คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 70

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความ: การผูกพันของกรรมการบริษัท และการใช้สิทธิคืนสู่ฐานะเดิมเมื่อเลิกสัญญา
บริษัทใช้ชื่อจำเลยเป็นชื่อบริษัท ตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนระบุว่า บริษัทมีกรรมการ 4 คน จำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทและเป็นหัวหน้าสำนักงานกฎหมาย
สัญญารับมอบงานเป็นสัญญาจ้างว่าความซึ่งเป็นสัญญาจ้างทำของมีข้อความว่า โจทก์ได้มอบให้จำเลยและทนายความในสำนักงานฟ้องคดี จำเลยรับจะดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด โดยโจทก์ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ว.ผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ลงชื่อและประทับตราโจทก์ในช่องผู้มอบงาน ส่วนจำเลยลงชื่อในช่องผู้รับมอบงานแต่ผู้เดียวไม่ได้ประทับตราของบริษัท จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล ทั้งข้อความในสัญญาแสดงชัดอยู่ว่าโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างจำเลยและหรือทนายความในสำนักงานของจำเลยให้ฟ้องคดีโดยจำเลยตกลงเป็นผู้รับจ้าง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัท แม้สัญญารับมอบงานได้กระทำที่บริษัท แต่ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานได้ทำสัญญารับจ้างว่าความกับโจทก์โดยใช้กระดาษบันทึกข้อความซึ่งมีชื่อบริษัทที่หัวกระดาษทำสัญญากับโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาจ้างว่าความได้เลิกกันด้วยการตกลงยินยอมของทั้งสองฝ่ายคู่สัญญาจึงมีสิทธิที่จะได้คืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ โดยเฉพาะในวรรคสาม โจทก์ผู้ว่าจ้างต้องใช้ค่าแห่งการงานที่จำเลยทำให้โจทก์ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นโดยคิดค่าจ้างตามรูปคดี หาใช่จำเลยต้องคืนค่าจ้างทั้งหมดโดยคิดเป็นค่าเสียหายของโจทก์ตามที่โจทก์เรียกร้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความเลิกกันด้วยความยินยอม โจทก์ต้องใช้ค่าจ้างตามรูปคดี จำเลยต้องคืนส่วนที่เหลือ
บริษัทใช้ชื่อจำเลยเป็นชื่อบริษัทตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนระบุว่าบริษัทมีกรรมการ4คนจำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทมีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทได้จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทและเป็นหัวหน้าสำนักงานกฎหมาย สัญญารับมอบงานเป็นสัญญาจ้างว่าความซึ่งเป็นสัญญาจ้างทำของมีข้อความว่าโจทก์ได้มอบให้จำเลยและทนายความในสำนักงานฟ้องคดีจำเลยรับจะดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุดโดยโจทก์ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ว. ผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ลงชื่อประทับตราโจทก์ในช่องผู้มอบงานส่วนจำเลยลงชื่อในช่องผู้รับมอบงานแต่ผู้เดียวไม่ได้ประทับตราของบริษัทจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลทั้งข้อความในสัญญาแสดงชัดอยู่ว่าโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างจำเลยและหรือทนายความในสำนักงานของจำเลยให้ฟ้องคดีโดยจำเลยตกลงเป็นผู้รับจ้างจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทแม้สัญญารับมอบงานได้กระทำที่บริษัทแต่ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานได้ทำสัญญารับจ้างว่าความกับโจทก์โดยใช้กระดาษบันทึกข้อความซึ่งมีชื่อบริษัทที่หัวกระดาษทำสัญญากับโจทก์เท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง สัญญาจ้างว่าความได้เลิกกันด้วยการตกลงยินยอมทั้งสองฝ่ายคู่สัญญาจึงมีสิทธิที่จะได้คืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมโดยวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติมาตรา391วรรคสองวรรคสามและวรรคสี่โดยเฉพาะในวรรคสามโจทก์ผู้ว่าจ้างต้องใช้ค่าแห่งการงานที่จำเลยทำให้โจทก์ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นโดยคิดค่าจ้างตามรูปคดีหาใช่จำเลยต้องคนค่าจ้างทั้งหมดโดยคิดเป็นค่าเสียหายของโจทก์ตามที่โจทก์เรียกร้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5986/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรองผู้จัดการทั่วไปลงนามแทนผู้จัดการทั่วไป และผลผูกพันสัญญาเช่า แม้มีการฟ้องขับไล่
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามหลักทั่วไปเมื่อผู้จัดการทั่วไปไม่อยู่รองผู้จัดการทั่วไปก็จะลงชื่อแทนได้การที่ย. ซึ่งเป็นรองผู้จัดการทั่วไปของจำเลยลงชื่อในเอกสารหมายจ.4ในขณะที่ผู้จัดการทั่วไปไม่อยู่ไปต่างประเทศนั้นถือว่าเป็นการลงชื่อในฐานะผู้แทนของจำเลย จำเลยเป็นบริษัทย่อมมีระบบและขั้นตอนในการทำงานหากมีสัญญาเช่าใหม่กับโจทก์ไว้จริงทางจำเลยก็ไม่จำเป็นต้องทำหนังสือเอกสารหมายจ.4เสนอให้โจทก์เช่าต่ออีกแต่ปรากฎว่าตามข้อตกลงที่จะให้โจทก์เช่าต่อไปนั้นโจทก์จะต้องเสียค่าเช่าเพิ่มอีกร้อยละ15เมื่อได้รับค่าเช่าเพิ่มขึ้นเป็นที่พอใจแล้วจำเลยย่อมจะให้โจทก์เช่าต่อไปโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าได้มีการฟ้องขับไล่กันไว้หรือไม่จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์เช่าห้องพิพาทโดยสำคัญผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5894/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิดชอบ
ตามรายงานการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งของคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งที่รายงานให้ส. ในฐานะนายกเทศมนตรีของเทศบาลโจทก์ทราบถึงการกระทำละเมิดของจำเลยเมื่อวันที่10พฤศจิกายน2532ระบุชัดว่าผู้ใดเป็นผู้ต้องรับผิดชอบทางแพ่งต่อโจทก์และเป็นผู้แทนโจทก์ตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496มาตรา39ฉะนั้นจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่10พฤศจิกายน2532โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่31พฤษภาคม2534จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5894/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: เริ่มนับเมื่อทราบถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิดชอบ
ตามรายงานการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งของคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งที่รายงานให้ ส.ในฐานะนายกเทศมนตรีของเทศบาลโจทก์ทราบถึงการกระทำละเมิดของจำเลยเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 ระบุชัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ต้องรับผิดชอบทางแพ่งต่อโจทก์ และเป็นผู้แทนโจทก์ตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 ฉะนั้นจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2534 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6312/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง สัญญาที่ไม่ชอบ การลงนามโดยผู้ไม่มีอำนาจ
จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องนั้นไม่ชอบเพราะลงนามโดยผู้ไม่มีอำนาจทำการแทนโจทก์ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกขอเท็จจริงที่ว่าว.และป. ผู้ลงนามในสัญญาตามฟ้องไม่ใช่กรรมการของโจทก์และโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ทำสัญญาดังกล่าวแทนสัญญานั้นจึงไม่ผูกพันคู่กรณีขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่จำเลยได้เถียงทั้งประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะมิได้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นไว้ศาลก็อาจยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิด: การรู้ตัวผู้รับผิดและการฟ้องร้องเกินกำหนด
ตามรายงานผลการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งที่เสนอต่ออธิบดีของโจทก์มีข้อความระบุไว้ชัดว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิด โจทก์เสียหายเป็นเงิน181,080 บาท เห็นควรเรียกร้องหรือฟ้องร้องดำเนินคดีทางแพ่งแก่จำเลยที่ 1 และส.รองอธิบดีของโจทก์ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ลงนามไว้ด้านหลังเอกสารนี้เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2530 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ ส.ลงนามไว้ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 27 มีนาคม 2532 เป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนที่จำเลยที่ 1 ถูกพนักงานอัยการฟ้องในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกอันเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายในคดีอาญาสำหรับข้อหาส่วนนี้ การที่โจทก์นำการกระทำของจำเลยดังกล่าวมาฟ้องว่า จำเลยกระทำละเมิดเป็นคดีนี้ ดังนี้คดีนี้จึงมิใช่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่จะนำอายุความทางอาญาที่ยาวกว่ามาบังคับได้
ตามรายงานผลการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งมีข้อความระบุเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 แต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 นั่งโดยสารมาด้วยในรถที่จำเลยที่ 1 ขับหาได้ระบุว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองหรือควบคุมดูแลรถคันดังกล่าวอันจะต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายนั้นด้วยไม่ การที่ ส.รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ลงนามไว้ด้านหลังเอกสารนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แต่ต่อมากองนิติการในสังกัดโจทก์ได้รับสำนวนการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งแล้ว เห็นว่าผู้ที่จะต้องรับผิดคือจำเลยทั้งสอง และได้ทำบันทึกข้อความเสนอความเห็นควรสั่งฟ้องจำเลยทั้งสองต่ออธิบดีของโจทก์ และ ส.ลงนามไว้ท้ายเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2531 ถือได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอีกคนหนึ่งคือจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ ส.ลงนามไว้ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 27 มีนาคม 2532 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิดทางแพ่ง: การรู้ตัวผู้กระทำละเมิดและผู้รับผิดชอบ, การฟ้องคดีอาญาเกี่ยวข้องกับคดีแพ่ง
ตามรายงานผลการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งที่เสนอต่อ อธิบดีของโจทก์มีข้อความระบุไว้ชัดว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิด โจทก์เสียหายเป็นเงิน 181,080 บาท เห็นควรเรียกร้องหรือฟ้องร้องดำเนินคดีทางแพ่งแก่จำเลยที่ 1 และ ส.รองอธิบดีของโจทก์ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ลงนามไว้ด้านหลังเอกสารนี้ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2530 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ ส. ลงนามไว้ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 27 มีนาคม2532 เป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนที่จำเลยที่ 1 ถูกพนักงานอัยการฟ้องหรือในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกอันเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายในคดีอาญาสำหรับข้อหาส่วนนี้ การที่โจทก์นำการกระทำของจำเลยดังกล่าวมาฟ้องว่า จำเลยกระทำละเมิดเป็นคดีนี้ ดังนี้คดีนี้จึงมิใช่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่จะนำอายุความทางอาญาที่ยาวกว่ามาบังคับได้ ตามรายงานผลการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งมีข้อความระบุเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 แต่เพียงว่า จำเลยที่ 2นั่งโดยสารมาด้วยในรถที่จำเลยที่ 1 ขับหาได้ระบุว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองหรือควบคุมดูแลรถคันดังกล่าวอันจะต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายนั้นด้วยไม่ การที่ ส.รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ลงนามไว้ด้านหลังเอกสารนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แต่ต่อมากองนิติการในสังกัดโจทก์ได้รับสำนวนการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งแล้ว เห็นว่าผู้ที่จะต้องรับผิดคือจำเลยทั้งสอง และได้ทำบันทึกข้อความเสนอความเห็นควรสั่งฟ้องจำเลยทั้งสองต่ออธิบดีของโจทก์ และ ส. ลงนามไว้ท้ายเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2531 ถือได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอีกคนหนึ่งคือจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ ส.ลงนามไว้ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่27 มีนาคม 2532 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง, การรับผิดส่วนตัวจากการจ้าง, และการชำระหนี้บางส่วนทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
จำเลยที่2ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่1และที่2ไม่ได้ว่าจ้างให้โจทก์ทำงานตกแต่งห้องชุดมิได้ให้การว่าโจทก์มิได้ทำงานให้ตามรายการหนึ่งรายการใดคดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ทำงานครบถ้วนตามรายการหรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้เพราะไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว จำเลยที่2มิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่1ในขณะทำสัญญาว่าจ้างโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2จ้างโจทก์ในนามของจำเลยที่1จึงผูกพันจำเลยที่2เป็นส่วนตัวดังนั้นการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่2รับผิดเป็นส่วนตัวจึงไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็นเพราะฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างโจทก์ สิทธิเรียกร้องค่าจ้างอายุความ2ปีโดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์ทำงานแล้วเสร็จและส่งมอบงานในกำหนดการที่จำเลยที่2ชำระค่าจ้างบางส่วนให้แก่โจทก์ภายในกำหนดอายุความจึงเป็นเหตุให้ อายุความสะดุดหยุดลงและ เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวเมื่อวันครบกำหนดอายุความเป็น วันหยุดราชการ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีในวันที่เริ่มทำงานใหม่ดังนั้นคดีจึงหาขาดอายุความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสและการมอบอำนาจดำเนินคดีที่ไม่ชอบ
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2513) ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสและที่แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ.2521) ข้อ 4 (1)เป็นการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสในกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาส โดยเจ้าคณะตำบลเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าพระครู น.ยังเป็นเจ้าอาวาสวัดผู้ร้องอยู่มิได้ลาสิกขา เจ้าคณะตำบลจึงไม่มีอำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผู้ร้องโดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคมข้อดังกล่าว คำสั่งของเจ้าคณะตำบลที่แต่งตั้งพระภิกษุ พ.เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผู้ร้องจึงไม่ชอบพระภิกษุ พ.จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้อง ที่ ว.ยื่นคำร้องคดีนี้แทนผู้ร้องโดยพระภิกษุ พ.เป็นผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจในฐานะผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผู้ร้อง เป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนผู้ร้องโดยไม่ชอบ ว.ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้แทนผู้ร้อง
of 19