คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 70

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกระทำการของหุ้นส่วนผู้จัดการและกรรมการผู้จัดการ, การลงลายมือชื่อในเช็ค, และการบังคับค่าปรับทางแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาท จึงเห็นได้ชัดว่า จำเลยที่ 2 กระทำทั้งฐานะส่วนตัวและฐานะผู้มีอำนาจกระทำการของจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทซึ่งเป็นการร่วมกระทำอย่างชัดแจ้งอยู่แล้ว จำเลยย่อมเข้าใจได้
น.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์แต่ผู้เดียวจึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อหนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์มิได้มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ การกระทำการแทนโจทก์จึงหาต้องประทับตราสำคัญของโจทก์ด้วยไม่ สำหรับข้อบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1078 วรรคสี่ เป็นรายละเอียดของรายการและวิธีการลงทะเบียนก่อนที่พนักงานทะเบียนจะจดทะเบียนให้ หาได้เกี่ยวกับอำนาจกระทำการของหุ้นส่วนผู้จัดการแต่อย่างใด
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล การบังคับค่าปรับจะกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยที่ 1 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามป.อ.มาตรา 29, 30 นั้นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดเช็ค, อำนาจฟ้อง, ผู้เสียหายจากการปฏิเสธเช็ค: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4บัญญัติว่า"ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้(1)เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นฯลฯเมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมายถ้าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นผู้ออกเช็คมีความผิด"ตามบทบัญญัติดังกล่าวการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นจะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วยอันเป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดการที่โจทก์บรรยายฟ้องมีสาระสำคัญว่าผู้เสียหายเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทซึ่งจำเลยออกเพื่อชำระหนี้ค่าปุ๋ยเคมีให้แก่ผู้เสียหายเมื่อเช็คถึงกำหนดผู้เสียหายได้นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า"โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย"เป็นที่เห็นได้ว่าคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าปุ๋ยเคมีอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายคำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)หาเป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใดไม่ ย. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจพร้อมทั้งประทับตราสำคัญของโจทก์ร่วมแม้ตามหนังสือมอบอำนาจจะไม่มีข้อความระบุว่าย.มอบอำนาจให้ป. เป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์และดำเนินคดีแก่จำเลยโดยกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ร่วมก็ตามก็ถือได้ว่าการลงลายมือชื่อดังกล่าวและประทับตราของโจทก์ร่วมมิใช่กระทำในฐานะส่วนตัวแต่อย่างใดการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์และดำเนินคดีแก่จำเลยจึงสมบูรณ์ตามกฎหมายพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนโดยชอบโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดเช็คเด้ง & อำนาจฟ้องร้องดำเนินคดี
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 4 บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมายถ้าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นผู้ออกเช็คมีความผิด..." ตามบทบัญญัติดังกล่าวการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้น จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วย อันเป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเป็นองค์-ประกอบของความผิด การที่โจทก์บรรยายฟ้องมีสาระสำคัญว่า ผู้เสียหายเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทซึ่งจำเลยออกเพื่อชำระหนี้ค่าปุ๋ยเคมีให้แก่ผู้เสียหาย เมื่อเช็คถึงกำหนดผู้เสียหายได้นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า "โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย" เป็นที่เห็นได้ว่า คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าปุ๋ยเคมีอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา158 (5) หาเป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใดไม่
ย.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจพร้อมทั้งประทับตราสำคัญของโจทก์ร่วม แม้ตามหนังสือมอบอำนาจจะไม่มีข้อความระบุว่า ย.มอบอำนาจให้ ป.เป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์และดำเนินคดีแก่จำเลยโดยกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ร่วมก็ตาม ก็ถือได้ว่าการลงลายมือชื่อดังกล่าวและประทับตราของโจทก์ร่วมมิใช่กระทำในฐานะส่วนตัวแต่อย่างใด การมอบอำนาจให้ร้องทุกข์และดำเนินคดีแก่จำเลยจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค – องค์ประกอบความผิด – หนังสือมอบอำนาจ – ผู้เสียหาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯเมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมายถ้าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นผู้ออกเช็คมีความผิด" ตามบทบัญญัติดังกล่าวการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นจะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วย อันเป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิด การที่โจทก์บรรยายฟ้องมีสาระสำคัญว่าผู้เสียหายเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทซึ่งจำเลยออกเพื่อชำระหนี้ค่าปุ๋ยเคมีให้แก่ผู้เสียหาย เมื่อเช็คถึงกำหนดผู้เสียหายได้นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า "โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย" เป็นที่เห็นได้ว่า คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าปุ๋ยเคมีอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) หาเป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใดไม่ ย. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจพร้อมทั้งประทับตราสำคัญของโจทก์ร่วมแม้ตามหนังสือมอบอำนาจจะไม่มีข้อความระบุว่า ย.มอบอำนาจให้ ป. เป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์และดำเนินคดีแก่จำเลยโดยกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ร่วมก็ตามก็ถือได้ว่าการลงลายมือชื่อดังกล่าวและประทับตราของโจทก์ร่วมมิใช่กระทำในฐานะส่วนตัวแต่อย่างใด การมอบอำนาจให้ร้องทุกข์และดำเนินคดีแก่จำเลยจึงสมบูรณ์ตามกฎหมายพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, การมอบอำนาจ, หลักฐานการกู้ยืม, การชำระหนี้, ความถูกต้องของเอกสาร
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1144, 1158และ 1164 เป็นการมอบอำนาจของกรรมการบริษัทที่มอบอำนาจของกรรมการเองให้แก่ผู้อื่น ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเช่นนั้นต้องเป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการซึ่งตั้งจากผู้เป็นกรรมการบริษัทด้วยกัน
แต่การมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทเช่นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนบริษัทในคดีนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองหรือโดยมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน และในกรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน การมอบอำนาจนั้นย่อมต้องกระทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งจะมอบอำนาจเช่นนั้นให้แก่บุคคลใดก็ได้ เว้นแต่โจทก์มีข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับการมอบอำนาจเช่นนั้นไว้เป็นพิเศษว่าต้องมอบให้แก่บุคคลประเภทใดโดยเฉพาะ จึงจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นด้วย
เมื่อจำเลยทั้งสี่ถูกโจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.9 มาเป็นพยานหลักฐานยันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็มิได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 เอกสารหมาย จ.9 จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ในการกู้เงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินไว้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกันเงินกู้ดังกล่าวแล้วนั้นมิใช่เป็นการนำสืบหลักฐานการชำระเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม หรือนำสืบว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ที่ 4 จึงไม่มีพยานหลักฐานให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, การมอบอำนาจ, และการพิสูจน์หนี้เงินกู้: การรับฟังพยานหลักฐานและการค้ำประกัน
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1144,1158 และ 1164 เป็นการมอบอำนาจของกรรมการบริษัทที่มอบอำนาจของกรรมการเองให้แก่ผู้อื่น ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเช่นนั้นต้องเป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการซึ่งตั้งจากผู้เป็นกรรมการบริษัทด้วยกัน แต่การมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทเช่นการมอบอำนาจ ให้ฟ้องคดีแทนบริษัทในคดีนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภท บริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองหรือโดยมอบอำนาจ ให้บุคคลอื่นมาฟ้องคดีแทน และในกรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้ บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน การมอบอำนาจนั้นย่อมต้องกระทำโดยกรรมการ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งจะมอบอำนาจเช่นนั้นให้ แก่บุคคลใดก็ได้ เว้นแต่โจทก์มีข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับการ มอบอำนาจเช่นนั้นไว้เป็นพิเศษว่าต้องมอบให้แก่บุคคลประเภทใด โดยเฉพาะ จึงจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสี่ถูกโจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.9 มาเป็น พยานหลักฐานยันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็มิได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาต คัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้ คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 เอกสารหมาย จ.9 จึงรับฟังพยานหลักฐานได้ ในการกู้เงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินไว้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 1ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกันเงินกู้ดังกล่าวแล้วนั้นมิใช่เป็นหลักฐานการชำระเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม หรือนำสืบว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ที่ 4 จึงไม่มีพยานหลักฐานให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การอุทธรณ์ค่าทดแทน, หน้าที่ของกระทรวง, และดอกเบี้ย
