คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 70

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง-หน้าที่ผู้จัดการ-ประมาทเลินเล่อ-การปฏิบัติต่อกัน-อายุความ
คณะกรรมการสหกรณ์โจทก์มีมติให้ฟ้อง ส. เพียงคนเดียวและได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องในวันที่มีมตินั้น แต่หนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุให้ฟ้องผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะจึงเป็นการมอบอำนาจทั่วไป เมื่อต่อมาคณะกรรมการสหกรณ์โจทก์ได้มีมติให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คณะกรรมการสหกรณ์โจทก์มีมติให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการของโจทก์ และโจทก์จ่ายเงินเดือนให้จำเลยที่ 1 ตลอดมาจนลาออกจากตำแหน่ง ดังนี้แม้สัญญาจ้างจำเลยที่ 1 จะมิได้ลงชื่อผู้มีอำนาจทำการแทนและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับก็ตามการที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้จัดการของโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งลาออก
การที่จำเลยที่ 1 ขายนมให้แก่ ส. โดยไม่มีหลักประกันใด ๆฝ่าฝืนมติของคณะกรรมการสหกรณ์โจทก์ เป็นเหตุให้ ส. ค้างชำระค่านมเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อในหน้าที่ของจำเลยที่ 1จะอ้างเหตุว่าได้รับคำแนะนำจากสหกรณ์จังหวัด ฯลฯ ให้ขายนมแก่ ส. มาปัดความรับผิดไม่ได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องระหว่างฎีกาว่า ได้ติดตามทวงหนี้สินจาก ส.และส. ได้ชำระแก่โจทก์เป็นเงิน 168,000 บาท หากเป็นความจริงจำเลยที่ 1 ย่อมขอให้โจทก์ลดจำนวนหนี้ดังกล่าวในชั้นบังคับคดีได้
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ แม้จำเลยอื่นให้การต่อสู้ไว้ ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยเหล่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ในเรื่องอายุความด้วยไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกเรื่องอายุความขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้โจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อขณะทำสัญญา แต่จำเลยห้ามยกข้อต่อสู้เมื่อยอมรับว่ามีสัญญาเช่าซื้อจริง
แม้ขณะที่บริษัทโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับจำเลยวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทโจทก์ยังมิได้ระบุให้ประกอบกิจการเป็นผู้ให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ได้แต่เมื่อจำเลยให้การและนำสืบรับว่าบริษัทโจทก์กับจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กันจริงจำเลยจะโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะการให้เช่าซื้อรถยนต์อยู่นอกขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทโจทก์ไม่ได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า การทำสัญญาเช่าซื้ออยู่ในขอบวัตถุที่ประสงค์ของโจทก์ และมีผลผูกพันโจทก์หรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่า สัญญาเช่าซื้อรถยนต์อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าการทำสัญญาให้เช่าซื้ออยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยไม่อาจยกข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อขึ้นต่อสู้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องอุทธรณ์..

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเมื่อวัตถุประสงค์บริษัทเปลี่ยนแปลง: จำเลยยกข้อต่อสู้มิได้
แม้ขณะที่บริษัทโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับจำเลยวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทโจทก์ยังมิได้ระบุให้ประกอบกิจการเป็นผู้ให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ได้แต่เมื่อจำเลยให้การและนำสืบรับว่าบริษัทโจทก์กับจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กันจริงจำเลยจะโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะการให้เช่าซื้อรถยนต์อยู่นอกขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทโจทก์ไม่ได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า การทำสัญญาเช่าซื้ออยู่ในขอบวัตถุที่ประสงค์ของโจทก์ และมีผลผูกพันโจทก์หรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่า สัญญาเช่าซื้อรถยนต์อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าการทำสัญญาให้เช่าซื้ออยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยไม่อาจยกข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อขึ้นต่อสู้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3166/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีมรดก, อายุความ, และคุณสมบัติผู้จัดการมรดกที่เป็นนิติบุคคล
การที่สภากาชาดไทยมอบอำนาจให้เลขาธิการยื่นคำร้องคดีนี้โดยอาศัยใบมอบอำนาจทั่วไป ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีได้ด้วย เป็นเพียงเรื่องการมอบอำนาจบกพร่องเท่านั้น ไม่เป็นผลถึงกับทำให้คำร้องของผู้ร้องเสียไป ก่อนสืบพยานผู้ร้องก็ได้ส่งใบมอบอำนาจให้เลขาธิการฟ้องคดีได้ ซึ่งถือว่าเป็นการให้สัตยาบันการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่ได้กระทำไปแล้ว การมอบอำนาจให้เลขาธิการยื่นคำร้อง คดีนี้ จึงสมบูรณ์ ผู้ร้องมีอำนาจร้องคดีนี้ได้
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง แม้การจัดการมรดกจะล่วงเลยมาเกินกว่าห้าปีแล้ว คดีของผู้ร้องก็ยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733
สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก โดยสภาพไม่ใช่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะบุคคลธรรมดา เมื่อการจัดการมรดกไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของผู้ร้องซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้ร้องก็ไม่อยู่ในฐานะต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3166/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีมรดก, อายุความ, และคุณสมบัติผู้จัดการมรดกของนิติบุคคล
