พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6135/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาและการชำระค่าจ้างตามควรค่าแห่งงาน
แม้ผู้ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาท คือบริษัท ค. ซึ่งจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการ และมีการปลูกสร้างอาคารดังกล่าวบนที่ดินซึ่งเป็นของบริษัท ค.เองก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ติดต่อว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่งภายในโดยไม่ได้แจ้งว่ากระทำการในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทเจ้าของอาคาร ดังนี้จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวตามสัญญานั้น
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่งภายในอาคารบ้านพักส่วนตัวของจำเลย แล้วจำเลยนำแบบแปลนไฟฟ้าของโจทก์ไปใช้เพียงบางส่วน แต่แบบตกแต่งในกระดาษไขซึ่งเป็นแบบที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีรายละเอียดของวัสดุที่จะใช้รวมทั้งระยะต่าง ๆ เป็นเพียงแบบเสนอ และยังไม่ได้รับอนุมัติจากจำเลย จึงยังไม่มีการนำแบบไปใช้ตกแต่ง ดังนี้ต้องถือว่าโจทก์ทำงานยังไม่แล้วเสร็จ เมื่อโจทก์ไม่เขียนแบบต่อไปและมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระค่าจ้าง จำเลยก็ไม่ได้ชำระค่าจ้าง ทั้งโจทก์จำเลยปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาโดยมิได้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใด พฤติการณ์ของโจทก์จำเลยแสดงให้เห็นว่า โจทก์จำเลยต่างมีเจตนาเลิกสัญญาต่อกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 391 โดยจำเลยต้องใช้เงินให้แก่โจทก์ตามควรค่าแห่งการงานของโจทก์
แม้โจทก์จะฟ้องเรียกค่าว่าจ้างทำของ แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์สมควรได้เป็นค่าแห่งการงานที่ได้กระทำให้แก่จำเลย ศาลก็มีอำนาจกำหนดให้โจทก์ได้
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่งภายในอาคารบ้านพักส่วนตัวของจำเลย แล้วจำเลยนำแบบแปลนไฟฟ้าของโจทก์ไปใช้เพียงบางส่วน แต่แบบตกแต่งในกระดาษไขซึ่งเป็นแบบที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีรายละเอียดของวัสดุที่จะใช้รวมทั้งระยะต่าง ๆ เป็นเพียงแบบเสนอ และยังไม่ได้รับอนุมัติจากจำเลย จึงยังไม่มีการนำแบบไปใช้ตกแต่ง ดังนี้ต้องถือว่าโจทก์ทำงานยังไม่แล้วเสร็จ เมื่อโจทก์ไม่เขียนแบบต่อไปและมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระค่าจ้าง จำเลยก็ไม่ได้ชำระค่าจ้าง ทั้งโจทก์จำเลยปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาโดยมิได้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใด พฤติการณ์ของโจทก์จำเลยแสดงให้เห็นว่า โจทก์จำเลยต่างมีเจตนาเลิกสัญญาต่อกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 391 โดยจำเลยต้องใช้เงินให้แก่โจทก์ตามควรค่าแห่งการงานของโจทก์
แม้โจทก์จะฟ้องเรียกค่าว่าจ้างทำของ แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์สมควรได้เป็นค่าแห่งการงานที่ได้กระทำให้แก่จำเลย ศาลก็มีอำนาจกำหนดให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6135/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาออกแบบตกแต่งภายใน: ความรับผิดส่วนตัวของผู้ว่าจ้าง แม้จะไม่ได้ระบุฐานะตัวแทนบริษัท
แม้ผู้ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาท คือบริษัทค. ซึ่งจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการ และมีการปลูกสร้างอาคารดังกล่าวบนที่ดินซึ่งเป็นของบริษัท ค. เองก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ติดต่อว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่งภายในโดยไม่ได้แจ้งว่ากระทำการในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทเจ้าของอาคาร ดังนี้จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวตามสัญญานั้น จำเลยได้ว่าจ้างให้ออกแบบตกแต่งภายในอาคารบ้านพักส่วนตัวของจำเลย แล้วจำเลยนำแบบแปลนไฟฟ้าของโจทก์ไปใช้เพียงบางส่วน แต่แบบตกแต่งในกระดาษไขซึ่งเป็นแบบที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีรายละเอียดของวัสดุที่จะใช้รวมทั้งระยะต่าง ๆ เป็นเพียงแบบเสนอและยังไม่ได้รบอนุมัติจากจำเลย จึงยังไม่มีการนำแบบไปใช้ตกแต่ง ดังนี้ต้องถือว่าโจทก์ทำงานยังไม่แล้วเสร็จเมื่อโจทก์ไม่เขียนแบบต่อไปและมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระค่าจ้าง จำเลยก็ไม่ได้ชำระค่าจ้าง ทั้งโจทก์จำเลยปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาโดยมิได้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดพฤติการณ์ของโจทก์จำเลยแสดงให้เห็นว่า โจทก์จำเลยต่างมีเจตนาเลิกสัญญาต่อกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 391 โดยจำเลยต้องใช้เงินให้แก่โจทก์ตามควรค่าแห่งการงานของโจทก์ แม้โจทก์จะฟ้องเรียกค่าว่าจ้างทำของ แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์สมควรได้เป็นค่าแห่งการงานที่ได้กระทำให้แก่จำเลย ศาลก็มีอำนาจ กำหนดให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6112/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้สั่งจ่ายเช็คที่ไม่มีเงินในบัญชี และการฟ้องจำเลยในฐานะผู้แทนบริษัท