จำเลยที่3มีฐานะเป็นกระทรวงและมีสภาพเป็นนิติบุคคลการที่จะดำเนินการให้ได้มาซึ่งความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา70วรรคสองคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมการที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมต้องถือว่าได้อุทธรณ์ต่อจำเลยที่3แล้วจำเลยที่3จึงมีหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์หากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน60วันตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา25วรรคสองโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวตามมาตรา26วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบริษัทจากการกระทำของกรรมการ และการเลิกสัญญาจากฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยได้ระบุในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และเบิกความในชั้นไต่สวนคำร้องว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างตกแต่งอาคารพิพาทและเมื่อนำความไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจจำเลยก็ระบุว่าได้ว่าจ้างโจทก์ตลอดจนหัวกระดาษใบเสนอราคาและใบแจ้งรายการก่อสร้างเพิ่มเติมก็มีชื่อโจทก์และจำเลยสั่งจ่ายเช็คชำระค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ดังนี้พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยทราบดีว่าโจทก์ได้เชิดให้ว. ออกแสดงเป็นตัวแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา821ทั้งการลงลายมือชื่อของว. ผู้เสนอราคาและจำเลยลงลายมือชื่อผู้อนุมัติตามก็มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างก่อสร้างตกแต่งอาคารพิพาทและว. ก็เป็นกรรมการผู้เดียวของโจทก์การรับเหมาก่อสร้างอาคารเป็นวัตถุประสงค์ประการหนึ่งของโจทก์การกระทำของว. จึงมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การก่อสร้างงานในช่วงแรกมีปัญหาในการทำงานและจำเลยสั่งให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมจึงได้มีการตกลงให้โจทก์เสนอราคาค่าก่อสร้างเพิ่มเติมตามเอกสารหมายล.9และจำเลยอนุมัติแล้วจำเลยให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างเพิ่มเติมไปก่อนและมิได้ชำระเงินจำนวน704,480บาทตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารหมายล.9โจทก์ทำการก่อสร้างจนกระทั่งเหลืองานชั้นลอยในข้อ2.1และชั้นล่างในข้อ2.2แต่จำเลยก็ไม่ได้ชำระค่าก่อสร้างเพิ่มเติมตามที่ตกลงกันไว้โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือทวงถามแต่จำเลยเพิกเฉยโจทก์จึงหยุดการก่อสร้างเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยหาผู้รับเหมารายอื่นมาดำเนินการต่อจนแล้วเสร็จดังนี้พฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยแสดงเจตนาซึ่งเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวหาใช่เป็นเรื่องตกลงผิดสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมสองฝ่ายและการแสดงเจตนาทั้งสองฝ่ายต้องมีวัตถุประสงค์ตรงกันสัญญาจึงจะเลิกกันไม่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ก็ชอบที่จะเรียกค่าก่อสร้างอันเป็นผลงานที่โจทก์ทำไปแล้วกับค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7122/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันหนี้แทนกัน, สัญญาโดยสมัครใจ, อายุความ 10 ปี, การข่มขู่ที่ไม่ถึงขั้น
จำเลยทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.3 โดยเจตนาจะชดใช้หนี้ที่สามีจำเลยซื้อรถแทรกเตอร์ดังกล่าวให้แก่โจทก์แทนสามีจำเลย หาใช่เป็นการชำระหนี้ให้แก่ ก.กรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งของโจทก์เป็นการส่วนตัวไม่และเมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลโดย ก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่ง ก.มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ตามกฎหมาย ก.มีอำนาจทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.3แทนโจทก์โดยไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากโจทก์อีก บันทึกข้อตกลงที่ ก.ทำแทนโจทก์จึงผูกพันจำเลย
สามีจำเลยซื้อรถแทรกเตอร์ 1 คัน จากบริษัทโจทก์ในราคา1,400,000 บาท และชำระหนี้ไปบางส่วน คงค้างอยู่ 550,000 บาท การที่จำเลยยอมผูกพันเข้าชำระหนี้ดังกล่าวแทนสามีจำเลยกับโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.3 ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่ความกระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการขืนใจลูกหนี้และไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 มิใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1)
ก.ได้พูดขู่จำเลยให้ยอมทำบันทึกข้อตกลงว่าเป็นหนี้จำนวน550,000 บาท แล้วจะไม่ดำเนินคดีเอาความผิดแก่ อ.เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7122/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการทำสัญญาแทนบริษัท และอายุความสัญญาชำระหนี้
จำเลยทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.3 โดยเจตนาจะชดใช้หนี้ที่สามีจำเลยซื้อรถแทรกเตอร์ดังกล่าวให้แก่โจทก์แทนสามีจำเลย หาใช่เป็นการชำระหนี้ให้แก่ก. กรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งของโจทก์เป็นการส่วนตัวไม่ และเมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลโดย ก. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่ง ก. มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ตามกฎหมาย ก. มีอำนาจทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.3 แทนโจทก์โดยไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากโจทก์อีก บันทึกข้อตกลงที่ ก. ทำแทนโจทก์จึงผูกพันจำเลย
สามีจำเลยซื้อรถแทรกเตอร์ 1 คัน จากบริษัทโจทก์ในราคา 1,400,000 บาท และชำระหนี้ไปบางส่วน คงค้างอยู่ 550,000 บาท การที่จำเลยยอมผูกพันเข้าชำระหนี้ดังกล่าวแทนสามีจำเลยกับโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.3 ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่ความกระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการขืนใจลูกหนี้และไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 มิใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34(1)
ก. ได้พูดขู่จำเลยให้ยอมทำบันทึกข้อตกลงว่าเป็นหนี้จำนวน 550,000 บาท แล้วจะไม่ดำเนินคดีเอาความผิดแก่ อ. เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่
of 19