การที่สภากาชาดไทยมอบอำนาจให้เลขาธิการยื่นคำร้องคดีนี้โดยอาศัยใบมอบอำนาจทั่วไปไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีได้ด้วยเป็นเพียงเรื่องการมอบอำนาจบกพร่องเท่านั้นไม่เป็นผลถึงกับทำให้คำร้องของผู้ร้องเสียไปก่อนสืบพยานผู้ร้องก็ได้ส่งใบมอบอำนาจให้เลขาธิการฟ้องคดีได้ซึ่งถือว่าเป็นการให้สัตยาบันการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่ได้กระทำไปแล้วการมอบอำนาจให้เลขาธิการยื่นคำร้องคดีนี้จึงสมบูรณ์ผู้ร้องมีอำนาจร้องคดีนี้ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงแม้การจัดการมรดกจะล่วงเลยมาเกินกว่าห้าปีแล้วคดีของผู้ร้องก็ยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733 สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกโดยสภาพไม่ใช่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเมื่อการจัดการมรดกไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของผู้ร้องซึ่งเป็นนิติบุคคลผู้ร้องก็ไม่อยู่ในฐานะต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษปรับสำหรับนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จ: ศาลสามารถลงโทษปรับได้เพียงสถานเดียว
ศาลอาจลงโทษนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 ซึ่งมีทั้งโทษจำคุกและปรับ โดยลงโทษปรับแต่เพียงสถานเดียวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษปรับสำหรับนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จ แม้กฎหมายกำหนดทั้งจำคุกและปรับ
ศาลอาจลงโทษนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 ซึ่งมีทั้งโทษจำคุกและปรับโดยลงโทษปรับแต่เพียงสถานเดียวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของตัวแทน, สิทธิในเครื่องหมายการค้า, และอายุความละเมิด
นิติบุคคลเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เพราะไม่มีกฎหมาย บัญญัติห้ามไว้
โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้ในต่างประเทศและใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์ ต่อมาโจทก์แต่งตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์ในประเทศไทย จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าพิพาทไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยในประเทศไทย ดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ เพราะโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 มาตรา 41และการฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรานี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องร้องไว้จึงมีอายุความฟ้องร้อง10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 โดยเริ่มนับแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อันเป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 169โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
หลังจากที่โจทก์ได้บอกเลิกไม่ให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์แล้ว จำเลยได้เอาน้ำมันหล่อลื่นจากที่อื่นมาจำหน่ายแต่ยังคงใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับน้ำมันหล่อลื่นของจำเลย การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์จึงเป็นการละเมิดต่อ โจทก์โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช2474มาตรา 29 วรรคสองจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตลอดมาต่อเนื่องกันถึงวันฟ้องและโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายย้อนหลังจากวันฟ้องเพียง 1 ปีคดีของโจทก์ในส่วนนี้ก็ไม่ขาดอายุความเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้าและการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า: อายุความและอำนาจฟ้อง
นิติบุคคลเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เพราะไม่มีกฎหมาย บัญญัติห้ามไว้ โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้ในต่างประเทศและใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์ต่อมาโจทก์แต่งตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์ในประเทศไทยจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าพิพาทไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยในประเทศไทยดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้เพราะโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 มาตรา 41และการฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรานี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องร้องไว้จึงมีอายุความฟ้องร้อง10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 โดยเริ่มนับแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อันเป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ หลังจากที่โจทก์ได้บอกเลิกไม่ให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์แล้วจำเลยได้เอาน้ำมันหล่อลื่นจากที่อื่นมาจำหน่าย แต่ยังคงใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับน้ำมันหล่อลื่นของจำเลยการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช2474 มาตรา 29 วรรคสองจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตลอดมาต่อเนื่องกันถึงวันฟ้องและโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายย้อนหลังจากวันฟ้องเพียง 1 ปีคดีของโจทก์ในส่วนนี้ก็ไม่ขาดอายุความเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้ หากไม่ขัดวัตถุประสงค์ และไม่เป็นหน้าที่เฉพาะบุคคล
สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นโดยสภาพมิใช่สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา
บุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ย่อมนำมาใช้แก่นิติบุคคลได้เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพของนิติบุคคล
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามนิติบุคคลมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ฉะนั้น ถ้าไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นแล้ว ศาลย่อมตั้งนิติบุคคล
เป็นผู้จัดการมรดกได้ตามที่เห็นสมควร ผู้ร้องซึ่งเป็นวัดขอเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งจะเป็นสมบัติของวัด วัดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมกระทำโดยเจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้แทนของวัดเป็นผู้แสดงให้ปรากฏตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 จึงเห็นสมควรทั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2524)
of 19