำระโจทก์ลง 1 ใน 4 คงให้จำเลยทั้งสองชำระเพียง 3 ใน 4 โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเต็มตามสัญญาแต่ก่อนศาลอุทธรณ์พิจารณาโจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่สามารถส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1ได้ โจทก์ไม่ติดใจที่จะอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 1 แต่กระนั้นศาลอุทธรณ์ยังพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันร่วมกันใช้ค่าเช่าเต็มตามสัญญาจึงถือว่าเป็นการไม่ชอบเพราะถ้าโจทก์ประสงค์จะว่ากล่าวกับจำเลยที่ 1 ในปัญหาว่าควรลดค่าเช่าหรือไม่แล้วนั้น พิธีการตาม ก.ม.ก็มีอยู่ให้ทำได้แต่โจทก์ไม่ขอให้ทำฉนั้นย่อมถือว่าความผิดของจำเลยที่ 1 ยุติเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้และโดยข้อ ก.ม.ที่ว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชำระหนี้เกินกว่าความรับผิดของลูกหนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงร่วมรับผิดเพียงเท่าที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระเท่านั้น.
ก.ม.ในเรื่องค้ำประกันไม่ได้บังคับว่าต้องบรรยายควมผิดของผู้ค้ำประกันไว้ แม้ปรากฏว่าเอกสารที่โจทก์ยังมิได้แสดงถึงข้อผูกพันระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้ก็ตามแต่เมื่อมีหนังสือให้ปรากฏว่าเป็นการค้ำประกันก็เป็นหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับผู้ค้ำประกันแล้ว ผู้ค้ำประกันจึงไม่พ้นจากความผิดฐานเป็นผู้ค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นถือเอามติคณะเทศมนตรีลดค่าเช่าที่จำเลยค้างชำระโจทก์ลง 1 ใน 4 คงให้จำเลยทั้งสองชำระเพียง 3 ใน 4 โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเต็มตามสัญญาแต่ก่อนศาลอุทธรณ์พิจารณาโจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่สามารถส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1ได้ โจทก์ไม่ติดใจที่จะอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 1 แต่กระนั้นศาลอุทธรณ์ยังพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันร่วมกันใช้ค่าเช่าเต็มตามสัญญาจึงถือว่าเป็นการไม่ชอบเพราะถ้าโจทก์ประสงค์จะว่ากล่าวกับจำเลยที่ 1 ในปัญหาว่าควรลดค่าเช่าหรือไม่แล้วนั้น พิธีการตาม ก.ม.ก็มีอยู่ให้ทำได้แต่โจทก์ไม่ขอให้ทำฉนั้นย่อมถือว่าความผิดของจำเลยที่ 1 ยุติเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้และโดยข้อ ก.ม.ที่ว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชำระหนี้เกินกว่าความรับผิดของลูกหนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงร่วมรับผิดเพียงเท่าที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีอาญาเรื่องทำร้ายร่างกาย: การคัดค้านข้อเท็จจริงเกินขอบเขตการฎีกา
การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายโดยทางป้องกันพอสมควรแก่เหตุเช่นนี้ โจทก์จะฎีกาว่าเป็นการกระทำเกินสมควรแก่เหตุก็เป็นการคัดค้านในข้อเท็จจริงต้องห้าม (อ้างฎีกาที่ 931/2494)
เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยใช้ขวดทำร้ายผู้เสียหาย และศาลอุทธรณ์อาศัยหลักฐานในสำนวนวินิจฉัยต่อไป แต่ไม่ฟังว่าบาดแผลที่หน้าแข้งของผู้เสียหายเกิดจากการกระทำของจำเลย ดังนี้หาใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกเหนือตรงกันข้ามกับหลักฐานไม่แต่เป็นข้อเท็จจริง โจทก์จะฎีกาหาได้ไม่.
เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยใช้ขวดทำร้ายผู้เสียหาย และศาลอุทธรณ์อาศัยหลักฐานในสำนวนวินิจฉัยต่อไป แต่ไม่ฟังว่าบาดแผลที่หน้าแข้งของผู้เสียหายเกิดจากการกระทำของจำเลย ดังนี้หาใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกเหนือตรงกันข้ามกับหลักฐานไม่แต่เป็นข้อเท็จจริง โจทก์จะฎีกาหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสินเดิมให้ผู้อื่นโดยความยินยอมของคู่สมรส และการใช้สินสมรสชดใช้สินเดิม
การที่สามีโอนสินเดิมของตนให้ผู้อื่นด้วยความรู้เห็นยินยอมของภรรยา ภายหลังทรัพย์นั้นกลับมาเป็นของสามีอีกดังนี้แม้จะถือว่าทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสเพราะได้โอนเด็ดขาดไปแล้วก็ต้องเอาสินสมรสมาใช้ทดแทนสินเดิมตาม ป.พ.พ. ม.1473,1513,1514
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองลูกระเบิดของเจ้าพนักงาน: การกระทำนอกหน้าที่ราชการไม่ถือเป็นความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีลูกระเบิดไว้ในครอบครอง ศาลทั้ง 2 พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกาในข้อ ก.ม.ว่าการที่จำเลยนำเอาลูกระเบิดของกลางที่เก็บมาใช้คุกคามต่อ ความปลอดภัยต่อผู้อื่น (นำมาวางบนโต๊ะ)ของเพื่อนทำข้าราชการแล้วพูดว่าใครอวดดีก็มา) แม้จะกระทำในสถานที่ราชการนั้นเองก็หาอาจจะถือได้ว่เป็นการกระทำในหน้าที่ได้ไม่
เมื่อข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามศาลล่างทั้งสองว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่เก็บรักษาลูกระเบิดของกลางนี้ ฎีกาของโจทก์จึงเห็นได้ว่าเป็นกรรมอีกอันหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกับการที่ลูกระเบิดของกลางตกอยู่ในครอบครองของจำเลยโดยชอบด้วย ก.ม.ข้อเท็จจริงนี้ศาล++ฟังมาซึ่ง++ความผิดต้องยกฎีกาโจทก์ พิพากษายืน.
เมื่อข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามศาลล่างทั้งสองว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่เก็บรักษาลูกระเบิดของกลางนี้ ฎีกาของโจทก์จึงเห็นได้ว่าเป็นกรรมอีกอันหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกับการที่ลูกระเบิดของกลางตกอยู่ในครอบครองของจำเลยโดยชอบด้วย ก.ม.ข้อเท็จจริงนี้ศาล++ฟังมาซึ่ง++ความผิดต้องยกฎีกาโจทก์ พิพากษายืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'เจ้าพนักงาน' ของพนักงานรายวัน: การแต่งตั้งกรรมการตรวจรับหินและการมีคุณสมบัติทางกฎหมาย
ได้ความว่าตามทางพิจารณาว่าจำเลยทั้ง 3 เป็นพนักงานรายวันของกรมทางหลวงแผ่นดิน กระทรวงคมนาคม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวนรับหินซึ่งผู้รับเหมานำส่งแล้วรายงาานจำนวนหินไม่ตรงกับความจริงเช่นนี้ไม่ถือว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่ง ก.ม.อาญา จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ม.230 ที่โจทก์ฟ้อง
โดยปกติจะถือว่าผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานผู้นั้นต้องเป็นข้าราชการตาม ก.ม.เว้นแต่จะมี ก.ม.บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นชเจ้าพนักงานดังเช่น พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 ม.44 บัญญัติว่าให้พนักงานเทศบาลเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่ง ก.ม.อาญาเป็นต้นและใน พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2495 ม.17 ซึ่งบัญญัติถึงข้าราชการพลเรือนว่ามีอยู่ 7 ประเภทก็ไม่กินความถึงจำเลยทั้งสามคนนี้เพราะจำเลยไม่ได้รับเงินเดือนหากเป็นเพียงพนักงานรายวัน.
