พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของนิติบุคคลอาคารชุด: การมอบอำนาจผ่านผู้จัดการและผู้ดำเนินการแทน
นิติบุคคลอาคารชุดโจทก์มีผู้จัดการคือบริษัท บ. และมีการแต่งตั้งให้ พ.เป็นผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคลในฐานะผู้จัดการพ. ย่อมเป็นผู้จัดการของโจทก์และมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของโจทก์ด้วย พ.ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ในฐานะผู้จัดการของโจทก์เท่ากับโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจเอง เช่นเดียวกับหัวหน้าส่วนราชการที่เป็นนิติบุคคลมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนส่วนราชการนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9320/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีต้องมีเหตุตามกฎหมาย แม้กรรมการผู้มีอำนาจเป็นคนละนิติบุคคลก็ไม่ถือเป็นคู่ความเดียวกัน
คดีที่จำเลยหยิบยกมาเป็นเหตุในคำร้องให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 293 วรรคหนึ่ง โจทก์คือบริษัท ท. จำเลยคือบริษัท อ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แม้โจทก์คดีนี้จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท อ.และจำเลยจะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ท.ก็ตาม จะถือว่าคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะเป็นบุคคลต่างรายกัน ชอบที่ศาลจะยกคำร้องของจำเลยโดยเหตุดังกล่าวเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9264/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าแม้ไม่มีตราประทับ แต่ยอมรับผลและให้เข้าครอบครอง ถือเป็นสัตยาบันผูกพันผู้เช่า
สัญญาเช่าพื้นที่ห้องชุด มีข้อความระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าบริษัท บ. จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่า แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานกรรมการของจำเลยที่ 1 จะลงชื่อในสัญญาเช่าโดยไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1ตามข้อบังคับก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็ยอมรับเอาผลของสัญญาเช่าดังกล่าวโดยยินยอมให้บริษัท ซ. ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการเข้าไปครอบครองใช้พื้นที่ที่เช่าจากโจทก์แล้ว ทั้ง ๆ ที่บริษัท ซ. มิได้เป็นคู่สัญญาเช่ากับโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 2 และเข้าไปครอบครองใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เช่าจากโจทก์แล้ว สัญญาเช่าพื้นที่ห้องชุดดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1ในฐานะผู้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9264/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสื่อถึงกัน แม้ไม่มีตราบริษัท การยินยอมให้ใช้พื้นที่ถือเป็นการให้สัตยาบัน
สัญญาเช่าพื้นที่ห้องชุด มีข้อความระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าบริษัท บ. จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่า แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานกรรมการของจำเลยที่ 1 จะลงชื่อในสัญญาเช่าโดยไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็ยอมรับเอาผลของสัญญาเช่าดังกล่าวโดยยินยอมให้บริษัท ซ. ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการเข้าไปครอบครองใช้พื้นที่ที่เช่าจากโจทก์แล้ว ทั้ง ๆ ที่บริษัท ซ. มิได้เป็นคู่สัญญาเช่ากับโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 2 และเข้าไปครอบครองใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เช่าจากโจทก์แล้ว สัญญาเช่าพื้นที่ห้องชุดดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงิน: เจตนารมณ์ของคู่สัญญาและขอบเขตความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ
ข้อความของสัญญาระบุไว้ชัดแจ้งว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผู้กู้ ส่วนโจทก์เป็นฝ่ายผู้ให้กู้อีกทั้งมีข้อความระบุย้ำอีกว่า สัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำในนามของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นเจตนารมณ์อันชัดแจ้งของคู่สัญญาว่ามุ่งเน้นให้จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ลงชื่อในสัญญาก็เป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 กระทำในฐานะส่วนตัวไม่ แม้มิได้ประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 ไว้ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินการที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกู้ยืมเงินโจทก์ด้วยถือเป็นเรื่องนอกเหนือจากข้อความในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงิน: การลงนามในนามบริษัท และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญา
ข้อความของสัญญาระบุไว้ชัดแจ้งว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผู้กู้ ส่วนโจทก์เป็นฝ่ายผู้ให้กู้ อีกทั้งมีข้อความระบุย้ำอีกว่า สัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำในนามของจำเลยที่ 1แสดงให้เห็นเจตนารมณ์อันชัดแจ้งของคู่สัญญาว่ามุ่งเน้นให้จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ลงชื่อในสัญญาก็เป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1หาใช่จำเลยที่ 2 กระทำในฐานะส่วนตัวไม่ แม้มิได้ประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1ไว้ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน การที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกู้ยืมเงินโจทก์ด้วยถือเป็นเรื่องนอกเหนือจากข้อความในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคล ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล: การมอบอำนาจที่ไม่ถูกต้องทำให้ฟ้องเสีย มิอาจแก้ไขให้สมบูรณ์ได้