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยออกเช็คธนาคาร ก. จำนวน4 ฉบับ เพื่อชำระหนี้การกู้ยืมเงินอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและการบังคับได้ตามกฎหมาย ต่อมาธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งนี้จำเลยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คฯลฯ ดังนี้ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพากษาชำระหนี้ให้โจทก์ร่วม โดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยมีตราของบริษัท ซ. ประทับอยู่ด้วยนั้น ไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะที่กระทำแทนบริษัท ซ. จำเลยก็คงมีความรับผิดทางอาญาเช่นเดียวกัน เพราะการดำเนินกิจการของบริษัทย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนทั้งหลายของบริษัทและเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินก็ถือว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับบริษัท ซ. ออกเช็คพิพาท ดังนี้โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวได้ โดยไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันกระทำผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6112/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการออกเช็คไม่มีเงินรองรับ โดยจำเลยลงลายมือชื่อทั้งในฐานะส่วนตัวและตัวแทนบริษัท
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยออกเช็คธนาคาร ก. จำนวน 4 ฉบับเพื่อชำระหนี้การกู้ยืมเงินอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ต่อมาธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งนี้จำเลยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ฯลฯดังนี้ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) แล้ว
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยมีตราของบริษัท ซ.ประทับอยู่ด้วยนั้น ไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะที่กระทำแทนบริษัท ซ. จำเลยก็คงมีความรับผิดทางอาญาเช่นเดียวกันเพราะการดำเนินกิจการของบริษัทย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนทั้งหลายของบริษัทและเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินก็ถือว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับบริษัท ซ.ออกเช็คพิพาท ดังนี้โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวได้โดยไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันกระทำผิด
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยมีตราของบริษัท ซ.ประทับอยู่ด้วยนั้น ไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะที่กระทำแทนบริษัท ซ. จำเลยก็คงมีความรับผิดทางอาญาเช่นเดียวกันเพราะการดำเนินกิจการของบริษัทย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนทั้งหลายของบริษัทและเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินก็ถือว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับบริษัท ซ.ออกเช็คพิพาท ดังนี้โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวได้โดยไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันกระทำผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5234/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแก้ไขงานต้องตกลงราคากันใหม่ การตกลงด้วยวาจาและผู้ไม่มีอำนาจไม่ผูกพันจำเลย
สัญญาจ้างที่พิพาทข้อ 18 มีข้อความว่า ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะทำการแก้ไขหรือเพิ่มเติมหรือลดงานจากแบบรูปและรายละเอียดตามสัญญาได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องเลิกสัญญานี้การเพิ่มเติมหรือลดงานจะต้องคิดและตกลงราคากันใหม่และถ้าต้องเพิ่มหรือลดเงินหรือยึดเวลาออกไปอีกก็จะได้ตกลงกัน ณ บัดนั้น และได้ระบุรายละเอียดส่วนหนึ่งของสัญญาว่าสำนักงานงบประมาณอนุมัติให้จำเลยลดจำนวนการถมดินลงพร้อมส่วนประกอบอื่น ๆ รวม 5 รายการ วงเงิน 3,473,900 บาทซึ่งเป็นจำนวนเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างพิพาทเท่านั้น ซึ่งโจทก์ผู้รับจ้างทราบแต่ต้นแล้วว่าจำเลยเป็นหน่วยงานของรัฐบาลมีวงเงินที่จะชำระหนี้ให้โจทก์เป็นค่าจ้างได้ไม่เกินจำนวนดังกล่าว ทั้งการเพิ่มวงเงินจำเลยจะต้องขออนุมัติตามขั้นตอนของระเบียบทางราชการก่อน ส่วนการถมดินเพิ่มและการต่อฐานรากเสาเข็มเพิ่ม ปรากฏว่าโจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร และฝ่ายจำเลยซึ่งตกลงกับโจทก์คือคณะกรรมการตรวจการจ้างซึ่งไม่มีอำนาจตกลงเพิ่มหรือลดเงินแทนจำเลย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยมิได้ทราบและโจทก์จำเลยมิได้ตกลงราคากันใหม่ตามสัญญาจ้างที่พิพาทข้อ 18 การถมดินเพิ่มและการต่อสู้ฐานรากเสาเข็มเพิ่มจึงไม่ผูกพันจำเลย จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5234/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขงานสัญญาภาครัฐ: การตกลงราคากับผู้มีอำนาจ และผลผูกพันสัญญา
สัญญาจ้างที่พิพาทข้อ 18 มีข้อความว่า ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะทำการแก้ไขหรือเพิ่มเติมหรือลดงานจากแบบรูปและรายละเอียดตามสัญญาได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องเลิกสัญญานี้ การเพิ่มเติมหรือลดงานจะต้องคิดและตกลงราคากันใหม่ และถ้าต้องเพิ่มหรือลดเงินหรือยืดเวลาออกไปอีกก็จะได้ตกลงกัน ณ บัดนั้นและได้ระบุรายละเอียดส่วนหนึ่งของสัญญาว่าสำนักงบประมาณอนุมัติให้จำเลยลดจำนวนการถมดินลงพร้อมส่วนประกอบอื่น ๆ รวม 5 รายการ วงเงิน3,473,900 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างพิพาทเท่านั้น ซึ่งโจทก์ผู้รับจ้างทราบแต่ต้นแล้วว่าจำเลยเป็นหน่วยงานของรัฐบาลมีวงเงินที่จะชำระหนี้ให้โจทก์เป็นค่าจ้างได้ไม่เกินจำนวนดังกล่าว ทั้งการเพิ่มวงเงินจำเลยจะต้องขออนุมัติตามขั้นตอนของระเบียบทางราชการก่อน ส่วนการถมดินเพิ่มและการต่อฐานรากเสาเข็มเพิ่ม ปรากฏว่าโจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร และฝ่ายจำเลยซึ่งตกลงกับโจทก์คือคณะกรรมการตรวจการจ้างซึ่งไม่มีอำนาจตกลงเพิ่มหรือลดเงินแทนจำเลย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยมิได้ทราบและโจทก์จำเลยมิได้ตกลงราคากันใหม่ตามสัญญาจ้างที่พิพาทข้อ 18 การถมดินเพิ่มและการต่อฐานรากเสาเข็มเพิ่มจึงไม่ผูกพันจำเลยจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์และผลกระทบต่อการเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดิน
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ทนายความจำเลยที่ 2และที่ 3 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความลงวันที่เดียวกันกับคำร้องระบุจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้แต่งทนายความและมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความ แต่มิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 3 ให้ถูกต้องตามที่จดทะเบียนไว้ ศาลชั้นต้นรับใบแต่งทนายความและอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามคำร้อง หลังจากนั้นมีการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีก 1 ครั้ง ต่อมาจำเลยทั้งสามยื่นอุทธรณ์เป็นฉบับเดียวกันภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น โดย ส. ทนายความเป็นผู้เรียงอุทธรณ์พร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความ 2 ฉบับ ลงวันที่เดียวกันกับอุทธรณ์ ฉบับหนึ่งมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้แต่งทนายความ โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 3 ส่วนอีกฉบับหนึ่ง จำเลยที่ 1 เป็นผู้แต่งทนายความและลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความดังนี้ ในส่วนของจำเลยที่ 3 ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ยื่นคำร้องพร้อมกับจำเลยที่ 2 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์และได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นเพียงแต่ใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 3 ฉบับแรกไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยที่ 3ที่ได้จดทะเบียนไว้ แต่จำเลยที่ 3 ได้แก้ไขข้อบกพร่องโดยยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่ต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นรับใบแต่งทนายความฉบับใหม่ไว้แล้วคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงมีผลสมบูรณ์และผูกพันจำเลยที่ 3 มาแต่เริ่มแรก ศาลอุทธรณ์จึงไม่จำเป็นต้องสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 อีก แม้จำเลยที่ 3 จะไม่เคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มาก่อน แต่การขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอ และจะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษกับมีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้นเว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยดังกล่าวหมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ ฉะนั้น หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินการกระบวนพิจารณาย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย คดีนี้ศาลอุทธรณ์ไม่อาจมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ได้ นับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 และที่ 3ยื่นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 และ 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์: ผลของใบแต่งทนายไม่สมบูรณ์และการใช้ดุลพินิจศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ทนายความจำเลยที่ 2และที่ 3 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น พร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความลงวันที่เดียวกันกับคำร้องระบุจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้แต่งทนายความและมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความ แต่มิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 3 ให้ถูกต้องตามที่จดทะเบียนไว้ ศาลชั้นต้นรับใบแต่งทนายความและอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามคำร้อง หลังจากนั้นมีการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีก 1 ครั้ง ต่อมาจำเลยทั้งสามยื่นอุทธรณ์เป็นฉบับเดียวกันภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น โดย ส.ทนายความเป็นผู้เรียงอุทธรณ์ พร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความ2 ฉบับ ลงวันที่เดียวกันกับอุทธรณ์ ฉบับหนึ่งมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้แต่งทนายความโดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 3 ส่วนอีกฉบับหนึ่ง จำเลยที่ 1 เป็นผู้แต่งทนายความและลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความ ดังนี้ ในส่วนของจำเลยที่ 3 ต้องถือว่าจำเลยที่ 3ได้ยื่นคำร้องพร้อมกับจำเลยที่ 2 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์และได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นเพียงแต่ใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 3 ฉบับแรกไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยที่ 3ที่ได้จดทะเบียนไว้ แต่จำเลยที่ 3 ได้แก้ไขข้อบกพร่องโดยยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่ต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นรับใบแต่งทนายความฉบับใหม่ไว้แล้ว คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงมีผลสมบูรณ์และผูกพันจำเลยที่ 3 มาแต่เริ่มแรก ศาลอุทธรณ์จึงไม่จำเป็นต้องสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 อีก
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่เคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มาก่อน แต่การขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอ และจะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษกับมีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยดังกล่าวหมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ ฉะนั้น หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินการกระบวนพิจารณาย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ไม่อาจมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ได้ นับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 23 และ 246