โดยปกติจะถือว่าผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานผู้นั้นต้องเป็นข้าราชการตาม ก.ม.เว้นแต่จะมี ก.ม.บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นชเจ้าพนักงานดังเช่น พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 ม.44 บัญญัติว่าให้พนักงานเทศบาลเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่ง ก.ม.อาญาเป็นต้นและใน พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2495 ม.17 ซึ่งบัญญัติถึงข้าราชการพลเรือนว่ามีอยู่ 7 ประเภทก็ไม่กินความถึงจำเลยทั้งสามคนนี้เพราะจำเลยไม่ได้รับเงินเดือนหากเป็นเพียงพนักงานรายวัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงทรัพย์: การรับว่าจะจัดหาเสาแต่ไม่สามารถส่งมอบได้ และมีเจตนาทุจริตตั้งแต่แรก
การที่จำเลยไม่มีอาชีพในทางค้าเสาไม่เคยขออนุญาตตัดฟันไม้ แต่รับจะจัดการตัดเสาอ้างว่ามีโควต้าทำไม้ ผู้เสียหายยอมให้เงิน 3,600 บาท ค่าลูกจ้างและค่าเข็นโดยจำเลยว่าเสาตามที่สั่งตัดไว้ครบแล้ว หลังจากนั้นอีกนานก็ไม่มีเสามา เมื่อถูกจับก็บอกตำรวจว่าหาเสาไม่ได้ แต่กลับปฏิเสธต่อผู้เสียหายว่าไม่รู้เรื่องไม่ได้รับเงิน พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตคิดฉ้อโกงทรัพย์ของผู้เสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยเลิกกิจการก่อนบังคับคดี: สัญญาค้ำประกันสิ้นผล
จำเลยเป็นสาขาของบริษัทจำกัดซึ่งอยู่ในต่างประเทศ ทนายของจำเลยยื่นอุทธรณ์ ในระหว่างอุทธรณ์จำเลยเลิกกิจการแต่ไม่มีผู้ใดคัดค้านให้ศาลอุทธรณ์ทราบต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาเช่นนี้ถือว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้นใช้บังคับได้ คดีหาได้ถึงที่สุดไปในวันที่จำเลยเลิกกิจการไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวชโดยพระอุปัชฌายะต่างประเทศไม่ชอบตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ และการประกาศแถลงการณ์ไม่ใช่ละเมิด
การที่จะขอบวชหรืออุปสมบทได้โดยถูกต้องตาม พ.ร.บ.คณะสงค์และสังฆาณัตินั้นจะต้องมีพระอุปัชฌายะ ซึ่งให้บรรพชาอุปสมบทได้แต่ที่โจทก์ บวชโดยพระอุปัชฌายะในต่างประเทศ ซึ่งไม่ปรากฏว่าได้รับแต่งตั้งโดยถูกต้องให้เป็นผู้อุปสมบทเช่นนี้ย่อมถือว่าการบวชนั้นเป็นการถูกต้องตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ไม่ได้
การที่มีประกาศแถลงการณ์คณะสงฆ์ 2 ฉบับก็เนื่องจากที่โจทก์ต้องหาว่าประพฤติคลุกคลีกับมาตุคามจนถูกบังคับให้สึก แต่ใช้ถ้อยคำไม่เหมือนกันเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าโจทก์ซ่องเสพเมถุนกับมาตุคามดังโจทก์ฎีกา จึงหาเป็นการละเมิดอย่างใดไม่.
การที่มีประกาศแถลงการณ์คณะสงฆ์ 2 ฉบับก็เนื่องจากที่โจทก์ต้องหาว่าประพฤติคลุกคลีกับมาตุคามจนถูกบังคับให้สึก แต่ใช้ถ้อยคำไม่เหมือนกันเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าโจทก์ซ่องเสพเมถุนกับมาตุคามดังโจทก์ฎีกา จึงหาเป็นการละเมิดอย่างใดไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำเรื่องกรรมสิทธิที่ดินเมื่อศาลเคยชี้ขาดแล้วว่าผู้ซื้อได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ได้เกี่ยวเป็นคู่ความในคดีพิพาทเรื่องที่ดินรายนี้มาครั้งหนึ่งแล้วและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดในดคีนั้นไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้ซื้อที่พิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนทั้งได้จดทะเบียนสิทธิแล้วโจทก์ทั้งสองจะหยิบยกเอาการครอบครองโดยปรปักษ์มาต่อสู้ใช้ยันจำเลยที่ 1 ไม่ได้ แต่มาในคดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างถึงกรรมสิทธิที่โจทก์ควรมีควรได้ตาม ป.พ.พ. ม.1300 ซึ่งในมาตราเดียวกันนี้วางข้อยกเว้นไว้และศาลได้ชี้ขาดในคดีก่อนตามประเด็นที่โต้เถียงกันตามข้อยกเว้นนี้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เห็นได้ชัดว่เพื่อประสงค์นำสืบถึงเหตุผลซึ่งโจทก์นำสืบไว้ในคดีก่อนไม่สมบูรณ์เท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 มิได้เข้าเป็นคู่ความในคดีก่อนไม่เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง ม.144.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าและการริบของกลาง แม้ไม่มีหลักฐานการกระทำผิด
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานสืบให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้ทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้า (ฉลากปิดขวดสุราของกรมโรงงานอุตสาหกรรม) ก็ลงโทษจำเลยตาม ม.237 ไม่ได้ แต่ของกลางต้องริบตาม ม.239.