ธ. ลงชื่อมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ขัดต่อข้อบังคับของโจทก์เรื่องจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ เป็นกรณีโจทก์ในฐานะนิติบุคคลฟ้องคดีโดยผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนได้ ความประสงค์ของโจทก์จึงไม่แสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 70 วรรคสอง
เมื่อ ธ. ไม่มีอำนาจลงชื่อมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ พ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์มาแต่แรกฟ้อง ถึงแม้ต่อมาภายหลังโจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีนี้ยื่นเข้ามาก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่เสียมาแต่ต้นแล้วกลับคืนดีเป็นฟ้องที่ยื่นฟ้องและดำเนินคดีโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ขึ้นมาในภายหลังได้ไม่
เมื่อ ธ. ไม่มีอำนาจลงชื่อมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ พ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์มาแต่แรกฟ้อง ถึงแม้ต่อมาภายหลังโจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีนี้ยื่นเข้ามาก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่เสียมาแต่ต้นแล้วกลับคืนดีเป็นฟ้องที่ยื่นฟ้องและดำเนินคดีโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ขึ้นมาในภายหลังได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของนิติบุคคล: การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ทำให้ฟ้องคดีเสีย และการแก้ไขคำฟ้องไม่สามารถใช้ได้
โจทก์ฟ้องคดีโดยมอบอำนาจให้ พ. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ธ. มีอำนาจกระทำการ แทนโจทก์ที่จะลงชื่อมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ การที่ ธ. ลงชื่อมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ขัดต่อข้อบังคับของโจทก์เรื่องจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ เป็นกรณีโจทก์ในฐานะนิติบุคคลฟ้องคดี โดยผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนได้ ความประสงค์ของโจทก์จึงไม่เป็นการแสดงให้ปรากฏโดยผู้แทนของนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง
ตามคำให้การจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากการมอบอำนาจไม่สมบูรณ์โดยไม่ได้ระบุว่าการมอบอำนาจไม่สมบูรณ์อย่างไร เป็นคำให้การที่ไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คำให้การใน เรื่องนี้จึงไม่มีประเด็น แต่อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ไขจากเดิม พ. ผู้รับมอบอำนาจเป็น ส. ผู้รับมอบอำนาจโดยที่จำเลยไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องได้นั้น เมื่อ ธ. ไม่มีอำนาจลงชื่อมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ พ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์มาแต่แรกฟ้อง ถึงแม้ต่อมาภายหลังโจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีนี้ยื่นเข้ามา ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่เสียมาแต่ต้นแล้วกลับคืนดีเป็นฟ้องที่ยื่นฟ้องและดำเนินคดีโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ขึ้นมาในภายหลังได้ไม่
ตามคำให้การจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากการมอบอำนาจไม่สมบูรณ์โดยไม่ได้ระบุว่าการมอบอำนาจไม่สมบูรณ์อย่างไร เป็นคำให้การที่ไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คำให้การใน เรื่องนี้จึงไม่มีประเด็น แต่อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ไขจากเดิม พ. ผู้รับมอบอำนาจเป็น ส. ผู้รับมอบอำนาจโดยที่จำเลยไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องได้นั้น เมื่อ ธ. ไม่มีอำนาจลงชื่อมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ พ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์มาแต่แรกฟ้อง ถึงแม้ต่อมาภายหลังโจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีนี้ยื่นเข้ามา ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่เสียมาแต่ต้นแล้วกลับคืนดีเป็นฟ้องที่ยื่นฟ้องและดำเนินคดีโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ขึ้นมาในภายหลังได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2032/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด: ศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตได้ตามมาตรา 88 วรรคสี่ หากมีเหตุสมควร
ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทระบุว่ากรรมการของโจทก์มี 7 คน ว. เป็นกรรมการคนที่ 4 และพ. เป็นกรรมการคนที่ 5 ซึ่งจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น และใน ข้อ 3 ระบุว่า กรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ คือบ. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์หรือกรรมการอื่น 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งมอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีนี้แทน มีพ.และว. กรรมการของโจทก์ 2 คนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าพ.และว.มอบอำนาจให้แก่อ.ในนามของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ คดีนี้จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เพียงว่าพ.และว.ไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในขณะฟ้องคดีนี้ และโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจ ให้อ. ฟ้องคดีนี้เท่านั้น ฎีกาของจำเลยที่ว่า ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่าผู้รับมอบอำนาจคือ พ.