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่เคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มาก่อน แต่การขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอ และจะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษกับมีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยดังกล่าวหมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ ฉะนั้น หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินการกระบวนพิจารณาย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ไม่อาจมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ได้ นับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 23 และ 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานภาษีสรรพสามิต: การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมโดยมิได้เสียภาษี และมีไว้เพื่อขาย
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 20 บัญญัติให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมใดมีสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรมในวันที่กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตใช้บังคับแก่สินค้านั้น ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นยื่นแบบรายการแสดงชนิดและปริมาณของสินค้านั้นตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สถานที่ตามมาตรา 53 ก่อนหรือพร้อมกับการยื่นแบบรายการภาษีครั้งแรกตามมาตรา 48 ซึ่งตามมาตรา 48 (1) ระบุว่า ในกรณีสินค้าที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักรให้ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีก่อนความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น และตามมาตรา 10 ระบุให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีกรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โดยถ้าสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมดังนี้ เมื่อได้มีการเคลื่อนย้ายรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมแล้วความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีจึงเกิดขึ้นแล้ว และเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2มิได้ยื่นแบบรายการต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตตามที่กฎหมายกำหนด จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 20, 48 (1), 148
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 19 บัญญัติ"ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยายการนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19 (1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 (2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19, 147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527มาตรา 162 (1) ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 19 บัญญัติ"ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยายการนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19 (1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 (2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19, 147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527มาตรา 162 (1) ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีสรรพสามิต: การนำรถยนต์ออกจากโรงงานก่อนชำระภาษี และการมีไว้เพื่อขายโดยมิได้เสียภาษี
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 20 บัญญัติให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมใดมีสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรมในวันที่กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตใช้บังคับแก่สินค้านั้น ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นยื่นแบบรายการแสดงชนิดและปริมาณของสินค้านั้นตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สถานที่ตามมาตรา 53 ก่อนหรือพร้อมกับการยื่นแบบรายการภาษีครั้งแรกตามมาตรา 48 ซึ่งตามมาตรา 48(1) ระบุว่า ในกรณีสินค้าที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักรให้ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีก่อนความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น และตามมาตรา 10 ระบุให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีกรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โดยถ้าสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ดังนี้ เมื่อได้มีการเคลื่อนย้ายรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมแล้วความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีจึงเกิดขึ้นแล้ว และเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ยื่นแบบรายการต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตตามที่กฎหมายกำหนด จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 20,48(1),148
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19 บัญญัติ "ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยาย การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19(1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19,147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 162(1)ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19 บัญญัติ "ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยาย การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19(1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19,147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 162(1)ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด