พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทลงลายมือชื่อเช็คในฐานะผู้แทนบริษัท ไม่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินส่วนบุคคล
เจ้าหนี้มอบเงินให้จำเลยที่ 1 เพื่อร่วมลงทุน จำเลยที่ 1ออกเช็คพิพาทมอบให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นหลักประกัน เช็คพิพาทมี ป.กับจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโดยมิได้ประทับตราของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 มิได้เขียนว่ากระทำการแทน แต่การที่ ป. กับจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 เป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยผู้แทนของนิติบุคคล จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 มิใช่การกระทำของตัวแทนที่ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินแทนตัวการ แต่มิได้เขียนแถลงว่ากระทำแทนบุคคลอื่น ซึ่งบุคคลนั้นต้องรับผิดตามความในตั๋วเงินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 901 จำเลยที่ 2ไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทลงลายมือชื่อเช็คเพื่อการลงทุน บริษัทเป็นผู้รับผิด ไม่ใช่กรรมการส่วนตัว
เจ้าหนี้มอบเงินให้บริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อร่วมลงทุนแล้วจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทมอบให้เจ้าหนี้ไว้เพื่อเป็นหลักประกันเงินลงทุนของเจ้าหนี้ โดย ป. และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายแม้จะไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้โดยมิได้เขียนว่าทำการแทนก็ตาม แต่การลงลายมือชื่อของ ป.กับจำเลยที่ 2 ก็เป็นการลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยผู้แทนของนิติบุคคลดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 เดิม (มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่) การกระทำของ ป. กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 มิใช่การกระทำของตัวแทนที่ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินแทนตัวการ แต่มิได้เขียนแถลงว่ากระทำการแทนบุคคลอื่น ซึ่งบุคคลนั้นต้องรับผิดตามความในตั๋วเงินดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 901จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ไม่ผูกพันข้อเท็จจริงที่ผู้จัดการสาขาทราบ หนี้เกิดก่อนรู้สถานะลูกหนี้ ไม่ต้องห้ามขอรับชำระ
ผู้จัดการสาขามิใช่ผู้แทนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้นข้อเท็จจริงใดที่ผู้จัดการสาขารับรู้หาผูกพันให้เจ้าหนี้ต้องรับรู้ไม่ เมื่อกรรมการผู้จัดการของเจ้าหนี้ไม่รู้ถึงการก่อหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระในคดีนี้ หนี้ดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิด: การนับระยะเวลาจากวันที่ผู้แทนของนิติบุคคลทราบถึงการละเมิด
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทกรมในรัฐบาลมี จ. เป็นอธิบดี และตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 32 วรรคสอง บัญญัติว่า กรมมีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฯลฯ เช่นนี้ต้องถือว่าโจทก์มี จ. อธิบดีคนเดียวเท่านั้นเป็นผู้แทน จะถือว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนของโจทก์เป็นผู้แทนของโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อ จ. รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2528 นับถึงวันที่18 กุมภาพันธ์ 2529 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การชำระหนี้บางส่วน, เช็ค, สัญญาค้ำประกัน, และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การว่าฟ้องเคลือบคลุม เพราะไม่บรรยายว่าจำเลยนำเช็คไปขายลดเท่าใด ชำระแล้วเท่าใด ค้างอีกเท่าใด แต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ทราบยอดหนี้ที่แน่นอน ทำให้จำเลยไม่เข้าใจสภาพแห่งข้อหา ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงแตกต่างไปจากที่ให้การต่อสู้คดีไว้ และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี มี น. ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความรับรอง และยืนยันว่าได้มอบอำนาจให้ตนฟ้องคดีจริง แม้จะไม่ได้นำผู้มอบอำนาจมาเบิกความเป็นพยาน เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างย่อมฟังได้ว่า โจทก์มอบอำนาจให้ น. ฟ้องคดีจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค เมื่อเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลดเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยึดเช็คดังกล่าวไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คได้ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดเช็คให้โจทก์ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้จำเลยที่ 1 จึงสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้แทนเพื่อเป็นประกันเช็คที่เรียกเก็บเงินไม่ได้ โดยไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์จะต้องคืนเช็คที่ขายลดดังนี้ การสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้โจทก์ไป จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้และตามพฤติการณ์ถือว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์ยึดถือเช็คที่ขายลดไว้ได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่คืนเช็คที่ทำสัญญาขายลดไว้ เพื่อปัดความรับผิดไม่ต้องชำระหนี้หาได้ไม่ การที่ น. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง แต่หลังจากฟ้องแล้ว ทราบว่าจำเลยนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์แต่จะเป็นจำนวนเท่าใดจำไม่ได้นั้น เป็นการเบิกความยืนยันว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นหนี้อยู่ตามฟ้อง เมื่อฟ้องแล้วหนี้ได้ลดลงเพราะได้มีการชำระหนี้กันบางส่วน เพียงแต่จำนวนเท่าใดจำไม่ได้เท่านั้น ทางพิจารณาจึงไม่ต่างกับฟ้อง แม้จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องจำนวนเงินที่ตนจะต้องรับผิด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 3ได้ทำสัญญาค้ำประกันร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงิน 2,000,000บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: เริ่มนับเมื่อผู้แทนตามกฎหมายของนิติบุคคลทราบการละเมิดและตัวผู้ชดใช้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โดยประมาทชนราวสะพานของกรมทางหลวงโจทก์เสียหายเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2526 การนับอายุความละเมิดคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก ต้องเริ่มนับแต่วันที่อธิบดีผู้แทนโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การที่นิติกร กองนิติการของโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2527และวันที่ 27 ธันวาคม 2527 จะถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่มีหนังสือทวงถามไม่ได้เพราะการทวงถามทำโดยนิติกร ซึ่งเป็นเพียงข้าราชการในกรมโจทก์หาใช่อธิบดีซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์โดยตรงไม่ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนของโจทก์ทำการสอบสวนและรู้ตัวผู้พึงต้องรับผิดแล้ว ได้รายงานเสนอไปยังอธิบดีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2528 และอธิบดีทราบเรื่องเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2528 จึงถือได้ว่าอธิบดีผู้แทนโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2528 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2528ยังไม่เกิน 1 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2500/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะเจ้าของโรงงาน: โจทก์ฟ้องแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้ แม้เป็นเจ้าของที่ดิน
โจทก์ฟ้องคดีในนามของตนเอง หาได้ฟ้องในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลืองภิรมย์ไม่ แม้ฟ้องโจทก์จะได้บรรยายว่า โจทก์เป็นเจ้าของโรงงานแป้งมันเหลืองภิรมย์ แต่ก็มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าโจทก์ได้กระทำการแทนนิติบุคคลดังกล่าว ดังนั้น เมื่อโรงงานแป้งมันเหลืองภิรมย์เป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลืองภิรมย์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของโรงงานแป้งมันเหลืองภิรมย์ ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลืองภิรมย์ได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ เป็นประเด็นไว้ ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ เป็นประเด็นไว้ ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2500/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: โจทก์ฟ้องในนามส่วนตัว ไม่ใช่ผู้แทน นิติบุคคลแยกต่างหาก ไม่มีอำนาจฟ้องแทน
โจทก์ฟ้องคดีในนามของตนเอง หาได้ฟ้องในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลืองภิรมย์ไม่ แม้ฟ้องโจทก์จะได้บรรยายว่าโจทก์เป็นเจ้าของโรงงานแป้งมันเหลืองภิรมย์ แต่ก็มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าโจทก์ได้กระทำการแทนนิติบุคคลดังกล่าว ดังนั้นเมื่อโรงงานแป้งมันเหลืองภิรมย์เป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลืองภิรมย์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของ โรงงานแป้งมันเหลืองภิรมย์ ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลืองภิรมย์ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ เป็นประเด็นไว้ ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: การผ่อนผันสัญญาหลักไม่กระทบความรับผิดของผู้ค้ำประกัน หากผู้ค้ำประกันรับรู้และยินยอม
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการปฏิบัติตามสัญญาก่อสร้างอาคารไว้ต่อโจทก์ มีใจความว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ตามสัญญาซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนให้ทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้ จำเลยที่ 1 ชำระก่อน จำเลยที่ 2 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่ โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญา ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์ติดต่อแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น ข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 ยอมให้โจทก์ผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ถือเป็น สาระสำคัญในการค้ำประกัน ขอแต่เพียงแจ้งการผ่อนผันให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น ต่อมาโจทก์ได้ขยายระยะเวลาก่อสร้างให้ จำเลยที่ 1ออกไป โดยได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว ดังนั้นเมื่อ จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและไม่ยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินตามสัญญาให้แก่โจทก์ทันที โดยโจทก์ ไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, หน้าที่ผู้จัดการ, ประมาทเลินเล่อ, สัญญาซื้อเชื่อ, อายุความ (การไม่ยกข้อต่อสู้)
คณะกรรมการสหกรณ์โจทก์มีมติให้ฟ้อง ส. เพียงคนเดียวและได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องในวันที่มีมตินั้น แต่หนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุให้ฟ้องผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะจึงเป็นการมอบอำนาจทั่วไป เมื่อต่อมาคณะกรรมการสหกรณ์โจทก์ได้มีมติให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คณะกรรมการสหกรณ์โจทก์มีมติให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการของโจทก์ และโจทก์จ่ายเงินเดือนให้จำเลยที่ 1 ตลอดมาจนลาออกจากตำแหน่ง ดังนี้แม้สัญญาจ้างจำเลยที่ 1 จะมิได้ลงชื่อผู้มีอำนาจทำการแทนและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับก็ตามการที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการของโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งลาออก
การที่จำเลยที่ 1 ขายนมให้แก่ ส. โดยไม่มีหลักประกันใด ๆ ฝ่าฝืนมติของคณะกรรมการสหกรณ์โจทก์ เป็นเหตุให้ ส. ค้างชำระค่านมเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุว่าได้รับคำแนะนำจากสหกรณ์จังหวัด ฯลฯ ให้ขายนมแก่ ส. มาปัดความรับผิดไม่ได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องระหว่างฎีกาว่า ได้ติดตามทวงหนี้สินจาก ส. และ ส. ได้ชำระแก่โจทก์เป็นเงิน 168,000 บาท หากเป็นความจริงจำเลยที่ 1 ย่อมขอให้โจทก์ลดจำนวนหนี้ดังกล่าวในชั้นบังคับคดีได้
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ แม้จำเลยอื่นให้การต่อสู้ไว้ ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยเหล่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ในเรื่องอายุความด้วยไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกเรื่องอายุความขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
คณะกรรมการสหกรณ์โจทก์มีมติให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการของโจทก์ และโจทก์จ่ายเงินเดือนให้จำเลยที่ 1 ตลอดมาจนลาออกจากตำแหน่ง ดังนี้แม้สัญญาจ้างจำเลยที่ 1 จะมิได้ลงชื่อผู้มีอำนาจทำการแทนและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับก็ตามการที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการของโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งลาออก
การที่จำเลยที่ 1 ขายนมให้แก่ ส. โดยไม่มีหลักประกันใด ๆ ฝ่าฝืนมติของคณะกรรมการสหกรณ์โจทก์ เป็นเหตุให้ ส. ค้างชำระค่านมเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุว่าได้รับคำแนะนำจากสหกรณ์จังหวัด ฯลฯ ให้ขายนมแก่ ส. มาปัดความรับผิดไม่ได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องระหว่างฎีกาว่า ได้ติดตามทวงหนี้สินจาก ส. และ ส. ได้ชำระแก่โจทก์เป็นเงิน 168,000 บาท หากเป็นความจริงจำเลยที่ 1 ย่อมขอให้โจทก์ลดจำนวนหนี้ดังกล่าวในชั้นบังคับคดีได้
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ แม้จำเลยอื่นให้การต่อสู้ไว้ ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยเหล่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ในเรื่องอายุความด้วยไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกเรื่องอายุความขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้