พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้ หากไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์และกฎหมาย
สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นโดยสภาพมิใช่สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา
บุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ย่อมนำมาใช้แก่นิติบุคคลได้เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพของนิติบุคคล
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามนิติบุคคลมิให้เป็นผู้จัดการมรดกฉะนั้น ถ้าไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นแล้ว ศาลย่อมตั้งนิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามที่เห็นสมควร ผู้ร้องซึ่งเป็นวัดขอเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งจะเป็นสมบัติของวัด วัดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมกระทำโดยเจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้แทนของวัดเป็นผู้แสดงให้ปรากฏตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 จึงเห็นสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2524)
บุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ย่อมนำมาใช้แก่นิติบุคคลได้เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพของนิติบุคคล
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามนิติบุคคลมิให้เป็นผู้จัดการมรดกฉะนั้น ถ้าไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นแล้ว ศาลย่อมตั้งนิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามที่เห็นสมควร ผู้ร้องซึ่งเป็นวัดขอเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งจะเป็นสมบัติของวัด วัดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมกระทำโดยเจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้แทนของวัดเป็นผู้แสดงให้ปรากฏตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 จึงเห็นสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2524)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลทำละเมิด: ฟ้องจำเลยโดยตรงได้ แม้ไม่ได้ระบุตัวผู้กระทำละเมิดเฉพาะเจาะจง การนำสืบไม่ถือว่านอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลว่าทำละเมิดต่อโจทก์ให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คนงานบริษัทจำเลยทำท่อน้ำประปาของโจทก์แตกในระหว่างบริษัทจำเลยรับเหมาก่อสร้างถนน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดทำท่อประปาของโจทก์แตกเสียหาย โจทก์ได้ทำการซ่อมท่อประปาที่แตกเสียหายแล้วตามคำร้องของเจ้าหน้าที่จำเลย โจทก์นำสืบว่าคนงานของจำเลยทำละเมิดได้ไม่ เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คนงานบริษัทจำเลยทำท่อน้ำประปาของโจทก์แตกในระหว่างบริษัทจำเลยรับเหมาก่อสร้างถนน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดทำท่อประปาของโจทก์แตกเสียหาย โจทก์ได้ทำการซ่อมท่อประปาที่แตกเสียหายแล้วตามคำร้องของเจ้าหน้าที่จำเลย โจทก์นำสืบว่าคนงานของจำเลยทำละเมิดได้ไม่ เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลทำละเมิด: ฟ้องจำเลยโดยตรงได้ แม้ไม่ได้ระบุตัวผู้กระทำละเมิด และการนำสืบไม่ถือว่านอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลว่าทำละเมิดต่อโจทก์ให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คนงานบริษัทจำเลยทำท่อน้ำประปาของโจทก์แตกในระหว่างบริษัทจำเลยรับเหมาก่อสร้างถนน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดทำท่อประปาของโจทก์แตกเสียหาย โจทก์ได้ทำการซ่อมท่อประปาที่แตกเสียหายแล้วตามคำร้องของเจ้าหน้าที่จำเลย โจทก์นำสืบว่าคนงานของจำเลยทำละเมิดได้ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คนงานบริษัทจำเลยทำท่อน้ำประปาของโจทก์แตกในระหว่างบริษัทจำเลยรับเหมาก่อสร้างถนน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดทำท่อประปาของโจทก์แตกเสียหาย โจทก์ได้ทำการซ่อมท่อประปาที่แตกเสียหายแล้วตามคำร้องของเจ้าหน้าที่จำเลย โจทก์นำสืบว่าคนงานของจำเลยทำละเมิดได้ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย่งการครอบครองที่ดิน: การครอบครองโดยนิติบุคคลที่ได้รับยกให้จากราชการ
กรมจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมาย ซึ่งรวมทั้งมีสิทธิครอบครองที่ดินตามที่ได้รับยกให้ด้วย ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าโจทก์ซื้อมาจากผู้อื่น ต่อมานายอำเภอได้ประกาศสงวนไว้ ครบกำหนดไม่มีผู้คัดค้านทางจังหวัดจึงยกให้จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองโดยลักษณะโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตลอดมาดังนี้ ไม่ปรากฏว่าการเข้าครอบครองที่พิพาทจะผิดวัตถุประสงค์และไม่ชอบธรรมด้วยประการใดโจทก์ย่อมฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่วันที่ถูกจำเลยที่ 1 แย่งการครอบครองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าของนามสมญาทางการค้า และความรับผิดจากความประมาทในการขับรถ
โจทก์ฟ้องคดีโดยใช้ชื่อว่า "บริการขนส่งสิงห์ชัยตาคลี โดยนายเซียมเซีย ชมภู เจ้าของบริการ" เป็นโจทก์ แม้ว่า "บริการขนส่งสิงห์ชัยตาคลี" จะมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ก็เป็นนามสมญาในทางการค้าของนายเซียมเซีย ชมภู และนายเซียมเซีย ชมภู ได้ฟ้องในนามเจ้าของสมญาดังกล่าว เป็นเรื่องเจ้าของบริการฟ้องในนามบริการซึ่งเป็นบุคคลเดียวกัน จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าของนามสมญาทางการค้า และความรับผิดจากความประมาทในการขับรถ