และว. ไม่ใช่โจทก์และตราที่ประทับไว้ที่ด้านล่างของหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีผู้ใดยืนยันว่าเป็นตราสำคัญของโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับเพราะยื่นเกินกำหนดเวลาและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 1 กันยายน 2537 ซึ่งศาลอนุญาตให้เลื่อนมา โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมศาลชั้นต้นยกคำร้องและมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันว่า ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ถือว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยวันที่ 21 ตุลาคม 2537ในวันที่ 14 กันยายน 2537 โจทก์ยื่นคำร้องว่า มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนาย ไม่นำบัญชีระบุพยานไปยื่นภายในกำหนดตามที่มอบหมาย และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2537เพราะศาลไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องเช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของโจทก์ทั้ง 3ครั้งดังกล่าว ก็เป็นการสั่งตามที่บทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้อำนาจไว้เป็นขั้นตอนให้ศาลใช้ดุลพินิจสั่งตามที่เห็นสมควร ดังนั้น แม้ศาลจะมีคำสั่งไม่อนุญาตตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ตามบทบัญญัติในมาตรา 88 วรรคสี่ซึ่งใช้โอกาสคู่ความขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานก่อน ศาลมีคำพิพากษา โดยแสดงเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นบัญชี ระบุพยานภายในกำหนดเวลาดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่นั่นเอง เมื่อได้พิเคราะห์ถึงคำร้องขอระบุบัญชีพยานครั้งก่อนลงวันที่ 14 กันยายน 2537 ที่อ้างว่า ทนายความโจทก์มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนายไม่นำบัญชีพยานไปยื่นภายในกำหนด และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องในวันที่ 1 กันยายน 2537ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์เพราะศาลมีคำสั่งไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ ประกอบกับคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ครั้งหลังสุดคือฉบับลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 ซึ่งอ้างเหตุว่าโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดเพียง 3 วัน และในวันนัดชี้สองสถานโจทก์ส่งต้นฉบับเอกสารที่จะอ้างเป็นพยานตามที่ระบุในบัญชีระบุพยานซึ่งศาลได้รับต้นฉบับเอกสารของโจทก์ไว้แล้ว ประกอบคดีนี้จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้ปฏิเสธหนี้ตามฟ้องโจทก์ทั้งการที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลอนุญาตนั้น ถือได้ว่าโจทก์มีเหตุอันสมควรที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดประกอบกับคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้า จากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ตามกำหนดและพยานหลักฐานตามบัญชีระบุพยานที่โจทก์อ้าง และขออนุญาต ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลเป็นพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าและการผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าของจำเลยให้แก่โจทก์อันเป็นข้อสำคัญแห่งประเด็นในคดี ดังนั้น เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญ แห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องสืบพยาน หลักฐานเช่นว่านั้น ทั้งพยานฝ่ายจำเลยก็ยังมิได้มีการนำสืบการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยาน และสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่แล้ว โจทก์มีสิทธินำพยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสืบและศาลชั้นต้นมีอำนาจนำมารับฟังในการพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดำเนินคดีแทนบริษัท: ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนตัดสินว่าผู้ใดมีอำนาจชอบธรรม
เดิมบริษัทจำเลยมี ณ. และ ก. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทคนใดคนหนึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ต่อมา ก.ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เป็นว่า ให้ ก. เพียงผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย โดยอ้างว่าเป็นการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลย จึงประชุมกันและมีมติว่า การดำเนินการของ ก. ดังกล่าวไม่ถูกต้อง และให้ถอดถอน ก.ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยแล้วแต่ง ตั้งให้ ณ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยเพียงผู้เดียว และให้ดำเนินคดี ก. เป็นคดีอาญาข้อหาแจ้งความเท็จและแจ้งให้จดข้อความอันเป็นเท็จ กับฟ้องคดีแพ่งขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง กรรมการที่ ก. ได้ดำเนินการไป แต่คดีทั้งหมดดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยมาเป็น ก. เพียงผู้เดียวตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นข้างต้น ดังนี้ เมื่อกรณียังมีข้อโต้แย้งระหว่าง ณ. กับ ก.ว่าผู้ใดมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย การที่ ณ. แต่งตั้ง ว.เป็นทนายจำเลยทำคำให้การและยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในนามจำเลยก็ดี หรือที่ ก. แต่งตั้ง อ. เป็นทนายจำเลยเข้าดำเนินคดีในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งที่ ก. และ อ. เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความในนามจำเลยกับโจทก์ ซึ่งศาลแรงงานพิพากษาตามยอมไปแล้วก็ดี และคดียังมีปัญหาว่าการกระทำต่าง ๆ ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงชอบที่ศาลแรงงานจะได้ทำการไต่สวนให้สิ้นกระแสความเสียก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองว่า ก. เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีนี้แทนจำเลยแล้วมีคำสั่งไม่รับคำให้การกับคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ทำขึ้นโดย ว. ซึ่ง ณ. แต่งตั้งเป็นทนายจำเลย กับที่ศาลแรงงานสั่งให้เพิกถอนใบแต่งทนายความฉบับที่ ณ.แต่ง ว. เป็นทนายจำเลย และพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ ก. และ อ. ลงนามแทนจำเลยทำกับโจทก์จึงไม่ชอบ