โจทก์ฟ้องคดีไปโดยใช้ชื่อว่า "บริการขนส่งสิงห์ชัยตาคลี โดยนายเซียมเซียชมภูเจ้าของบริการเป็นโจทก์แม้ว่า"บริการขนส่งสิงห์ชัยตาคลี"จะมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ก็เป็นนามสมญาในทางการค้าของนายเซียมเซียชมภูและนายเซียมเซียชมภูได้ฟ้องในนามเจ้าของสมญาดังกล่าว เป็นเรื่องเจ้าของบริการฟ้องในนามบริการซึ่งเป็นบุคคลเดียวกันจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลต่างชาติฟ้องคดีในไทยได้ แม้ไม่จดทะเบียนในไทย และประเด็นหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
นิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศอื่น แม้จะไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยก็ฟ้องคดีในศาลไทยได้
แม้ตามภาพถ่ายใบมอบอำนาจของโจทก์ท้ายฟ้อง ซึ่งมอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่จำเลยให้การในเรื่องใบมอบอำนาจแต่เพียงว่า ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง มิได้บัญญัติว่าโจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจติดมากับฟ้อง เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจเพราะมีเหตุอันควรสงสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาล กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่
แม้ตามภาพถ่ายใบมอบอำนาจของโจทก์ท้ายฟ้อง ซึ่งมอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่จำเลยให้การในเรื่องใบมอบอำนาจแต่เพียงว่า ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง มิได้บัญญัติว่าโจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจติดมากับฟ้อง เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจเพราะมีเหตุอันควรสงสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาล กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลต่างชาติฟ้องคดีในไทยได้ แม้ไม่ได้จดทะเบียนในไทย และการไม่ติดอากรแสตมป์หนังสือมอบอำนาจไม่เป็นเหตุ
นิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศอื่น แม้จะไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยก็ฟ้องคดีในศาลไทยได้
แม้ตามภาพถ่ายใบมอบอำนาจของโจทก์ท้ายฟ้อง ซึ่งมอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่จำเลยให้การในเรื่องใบมอบอำนาจแต่เพียงว่า ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสองมิได้บัญญัติว่าโจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจติดมากับฟ้อง เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจเพราะมีเหตุอันควรสงสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาล กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่
แม้ตามภาพถ่ายใบมอบอำนาจของโจทก์ท้ายฟ้อง ซึ่งมอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่จำเลยให้การในเรื่องใบมอบอำนาจแต่เพียงว่า ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสองมิได้บัญญัติว่าโจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจติดมากับฟ้อง เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจเพราะมีเหตุอันควรสงสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาล กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชดเชยจากการเลิกจ้าง: อำนาจของกระทรวงมหาดไทยในการกำหนดตามประกาศคณะปฏิวัติ และการบังคับใช้ตามกฎหมายแรงงาน
กรมแรงงานจำเลยที่ 1 เป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอันความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนคืออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นผู้แทนโดยตำแหน่ง เมื่ออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับลูกจ้างเกี่ยวด้วยเงินชดเชยซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการตามตำแหน่งหน้าที่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ หาจำต้องฟ้องอธิบดีกรมแรงงานในฐานะบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ไม่ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19ได้ออกคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนับว่าเกิดมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งที่จำเลยทั้งสองออกมาบังคับแก่โจทก์ตกเป็นโมฆะ มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 และไม่ใช่กรณีละเมิด จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯลฯข้อ 27 เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในเมื่อได้จ้างติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งคำว่า 'เลิกจ้าง' มีบทนิยามไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 3 หมายความถึงให้ลูกจ้างออกจากงานด้วยการให้ออกปลดออก หรือไล่ออกและรวมถึงการที่นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ฯลฯ ตามคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นระบุว่าเป็นเรื่องโจทก์นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ที่ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2514มาตรา 3 ซึ่งว่าด้วยวิธีการในเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงาน ค่าจ้าง และการงดจ้างเท่านั้น หาเกี่ยวกับเงินชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากนายจ้างเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ไม่
ตามบทนิยามในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เงินชดเชยนั้นเนื้อแท้ก็เป็น "ค่าจ้าง" ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นพิเศษตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2นั่นเอง แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 จะมิได้กล่าวถึงเงินชดเชยไว้ กระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติในเรื่องนี้ได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 เกี่ยวด้วยเงินชดเชยจึงมีผลบังคับ
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯลฯข้อ 27 เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในเมื่อได้จ้างติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งคำว่า 'เลิกจ้าง' มีบทนิยามไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 3 หมายความถึงให้ลูกจ้างออกจากงานด้วยการให้ออกปลดออก หรือไล่ออกและรวมถึงการที่นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ฯลฯ ตามคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นระบุว่าเป็นเรื่องโจทก์นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ที่ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2514มาตรา 3 ซึ่งว่าด้วยวิธีการในเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงาน ค่าจ้าง และการงดจ้างเท่านั้น หาเกี่ยวกับเงินชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากนายจ้างเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ไม่
ตามบทนิยามในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เงินชดเชยนั้นเนื้อแท้ก็เป็น "ค่าจ้าง" ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นพิเศษตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2นั่นเอง แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 จะมิได้กล่าวถึงเงินชดเชยไว้ กระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติในเรื่องนี้ได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 เกี่ยวด้วยเงินชดเชยจึงมีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกระทรวงมหาดไทยกำหนดจ่ายเงินชดเชยจากการเลิกจ้างตามประกาศคณะปฏิวัติและบทนิยามค่าจ้าง
กรมแรงงานจำเลยที่ 1 เป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย อันความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนคืออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นผู้แทนโดยตำแหน่ง เมื่ออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับลูกจ้างเกี่ยวด้วยเงินชดเชยซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการตามตำแหน่งหน้าที่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ หาจำต้องฟ้องอธิบดีกรมแรงงานในฐานะบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ไม่ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19ได้ออกคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนับว่าเกิดมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งที่จำเลยทั้งสองออกมาบังคับแก่โจทก์ตกเป็นโมฆะ มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 และไม่ใช่กรณีละเมิด จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯลฯ ข้อ 27 เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในเมื่อได้จ้างติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งคำว่า 'เลิกจ้าง' มีบทนิยามไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 3 หมายความถึงให้ลูกจ้างออกจากงานด้วยการให้ออกปลดออก หรือไล่ออกและรวมถึงการที่นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ฯลฯ ตามคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นระบุว่าเป็นเรื่องโจทก์นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ที่ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2514 มาตรา 3 ซึ่งว่าด้วยวิธีการในเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงาน ค่าจ้าง และการงดจ้างเท่านั้น หาเกี่ยวกับเงินชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากนายจ้างเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ไม่
ตามบทนิยามในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เงินชดเชยนั้นเนื้อแท้ก็เป็น 'ค่าจ้าง' ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นพิเศษตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 นั่นเอง แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 จะมิได้กล่าวถึงเงินชดเชยไว้ กระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติในเรื่องนี้ได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 เกี่ยวด้วยเงินชดเชยจึงมีผลบังคับ
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯลฯ ข้อ 27 เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในเมื่อได้จ้างติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งคำว่า 'เลิกจ้าง' มีบทนิยามไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 3 หมายความถึงให้ลูกจ้างออกจากงานด้วยการให้ออกปลดออก หรือไล่ออกและรวมถึงการที่นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ฯลฯ ตามคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นระบุว่าเป็นเรื่องโจทก์นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ที่ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2514 มาตรา 3 ซึ่งว่าด้วยวิธีการในเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงาน ค่าจ้าง และการงดจ้างเท่านั้น หาเกี่ยวกับเงินชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากนายจ้างเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ไม่
ตามบทนิยามในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เงินชดเชยนั้นเนื้อแท้ก็เป็น 'ค่าจ้าง' ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นพิเศษตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 นั่นเอง แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 จะมิได้กล่าวถึงเงินชดเชยไว้ กระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติในเรื่องนี้ได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 เกี่ยวด้วยเงินชดเชยจึงมีผลบังคับ